วันศุกร์, ตุลาคม 28, 2565

ราษฎรฟ้องกลับ : ขอให้ดำเนินคดีต่อตำรวจและบุคคลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง กรณีนายมานะ หงษ์ทอง ได้รับบาดเจ็บสาหัสที่บริเวณศีรษะจากการใช้กระสุนยางในการสลายการชุมนุมของเจ้าหน้าที่ตำรวจควบคุมฝูงชน เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2564 บริเวณแฟลตดินแดง ขณะกำลังเดินทางกลับที่พักโดยไม่ได้เกี่ยวข้องกับการชุมนุม


Human Rights Lawyers Association
1d

เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2565 นายกสมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนได้ยื่นคำร้องถึงคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติให้ตรวจสอบกรณีนายมานะ หงษ์ทอง ได้รับบาดเจ็บสาหัสที่บริเวณศีรษะจากการใช้กระสุนยางในการสลายการชุมนุมของเจ้าหน้าที่ตำรวจควบคุมฝูงชน เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2564 บริเวณแฟลตดินแดง กรุงเทพมหานคร ขณะกำลังเดินทางกลับที่พักโดยไม่ได้เกี่ยวข้องกับการชุมนุม ซึ่งผลจากการได้รับอันตรายดังกล่าวทำให้นายมานะต้องเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลราชวิถีเป็นเวลาหนึ่งเดือน และกลับมารักษาตัวที่บ้านพักโดยมีอาการข้างเคียงจากการที่สมองได้รับการกระทบกระเทือน ทำให้ไม่สามารถ เดิน และทำกิจธุระส่วนตัวด้วยตนเองได้ และเสียชีวิตลงเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2565 โดยผู้แทนโดยชอบธรรมของนายมานะได้เข้าร้องทุกข์กล่าวโทษต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจสถานีตำรวจนครบาลดินแดงเพื่อเอาผิดกับผู้กระทำความผิดแล้วแต่คดียังไม่คืบหน้า และยังไม่ได้รับการชดเชยเยียวยาจากเจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้อง
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้ทำการตรวจสอบ เพื่อพิจารณาว่าการปฏิบัติหน้าที่ในการควบคุมฝูงชนของผู้ถูกร้องเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2564 นั้นมีการกระทำหรือการละเลยการกระทำที่เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อนายมานะ หงษ์ทองหรือไม่ พบว่า จากข้อเท็จจริงที่ปรากฎว่าในช่วงเวลาที่คาดว่านายมานะได้รับบาดเจ็บนั้น ยังพบผู้ถูกร้องหลายนายประจำการอยู่ในพื้นที่ โดยบริเวณที่เกิดเหตุนั้นมีไฟส่องสว่างชัดเจน ทั้งยังไม่มีสิ่งกีดขวางบดบังที่จะทำให้ผู้ถูกร้องมองไม่เห็นนายมานะซึ่งได้รับบาดเจ็บและนอนหมดสติอยู่ที่พื้นที่ และไม่ปรากฎข้อเท็จจริงว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจชุดควบคุมฝูงชนได้แจ้งหรือประสานไปยังเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ให้เข้ามาดูแลรักษา แต่กลับปล่อยให้นายมานะนอนหมดสติอยู่บริเวณดังกล่าวจนกระทั่งมีประชาชนผ่านมาพบ จึงได้แจ้งให้อาสาสมัครทางการแพทย์ที่อยู่บริเวณใกล้เคียงเข้ามาดูแลช่วยเหลือเอง การเพิกเฉยดังกล่าวจึงอาจเพิ่มความเสี่ยงทำให้นายมานะได้รับอันตรายเพิ่มขึ้นอีกจากการที่ไม่ได้รับการปฐมพยาบาลให้ทันท่วงที
พฤติการณ์ของเจ้าหน้าที่ตำรวจชุดควบคุมฝูงชนสะท้อนให้เห็นว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจชุดควบคุมฝูงชนไม่สามารถคุ้มครองความปลอดภัย หรือป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างสถานการณ์ชุมนุม ให้แก่ประชาชนทั่วไปที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการชุมนุม ถือเป็นการปฏิบัติหน้าที่ไม่สอดคล้องกับหลักปฏิบัติสากลที่ได้วางแนวทางมาตรฐานให้เจ้าหน้าที่รัฐซึ่งมีหน้าที่ในการดูแลการชุมนุม ให้ความช่วยเหลือทางการแพทย์แก่ผู้บาดเจ็บที่อยู่ในพื้นที่การชุมนุมโดยเร็วที่สุด ผลจากการเพิกเฉยไม่ใส่ใจดังกล่าวย่อมหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะทำให้เกิดผลกระทบต่อสิทธิในชีวิตและร่างกายของนายมานะตามมา
พฤติการณ์ของเจ้าหน้าที่ตำรวจชุดควบคุมฝูงชนเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน เห็นควรให้มีข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางที่เหมาะสมในการป้องกันหรือแก้ไขการละเมิดสิทธิมนุษยชน ไปยังสำนักงานตำรวจแห่งชาติในฐานะหน่วยงานบังคับบัญชาของผู้ถูกร้อง เพื่อดำเนินการปรับปรุงแก้ไขการปฏิบัตหน้าที่ให้สอดคล้องกับหลักปฏิบัติสากลที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมดูและการชุมนุมต่อไป
ทั้งนี้สมาคมนักฎหมายสิทธิมนุษยชน ในนามภาคีนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนจะติดตามการดำเนินคดีอาญาที่ญาติของนายมานะได้แจ้งความไว้ที่สถานีตำรวจนครบาลดินแดงให้ดำเนินคดีต่อตำรวจและบุคคลอื่นๆที่เกี่ยวข้องต่อไป
อ่านมติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) เพิ่มเติม https://www.facebook.com/media/set/?vanity=naksit.org&set=a.5544302745638178&__cft__[0]=AZVle5_c7OyBt0KR18rChS0GXsToVniRlyzRM_OyaFviGufMMwWrt0K9U6QSTEPVqg55yWfuH0DpTqq-kDDYxn57LOAHUgXyLd_Giz-e6w0eQtoD_n2yw8XwQe1sOh5J9XI1nZV0v0fJYvoQ_UNGi6Ps-3nxX9deuEj2QgG4gYAOJg_4eFIjcHDDVKu3aRs9oeD6yomsKpp5Iq8551RxLHKp&__tn__=-UC%2CP-R


Prawais Prapanugool
8h
พูดเรื่องจริงได้ไง