วันพุธ, ตุลาคม 26, 2565

Argentina, 1985 เป็นหนังที่ได้รับแรงบันดาลใจจากเรื่องจริง เล่าเหตุการณ์ครั้งแรกในโลกที่ศาลพลเรือนสามารถไต่สวนคดี และลงโทษผู้นำกองทัพที่เกี่ยวข้องกับการทำ #รัฐประหาร การสังหาร การซ้อมทรมาน ลักพาตัวทำให้คนหายได้ กว่า 30,000 คน


Pipob Udomittipong
8h

Argentina, 1985 เล่าเหตุการณ์ครั้งแรกในโลกที่ศาลพลเรือนสามารถไต่สวนคดี และลงโทษผู้นำกองทัพที่เกี่ยวข้องกับการทำ #รัฐประหาร การสังหาร การซ้อมทรมาน ลักพาตัวทำให้คนหายได้ กว่า 30,000 คน และเป็นการไต่สวนอาชญากรรมสงครามที่สำคัญสุดนับแต่ศาลนูเรมเบิร์ก เป็นช่วงที่ทหารยึดอำนาจจากรบ.พลเรือน #อาร์เจนตินา ระหว่างปี 1976-1983 หรือที่เรียกว่าช่วง “Dirty War”
หลังการไต่สวนคดีและลงโทษผู้ทำรัฐประหาร หรือที่เรียกว่า “Trial of the Juntas” ครั้งนี้ ไม่เคยมีการทำรัฐประหารในอาร์เจนตินาอีกเลยจนถึงปัจจุบัน
หนังเล่าเหตุการณ์ช่วงหลังทหารวางมือจากอำนาจ และมีการจัดเลือกตั้งในปี 1983 ปีต่อมารบ.จากการเลือกตั้งก็ออกคำสั่งให้ไต่สวนผู้นำทหาร 9 นาย แต่ศาลทหารไม่ยอมไต่สวน ปธน.จึงใช้คำสั่งตั้งศาลอุทธรณ์ National Criminal Court of Appeals เพื่อพิจารณาคดี พร้อมกับตั้งคณะกรรมการไต่สวนคนหาย
ตัวเอกในเรื่องคือ Julio César Strassera พนักงานอัยการที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าทำงานคดีเพื่อเอาผิดข้อหาฆ่าคนตายและอื่น ๆ กับผู้นำทหาร ซึ่งยังเป็นสภาพที่ยังน่าหวดกลัวมาก มีการข่มขู่เขาและครอบครัวหลายครั้ง จากนั้นก็เป็นกระบวนการสอบสวน จนสามารถทำข้อมูลได้ 709 คดีเพื่อเสนอต่อศาล และนำไปสู่การตัดสินลงโทษในที่สุด ในบรรดาผู้มาให้ปากคำรวมถึงตัวแทนจากกลุ่ม las madres de la Plaza de Mayo แม่ของลูกที่สูญหาย ที่เดินขบวนทุกวันในบัวโนสไอเรสด้วย
ไฮไลต์ของหนังเป็นคำแถลงปิดคดีของฮูลิโอ ซึ่งเขียนได้ไพเราะจับใจมาก ปิดท้ายด้วยคำพูด Never again (Nunca más) ซึ่งเป็นชื่อรายงานของคณะกรรมการคนหายกรณีอาร์เจนตินาในเวลาต่อมาด้วย ในบรรดานายทหารที่ถูกลงโทษ ที่สำคัญสุดคือ พลโท Jorge Rafael Videla หัวหน้าคณะรัฐประหารในปี 1976 ที่ถูกตัดสินจำคุกตลอดชีวิตในปี 1985 จากการสังหารนักโทษ 31 คนหลังรัฐประหาร และต่อมาในปี 2012 ยังถูกตัดสินโทษเพิ่มอีก 50 ปี ข้อหาลักพาตัวเด็ก จนตายในคุก เพราะกระบวนการไต่สวนยังดำเนินต่อไปหลังจากนั้น จนนำไปสู่การตัดสินลงโทษอีกกว่า 1,000 คน
ทั้งหมดสะท้อนความก้าวหน้าของระบบยุติธรรมในอาร์เจนตินา รวมทั้งการใช้เขตอำนาจศาลสากล universal jurisdiction ด้วย ล่าสุดเห็นว่าศาลอาร์เจนตินาเปิดรับพิจารณาคดีการสังหารหมู่ชาวโรฮิงญาตามหลักการนี้แล้วด้วย
https://www.justiceinfo.net/.../85392-argentina-comes-aid...