วันอังคาร, เมษายน 25, 2566

ตำราเรียนไทยมีปัญหาทุกมิติ ทุกวิชา เพราะความหวาดกลัวภาวะสมัยใหม่

.....
Pokpong Chanan
1d
·
ตำราเรียนมีปัญหาทุกมิติจริงๆนะ ทุกวิชาด้วย
.
หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานภาษาไทยชั้นประถมศึกษา เป็นแพ็คเกจคู่ "ภาษาพาที" กับ "วรรณคดีลำนำ" ตามหลักสูตรพื้นฐาน 2551 หลังรัฐประหาร 2549 ไม่นาน
.
บทที่ 2 ของภาษาพาที ป. 6 เรื่อง ‘ควาย ข้าว และชาวนา’ ที่เล่าเรื่องชีวิตชนบทของชาวนา โดยสร้างจินตนาการชนบทที่เป็นทุ่งนา ลอมฟาง กระท่อม ฝูงควาย หมู่บ้านสามัคคีรักใคร่ใสซื่อ ช่วยกันลงแขกเกี่ยวข้าวกัน มีชีวิต ‘เรียบง่าย เงียบสงบ’ ใช้ควายไถนาเป็นความงดงามเคียงคู่วิถีชีวิตชาวนาอันเรียบง่าย ไม่ใช่การทรมานสัตว์แต่อย่างใด และไม่เหมือนกับ ‘ควายเหล็ก’ รถไถนาที่ต้องคอยซ่อม เปลืองน้ำมัน ทำให้ชาวนาต้องกู้หนี้ยืมสิน ขณะที่ควายกินหญ้าตามเรือกสวนไร่นา เพราะประเทศไทยเป็นประเทศที่อุดมสมบูรณ์ เหมาะแก่การเกษตร จนทำให้นายทุนต่างชาติมากว้านซื้อที่นา เป็น landlord เพราะหวังเข้ายึดครองแผ่นดินไทย
.
และแสดงถึงความหวาดหวั่นภาวะสมัยใหม่ที่ถูกจัดวางให้เป็นภัยของเอกลักษณ์คุณสมบัติของชาติ แล้วไปสร้างความภาคภูมิใจกับจินตนาการถึงอดีต ที่ยังอยู่ในระบบการผลิตเป็นเกษตรกรรมแบบยังชีพ เข้าไม่ถึงเทคโนโลยีที่สำคัญต่อการดำรงชีพและอาชีพ และใช้แรงงานสัตว์เช่นควายแทน กลบเกลื่อนความยากจน ด้วยการสร้างความภาคภูมิใจในความเรียบง่ายสมถะ พึ่งพาตนเองตามมีตามเกิด อนุรักษ์วิถีดั้งเดิมของชนบท แม้ว่าจะเป็นจินตนาการที่เพิ่งสร้างขึ้นในทศวรรษ 1950 ที่ผูกโยงอยู่กับความเป็นชาติ และอำนาจรัฐแบบสงครามเย็นไม่ว่าโลกแห่งความเป็นจริงชีวิตชนบทจะดิ้นรนมีพลวัติเปลี่ยนแปลงไปไหนถึงไหนแล้วก็ตาม
.
บางเรื่องสั้นก็เป็นเรื่องราวที่ตัวละครมนุษย์สามารถใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับผีสางนางไม้ เช่นในบทที่ 4 เรื่อง “กทลีตานี” ที่แทรกความรู้เรื่องกล้วยเล็กๆ น้อยๆ ด้วยการเล่าเรื่องเด็กหญิงที่เข้าไปช่วยผีตานีน้อยจากหมอผีที่พยายามจับตัวผีตานีและครอบครองอาณาจักกล้วย เพื่อบังคับไม่ให้กล้วยเกิดได้ตามธรรมชาติ ใครอยากปลูกต้องจ่ายเงินแก่หมอผี หมอผีจะได้เป็นมหาเศรษฐีครองโลก บางบทก็ฝันถึงนางฟ้าพาเหาะไปชมสวนแก้วในเมืองฟ้าเมืองสวรรค์เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับไม้ดอกไม้ประดับ และบางบทก็เป็นผีเด็กผมจุกเข้าฝันชวนไปเรือนไทยของขุนช้าง เพื่อให้ซาบซึ้งกับบ้านทรงไทย เพราะเป็นเด็กในเมืองไม่มีโอกาสได้อาศัยในเรือนไทยจะได้กลับชนบทก็แล้วแต่โอกาส ตามที่ถูกบรรยายว่า
.
บางบทเล่าตัวละครเด็กที่มีแม่เป็นชาวไทย พ่อเป็น ‘ฝรั่งจากประเทศที่เป็นเกาะ’ เด็กนี่ถูกบรรยายว่า “ผมชอบกินข้าวเหนียวไก่ย่าง ข้างกล้องไข่เจียว ผมว่าเป็นอาหารที่อร่อยที่สุดในโลก” ประวัติศาสตร์ชาติพ่อไม่มีอะไรลึกลับซับซ้อน อ่านหนังสือในห้องสมุดใช้เวลาไม่นานก็รู้หมดแล้ว แค่เรื่องของชนชาติผิวขาว อพยพหาที่อยู่ใหม่มายึดเกาะใช้อาวุธขับไล่ชนพื้นเมืองก่อตั้งประเทศมาได้ไม่ถึง 200 ปี ขณะที่ประเทศไทยฝ่ายแม่ต้องให้ผู้เฒ่าผู้แก่เล่าให้ฟังไปพร้อมกับเคารพผู้หลักผู้ใหญ่ และมีประวัติศาสตร์ที่ยาวนานกว่าถึง 800 ปี
.
ในบทที่ 14 ภาษาพาที ป.6 จึงมีชื่อว่า ‘เสียแล้วไม่กลับคืน’ เล่าถึงเกี๊ยวลูกสาวคนโตของป้านวลและลุงพจน์ เธอถูกพรรณนาว่าตัวสูงใหญ่เกินอายุ หน้าตาสะสวย แต่งตัวเก่ง "ใจแตกมาตั้งแต่ยังไม่มีคำนำหน้าว่านางสาว" ตามีไว้ดูโทรทัศน์ ปากมีไว้กิน และพูดเรื่องไร้สาระ หูมีไว้แนบกับโทรศัพท์มือถือแทบไม่เคยห่าง ตอนกลางวัน เกี๊ยวหนีโรงเรียนไปเที่ยวตามศูนย์การค้า กลางดึกก็หนีออกจากบ้านไปเที่ยวผับ หนุ่มๆ ในซอยสามารถหยอกเอินเกี๊ยวด้วยคำพูดที่คึกคะนอง ลามปามไม่ให้เกียรติ แทนที่จะโกรธและเดินหนี เกี๊ยวกลับสนุกที่จะโต้ตอบกลับ ด้วยคำพูดในลักษณะเดียวกัน คบหากับกลุ่มแข่งมอเตอร์ไซค์ เธอหลงใหลไปกับผู้ชายมากหน้าหลายตา ผลการเรียนตกต่ำสอบไม่ผ่าน จนในที่สุด "ท้องไม่มีพ่อ" กลายเป็นโรคซึมเศร้า ไม่สนใจใยดีคนรอบข้าง ปล่อยชีวิตไปตามยถากรรม
.
แต่ในเรื่องกลับไม่ได้พูดถึงเทคโนโลยีปัจจุบันในโลกแห่งความเป็นจริงและแสนจะเรียบง่ายที่เรียกว่า “ถุงยางอนามัย” ที่เด็กวัยรุ่นหนุ่มสาวสามารถเข้าถึงเพื่อมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย
.
แต่กลับสอนหญิงว่า เนื้อตัวร่างกายและโดยเฉพาะอย่างยิ่งจิ๋มของนักเรียนหญิงไม่ใช่อวัยวะของเธอเอง หากแต่ถูกแขวนไว้ให้เป็นของ ‘ความเป็นไทยแดนสยาม’ ที่ต้องสงวนหวงแหนเช่นเดียวกับการไถนาด้วยควาย ชนบท คุณภาพชีวิตชาวนา บ้านเรือนไทย ในฐานะความภาคภูมิใจของชาติ ขณะเดียวกันก็เป็นทรัพยากรใช้แล้วหมดไป ‘เสียแล้วไม่กลับคืน’ ที่หมายถึงพรหมจรรย์หรือ ‘ความสาว’ ของพวกเธอ ในหนังสือจึงยุ่มย่ามนักหนากับเปลี่ยนผ่านสถานะของนักเรียนหญิงจาก ‘เด็กหญิง’ สู่ ‘นางสาว’
.
หญิงที่รู้จักตอบสนองความสุขทางเพศของตนเอง และไม่ยอมจำนนต่อ
คำแทะโลมลามปามของผู้ชายที่นึกอยากจะพูดอะไรใส่ผู้หญิงก็ได้ตามอำเภอใจ อย่างเกี๊ยวกลายเป็นหญิงเลวในตำราเรียน
.
เช่นเดียวกับแบบเรียนอีกเล่ม ‘วรรณคดีลำนำ’ ที่ยังคงนำสุภาษิตสอนหญิงมาเน้นย้ำอีกครั้งว่าการรักนวลสงวนตัวเท่ากับรักศักดิ์ศรีของหญิงไทยไปด้วย ในบทที่ 4 ‘อย่าชิงสุกก่อนห่ามไม่งามดี’ บอกว่าสุภาษิตสอนหญิงยังคงเป็นคำสอนที่ทันสมัยสอดคล้องค่านิยมขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามของไทย นักเรียนควรนำปฏิบัติเพื่อมีชีวิตที่ดี มีความสุข และอยู่อย่างมีศักดิ์ศรี
.
ตำราภาษาไทยที่มุ่งควบคุมกำกับความใคร่ เนื้อตัวร่างกาย ความสุขทางเพศโดยเฉพาะผู้หญิง ในหนังสือเรียนไม่สักนิดที่จะตักเตือนเด็กผู้ชายหรือลงโทษใดๆ กับการ ‘ฟันแล้วทิ้ง’ การมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่รับผิดชอบ พ่อที่ทิ้งลูกเมีย หรือผู้ชายที่คะนองปากพูดจาไม่ให้เกียรติ ราวกับอนุญาตหรือมองว่าเป็นลักษณะปรกติวิสัยของผู้ชาย และสักแต่จะสอนร่างกายของนักเรียนหญิงให้เป็นร่างกายเชื่องๆ สยบยอมว่าง่าย มากกว่าจะทำความเข้าใจเรียนรู้สิทธิอำนาจในเนื้อตัวร่างกายของตัวเอง แถมยังมีหญิงเมื่อสมัยรัชกาลที่ 3 ที่ 4 ที่ผู้ชายแต่งขึ้นเป็นหญิงในอุดมคติ ภายใต้ค่านิยมและชุดความรู้ที่หวาดกลัวการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ซึ่งไม่ต่างอะไรกับที่สอนให้ใช้แรงงานควายแทนเทคโนโลยีเครื่องจักรกล

(https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=6351703371590981&id=100002541440115)

 


Somrit Luechai
April 22
·
จากกิน"ข้าวคลุกน้ำปลา แล้วมีความสุข"
ถึง"คนไทยมาจากเทือกเขาอัลไต"
นิยายประโลมโลกของคนรุ่นเก่า
ที่พยายามยัดเยียดให้แก่คนรุ่นใหม่
ผมเชื่อว่าคนรุ่นใหม่ฉลาดพอที่จะไม่รับ
แถมจะคายทิ้งด้วยความขยะแขยง
นี่ล่ะคือเหตุแห่งปัญหาการศึกษาของไทย
และผมเชื่อว่ารัฐบาลประชาธิปไตยเท่านั้น
ที่จะรื้อถอนเหตุแห่งปัญหานี้ได้
14 พ.ค.นี้
เรามาร่วมใจกันเลือกรัฐบาลประชาธิปไตยกันเถอะ
เพื่อให้เด็กไทยของเรา
ไม่ต้องกินข้าวคลุกน้ำปลา
และไม่ต้องเดินทางไกลไปถึงอัลไต
ครับ

(https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=10226852610800388&id=1205225461)


Sa-ard สะอาด
14h ·
แรงบันดาลใจ

Sa-ard สะอาด
อันนี้ครับ