"มันไม่มีใครหวังดี" ฟังเสียงญาติผู้ต้องขังคดี ม.112 ที่โดน คนใกล้ตัว-ชาวเน็ต ฟ้องดำเนินคดี

ผู้ชุมนุมระหว่างการเคลื่อนไหว "ราษฎร" ชูข้อความสัญลักษณ์ยกเลิกกฎหมายอาญามาตรา 112 ระหว่างการชุมนุมวันที่ 31 ต.ค. 2564
วศินี พบูประภาพ
ผู้สื่อข่าวบีบีซีไทย
เมื่อ 5 ชั่วโมงที่แล้ว
"สังคมที่เราอยู่ ไม่มีใครคิดว่าบูมเป็นคนไม่ดี" ชวิศา ภรรยาวัย 32 ของจิรวัฒน์ (สงวนนามสกุล) ผู้ต้องขังตามคำพิพากษาในคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพหรือกฎหมายอาญามาตรา 112 กล่าว "ไม่ว่าจะเป็นที่ทํางาน คนที่บ้าน เพื่อนมหาวิทยาลัย เพื่อนมัธยม ไปโรงเรียนลูกมีเพื่อน แม่ของเพื่อนลูกก็สนิทกัน ทุกคนไม่เคยคิดแบบนั้นเลย"
กลางเดือน มิ.ย. 2568 ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนจำคุก 6 ปี จิรวัฒน์ พ่อค้าขายของออนไลน์วัย 33 ปี ชาวกรุงเทพมหานคร โดยไม่รอลงอาญา จากเหตุแชร์โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊ก 3 โพสต์ โพสต์แรกเกี่ยวเนื่องกับกรณีข้อกล่าวหาเรื่องการซื้อขายตำแหน่งเจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือกรณี "ตั๋วช้าง" โพสต์ที่สองเป็นข้อความเกี่ยวกับกรณีการจัดหาวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของรัฐบาลที่ผู้วิพากษ์วิจารณ์ตั้งชื่อว่า "วัคซีนพระราชทาน" และโพสต์สุดท้ายเป็นการแชร์คำปราศรัยของภัสราวลี ธนกิจวิบูลย์ผล แกนนำกลุ่ม "ราษฎร" จากการชุมนุมเมื่อวันที่ 24 มี.ค. 2564
คำพิพากษาดังกล่าวส่งผลให้จิรวัฒน์ที่เพิ่งได้รับการประกันตัวเมื่อปลายปี 2567 ต้องผละจากลูกน้อยวัย 6 ขวบเข้าเรือนจำ โดยคำสุดท้ายที่เขาบอกลูกน้อยคือ "พ่อไปหาของมาขาย"
อีกฟากหนึ่งของเมืองที่ทัณฑสถานหญิงธนบุรี หญิงรายหนึ่งซึ่งต้องโทษด้วยคำพิพากษาคดีมาตรา 112 เช่นกัน ก็เคยปลอบประโลมลูกน้อยวัยแบเบาะในทำนองคล้าย ๆ กันว่า "แม่ไปทำงาน"
ธนพร (สงวนนามสกุล) หญิงอายุ 26 ปี ชาว จ.อุทัยธานี ถูกศาลฎีกาพิพากษาจำคุก 2 ปี จากความผิดตามกฎหมายอาญามาตรา 112 โดยถูกกล่าวหาว่าใช้บัญชีเฟซบุ๊กส่วนตัว แสดงความคิดเห็นใต้โพสต์ของบัญชีเฟซบุ๊กหนึ่งซึ่งเผยแพร่ภาพตัดต่อของรัชกาลที่ 8 และรัชกาลที่ 9 เมื่อช่วงปี 2564
แม้ครอบครัวของสองจำเลยจากคดีหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์จะมีภูมิหลังทางเศรษฐกิจและสังคมที่ต่างกัน ทว่าชีวิตและความเป็นอยู่ของพวกเขาแปรผันไปไม่น้อยไปกว่ากันหลังจากคนในครอบครัวถูกแจ้งข้อหา ม.112
บีบีซีไทยชวนรับฟังเรื่องราวของผู้ต้องคดี ม.112 ในห้วงที่รัฐสภาไทยกำลังถกเถียงว่าคดี ม.112 ควรได้รับการนิรโทษกรรมทางการเมืองด้วยหรือไม่
ติดคุกเพราะโพสต์บนโซเชียลมีเดีย
"เขาเป็นคนคิดเร็วทำเร็ว เขาคิดอะไรเขาก็จะทำเลย" สุดเขตร์ (สงวนนามสกุล) ช่างรับเหมาก่อสร้างวัย 28 ปีกล่าวถึง ธนพร ภรรยาที่ต้องคำพิพากษาคดี ม.112 อยู่ในเรือนจำ
ครอบครัวของสุดเขตร์เป็นครอบครัวขยาย พวกเขาอาศัยอยู่กับบิดาและมารดาที่ทำงานรับเหมาก่อสร้างเหมือนกัน ในบ้านของพวกเขาที่ จ.อุทัยธานี การสนทนาพูดคุยเรื่องการเมืองระหว่างมื้ออาหารค่ำหลังเลิกงานเป็นบรรยากาศในบ้านที่เกิดขึ้นเป็นปกติ
สุดเขตร์เล่าถึงช่วงเวลาหลังเลิกงานที่คนในครอบครัวจะนั่งร่วมโต๊ะมื้อค่ำกัน เขายกตัวอย่างหัวข้อบทสนทนาที่พูดคุยล่าสุด เช่น เรื่องนายกรัฐมนตรีและสถานการณ์ชายแดน ซึ่งตามปกติแล้วเรื่องราวที่พวกเขาคุยกันก็เป็นสิ่งที่คุยกันในบ้านเท่านั้น ดังที่สุดเขตร์บอกว่าเป็นการ "คุยกันในครอบครัว แต่จะไม่ไปพูดข้างนอก"
ชายจากอุทัยธานีเล่าต่อไปว่า คนที่ "อินการเมือง" มาก ๆ ในครอบครัว มักเป็นผู้ใหญ่อายุมาก แต่ก่อนที่ภรรยาของเขาจะต้องเข้าเรือนจำ ธนพรถือเป็นสมาชิกอายุน้อยในครอบครัวไม่กี่คนที่สนใจการเมือง
คู่ชีวิตของเขาที่ชอบพอกันมาตั้งแต่เด็กยังมีอีกนิสัยแตกต่างไปจากเขา นั่นคือการสื่อสารแนวคิดทางการเมืองผ่านโซเชียลมีเดีย
"ตั้งแต่เขาอยู่กับผมแรก ๆ แล้ว เขาก็จะโพสต์การเมืองในเฟซ[บุ๊ก]เขา เพิ่งจะมาหยุดช่วงหลัง ๆ เพราะเราทะเลาะกัน" เขาเล่าผ่านการสัมภาษณ์กับบีบีซีไทยทางโทรศัพท์ "ผมเป็นห่วง กลัวเรื่องคดีนี่แหละ รู้อยู่แล้ว แต่ห้ามเขาก็ไม่ค่อยฟังอะไร"
ต่างจากครอบครัวของสุดเขตร์และธนพรที่เรื่องการเมืองถูกพูดถึงในบ้านเป็นเรื่องปกติ ครอบครัวของจิรวัฒน์ที่อาศัยกันสามคน พ่อ-แม่-ลูก พูดเรื่องการเมืองน้อยมาก
ชวิศา ผู้เป็นภรรยาของจิรวัฒน์ และเป็นเสาหลักของครอบครัวในเวลานี้ เติบโตมาในบ้านที่เลื่อมใสศรัทธาในการเมืองแบบอนุรักษนิยม เธอออกตัวว่าเป็นคน "ไม่อิน" การเมืองและ "ปวดหัว" ทุกครั้งที่ต้องพูดคุยเรื่องการเมืองกับ จิรวัฒน์ ผู้เป็นสามี ทำให้การสนทนาส่วนใหญ่ของสามีเกิดขึ้นเมื่อเขาเดินทางไปเยี่ยมบิดามารดาของตัวเองที่บ้าน
ผู้สื่อข่าวบีบีซีไทย
เมื่อ 5 ชั่วโมงที่แล้ว
"สังคมที่เราอยู่ ไม่มีใครคิดว่าบูมเป็นคนไม่ดี" ชวิศา ภรรยาวัย 32 ของจิรวัฒน์ (สงวนนามสกุล) ผู้ต้องขังตามคำพิพากษาในคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพหรือกฎหมายอาญามาตรา 112 กล่าว "ไม่ว่าจะเป็นที่ทํางาน คนที่บ้าน เพื่อนมหาวิทยาลัย เพื่อนมัธยม ไปโรงเรียนลูกมีเพื่อน แม่ของเพื่อนลูกก็สนิทกัน ทุกคนไม่เคยคิดแบบนั้นเลย"
กลางเดือน มิ.ย. 2568 ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนจำคุก 6 ปี จิรวัฒน์ พ่อค้าขายของออนไลน์วัย 33 ปี ชาวกรุงเทพมหานคร โดยไม่รอลงอาญา จากเหตุแชร์โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊ก 3 โพสต์ โพสต์แรกเกี่ยวเนื่องกับกรณีข้อกล่าวหาเรื่องการซื้อขายตำแหน่งเจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือกรณี "ตั๋วช้าง" โพสต์ที่สองเป็นข้อความเกี่ยวกับกรณีการจัดหาวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของรัฐบาลที่ผู้วิพากษ์วิจารณ์ตั้งชื่อว่า "วัคซีนพระราชทาน" และโพสต์สุดท้ายเป็นการแชร์คำปราศรัยของภัสราวลี ธนกิจวิบูลย์ผล แกนนำกลุ่ม "ราษฎร" จากการชุมนุมเมื่อวันที่ 24 มี.ค. 2564
คำพิพากษาดังกล่าวส่งผลให้จิรวัฒน์ที่เพิ่งได้รับการประกันตัวเมื่อปลายปี 2567 ต้องผละจากลูกน้อยวัย 6 ขวบเข้าเรือนจำ โดยคำสุดท้ายที่เขาบอกลูกน้อยคือ "พ่อไปหาของมาขาย"
อีกฟากหนึ่งของเมืองที่ทัณฑสถานหญิงธนบุรี หญิงรายหนึ่งซึ่งต้องโทษด้วยคำพิพากษาคดีมาตรา 112 เช่นกัน ก็เคยปลอบประโลมลูกน้อยวัยแบเบาะในทำนองคล้าย ๆ กันว่า "แม่ไปทำงาน"
ธนพร (สงวนนามสกุล) หญิงอายุ 26 ปี ชาว จ.อุทัยธานี ถูกศาลฎีกาพิพากษาจำคุก 2 ปี จากความผิดตามกฎหมายอาญามาตรา 112 โดยถูกกล่าวหาว่าใช้บัญชีเฟซบุ๊กส่วนตัว แสดงความคิดเห็นใต้โพสต์ของบัญชีเฟซบุ๊กหนึ่งซึ่งเผยแพร่ภาพตัดต่อของรัชกาลที่ 8 และรัชกาลที่ 9 เมื่อช่วงปี 2564
แม้ครอบครัวของสองจำเลยจากคดีหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์จะมีภูมิหลังทางเศรษฐกิจและสังคมที่ต่างกัน ทว่าชีวิตและความเป็นอยู่ของพวกเขาแปรผันไปไม่น้อยไปกว่ากันหลังจากคนในครอบครัวถูกแจ้งข้อหา ม.112
บีบีซีไทยชวนรับฟังเรื่องราวของผู้ต้องคดี ม.112 ในห้วงที่รัฐสภาไทยกำลังถกเถียงว่าคดี ม.112 ควรได้รับการนิรโทษกรรมทางการเมืองด้วยหรือไม่
ติดคุกเพราะโพสต์บนโซเชียลมีเดีย
"เขาเป็นคนคิดเร็วทำเร็ว เขาคิดอะไรเขาก็จะทำเลย" สุดเขตร์ (สงวนนามสกุล) ช่างรับเหมาก่อสร้างวัย 28 ปีกล่าวถึง ธนพร ภรรยาที่ต้องคำพิพากษาคดี ม.112 อยู่ในเรือนจำ
ครอบครัวของสุดเขตร์เป็นครอบครัวขยาย พวกเขาอาศัยอยู่กับบิดาและมารดาที่ทำงานรับเหมาก่อสร้างเหมือนกัน ในบ้านของพวกเขาที่ จ.อุทัยธานี การสนทนาพูดคุยเรื่องการเมืองระหว่างมื้ออาหารค่ำหลังเลิกงานเป็นบรรยากาศในบ้านที่เกิดขึ้นเป็นปกติ
สุดเขตร์เล่าถึงช่วงเวลาหลังเลิกงานที่คนในครอบครัวจะนั่งร่วมโต๊ะมื้อค่ำกัน เขายกตัวอย่างหัวข้อบทสนทนาที่พูดคุยล่าสุด เช่น เรื่องนายกรัฐมนตรีและสถานการณ์ชายแดน ซึ่งตามปกติแล้วเรื่องราวที่พวกเขาคุยกันก็เป็นสิ่งที่คุยกันในบ้านเท่านั้น ดังที่สุดเขตร์บอกว่าเป็นการ "คุยกันในครอบครัว แต่จะไม่ไปพูดข้างนอก"
ชายจากอุทัยธานีเล่าต่อไปว่า คนที่ "อินการเมือง" มาก ๆ ในครอบครัว มักเป็นผู้ใหญ่อายุมาก แต่ก่อนที่ภรรยาของเขาจะต้องเข้าเรือนจำ ธนพรถือเป็นสมาชิกอายุน้อยในครอบครัวไม่กี่คนที่สนใจการเมือง
คู่ชีวิตของเขาที่ชอบพอกันมาตั้งแต่เด็กยังมีอีกนิสัยแตกต่างไปจากเขา นั่นคือการสื่อสารแนวคิดทางการเมืองผ่านโซเชียลมีเดีย
"ตั้งแต่เขาอยู่กับผมแรก ๆ แล้ว เขาก็จะโพสต์การเมืองในเฟซ[บุ๊ก]เขา เพิ่งจะมาหยุดช่วงหลัง ๆ เพราะเราทะเลาะกัน" เขาเล่าผ่านการสัมภาษณ์กับบีบีซีไทยทางโทรศัพท์ "ผมเป็นห่วง กลัวเรื่องคดีนี่แหละ รู้อยู่แล้ว แต่ห้ามเขาก็ไม่ค่อยฟังอะไร"
ต่างจากครอบครัวของสุดเขตร์และธนพรที่เรื่องการเมืองถูกพูดถึงในบ้านเป็นเรื่องปกติ ครอบครัวของจิรวัฒน์ที่อาศัยกันสามคน พ่อ-แม่-ลูก พูดเรื่องการเมืองน้อยมาก
ชวิศา ผู้เป็นภรรยาของจิรวัฒน์ และเป็นเสาหลักของครอบครัวในเวลานี้ เติบโตมาในบ้านที่เลื่อมใสศรัทธาในการเมืองแบบอนุรักษนิยม เธอออกตัวว่าเป็นคน "ไม่อิน" การเมืองและ "ปวดหัว" ทุกครั้งที่ต้องพูดคุยเรื่องการเมืองกับ จิรวัฒน์ ผู้เป็นสามี ทำให้การสนทนาส่วนใหญ่ของสามีเกิดขึ้นเมื่อเขาเดินทางไปเยี่ยมบิดามารดาของตัวเองที่บ้าน

"เขาเป็นคนโผงผาง เป็นคนตรง คือหนึ่งบวกหนึ่งต้องได้สองอย่างเดียว แล้วก็เป็นคนพูดเสียงดัง" ชวิศาอธิบายถึงสามีที่คบหากันมาตั้งแต่เรียนมหาวิทยาลัย "แต่ข้อดีก็คือเป็นคนไม่ปกปิด ไม่มีความลับ"
คู่ชีวิตของจิรวัฒน์ บอกว่านิสัยดังกล่าวสะท้อนผ่านการใช้งานโซเชียลมีเดียของจิรวัฒน์เอง ในช่วงที่สถานการณ์โควิด-19 กำลังระบาดถึงขีดสุด จิรวัฒน์แชร์โพสต์จำนวน 3 โพสต์ ไม่มีการเพิ่มเติมข้อความใดและไม่ได้ตั้งค่าความเป็นส่วนตัวอย่างรัดกุม ซึ่งนั่นเป็นหลักฐานที่ศาลตีความในระหว่างการพิจารณาคดีในภายหลังว่า ทั้ง 3 โพสต์มีเนื้อหา "หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ"
"เขาชอบแชร์ไว้อ่านตอนเข้าห้องน้ำ" เธอกล่าวถึงกิจวัตรการบริโภคข่าวสารของสามี และเล่าด้วยว่า เธอเตือนเขาเสมอว่าให้ระวัง
"มันไม่มีใครหวังดี" ชวิศา กล่าวถึงคำพูดที่เธอบอกกับสามีตอนนั้น
ถูกคนใกล้ตัว-ชาวเน็ต ฟ้องคดี ม.112
กลางปี 2565 จิรวัฒน์ถูกร้องทุกข์กล่าวโทษในข้อหาตามความผิดประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และความผิดตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) คอมพิวเตอร์ฯ จากบุคคลที่ใกล้ตัวกว่าที่คิด
คน ๆ นั้นเป็นญาติซึ่งเคยร่วมชายคาเดียวกันกับภรรยาและแม่ของลูกน้อยวัย 6 ขวบของเขา
ชวิศากล่าวว่า เธอไม่ได้พูดคุยกับญาติคนนี้มานานแล้ว เธอคาดเดาว่า "เขาน่าจะเห็นบูม [จิรวัฒน์] แชร์โพสต์เพราะเป็นคนใกล้ชิดเราในเฟซ[บุ๊ก]"
จิรวัฒน์เคยให้สัมภาษณ์กับโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชนหรือไอลอว์ว่า คดีของเขาเป็นตัวอย่างที่สะท้อนให้เห็นถึงการใช้กฎหมายเพื่อกลั่นแกล้งกันภายในครอบครัวอย่างชัดเจน ซึ่งทำให้เขาตั้งคำถามถึงช่องโหว่ของกฎหมายที่เปิดโอกาสให้ใครก็สามารถแจ้งความใส่กันได้โดยไม่ต้องแสดงเจตนา
"กฎหมายข้อนี้อะนะ ที่ใคร ๆ ก็ชอบพูดว่าเป็นกฎหมายกลั่นแกล้งกัน... คดีผมเนี่ยกลั่นแกล้งที่สุดแล้ว" รายงานของไอลอว์อ้างอิงคำพูดของจิรวัฒน์ "ของผมมันชัดมาก แล้วมันก็ทำให้เราเห็นจุดบกพร่องของกฎหมายนี้ คือใครมันจะแจ้งความใส่กันก็ได้"
ส่วนกรณีของ ธนพร ครอบครัวของเธอไม่มีโอกาสแม้แต่จะได้ทราบว่า คนที่เป็นผู้ร้องทุกข์กล่าวโทษคือใคร
สุดเขตร์เล่าว่าใต้ภาพที่ภรรยาของเขาแสดงความคิดเห็นมีผู้ใช้งานโซเชียลมีเดียมาแสดงความคิดเห็นจำนวนมาก และการที่คนรักของเขาถูกแจ้งความนั้น "เหมือนสุ่มโดนพอดี"
เมื่อบีบีซีไทยถามต่อว่า เขาคิดว่าใครเป็นผู้ร้องทุกข์กล่าวโทษกรณีดังกล่าว เขาเล่าว่า "น่าจะเป็นเหมือนราชการ แต่ว่าเขาไม่มาวันที่นัดสืบต่อ เขาไม่มาศาลทุกนัดเลย" สุดเขตร์เปิดเผยถึงการติดตามคดีในชั้นศาล
ธนพรเคยเปิดเผยกับไอลอว์ ว่าในช่วงปี 2564 มีเฟซบุ๊กของคนที่ใช้ชื่อและภาพโปรไฟล์ของบุคคลสำคัญในราชวงศ์คนหนึ่งส่งคำขอเป็นเพื่อนบนเฟซบุ๊กกับเธอ แม้จะลบอยู่หลายครั้ง แต่ก็มีการส่งคำขอมาซ้ำ ๆ จนเธออ่อนใจ ก่อนพบว่าเนื้อหาด้านในเป็นโพสต์แนวเสียดสีการเมือง
"ปรากฏว่าไม่กี่วันหลังจากที่หนูไปเขียนคอมเมนต์ เจ้าของเฟซบุ๊กคนนั้นก็ลบโปรไฟล์ตัวเองทิ้ง คือหายไปเลย หนูก็เริ่มเสียวสันหลังแล้วตอนนั้นว่าจะมีอะไรตามมาไหม" ผู้ต้องขังในคดี 112 ซึ่งเป็นแม่ลูกอ่อนให้สัมภาษณ์กับไอลอว์ในเวลานั้น
ตามรายงานของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน เจ้าหน้าที่ตำรวจสถานีตำรวจนครบาล (สน.) บางพลัด เดินทางไปจับกุมเธอถึงบ้านที่ จ.อุทัยธานี เมื่อวันที่ 29 ก.ย. 2564 พร้อมหมายจับจากศาลอาญาตลิ่งชัน
แม้จะไม่ปรากฏชัดถึงตัวผู้ร้องทุกข์กล่าวโทษของธนพร กระนั้นแล้วคดีของเธอกลับสะท้อนบรรยากาศการเมืองจากขบวนการของภาคประชาสังคมกลุ่มหนึ่งต่อคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพตลอดช่วง 4 ปีที่ผ่านมา

ผู้เข้าร่วมชุมนุมคล้องป้ายแสดงสัญลักษณ์กลุ่มศูนย์รวมประชาชนปกป้องสถาบัน (ศปปส.) รวมตัวกันที่บริเวณมหาวิทยาลัยรามคำแหงเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2563 กลุ่มดังกล่าวเป็นหนึ่งในเครือข่ายที่เป็นผู้ร้องทุกข์กล่าวโทษคดี 112 หลายคดี
กลุ่มภาคประชาชนกลุ่มหนึ่งได้ตั้งตนเป็นเครือข่ายสอดส่องและเข้าร้องทุกข์กล่าวโทษผู้ที่ตัวเองมองว่ากระทำการเข้าข่ายมีความผิดตามกฎหมายอาญามาตรา 112
หนึ่งในนั้นได้แก่ ศูนย์ช่วยเหลือด้านกฎหมายผู้ถูกล่วงละเมิด bully ทางสังคมออนไลน์หรือ ศชอ. ซึ่งเคยส่งหลักฐานให้กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโลยี (บก.ปอท.) ดำเนินคดี มาตรา 112 กว่า 1,275 รายชื่อ เมื่อวันที่ 10 ก.ค. 2564
ประเด็นการร้องทุกข์กล่าวโทษที่กว้างขวาง เป็นหนึ่งในข้อกังวลของคณะผู้เชี่ยวชาญจากคณะทำงานกลไกพิเศษของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (Special Procedures of the Human Rights Council) ที่นำเสนอผ่านสำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติเมื่อ 30 ม.ค. 2568
"กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพของไทยนั้นทั้งรุนแรงและคลุมเครือ เปิดช่องให้เจ้าหน้าที่และศาลใช้ดุลยพินิจอย่างกว้างขวางในการตีความความผิด และนำไปสู่การควบคุมตัว การดำเนินคดี และการลงโทษบุคคลกว่า 270 รายตั้งแต่ปี 2563" ข้อความจากคณะทำงานขององค์กรความร่วมมือระหว่างรัฐกล่าว
ทั้งนี้ บทความจากเว็บไซต์ ฤา ซึ่งไม่ปรากฏผู้เขียน แย้งว่า "คำว่า 'ม.112 ใครฟ้องก็ได้'" นั้น "เป็นคำพูดที่บิดเบือนความหมายไปจนเกินจริง" โดยอธิบายว่าขั้นตอนการร้องทุกข์กล่าวโทษเป็นขั้นตอนการริเริ่มคดีอาญาของกฎหมายอันเป็น "ความผิดต่อแผ่นดิน"
"'การกล่าวโทษ' หรือการแจ้งตำรวจเพื่อดำเนินคดีนี้ จึงมักถูกเรียกต่อ ๆ กันมาว่า 'ใครฟ้องก็ได้' ซึ่งเป็นความจริงเพียงครึ่งเดียว และถูกนำไปบิดเบือนความหมาย เพื่อให้เกิดการเข้าใจผิดว่า คดี ม.112 นั้น สามารถกลั่นแกล้งกันได้ง่าย ใคร ๆ ก็สามารถยื่นฟ้อง ม.112 ได้" เว็บไซต์ ฤา ซึ่งเป็นเว็บไซต์นำเสนอประวัติศาสตร์จากฝ่ายอนุรักษนิยม ระบุ
เข้าเรือนจำคนเดียว สะเทือนทั้งครอบครัว
ชวิศารู้สึก "โกรธมาก" ต่อสามี เมื่อได้รับข่าวว่าเขาถูกดำเนินคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ แต่เมื่อทราบว่าคู่ชีวิตอาจต้องเข้าเรือนจำ ความโกรธก็แปรเปลี่ยนมาเป็นความกังวลที่ต้องรับหน้าที่เป็นแม่เลี้ยงเดี่ยวและทำงานหารายได้ด้วยตัวคนเดียวไปพร้อมกัน
"เราเป็นคนธรรมดาที่ไม่ได้รวยมาก ไม่ได้จนในระดับติดดิน" เธอเล่าถึงสถานภาพทางเศรษฐกิจของครอบครัว โดยบอกว่าอยู่ในสถานะ "หาเช้ากินค่ำ หาเงินมาผ่อนบ้าน ผ่อนรถ ดูแลลูก"
แม้จะขาดรายได้จากสามีที่เคยเป็นพนักงานค้าเหล็กก่อสร้าง แต่ครอบครัวของเธอยังคงได้รับรายได้ประจำจากธุรกิจขายเสื้อผ้าออนไลน์ที่เธอและสามีร่วมกันก่อร่างสร้างมา โดยสามีเป็นคนต้นคิดเรื่องระบบการทำงานรองรับก่อนที่เขาจะเข้าเรือนจำ ทำให้สถานการณ์ตอนนี้ แม้จะเหลือแรงเดียวแต่ก็ยังดำเนินไปได้ ทว่าอีกความกังวลหนึ่งก็แทรกเข้ามาช่วงเดือน ก.พ. 2566 เมื่อชวิศาพบว่าตัวเองป่วยเป็นมะเร็ง
"จากเดิมวางแผนว่าพิพากษาเสร็จ จำคุก เดี๋ยวก็ออกมา ตอนนี้กังวลว่าถ้าเราไม่อยู่แล้ว แล้วลูกจะอยู่ยังไง"
แม่เลี้ยงเดี่ยวเจ้าของกิจการแลดูแข็งแรงคล่องแคล่วในวันที่บีบีซีไทยพบ อธิบายว่าเธอเลี้ยงลูกน้อยวัย 6 ขวบ ตามลำพัง การส่งไปบ้านปู่หรือย่าเป็นตัวเลือกที่ไม่คุ้นนัก ขณะเดียวกันหากอยู่ที่บ้านครอบครัวของเธอ ก็มีโอกาสจะต้องพบกับญาติที่แจ้งความจับผู้เป็นพ่อของลูก "แล้วลูกเราจะปกป้องตัวเองได้ไหม" ชวิศารำพึงด้วยความกังวล

การชุมนุมเรียกร้องสิทธิการประกันตัวบริเวณหน้าศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก
ส่วนครอบครัวของธนพร เธอมาทราบภายหลังว่าได้ตั้งครรภ์อ่อน ๆ ในวันที่เจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าจับกุมตัว
"ตอนแรกรู้ว่ามีคดีก็ตกใจ พอรู้ว่าท้องด้วย ตกใจกว่าเดิม" สุดเขตร์กล่าวถึงเหตุการณ์ในตอนนั้น
ล่วงมาปี 2565 ศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุกธนพร 4 ปี ลดโทษจากการรับสารภาพ เหลือโทษจำคุก 2 ปีโดยให้รอลงอาญา ทำให้เธอได้มีโอกาสคลอดลูกและตั้งครรภ์ลูกน้อยคนต่อมา
ทว่าคนในครอบครัวไม่คาดคิดว่าศาลชั้นต่อ ๆ มาจะกลับคำพิพากษา ในที่สุดเมื่อเดือน พ.ค. 2567 ศาลฎีกาพิพากษาให้เธอจำคุกโดยไม่รอลงอาญา ทำให้เธอต้องกลับเข้าเรือนจำ
สุดเขตร์กลายเป็นพ่อเลี้ยงเดี่ยว ที่แม้จะอยู่กันแบบครอบครัวขยาย แต่ธรรมชาติของงานรับเหมาก่อสร้างที่ย้ายจังหวัดไปทั่วตามที่งานจะพาไปก็ทำให้ขาดแรงงานคนสำคัญที่ทำหน้าที่อยู่บ้านดูแลลูกไป
"ลูกก็ต้องผลัดกัน [เลี้ยง] บางทีแม่ผมก็ต้องเอาไปทำงานด้วย... ผมก็ต้องทำงาน" เขากล่าวถึงลูกน้อยวัย 4 ขวบและ 2 ขวบ ที่บางครั้งก็นำไปฝากครอบครัวของธนพรเลี้ยง
กระนั้นแล้วด้วยสภาวะคนทำงานรับจ้างรายวัน ทำให้เวลาจำกัดและควบคุมตารางเวลาได้ยาก
เมื่อถามถึงการเข้าโรงเรียนของเด็กน้อยในอนาคต ผู้เป็นพ่อกล่าวว่า "ต้องรอแม่เขาออก[จากเรือนจำ]ก่อน เพราะว่ามันคิดแล้ว มันไม่มีทางไปเลย ถ้ารอผมบางที ผมก็เลิกงานดึก ไม่มีใครไปรับไปส่งลูก"
ชวิศาเปิดเผยเพิ่มเติมว่า เธอมีโอกาสได้พบปะญาติของครอบครัวอื่นที่สมาชิกต้องคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพเหมือนกัน ทำให้รับรู้ความยากลำบากของครอบครัวอื่น
"รู้เลยว่าเรายังไม่ลำบากเท่าคนอื่น บางครอบครัวเขากระทบไปหมดเลย" เธอกล่าว
ความหวังนิรโทษกรรมคดี ม.112
"อยากให้ออกมา เหนื่อย" ชวิศาเอ่ย "ถ้าเขาออกมาเราก็ผ่อนปรนไปได้เยอะ ไม่ต้องหาเงินเยอะ คือเราไม่ต้องบ้า"
เธอกล่าวต่อไปว่าปัจจุบันเธอตั้งหน้าตั้งตาทำงานเพื่อจะได้ "ไม่ต้องคิดถึง" สามี โดยคำนวณว่า หากจิรวัฒน์ออกมาเธอก็มีคู่ชีวิตช่วยทำงาน "จากร้อยหนึ่งที่เราต้องทำก็เหลือทำแค่ 20 ลูกค้าก็ให้เขาตอบ เราก็ดูแค่หลังบ้านกับดูแลลูก" เธอกล่าวถึงงานขายเสื้อผ้าออนไลน์ที่แทบจะต้องคอยตอบลูกค้าอยู่ตลอดเวลา
สำหรับคนตัวเล็ก ๆ ที่สมาชิกคนในบ้านถูกคดีการเมือง ทั้งสุดเขตร์และชวิศาต่างเคยหวังกับกฎหมายนิรโทษกรรม แต่เมื่อเวลาผ่านไป ความหวังก็เริ่มจางลง
"ก็หวังครับช่วงแรก... หลัง ๆ มาก็เริ่มไม่ค่อยหวังเท่าไหร่" สุดเขตร์ยอมรับ
ด้านชวิศามองไปที่การลงมติร่างกฎหมายนิรโทษกรรม ที่กำลังอยู่ในระเบียบวาระของสภาผู้แทนราษฎร โดยเธอส่งเสียงไปยังคนในสภาว่า "อยากให้นักการเมืองมองมุมคนที่โดนบ้าง ว่ามันกระทบอะไรกับคนรอบข้าง"
สถิติจากเอกสารภาคผนวกรายงานคณะอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษาข้อมูลและสถิติคดีความผิดอันเนื่องมาจากแรงจูงใจทางการเมือง ในคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการตราพระราชบัญญัตนิรโทษกรรม สภาผู้แทนราษฎร ระบุว่า ช่วงปี 2548 ถึง ก.พ. 2567 มีคดีในหมวดความผิดต่อพระมหากษัตริย์ พระราชินี ต่อรัชทายาทฯ ม.107 - ม.112 ขึ้นสู่ศาลรวมจำนวนคดีทั้งสิ้น 1,493 คดี
ด้านศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน บันทึกสถิติคดีตามความผิดกฎหมายอาญามาตรา 112 เฉพาะในช่วงระลอกการชุมนุมปี 2563 จนถึงปัจจุบันมีทั้งสิ้น 314 คดี โดยคดีล่าสุดมีการจับกุมเมื่อเดือน มิ.ย. 2568
แม้ตัวเลขการดำเนินคดีจำนวนมากจะเกิดขึ้นก่อนระลอกการเคลื่อนไหวของเยาวชนปี พ.ศ. 2563 แต่การอภิปรายของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรต่อการพิจารณาร่างกฎหมายนิรโทษกรรมครั้งล่าสุด การคัดค้านพุ่งเป้าไปที่คดีที่เกิดในช่วง 5 ปีหลัง
"ผมอยากจะขอร้องท่านประธานไปยังผู้นําทางจิตวิญญาณของน้อง ๆ เหล่านี้ ให้เลิกพฤติกรรมเหล่านั้นได้ไหม เลิกยุยงส่งเสริมเยาวชนเหล่านั้นได้ไหม" นายธนกร วังบุญคงชนะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) พรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) กล่าวระหว่างการอภิปรายร่างกฎหมายนิรโทษกรรม เมื่อวันที่ 9 ก.ค. 2568
เขากล่าวต่อว่า การนิรโทษกรรมคดีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 "จะทําให้พี่น้องประชาชนคนไทยทั้งประเทศที่เขามีความจงรักภักดีไม่สบายใจ และก็ออกมาเคลื่อนไหวอีก ก็นําไปสู่ความแตกแยกอีก"

ด้านนอกสภาผู้แทนราษฎร ชวิศาเห็นต่างจากการอภิปรายของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เธอคิดว่าการรวมคดี 112 ให้อยู่ภายใต้เงื่อนไขของกฎหมายนิรโทษกรรมจะช่วยสมานรอยแยกในสังคมได้ "ให้เขาไปเถอะ จะได้เริ่มต้นใหม่กัน" เธอกล่าวกับบีบีซีไทย
ชวิศาซึ่งออกตัวว่าไม่เห็นพ้องกับท่าทีการแสดงออกทางการเมืองของสามี แสดงความเห็นต่อด้วยว่า การนิรโทษกรรมเคยเกิดขึ้นแล้วในอดีต
"มันก็เคยมีการนิรโทษกรรมคดีนี้แล้ว ก็รวมไปสิ ให้โอกาสคนที่ผิดพลาด" ชวิศา ระบุ
ข้อถกเถียงเรื่องประวัติศาสตร์การนิรโทษกรรมถูกการอภิปรายในสภาฯ เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่ง ธิษะณา ชุณหะวัณ และอนุสรณ์ แก้ววิเชียร สอง สส. จากพรรคประชาชน (ปชน.) ยืนยันว่ากรณี มาตรา 112 เคยได้รับการนิรโทษกรรมแล้ว โดยอ้างอิงถึงการนิรโทษกรรมหลังเหตุการณ์ 6 ตุลาฯ 2519
"มีการฟ้องนายสุธรรม แสงประทุม เลขาธิการศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนท.) กับพวกรวม 18 คน คดีนี้อยู่ในเหตุการณ์ 6 ตุลาฯ 19 ด้วย มาตรา 112 และได้รับการนิรโทษกรรมนะครับ" อนุสรณ์ สส. พรรคประชาชน อ้างอิงคดีหมายเลขดำที่ 253/2520 ซึ่งเป็นคดีของศาลทหารกรุงเทพ ในการอภิปรายเมื่อวันที่ 9 ก.ค. ที่ผ่านมา
ในการอภิปรายหัวข้อเดียวกัน จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ สส. พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) แย้งว่าการนิรโทษกรรมครั้งนั้นไม่ได้ออกเป็นพระราชบัญญัติ แต่ออกเป็นคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 66/2523 ในสมัยที่ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี
.webp)
ทนายความจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน และผู้ชี้แจงร่างกฎหมายนิรโทษกรรมฉบับประชาชน ซึ่งรวมการนิรโทษกรรมความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ในระหว่างการประชุมสภาวันที่ 9 กรกฎาคม 2568
ปัจจุบันคดีของธนพรถึงที่สิ้นสุดแล้ว ส่วนคดีของจิรวัฒน์อยู่ในชั้นฎีกาโดยที่เขาไม่ได้รับการประกันตัว
หลังตรวจพบมะเร็ง ชวิศารักษาตัว เธอหวังว่าโรคมะเร็งของเธอจะไม่กำเริบขึ้นมาอีกครั้งระหว่างที่สามีอยู่ในเรือนจำ โดยระหว่างนี้เธอก็เพียรฟูมฟักลูกสาวตัวน้อย พร้อมกับวางแผนเก็บเงินรอสามีพ้นโทษ หลังจากนั้นเธอตั้งเป้าว่าสามคนพ่อแม่ลูกจะย้ายไปต่างจังหวัด เปิดร้านค้าเหล็กก่อสร้างให้สามี ส่วนเธอจะเปิดร้านขายเสื้อผ้าต่อยอดจากการขายออนไลน์
"ระหว่างนี้เป็นห่วง กลัวว่าเขาจะติดโรคจากในเรือนจำ" เธอกล่าว และบอกว่าเธอกำชับจิรวัฒน์ทุกครั้งที่ไปเยี่ยม "บอกเขาว่าไม่ทิ้งหรอก สั่งข้าวให้ทุกวัน แค่นั้นแหละ เราเป็นคนไม่หวาน"
ขณะที่สุดเขตร์จะเดินทางไปเยี่ยมภรรยาเฉพาะคราวเปิดให้ "เยี่ยมใกล้ชิด" เขาเผยว่าแม้ภรรยาอยู่ในเรือนจำกว่าหนึ่งปีแล้ว แต่ยามกลางคืนเขาก็ยังนอนไม่หลับจากอาการวิตกอยู่เป็นประจำ
"ผมก็คุยกับเขาไว้ตลอดว่า ออกมาเมื่อไหร่ผมจะซื้อบ้าน จะให้เขาขายของอยู่บ้าน จะได้อยู่กับลูกสบาย ๆ" เขาทิ้งท้าย
https://www.bbc.com/thai/articles/cpd1p08vl4go
ชวนฟังเรื่องราวของ บูม-จิรวัฒน์ ผู้ต้องขังคดี #ม112 ที่ยังคงถูกกุมขังอยู่ในเรือนจำ
— iLawFX #นิรโทษกรรมประชาชน (@iLawFX) July 15, 2025
เขาจะได้กลับบ้าน ไปดูแลลูก ดูแลภรรยาที่ป่วยเป็นมะเร็ง หากสภามีมติรับร่างพ.ร.บ. #นิรโทษกรรมประชาชน ในวันที่ 16 กรกฎาคม 2568 pic.twitter.com/YoJ0dAYkvM