วันจันทร์, มกราคม 20, 2568
18 มกราคม 2568 ‘วันกองทัพไทย’ ท่านอาจจะยังไม่รู้ว่า กองทัพเป็น "เจ้าที่ดิน" รายใหญ่มากๆของประเทศรายหนึ่ง
Decode.plus
Yesterday
·
อ่างทอง เป็นจังหวัดเดียวที่ไม่มีที่ดินของกองทัพ
มากสุดคือกาญจนบุรี กองทัพครองที่ดินถึง 72% ของพื้นที่จังหวัด
.
.
18 มกราคม 2568 ‘วันกองทัพไทย’
บทบาทกองทัพในฐานะ "เจ้าที่ดิน" รายใหญ่ที่สุดของประเทศ เป็นประเด็นที่กำลังมีข้อถกเถียง นอกจากสนามกอล์ฟแล้ว กว่า 607,349 ไร่ กองทัพระบุว่าต้องใช้พื้นที่สำหรับการฝึกทหาร การสร้างฐานทัพ และโครงการพัฒนาอื่นๆ ที่เป็นเหตุผล “ความมั่นคงของชาติ”
โดยที่ดินเหล่านี้มาจากการขออนุญาตใช้พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติและป่าไม้ ซึ่งมีการต่ออายุสัญญาเป็นระยะทุก 20-30 ปี
จนเป็นปัญหาพื้นที่(กอง)ทับซ้อน มาอย่างยาวนาน
แม้จะมีวันหมดอายุ แต่สิทธิ์ในที่ดินเมื่อถูกกลืนแล้วไม่เคยถูกคืนสู่ประชาชน
‘โจทย์ใหญ่ของสังคมไทยบนความเหลื่อมล้ำ ที่ดินราคาแพง การเข้าถึงที่อยู่ที่ทำกินเป็นเรื่องง่ายสำหรับคน 1% ของประเทศนี้’
แม้จะมีวันหมดอายุ แต่สิทธิ์ในที่ดินเมื่อถูกกลืนแล้วไม่เคยถูกคืนสู่ประชาชน เพราะ…
1.กองทัพต่ออายุใช้ประโยชน์ : ชุมชนมีสิทธิคัดค้าน แต่ระเบียบการยื่นคำร้องไม่เคยมีแนวทางที่ชัดเจน
2.หมดสัญญา ที่ดินกลับไปเป็นของกรมป่าไม้/ป่าสงวน : การต้องปรับตัวกับกฏหมายพื้นที่ป่าไม้ทีแค่เข้มงวด โดยเฉพาะประเด็นการบุกรุกป่า แผ่วถางเพื่อทำกิน
3.หมดสัญญา ที่ดินกลับไปเป็นของกระทรวงการคลัง(ราชพัสดุ) : การอยู่อาศัยในที่ดินบรรพบุรุษ ต้องกลายเป็นการเช่าที่ดิน เนื่องจากการเปลี่ยนประเภทของพื้นที่
ความซับซ้อนของการจัดการที่ดินไม่ได้จำกัดอยู่เพียงในบทบาทของกองทัพกับทรัพย์สินของรัฐ แต่ยังครอบคลุมถึงความสัมพันธ์ระหว่างกองทัพกับชุมชนในพื้นที่ซ้อนทับที่ดินของป่าไม้ กรมราชพัสดุ และกองทัพ ปัญหาเหล่านี้สร้างผลกระทบต่อวิถีชีวิตชาวบ้านอย่างชัดเจน
เกิดความไม่แน่นอน ในการใช้ประโยชน์ที่ดิน เนื่องจากนโยบายที่เปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา
การขาดสิทธิในที่ดินทำกินหรือกรรมสิทธิ์ในโฉนด
ไม่สามารถเข้าร่วมโครงการแก้ไขปัญหาที่ดินหรือนโยบายกลางเพื่อพัฒนาสิทธิที่ดีกว่า
มีความหวาดระแวงจากการปฏิบัติงานของกองทัพ เช่น การลาดตระเวนและการฝึกอาวุธที่ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรของชุมชน
.
.
เช่น ข้อพิพาทที่ดินระหว่างชาวบ้านและกองทัพบกในพื้นที่ บ้านท่าสี ม.3 และบ้านจำปุย บ้านปงผักหละ บ้านห้วยตาด ม.4 ต.บ้านดง อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง
51 ปียังคงสู้ต่อ คนอยู่กับป่า กองทัพต้องคืนสิทธิ์
6 มกราคม 2568 มีการรวมตัวของชุมชน
คณะกรรมาธิการการทหาร สภาผู้แทนราษฎร เสนอแก้ปัญหาโดยใช้แผนที่สำรวจร่วมปี 2562 หวังเพิกถอนพื้นที่ทหาร ที่ทับซ้อนกับพื้นที่ทำกินของชุมชน
ปัญหานี้เกิดจากสร้างค่ายพักและฝึกต่อสู้ปราบปรามผู้ก่อความไม่สงบ โดยมีค่ายฝึกรบพิเศษที่ 3 ประตูผา เป็นผู้ดูแลพื้นที่
ชาวบ้านเรียกร้องให้คืนสิทธิ์ที่ดินทำกินโดยสำรวจแนวเขตอย่างมีส่วนร่วม ระงับการตรวจยึดและดำเนินคดี ยุติการดำเนินการที่กระทบชาวบ้าน และให้ทำกินในที่ดินตนเองได้จนกว่ากระบวนการพิสูจน์สิทธิ์จะเสร็จสิ้น
ประธาน กมธ.ทหาร วิโรจน์ ลักขณาอดิศร เสนอ 4 แนวทางแก้ปัญหา ได้แก่
1.ขอข้อมูลแผนที่สำรวจปี 2562 เพื่อสอบทานพื้นที่และแก้ไขข้อผิดพลาด
2.ให้กองทัพบกผ่อนปรน ให้ชาวบ้านทำกินในพื้นที่เดิมระหว่างกระบวนการแก้ปัญหา
3.ยึดแนวทางการทำงานร่วมกับชุมชนแบบถ้อยทีถ้อยอาศัย
4.เสนอให้กันพื้นที่ทหารออกจากพื้นที่ชุมชนหากได้ข้อยุติร่วมกัน
ถึงวันนี้ชาวบ้านยังคงกังวลเรื่องความชัดเจนของแนวเขตและการคืนสิทธิ์
#decode #ที่ดินกองทัพ #พื้นที่ทหาร #ความเหลื่อมล้ำ #พื้นที่ทับซ้อน #สิทธิชุมชน #วันกองทัพไทย
https://www.facebook.com/DecodeThaiPBS/posts/925456073070853