
Faris PHar Yothasamuth
14 hours ago
epnrStdoso2m1m90f99hh1u017m930766l54216lm22h7413ga5muu4i7mhm ·
มีคนไปขุดเอกสารในเว็บ UNESCO แล้วบอกว่าเขมรสอดไส้เอา"วรรณกรรมไทย"ไปขึ้นทะเบียนจนสำเร็จตั้งแต่ปี 2008 มีคนแชร์ไปเยอะแยะ เพจข่าวเอาไปลงกันใหญ่โต แต่ขอบอกตรงนี้เลยว่ามั่วทั้งเพครับ
.
1.) รายชื่อตามรูปไม่ใช่วรรณกรรม แต่เป็นรายชื่อการแสดงละครรำแบบเขมร ถ้าอ่านเอกสารที่ยกมาสักหน่อยก็จะเห็นคำว่า Performing arts กับคำว่า Drama อยู่ชัดเจน การกล่าวถึง"การละคร"มีมิติของทั้งการบรรจุท่ารำ เพลงประกอบ รวมไปถึงเครื่องกาย สังเกตให้ดีท้ายรายชื่อเขาเขียนว่า Choreographer หมายถึงคนที่ออกแบบ/บรรจุท่าร่ายรำ ดังนั้นการจัดทำลิสต์นี้เขามุ่งเน้นที่"การแสดงละคร"ไม่ใช่ตัวเนื้อเรื่องซึ่งหมายถึง"บทละคร"อันมีลักษณะเป็นวรรณกรรม
.
2.) ละครรำของราชสำนักเขมรได้รับอิทธิพลจากราชสำนักไทยไปในช่วงรัชกาลที่ 3 ของกรุงรัตนโกสินทร์ เขาเรียกว่าละครพระราชทรัพย์ ดังนั้นเรื่องที่นำไปใช้เล่นละครหลายเรื่องก็จะได้รับอิทธิพลจากละครรำอย่างไทย ซึ่งแบ่งเป็นละครใน (เล่นเรื่องอุณรุท รามเกียรติ์ อิเหนา ดาหลัง) และละครนอก (เล่นหลายเรื่องเช่น คาวี สังข์ทอง ไกรทอง ไชยเชษฐ์) ในลิสต์ตามข่าวก็จะพบชื่อละครเหล่านี้ นั่นเป็นเพราะการรับอิทธิพลไปตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 แล้วกลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมราชสำนักของเขา ก่อนจะถูกนำมาทำใหม่ (re-institue) หลังยุคเขมรแดง
.
3.) การขึ้นทะเบียนละครรำ (Royal Ballet) ของเขมรจึงเป็นการขึ้นทะเบียนศิลปะการแสดง ไม่ใช่การขึ้นทะเบียนวรรณกรรมไม่เกี่ยวกัน อีกทั้งเนื้อเรื่องที่นำไปทำการแสดงก็ต้องมีการทำบทใหม่อยู่แล้ว ไม่ได้เอาบทละครไทยทั้งดุ้นไปแน่นอน วรรณกรรมของไทยเราก็ยังเป็นของเรา ถ้าเราจะเอาวรรณกรรมพวกนี้ไปขึ้นทะเบียนบ้างก็ไม่มีใครห้าม
.
4.) การหยิบยืมเนื้อเรื่องของละครจะใช้สายตาลิขสิทธิ์แบบปัจจุบันไม่ได้ วรรณกรรม/วรรณคดีของไทยมีต้นเค้าที่เป็นเรื่องเล่าจากหลายแหล่ง เรื่องพวกนี้ไม่ได้เป็นเรื่องเล่า original อะไร กวีสามารถหยิบเรื่องราวมาแต่งเป็นวรรณคดีฉบับ (version) ของตัวเองได้ใหม่เรื่อยๆ เช่น รามเกียรติ์มีฉบับกรุงเก่า ฉบับกรุงธนบุรี ฉบับร.1 ร.2 ร.6 นิทานบางเรื่องมีที่มาจากต่างชาติ เช่น รามเกียรติ์ อุณรุท มาจากนิทานสันสกฤต อิเหนา ดาหลัง มาจากนิทานชวา ที่สำคัญคือเรื่องเล่าพวกนี้มีสถานะเป็นสมบัติส่วนรวมที่แชร์กันข้ามวัฒนธรรม เช่นนิทานเรื่องพระรามก็พบทั้งในไทย (รามเกียรติ์) เขมร (เรียมเกร์) ลาว (พระลักพระลาม) ถ้าจะหวงกันแบบนี้มิต้องเอาอิเหนาคืนอินโดนีเซียเขาไปงั้นหรือ
.
5.) ในลิสต์บทละครนี้ปรากฏเรื่องพระเวสสันดร ซึ่งก็คือมหาเวสสันดรชาดกที่มาจากนิบาตชาดกนั่นแหละ เรื่องที่มาจากภาษาบาลีแบบนี้จะหวงว่าเป็นวรรณกรรมไทยของเราชาติเดียวได้อย่างไร อีกทั้งการที่เขมรเอาเรื่องพระเวสสันดรไปแสดงละครยิ่งแสดงให้เห็นธรรมเนียมที่ต่างไปจากไทย เพราะวัฒนธรรมการละครไทยแบบดั้งเดิมจะไม่เอาเรื่องศาสนามาแสดงเป็นละคร เรื่องศาสนาจะอยู่ในรูปกลอนเทศน์ (แต่งด้วยร่ายยาว) และกลอนสวด (แต่งด้วยกาพย์) เป็นหลัก เช่น มหาชาติกลอนเทศน์ พระมาลัยกลอนสวด เป็นต้น (การที่ต้นเรื่องบอกว่าพระเวสสันดรเจ้าพระยาพระคลังหนแต่งก็ให้ข้อมูลไม่ครบ เพราะมหาชาติกลอนเทศน์แต่งโดยกวีหลายคน)
.
***โดยสรุปคือโพสต์ต้นทางนั้นอ่านเอกสารไม่ครบถ้วน ไม่เข้าใจ ไม่มีความรู้จริงๆในเรื่องวรรณคดี ศิลปะการแสดง หรือศิลปวัฒนธรรม แล้วทึกทักเป็นตุเป็นตะไปมั่วซั่ว ที่น่าเศร้าคือเพจข่าว/สำนักข่าวก็งับไปเผยแพร่ใส่น้ำเสียงปลุกปั่นเรียกยอดเอนเกจกันใหญ่ ไม่มีสักเจ้าที่จะทำหน้าที่ตรวจสอบข้อมูลให้รอบด้าน
.
ปล.ผมเขียนแบบนี้ขอดักทางไว้เลยว่าต้องมีคนมาด่าว่าเป็นขี้ข้าเขมร/ตัวไทยใจเขมร แหม ก็รู้แหละว่าตอนนี้เกลียดเขมรกัน แต่ใช้สติหน่อย ถ้าไม่มีความรู้ก็รู้จักแสวงหาความรู้หรือฟังคนที่เขารู้จริงพูดบ้าง แล้วถามหน่อยเหอะ คนที่เป็นเดือดเป็นแค้นว่าเขมรขโมย "วรรณกรรมไทย" ไปเนี่ย มีสักกี่คนที่เคยอ่านวรรณกรรมพวกนี้จริงๆ ถ้าถามความรู้วรรณคดีเบื้องต้นตอบกันได้ไหม มีใครบ้างเคยไปดูโขน ดูละครรำ ศิลปวัฒนธรรมไทยตอนมันอยู่เฉยๆก็ไม่ค่อยไยดีกันหรอก แต่พอบอกว่าเขมรเคลมของไทยปุ๊ปเลือดรักชาติสูบฉีดปั๊บ อยากจะหวงแหนอนุรักษ์กันขึ้นมาทันที
อย่าให้เป็นแบบนั้นเลย มันตลก
https://www.facebook.com/photo?fbid=10237375073621460&set=a.1662472926835.....

Akkharaphong Khamkhun
19 hours ago
·
การรายงานข่าว ของเพจเฟสบุ๊คทั้งหลาย
ถ้ายังไม่แน่ใจ ต้องทำการบ้านสักหน่อย
เพราะการอ่านเอกสารยังไม่ได้ศัพท์
แล้วเผยแพร่ข้อมูลลงเฟสบุคจะทำให้
เกิดความเข้าใจผิดระหว่างมนุษยชาติ
สร้างความเดือดร้อนวุ่นวายให้ผู้คนต้องลำบาก
โดยเฉพาะประเด็นที่เป็นปัญหา "ประสาทแดก" เรื่องการขึ้นทะเบียน "มรดกทางวัฒนธรรมที่ไม่ใช่ถาวรวัตถุ" หรือ "ICH - Intangible Cultural Heritage"
ขออธิบายสั้นๆ ดังนี้
1. ปี 2003/2546 UNESCO สร้างกรอบความร่วมมือเชิญชวนให้แต่ละประเทศเข้าเป็นภาคีสมาชิก "อนุสัญญาว่าด้วยการสงวนรักษามรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ (CONVENTION FOR THE SAFEGUARDINGOF THE INTANGIBLE CULTURAL HERITAGE)" ดังนั้น 3 ปีต่อมา กัมพูชาจึงให้สัตยาบันรับรองอนุสัญญานี้เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน และในอีก 10 ปีต่อมาไทยจึงจะให้สัตยาบันในวันที่ 10 มิถุนายน 2016/2559 ครับ
2. พอเข้าเป็นสมาชิกและให้สัตยายันรับรองโดยชอบแล้ว แต่ละประเทศก็ต้องทำ "บัญชีรายการ หรือ Inventory" ซึ่งแล้วแต่ว่า แต่ละประเทศจะจัดทำอย่างไร ตามสบาย ตามสะดวก เพราะไม่ใช่การจดสิทธิบัตร เป็นเพียงกระบวนการจัดทำทะเบียนรายการ ตามข้อ/มาตรา 12 ของอนุสัญญา ICH2003 เสร็จแล้วถึงจะเอาไปยื่นขึ้นทะเบียนทีละรายการ/หลายรายการ แล้วแต่ที่ประชุมจะรับรอง
3. ดังนั้น "บัญชีรายการ" ตามเอกสารที่ชื่อว่า Inventory of Intangible Cultural Heritage of Cambodia ซึ่งจัดทำขึ้นตั้งแต่ปี 2004/2547 หน้าที่ 28 จึงพูดถึงเนื้อเรื่อง/ท้องเรื่องของการแสดงที่เรียกว่า "Classical Dance - Royal Ballet" ว่าแต่ละครั้งจะเล่นจะออกแสดงกันในท้องเรื่องอะไรบ้าง ซึ่งก็เหมือนการแสดงประเภทอื่นๆ ที่ต้องบอกผู้ชมว่า วันนี้จะแสดงให้ดูเรื่องอะไร เท่านั้นเอง ไม่ใช่เอา "ตัววรรณกรรม" ไปขึ้นทะเบียน และถ้าจะพูดให้ถึงที่สุด แต่ละเรื่องก็เป็นวรรณกรรมร่วมทั้งนั้น หลายเรื่องมาจากวรรณกรรมทางศาสนา และนิทานพื้นบ้านตำนานพื้นเมือง
เรื่องก็มีด้วยประการละฉะนี้....เอามาจากไหน
Akkharaphong Khamkhun
เรื่องการขึ้นทะเบียนมรดกทางวัฒนธรรมที่ไม่ใช่ถาวรวัตถุ (Intangible Cultural Heritage) (ภาษาราชการจะใช้คำว่า "มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม" หรือภาษาในสื่อมวลชนจะใช้ว่า "มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้")
ผมขออนุญาตสรุปและยกตัวอย่างเป็นประเด็นๆ สั้นๆ ดังนี้
ไทยและกัมพูชาต่างก็เป็นภาคีสมาชิกของอนุสัญญาฯ Convention for the Safeguarding of the Intangible Cultural Heritage ฉบับปี 2546
โดยกัมพูชาเป็นภาคีสมาชิกอนุสัญญาฉบับนี้ตั้งแต่ปี 2549 และขึ้นทะเบียนมรดกที่ไม่ใช่ถาวรวัตถุไปแล้วจำนวน 5 รายการ ได้แก่
ปี 2567 - Cultural practices and expressions linked to Krama, a traditional woven textile in Cambodia (RL)
ปี 2565 - Kun Lbokator, traditional martial arts in Cambodia (RL)
ปี 2561 - Lkhon Khol Wat Svay Andet (USL)
ปี 2559 - Chapei Dang Veng (USL)
ปี 2558 - Tugging rituals and games (RL)
ปี 2551 - Royal ballet of Cambodia (RL) และ Sbek Thom, Khmer shadow theatre (RL)
ที่น่าสนใจคือ ในปี 2558 มีการขึ้นทะเบียน "ชักคะเย่อ" (Tugging Rituals and Games สังเกตว่าเป็นทั้งพิธีกรรมและการละเล่น) โดยเป็นการเสนอร่วมกัน (multi-national nominations) ระหว่าง 4 ชาติ ได้แก่ กัมพูชา ฟิลิปปินส์ เกาหลีใต้ และเวียดนาม โดยเรียกชื่อต่างกัน ได้แก่
- กัมพูชา បែងទាញព្រ័ត្រ (LbaengTeanhProt)
- ฟิลิปปินส์ Punnuk
- เกาหลีใต้ 줄다리기(Juldarigi)
- เวียดนาม Kéo co (Keo Co)
ส่วนประเด็น การขึ้นทะเบียนโขน ระหว่างไทยกับกัมพูชานั้น เนื่องจากมีปัญหามาก ก็เลยเสนอขอขึ้นทะเบียนแยกจากกัน ซึ่งสามารถทำได้
เหมือนกรณีตัวอย่างเช่น "ผักดอง-กิมจิ" ระหว่างเกาหลีเหนือกับเกาหลีใต้ ก็เสนอขึ้นทะเบียนแบบแยกกัน (เพราะสองประเทศนี้ไม่ค่อยชอบกันใครเขาก็รู้)
โดย
- เกาหลีใต้ ขึ้นทะเบียนก่อนในปี 2556 ในชื่อ Kimjang, making and sharing kimchi
- เกาหลีเหนือ ขึ้นทะเบียนต่อมาในปี 2558 ในชื่อ Tradition of kimchi-making
ในส่วนของประเทศไทยนั้น เราเพิ่งเข้าเป็นภาคีสมาชิกอนุสัญญาฉบับนี้เป็นลำดับที่ 171 ในปี 2559 นี้เองครับ
โขน จึงเป็นการขึ้นทะเบียนครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของไทยเราในปี 2561
โปรดสังเกตว่า การขึ้นทะเบียนของไทยใช้คำว่า "โขน (Khon, masked dance drama in Thailand)" แต่ในส่วนของกัมพูชาใช้ว่า "Lkhon Khol Wat Svay Andet" (อีกชื่อหนึ่งคือ "ละคอนวัดสวาย (Lkhon Wat Svay)"
ที่ต้องทำความเข้าใจเพิ่มเติมคือเขาได้ขึ้นทะเบียนอยู่คนละกลุ่ม กล่าวคือ การขึ้นทะเบียนของกัมพูชาได้จัดอยู่ใน List of Intangible Cultural Heritage in Need of Urgent Safeguarding (USL) คือ ต้องการการอนุรักษ์อย่างเร่งด่วน
ส่วนของไทยเราได้อยู่ในกลุ่มของ Representative List of the Intangible Cultural Heritage of Humanity (RL) คือ เพื่ออนุรักษ์และรักษาให้คงอยู่สืบทอดต่อไป ไม่ได้ต้องการความช่วยเหลือเร่งด่วนอะไรเหมือนในแบบแรก
สรุปว่า การขึ้นทะเบียนมรดกโลกที่ไม่ใช่ถาวรวัตถุนั้นจะขึ้นแยกหรือรวมกันก็ได้ แต่ต้องเป็นภาคีสมาชิกในอนุสัญญาก่อน และไม่เกี่ยวว่าใครขึ้นก่อนหรือขึ้นหลัง ถ้าขึ้นทะเบียนแล้วสบายใจก็ขึ้นไป แต่ต้องสงวนรักษา อนุรักษ์ และส่งเสริมมรดกวัฒนธรรมที่ขึ้นทะเบียนให้ยอดเยี่ยมจริงจัง ไม่ใช่สักแต่จะขึ้นทะเบียนให้ได้โล่ห์...แล้วก็ยังไม่มีใครในประเทศชาติของตัวเองรู้เลยว่าหลังจากที่ขึ้นทะเบียนไปแล้ว...ได้ทำอะไรไปบ้างให้สร้างสรรค์?????
ปล.ของเก่าเอามารีไซเคิล
https://www.facebook.com/akkharaphong/posts/10232162570627176
Atukkit Sawangsuk
5 hours ago
·
(มิตร)
ต้องยอมรับว่าพฤติกรรม #เคลมโบเดีย ของเขมรกากๆมันมีจริง และน่าหงุดหงิดด้วย ไม่มีอะไรต้องไปปกป้อง แต่มาดูพฤติกรรมประชากรคุณตะพาบของมนุษย์ไทยนี่ก็เลเวลต่ำไม่ต่างกันเท่าไหร่ ความรู้ความเข้าใจเรื่องศิลปวัฒนธรรมของชาติตัวเองยังไม่มีเลย แต่คลั่งเก่ง โวยวายเก่ง หลายปีก่อนเคยมีข่าวประเทศลาวสนับสนุนให้แคนเป็นมรดกทางวัฒนธรรม มีอีพวกมนุษย์ไทยเข้าไปด่าว่า "ลาวเคลมแคน" ทั้งที่มันก็มรดกของชาติเค้า
แล้วไอ้มนุษย์เลเวลหนึ่งพวกนี้ก็ขยันคอมเม้น ขยันแสดงความคิดเห็นอย่างมั่นอกมั่นใจเสียด้วยนะ แค่คิดว่าต้องหายใจร่วมกับมนุษย์พวกนี้ก็ขนลุกแล้ว
(มิตร)
ต้องยอมรับว่าพฤติกรรม #เคลมโบเดีย ของเขมรกากๆมันมีจริง และน่าหงุดหงิดด้วย ไม่มีอะไรต้องไปปกป้อง แต่มาดูพฤติกรรมประชากรคุณตะพาบของมนุษย์ไทยนี่ก็เลเวลต่ำไม่ต่างกันเท่าไหร่ ความรู้ความเข้าใจเรื่องศิลปวัฒนธรรมของชาติตัวเองยังไม่มีเลย แต่คลั่งเก่ง โวยวายเก่ง หลายปีก่อนเคยมีข่าวประเทศลาวสนับสนุนให้แคนเป็นมรดกทางวัฒนธรรม มีอีพวกมนุษย์ไทยเข้าไปด่าว่า "ลาวเคลมแคน" ทั้งที่มันก็มรดกของชาติเค้า
แล้วไอ้มนุษย์เลเวลหนึ่งพวกนี้ก็ขยันคอมเม้น ขยันแสดงความคิดเห็นอย่างมั่นอกมั่นใจเสียด้วยนะ แค่คิดว่าต้องหายใจร่วมกับมนุษย์พวกนี้ก็ขนลุกแล้ว