
https://www.facebook.com/watch/?v=1283265740082851
Cross Cultural Foundation (CrCF)
11 hours ago
·
ศาลยกคำร้อง “ธงชัย วินิจจะกูล” หลังยื่นขอศาลไต่สวนกรณีการสวมกุญแจเท้า “อานนท์ นำภา”
.
หลังจากที่ ศาลอาญาได้ไต่สวนพยาน 4 ปาก ประกอบด้วย อานนท์ นำภา (ผู้เสียหาย) และพยานผู้เชี่ยวชาญ 3 ปาก ในคดีหมายเลข ปท. 2/2568 กรณีศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร. ธงชัย วินิจจะกูล ยื่นคำร้องขอให้ศาลไต่สวนโดยพลันและยุติการปฏิบัติที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ต่อนายอานนท์ นำภา จากการพบเห็นว่าอานนท์ถูกใส่กุญแจเท้า ขณะเดินทางมายังศาล ล่าสุด ศาลได้มีคำสั่งยกคำร้อง โดยคำสั่งมีใจความว่า
.
ข้อเท็จจริงในเบื้องต้นจากการไต่สวนรับฟังได้ว่า เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ได้ใช้เครื่องพันธนาการ กุญแจ และโซ่ตรวนกับนายอานนท์ นำภา ผู้เสียหาย ในระหว่างการเบิกตัวจากเรือนจำมายังศาลอาญาเพื่อพิจารณาคดีจริง ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยมีว่า การกระทำของเจ้าพนักงานราชทัณฑ์ดังกล่าวมีมูลเพียงพอจะเชื่อได้ว่าเป็นการกระทำตามมาตรา 6 พ.ร.บ.ทรมานหรือไม่ เห็นว่ามีการใช้เครื่องพันธนาการ จึงเป็นการจำกัดเสรีภาพและอาจส่งผลกระทบต่อความรู้สึกของผู้เสียหายและบุคคลอื่นอยู่บ้าง แต่จะต้องพิจารณาว่าการกระทำนั้นมีลักษณะเป็นการล่วงละเมิดสิทธิจนเกินขอบเขตแห่งความจำเป็นหรือไม่ เมื่อ พ.ร.บ. ราชทัณฑ์ พ.ศ. 2560 มาตรา 21 ได้ให้อำนาจหน้าที่ในการใช้เครื่องพันธนาการเมื่อคุมตัวผู้ต้องขังไปนอกเรือนจำ เพื่อความปลอดภัยและเพื่อป้องกันการหลบหนีได้ ดังนั้นการกระทำของเจ้าหน้าที่จึงเป็นการใช้อำนาจตามกฎหมายบัญญัติไว้
.
ส่วนการกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์หรือไม่นั้น เห็นว่าการกระทำที่จะเป็นความผิดตามมาตรานี้จะต้องกระทำเกินเลยไปกว่าความจำเป็น ความปกติในการควบคุมตัว และมีลักษณะเป็นการจงใจลดทอนคุณค่าความเป็นมนุษย์ของผู้ถูกกระทำเป็นสำคัญ แต่จากการไต่สวนในชั้นนี้ยังไม่ปรากฏข้อเท็จจริงดังกล่าว
.
ส่วนประเด็นที่เจ้าหน้าที่อาจมิได้จัดทำบันทึกเหตุผลความจำเป็นในการใช้เครื่องพันธนาการนี้เป็นรายการอย่างชัดเจนตามเจตนารมณ์ของ พ.ร.บ.ราชทัณฑ์ มาตรา 21 อนุ 4 เห็นว่า แม้บันทึกเหตุผลจะเป็นหลักการปฏิบัติที่สำคัญ แต่ก็ยังมิอาจนำมาเป็นเหตุผลชี้ขาดว่าเป็นการกระทำที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ตามมาตรา 6 ได้โดยในทันที เพราะการวินิจฉัยความผิดตามมาตรา 6 ยังคงต้องพิจารณาจากลักษณะของการกระทำและผลการกระทำที่เกิดขึ้นเป็นสำคัญ
Cross Cultural Foundation (CrCF)
11 hours ago
·
ศาลยกคำร้อง “ธงชัย วินิจจะกูล” หลังยื่นขอศาลไต่สวนกรณีการสวมกุญแจเท้า “อานนท์ นำภา”
.
หลังจากที่ ศาลอาญาได้ไต่สวนพยาน 4 ปาก ประกอบด้วย อานนท์ นำภา (ผู้เสียหาย) และพยานผู้เชี่ยวชาญ 3 ปาก ในคดีหมายเลข ปท. 2/2568 กรณีศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร. ธงชัย วินิจจะกูล ยื่นคำร้องขอให้ศาลไต่สวนโดยพลันและยุติการปฏิบัติที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ต่อนายอานนท์ นำภา จากการพบเห็นว่าอานนท์ถูกใส่กุญแจเท้า ขณะเดินทางมายังศาล ล่าสุด ศาลได้มีคำสั่งยกคำร้อง โดยคำสั่งมีใจความว่า
.
ข้อเท็จจริงในเบื้องต้นจากการไต่สวนรับฟังได้ว่า เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ได้ใช้เครื่องพันธนาการ กุญแจ และโซ่ตรวนกับนายอานนท์ นำภา ผู้เสียหาย ในระหว่างการเบิกตัวจากเรือนจำมายังศาลอาญาเพื่อพิจารณาคดีจริง ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยมีว่า การกระทำของเจ้าพนักงานราชทัณฑ์ดังกล่าวมีมูลเพียงพอจะเชื่อได้ว่าเป็นการกระทำตามมาตรา 6 พ.ร.บ.ทรมานหรือไม่ เห็นว่ามีการใช้เครื่องพันธนาการ จึงเป็นการจำกัดเสรีภาพและอาจส่งผลกระทบต่อความรู้สึกของผู้เสียหายและบุคคลอื่นอยู่บ้าง แต่จะต้องพิจารณาว่าการกระทำนั้นมีลักษณะเป็นการล่วงละเมิดสิทธิจนเกินขอบเขตแห่งความจำเป็นหรือไม่ เมื่อ พ.ร.บ. ราชทัณฑ์ พ.ศ. 2560 มาตรา 21 ได้ให้อำนาจหน้าที่ในการใช้เครื่องพันธนาการเมื่อคุมตัวผู้ต้องขังไปนอกเรือนจำ เพื่อความปลอดภัยและเพื่อป้องกันการหลบหนีได้ ดังนั้นการกระทำของเจ้าหน้าที่จึงเป็นการใช้อำนาจตามกฎหมายบัญญัติไว้
.
ส่วนการกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์หรือไม่นั้น เห็นว่าการกระทำที่จะเป็นความผิดตามมาตรานี้จะต้องกระทำเกินเลยไปกว่าความจำเป็น ความปกติในการควบคุมตัว และมีลักษณะเป็นการจงใจลดทอนคุณค่าความเป็นมนุษย์ของผู้ถูกกระทำเป็นสำคัญ แต่จากการไต่สวนในชั้นนี้ยังไม่ปรากฏข้อเท็จจริงดังกล่าว
.
ส่วนประเด็นที่เจ้าหน้าที่อาจมิได้จัดทำบันทึกเหตุผลความจำเป็นในการใช้เครื่องพันธนาการนี้เป็นรายการอย่างชัดเจนตามเจตนารมณ์ของ พ.ร.บ.ราชทัณฑ์ มาตรา 21 อนุ 4 เห็นว่า แม้บันทึกเหตุผลจะเป็นหลักการปฏิบัติที่สำคัญ แต่ก็ยังมิอาจนำมาเป็นเหตุผลชี้ขาดว่าเป็นการกระทำที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ตามมาตรา 6 ได้โดยในทันที เพราะการวินิจฉัยความผิดตามมาตรา 6 ยังคงต้องพิจารณาจากลักษณะของการกระทำและผลการกระทำที่เกิดขึ้นเป็นสำคัญ
.
เมื่อข้อเท็จจริงชั้นไต่สวนเบื้องต้นยังไม่มีน้ำหนักเพียงพอที่จะรับฟังได้ว่าการกระทำของเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์เป็นการกระทำที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม และย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ที่กฎหมายบัญญัติ คำร้องของผู้ร้องจึงยังไม่มีมูลเพียงพอที่ศาลจะออกหมายเรียกพยานฝ่ายผู้ถูกร้องมาไต่สวนต่อไป จึงมีคำสั่งยกคำร้อง
.
หลังจากฟังคำสั่งศาล อานนท์ยืนยันว่าจะให้ทนายยื่นอุทธรณ์ต่อไป