Tara Buakamsri
Yesterday
Yesterday
·
แหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศขนาดใหญ่ที่รัฐบาลไม่พูดถึง
https://www.greenpeace.org/.../climate-airpollution-prtr.../
เมื่อเกิดวิกฤตฝุ่น PM2.5 ในกรุงเทพฯ เรามักจะพุ่งเป้าไปที่รถยนต์เป็นหลัก แต่แหล่งกำเนิดของฝุ่นพิษ PM2.5 ไม่ใช่แค่นั้น พื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลมีแหล่งกำเนิดฝุ่นและคาร์บอนไดออกไซด์ขนาดใหญ่ คือโรงไฟฟ้าก๊าซฟอสซิล โรงกลั่นน้ำมันที่มีกำลังผลิตสูงมาก ซึ่งปล่อยฝุ่นมากกว่ารถยนต์หลายเท่า การต่อกรกับวิกฤตฝุ่นพิษ PM2.5 ได้จริงจะต้องจัดการกับผู้ก่อมลพิษรายใหญ่ดังกล่าว
ข้อมูลจากรายงาน EIA - โรงไฟฟ้าพระนครใต้ กำลังผลิตรวม 1,930 เมกะวัตต์ และมีแผนจะขยายเพิ่มรวมทั้งสิ้นเป็น 4,519.4 เมกะวัตต์ในปี 2569-2570 ซึ่งเมื่อเสร็จสมบูรณ์แล้วจะปล่อยฝุ่นละอองสู่บรรยากาศวันละกว่า 4.6 ตัน และปล่อยออกไซด์ของไนโตรเจน (NOx) มากกว่า 6.4 ตันต่อวัน
แหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศขนาดใหญ่ในกรุงเทพอีกแห่งคือ โรงกลั่นน้ำมันบางจากซึ่งเป็นโรงกลั่นแบบ Complex Refinery กําลังการผลิตสูงสุด 120,000 บาร์เรลต่อวันและปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ปีละ 900,000 ตัน (https://www.bangchak.co.th/.../environment-dimension... กรณีโรงกลั่นเชฟรอนที่รัฐแคลิฟอร์เนียสหรัฐฯ ซึ่งมีขนาดใกล้เคียงกับโรงกลั่นน้ำมันบางจาก ปล่อย PM2.5 ประมาณ 473 ตัน/ปี จาก 119 จุดในระยะของโรงกลั่น)
การศึกษาของมูลนิธิบูรณะนิเวศในจังหวัดสมุทรสาครเมื่อปี 2564 พบว่า ภาคอุตสาหกรรมเป็นแหล่งกำเนิดหลักของฝุ่นพิษ PM2.5 เมื่อเปรียบเทียบกับแหล่งกำเนิดจากภาคการจราจรและขนส่ง การเผาขยะมูลฝอย และการเผาในที่โล่ง โดยพื้นที่วิกฤตที่มีการปลดปล่อยสูงสุดคือ อ.เมืองสมุทรสาคร ซึ่งเป็นเขตอุตสาหกรรมหนาแน่นและเป็นหนึ่งในปริมณฑลสำคัญของกรุงเทพฯ มูลนิธิฯ ยังได้มีการรวบรวมข้อมูลจำนวนโรงงานในพื้นที่ กทม.และปริมณฑล โดยอ้างอิงข้อมูลของกรมโรงงานอุตสาหกรรมเมื่อปี 2560 พบว่า มีจำนวนโรงงานอุตสาหกรรม 13,272 แห่งที่เป็นแหล่งก่อมลพิษทางอากาศ
*มาตรการเฉพาะสำหรับโรงกลั่นน้ำมันและโรงไฟฟ้าในเขต กทม.
+++วางแผนการเดินเครื่องและการซ่อมบำรุงประจำปี ให้สอดคล้องกับการคาดการณ์สภาพอากาศ เช่น การหยุดซ่อมบำรุงประจำปี 45 วัน เป็นช่วงเดียวกับฤดูที่มีวิกฤติฝุ่น
+++ติดตั้งเทคโนโลยี WGS (wet gas scrubber) ที่ FCCU กรณีโรงกลั่นบางจาก
+++ติดตั้งเทคโนโลยีระบบควบแน่นและระบบกรองที่ระบบไอเสียก่อนปล่อยออกสู่บรรยากาศ กรณีโรงไฟฟ้า
*มาตรการระยะสั้นเพื่อควบคุมการปล่อยมลพิษให้สำเร็จ
+++รัฐสภาและรัฐบาลสนับสนุน (ร่าง) พระราชบัญญัติการรายงานและเปิดเผยข้อมูลการปล่อยและเคลื่อนย้ายสารมลพิษ พ.ศ…. (PRTR) ซึ่งเป็นกฎหมายโดยตรงสำหรับการตรวจสอบและลดการปล่อยมลพิษจากทุกประเภทแหล่งกำเนิดที่ประเทศพัฒนาทุกแห่งมีการบังคับใช้
+++ตรวจสอบระบบการบำบัดอากาศเสียและปริมาณการปล่อยทิ้งอากาศเสียของโรงงานในเขต กทม. และปริมณฑลที่ต้องปฏิบัติตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2549 และโรงงานที่มีกฎหมายควบคุมการปล่อยอากาศเสียเป็นการเฉพาะ ได้แก่ กิจการโรงโม่ บดหรือย่อยหิน โรงผลิตผลิตภัณฑ์ที่ทำด้วยเหล็ก/เหล็กกล้า โรงไฟฟ้าและโรงไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงฟอสซิล โรงแยกก๊าซธรรมชาติ โรงคัดแยก/ฝังกลบ และโรงงานรีไซเคิล
+++สำหรับโรงกลั่นน้ำมัน/โรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงฟอสซิล รวมถึงโรงงานปิโตรเคมีขนาดใหญ่ และโรงงานอุตสาหกรรมที่ปล่อยฝุ่นมากควรมีมาตรการกำกับให้ลดหรืองดการเดินเครื่องในช่วงที่มีอากาศปิด และมี PM2.5 อยู่ในระดับวิกฤต
+++ระบบการตรวจวัดฝุ่น PM2.5 ทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพของภาครัฐต้องพร้อมสุ่มตรวจตลอดเวลา ที่ควรมีการสุ่มตรวจเพิ่มเติมจากการตรวจวัดปกติสำหรับโรงงานที่ต้องปฏิบัติตามมาตรการในรายงานประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม (EIA) เนื่องจากข้อกำหนดของ EIA กำหนดการตรวจวัดไว้เพียงปีละสองครั้งที่ปลายปล่องระบายอากาศเสีย ซึ่งไม่ตรงกับช่วงเกิดวิกฤตการณ์ (การสุ่มตรวจวัดนี้เป็นคนละส่วนกับจุดตรวจวัดและการแสดงคุณภาพอากาศ ณ ชุมชนรอบโรงไฟฟ้า)
+++ชะลอและทบทวนโครงการการก่อสร้างส่วนต่อขยาย การเพิ่มกำลังผลิต หรือการทดแทนกำลังผลิตเดิมที่หมดอายุในบริเวณเดิม (หรือในเขต กทม.และปริมณฑล) อนึ่ง การทำรายงานประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EIA และ EHIA) ในปัจจุบันของโครงการโรงไฟฟ้าพระนครใต้ไม่ได้คำนึงถึงช่วงเวลาที่เกิดวิกฤตฝุ่นพิษ PM 2.5 แต่อย่างใด
*มาตรการระยะยาว
+++ย้ายโรงกลั่นน้ำมันขนาดใหญ่ในกรุงเทพฯ ไปรวมในทำเลที่ตั้งที่มีอยู่แล้วในเขตอุตสาหกรรมและการนำหลักการผังเมืองมาบังคับใช้ให้เข้มข้น
+++ให้มีการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเชิงยุทธศาสตร์ (SEA) ในภาพรวมของกรุงเทพฯ และปริมณฑลในบริบทของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและวิกฤตคุณภาพอากาศ (โดยใช้ค่ามาตรฐาน PM และ AQI ที่เป็นสากล) เพื่อเป็นแม่บทในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาต่อไปในอนาคต
+++ปรับปรุงและออกกฎหมายโดยใช้มาตรการและมาตรฐานที่เป็นสากลและได้ผล โดยมีเป้าหมายอยู่ที่คุณภาพของประชาชนและสิ่งแวดล้อมภายใต้กติกาและวัฒนธรรมประชาธิปไตย
https://www.greenpeace.org/.../climate-airpollution-prtr.../
https://www.facebook.com/photo/?fbid=9538372592860606&set=a.101947549836538
แหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศขนาดใหญ่ที่รัฐบาลไม่พูดถึง
https://www.greenpeace.org/.../climate-airpollution-prtr.../
เมื่อเกิดวิกฤตฝุ่น PM2.5 ในกรุงเทพฯ เรามักจะพุ่งเป้าไปที่รถยนต์เป็นหลัก แต่แหล่งกำเนิดของฝุ่นพิษ PM2.5 ไม่ใช่แค่นั้น พื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลมีแหล่งกำเนิดฝุ่นและคาร์บอนไดออกไซด์ขนาดใหญ่ คือโรงไฟฟ้าก๊าซฟอสซิล โรงกลั่นน้ำมันที่มีกำลังผลิตสูงมาก ซึ่งปล่อยฝุ่นมากกว่ารถยนต์หลายเท่า การต่อกรกับวิกฤตฝุ่นพิษ PM2.5 ได้จริงจะต้องจัดการกับผู้ก่อมลพิษรายใหญ่ดังกล่าว
ข้อมูลจากรายงาน EIA - โรงไฟฟ้าพระนครใต้ กำลังผลิตรวม 1,930 เมกะวัตต์ และมีแผนจะขยายเพิ่มรวมทั้งสิ้นเป็น 4,519.4 เมกะวัตต์ในปี 2569-2570 ซึ่งเมื่อเสร็จสมบูรณ์แล้วจะปล่อยฝุ่นละอองสู่บรรยากาศวันละกว่า 4.6 ตัน และปล่อยออกไซด์ของไนโตรเจน (NOx) มากกว่า 6.4 ตันต่อวัน
แหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศขนาดใหญ่ในกรุงเทพอีกแห่งคือ โรงกลั่นน้ำมันบางจากซึ่งเป็นโรงกลั่นแบบ Complex Refinery กําลังการผลิตสูงสุด 120,000 บาร์เรลต่อวันและปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ปีละ 900,000 ตัน (https://www.bangchak.co.th/.../environment-dimension... กรณีโรงกลั่นเชฟรอนที่รัฐแคลิฟอร์เนียสหรัฐฯ ซึ่งมีขนาดใกล้เคียงกับโรงกลั่นน้ำมันบางจาก ปล่อย PM2.5 ประมาณ 473 ตัน/ปี จาก 119 จุดในระยะของโรงกลั่น)
การศึกษาของมูลนิธิบูรณะนิเวศในจังหวัดสมุทรสาครเมื่อปี 2564 พบว่า ภาคอุตสาหกรรมเป็นแหล่งกำเนิดหลักของฝุ่นพิษ PM2.5 เมื่อเปรียบเทียบกับแหล่งกำเนิดจากภาคการจราจรและขนส่ง การเผาขยะมูลฝอย และการเผาในที่โล่ง โดยพื้นที่วิกฤตที่มีการปลดปล่อยสูงสุดคือ อ.เมืองสมุทรสาคร ซึ่งเป็นเขตอุตสาหกรรมหนาแน่นและเป็นหนึ่งในปริมณฑลสำคัญของกรุงเทพฯ มูลนิธิฯ ยังได้มีการรวบรวมข้อมูลจำนวนโรงงานในพื้นที่ กทม.และปริมณฑล โดยอ้างอิงข้อมูลของกรมโรงงานอุตสาหกรรมเมื่อปี 2560 พบว่า มีจำนวนโรงงานอุตสาหกรรม 13,272 แห่งที่เป็นแหล่งก่อมลพิษทางอากาศ
*มาตรการเฉพาะสำหรับโรงกลั่นน้ำมันและโรงไฟฟ้าในเขต กทม.
+++วางแผนการเดินเครื่องและการซ่อมบำรุงประจำปี ให้สอดคล้องกับการคาดการณ์สภาพอากาศ เช่น การหยุดซ่อมบำรุงประจำปี 45 วัน เป็นช่วงเดียวกับฤดูที่มีวิกฤติฝุ่น
+++ติดตั้งเทคโนโลยี WGS (wet gas scrubber) ที่ FCCU กรณีโรงกลั่นบางจาก
+++ติดตั้งเทคโนโลยีระบบควบแน่นและระบบกรองที่ระบบไอเสียก่อนปล่อยออกสู่บรรยากาศ กรณีโรงไฟฟ้า
*มาตรการระยะสั้นเพื่อควบคุมการปล่อยมลพิษให้สำเร็จ
+++รัฐสภาและรัฐบาลสนับสนุน (ร่าง) พระราชบัญญัติการรายงานและเปิดเผยข้อมูลการปล่อยและเคลื่อนย้ายสารมลพิษ พ.ศ…. (PRTR) ซึ่งเป็นกฎหมายโดยตรงสำหรับการตรวจสอบและลดการปล่อยมลพิษจากทุกประเภทแหล่งกำเนิดที่ประเทศพัฒนาทุกแห่งมีการบังคับใช้
+++ตรวจสอบระบบการบำบัดอากาศเสียและปริมาณการปล่อยทิ้งอากาศเสียของโรงงานในเขต กทม. และปริมณฑลที่ต้องปฏิบัติตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2549 และโรงงานที่มีกฎหมายควบคุมการปล่อยอากาศเสียเป็นการเฉพาะ ได้แก่ กิจการโรงโม่ บดหรือย่อยหิน โรงผลิตผลิตภัณฑ์ที่ทำด้วยเหล็ก/เหล็กกล้า โรงไฟฟ้าและโรงไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงฟอสซิล โรงแยกก๊าซธรรมชาติ โรงคัดแยก/ฝังกลบ และโรงงานรีไซเคิล
+++สำหรับโรงกลั่นน้ำมัน/โรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงฟอสซิล รวมถึงโรงงานปิโตรเคมีขนาดใหญ่ และโรงงานอุตสาหกรรมที่ปล่อยฝุ่นมากควรมีมาตรการกำกับให้ลดหรืองดการเดินเครื่องในช่วงที่มีอากาศปิด และมี PM2.5 อยู่ในระดับวิกฤต
+++ระบบการตรวจวัดฝุ่น PM2.5 ทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพของภาครัฐต้องพร้อมสุ่มตรวจตลอดเวลา ที่ควรมีการสุ่มตรวจเพิ่มเติมจากการตรวจวัดปกติสำหรับโรงงานที่ต้องปฏิบัติตามมาตรการในรายงานประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม (EIA) เนื่องจากข้อกำหนดของ EIA กำหนดการตรวจวัดไว้เพียงปีละสองครั้งที่ปลายปล่องระบายอากาศเสีย ซึ่งไม่ตรงกับช่วงเกิดวิกฤตการณ์ (การสุ่มตรวจวัดนี้เป็นคนละส่วนกับจุดตรวจวัดและการแสดงคุณภาพอากาศ ณ ชุมชนรอบโรงไฟฟ้า)
+++ชะลอและทบทวนโครงการการก่อสร้างส่วนต่อขยาย การเพิ่มกำลังผลิต หรือการทดแทนกำลังผลิตเดิมที่หมดอายุในบริเวณเดิม (หรือในเขต กทม.และปริมณฑล) อนึ่ง การทำรายงานประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EIA และ EHIA) ในปัจจุบันของโครงการโรงไฟฟ้าพระนครใต้ไม่ได้คำนึงถึงช่วงเวลาที่เกิดวิกฤตฝุ่นพิษ PM 2.5 แต่อย่างใด
*มาตรการระยะยาว
+++ย้ายโรงกลั่นน้ำมันขนาดใหญ่ในกรุงเทพฯ ไปรวมในทำเลที่ตั้งที่มีอยู่แล้วในเขตอุตสาหกรรมและการนำหลักการผังเมืองมาบังคับใช้ให้เข้มข้น
+++ให้มีการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเชิงยุทธศาสตร์ (SEA) ในภาพรวมของกรุงเทพฯ และปริมณฑลในบริบทของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและวิกฤตคุณภาพอากาศ (โดยใช้ค่ามาตรฐาน PM และ AQI ที่เป็นสากล) เพื่อเป็นแม่บทในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาต่อไปในอนาคต
+++ปรับปรุงและออกกฎหมายโดยใช้มาตรการและมาตรฐานที่เป็นสากลและได้ผล โดยมีเป้าหมายอยู่ที่คุณภาพของประชาชนและสิ่งแวดล้อมภายใต้กติกาและวัฒนธรรมประชาธิปไตย
https://www.greenpeace.org/.../climate-airpollution-prtr.../
https://www.facebook.com/photo/?fbid=9538372592860606&set=a.101947549836538