วันอาทิตย์, มกราคม 26, 2568
ถ้าจะมีใครสักคนที่ช่วยให้วัฒนธรรมจีนในเมืองไทยยังคงรักษาประเพณีไหว้เจ้าไว้ได้จนถึงทุกวันนี้ คนๆ นั้นคงไม่ใช่ใครที่ไหน แต่เป็นจอมพล ป. พิบูลสงคราม ผู้ซึ่งพยายามปราบจีนแต่ดันเป็นคนส่งเสริมการเลี้ยงไก่ให้เป็นอุตสาหกรรม จนทุกวันนี้เราคงต้องแต๊งกิ้วท่าน
Wongnai
Yesterday
·
ถ้าจะมีใครสักคนที่ช่วยให้วัฒนธรรมจีนในเมืองไทยยังคงรักษาประเพณีไหว้เจ้าไว้ได้จนถึงทุกวันนี้ คนๆ นั้นคงไม่ใช่ใครที่ไหน แต่เป็นจอมพล ป. พิบูลสงคราม ผู้ซึ่งพยายามปราบจีนแต่ดันเป็นคนส่งเสริมการเลี้ยงไก่ให้เป็นอุตสาหกรรม จนทุกวันนี้เราคงต้องแต๊งกิ้วท่านผู้นำที่ทำให้เรามีไก่กินกันไม่ขาด
.
อะไรทำให้จอมพล ป. พิบูลสงครามนั้นยึดโยงถึงขึ้นที่อาจจะใช้คำว่าชื่นชอบไก่เป็นพิเศษ คำตอบง่าย ๆ ก็คือท่านเป็นคนเกิดปีไก่หรือปีระกานั่นเอง แต่เรื่องราวไก่ของท่านนั้นถูกตีความไว้อย่างหลากหลายและมันมีผลต่อหน้าประวัติศาสตร์การกินของคนไทยอย่างแยกไม่ได้ เรื่องราวไก่อลวลและผู้นำอลเวงจะเป็นเช่นไร Wongnai ขอเชิญ ทุกท่านเสพเรื่องราวสุดไร้เหตุผลและคำอธิบายไปพร้อมกัน
.
หากคุณนึกถึงไก่คุณคงนึกถึงผู้พันแซนเดอร์ แต่หากคุณย้อนกลับไปหลังช่วง พ.ศ. 2475 ถ้านึกถึงไก่ คุณต้องนึกถึงจอมพล แปลก หรือ ป. พิบูลสงคราม ไม่ว่าจะในฐานะคนที่ผลักดันไก่ให้กลายเป็นอาหารหลักของคนไทย ผู้บุกเบิกการเลี้ยงไก่ในรูปแบบอุตสาหกรรม หรือผู้ที่ใช้ไก่เป็นสัญลักษณ์แทนตัวเอง แต่บทบาทที่ท่านทิ้งไว้ต่อเรื่องการกินมากที่สุดเรื่องหนึ่งคือการเปลี่ยนความคิดเรื่องการกินไก่ของสังคมไทยให้เปลี่ยนไปตลอดกาล
.
1.ไก่กับสังคมไทยก่อน 2475
ในปัจจุบัน มุมมองต่อเจ้าโต้งของเรา คงหนีไม่พ้นแหล่งโปรตีนคุณภาพดี ราคาถูก หาง่ายได้ตามซุปเปอร์มาร์เก็ต แต่มุมมองนี้เองเพิ่งเกิดขึ้นหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 เพราะคนในพื้นที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตั้งแต่อดีตไม่ได้มีมุมมองว่าไก่เป็นอาหารหลัก และนิยมเลี้ยงไก่ไว้เพื่อเป็นสัตว์เลี้ยงในลักษณะเดียวกับวัว ควาย และสุนัข ว่าง่าย ๆ คือเลี้ยงไว้ใต้ถุนบ้านให้หาอะไรกินเองแบบไก่ฟรีเรนจ์ยุกบุกเบิก แต่มักนำมาเป็นอาหารในโอกาสพิเศษ เช่นการไหว้ผี งานบวช งานแต่ง หรือการไหว้บรรพบุรุษ
.
ไก่มาจากเอเชียแต่ยุโรปศัลยกรรม
อ้างจากหนังสือปฎิวัติที่ปลายลิ้น ผู้เชี่ยวชาญเรื่องไก่อย่างเจ้าชายอะกิชิโนะมิยะ ฟุมิฮิโตะ แห่งญี่ปุ่น ให้ข้อสรุปว่าไก่บ้านมีต้นกำเนิดอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก่อนจะถูกนำไปเลี้ยงในที่ต่าง ๆ ผ่านการติดต่อค้าขาย และนำกลับจากยุโรปมาสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในอีก 200 ปีต่อมา
.
ไทยไม่กินไก่เป็นอาหารหลัก
ในมุมมองนี้เองก่อนปี พ.ศ. 2475 ไก่ในความเข้าใจของคนไทยจึงมีความเป็นสัตว์เลี้ยง ทรัพย์สิน และเป็นอาหารในประเพณีในโอกาสสำคัญเพื่อตอบสนองต่อความเชื่อ มากกว่าการกินเพื่อเป็นอาหารประจำวัน แล้วคนไทยหันมากินไก่ได้อย่างไร?
.
2. ทำไมต้องเลี้ยงไก่
หลังจากแนวคิดการกินให้ครบ 5 หมู่แบบตะวันตกกลายเป็นหลักคิดสำคัญหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 คนไทยที่เคยกินข้าวกับของแซ่บเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นรสเผ็ดเกิน เค็มเกิน เพื่อให้กินข้าวได้มาก ๆ แถมด้วยการขาดโปรตีนจนเป็นโรคขาดสารอาหารเป็นจำนวนมาก ทำให้คณะราษฎร์จัดตั้งกองอาหารและเริ่มเปลี่ยนแปลงการกินของคนสยาม ไม่ว่าจะเป็นการกินข้าวและกับ(โปรตีน)ให้สมดุลกัน
.
จุดนี้เองที่คนไทยยังคงขาดอาหารซึ่งเป็นแหล่งโปรตีนที่เพียงพอ “ชาติจะขับเคลื่อนได้ คนในชาติก็ต้องมีร่างกายที่แข็งแรง” คณะราษฎร์ยังต้องหาแหล่งโปรตีนที่ดี ราคาไม่สูง เพื่อให้คนทั่วไปสามารถเข้าถึงได้จึงเป็นจุดเริ่มต้นในการเลี้ยงไก่หลังบ้านและกลายเป็นนโยบายที่เปลี่ยนความคิดของคนไทยที่มีต่อไก่
.
3.เริ่มที่หลังบ้าน
ดังเช่นสุภาษิตจีนที่บอกให้ทำอะไรให้เริ่มแบบเล็ก ๆ ก่อน แนวคิดในเวลานั้นของคณะราษฎร์ในการเลี้ยงไก่ก็เหมือนกัน แต่ก็เจอความติดขัดหลายอย่างแต่สุดท้ายเป็นอันล้มเลิกไป แต่ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่น่าสนใจขนาดที่ว่าเกิดการแข่งไก่ประกวดในหมู่ข้าราชการ
.
หลังจากแนวคิดการกินให้ครบ 5 หมู่แบบตะวันตกกลายเป็นหลักคิดสำคัญหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 คนไทยที่เคยกินข้าวกับของแซ่บเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นรสเผ็ดเกิน เค็มเกิน เพื่อให้กินข้าวได้มาก ๆ แถมด้วยการขาดโปรตีนจนเป็นโรคขาดสารอาหารเป็นจำนวนมาก ทำให้คณะราษฎร์จัดตั้งกองอาหารและเริ่มเปลี่ยนแปลงการกินของคนสยาม เน้นการกินข้าวและกับ(โปรตีน)ให้สมดุลกัน
.
ข้าราชการเลี้ยงไก่
ณ เวลานั้นคนไทยยังคงขาดอาหารซึ่งเป็นแหล่งโปรตีนที่เพียงพอ “ชาติจะขับเคลื่อนได้ คนในชาติก็ต้องมีร่างกายที่แข็งแรง” คณะราษฎร์ยังต้องหาแหล่งโปรตีนที่ดี ราคาไม่สูง เพื่อให้คนทั่วไปสามารถเข้าถึงได้จึงเป็นจุดเริ่มต้นในการเลี้ยงไก่หลังบ้าน โดยเริ่มต้นจากให้ข้าราชการเลี้ยงในรูปแบบการทำเกษตรครัวเรือนปลูกผักรอบบ้านและใต้ถุนบ้านเลีัยงไก่ เกิดการแจกพันธ์ุไก่และการเลี้ยงไก่ได้รับความนิยมมากขึ้น
.
ประกวดไก่ขน
แม้ในช่วง พ.ศ. 2480 ที่คนชนชั้นนำส่วนใหญ่นิยมเลี้ยงไก่ ถึงขนาดที่ว่ามีการประกวดไก่ไข่ดกเพื่อให้คนทั่วไปเห็นว่าสามารถเลี้ยงไก่ในเมืองไทยได้ อีกด้านหนึ่งก็เกิดความชอบใหม่ ๆ เช่นการเลี้ยงไก่พันธุ์ต่างประเทศเพื่อเป็นไก่สวยงาม เป็นที่มาของคำว่าเลี้ยงไก่เอาขนนั่นเอง แม้การเลี้ยงไก่จะได้รับความนิยมขึ้นในหมู่เจ้านาย บ้างเลี้ยงเป็นสัตว์สวยงาม แต่ในภาพรวมคนไทยก็ยังมองว่าการเลี้ยงไก่ไม่สามารถเป็นอาชีพได้ แถมยังถูกสกัดขาด้วยเรื่องไม่คาดคิดเมื่อมีโรคระบาดนิวคาสเซิลในไก่ เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2482 ทำให้ไอเดียการเลี้ยงไก่ของคณะราษฎร์กลายเป็นหมันไปตั้งแต่ยังไม่พิชชิ่งไอเดียให้กับประชาชนในวงกว้าง
.
3.จอมพลคนปฎิวัติไก่
ตัดกลับมาที่เรื่องราวของจอมพล ป. ที่ชื่นชอบไก่เป็นทุนเดิมเพิ่มเติมจากเรื่องวันเกิดก็คือ มีการสร้างรูปปั้นไก่ตั้งที่ลพบุรี การใช้เป็นตราประจำจังหวัดพิบูลสงคราม (ปัจจุบันคือจังหวัดบันทายมีชัยในกัมพูชา) ถึงขนาดว่าใช้เป็นลวดลายประดับชายคาในทำเนียบรัฐบาล ใช้เป็นสัญลักษณ์ส่วนตัว หรือจะเป็นการเลียนแบบครุฑที่หลาย ๆ ท่านอาจจะตึความได้ว่ามีความใกล้เคียงกับอินทรีของนาซี แต่จุดที่น่าสนใจคือการออกแบบสัญลักษณ์ไก่ของจอมพล ป. ต้องการแยก "ครุฑ" ซึ่งเป็นตราแผ่นดินของระบอบเก่า สะท้อนด้วย “ไก่” ที่อาจตีความได้ว่าสามัญทั่วไปมากกว่า ซึ่งแสดงถึงความพยายามในการสร้างอำนาจนำใหม่แทนที่สัญลักษณ์เดิม จากความชอบนี้เองก็ได้ควบคู่ไปกับความจริงจังเรื่อง ไนโยบายส่งเสริมการเลี้ยงไก่ในระดับประเทศ จนกลายเป็นรากฐานของอุตสาหกรรมการเลี้ยงไก่ในประเทศไทย
.
ด้วยความรักในไก่ที่ยังคงอยู่ในใจ ประหนึ่งรักแรกในวัย 14 จึงได้ทำการรื้อฟื้นนโยบายการเลี้ยงไก่ขึ้นมาอีกครั้งในรูปแบบที่เล่นใหญ่กว่าเดิม คือการเลี้ยงแบบเป็นอาชีพเพื่อส่งขาย ไม่ได้เป็นรูปแบบสวนครัวเหมือนครั้งอดีต
.
อเมริกาสอน
เรื่องของเรื่องคือหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โลกเผชิญกับภาวะขาดแคลนอาหาร ไก่จึงถูกยกขึ้นมาในฐานะแหล่งโปรตีนใหม่ที่มีคุณภาพและผลิตได้รวดเร็วไม่ว่าจะเป็นไก่ไข่ หรือไก่เนื้อก็ตาม โดยประเทศที่สหรัฐอเมริกาให้การสนับสนุนนั้นสามารถสร้างอุตสาหกรรมการเลี้ยงไก่ได้อย่างรวดเร็ว อย่างในภูมิภาคเอเชียก็คือญี่ปุ่นและฟิลิปปินส์ ซึ่งยูเอสเอก็ได้แผ่อิทธิพลมาถึงไทยด้วยเช่นกันผ่านเรื่องอิทธิพลทางการเมือง การถ่ายทอดวิธีการเลี้ยงไก่แบบอุตสาหกรรม ส่วนถามว่าทำไมถึงเป็นอเมริกานั่นก็เพราะว่าอเมริกาสามารถเลี้ยงไก่ในรูปแบบอุตสหกรรมได้ตั้งแต่ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 แล้วนั่นเอง
.
มือช่วยเลี้ยงไก่
จอมพล ป. จะเป็นผู้กำหนดนโยบายและกฎหมายเพื่อให้คนไทยเลี้ยงไก่ แต่ถ้าหากขาดองค์ความรู้ด้านการเกษตรไปก็คงไม่สามารถทำให้ธุระของไก่ในไทยโตขึ้นได้อย่างรวดเร็ว นั่นจึงเป็นหน้าที่ของ “หลวงสุวรรณวาจกกสิกิจ” ที่ได้ไปเรียนเรื่องอุตสาหกรรมไก่มาจากฟิลิปปินส์(ซึ่งก็คือความรู้จากอเมริกา)และนำความรู้นี้มาเริ่มต่อยอดในไทย ซึ่งท่านได้เขียนตำราเลี้ยงไก่ขึ้นมา 2 เล่ม เพื่อใช้เป็นตำราเรียนในโรงเรียน และเป็นแหล่งความรู้สำหรับประชาชนทั่วไปที่สนใจการเลี้ยงไก่ไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2472 อีกด้วย
.
โรงแรมไก่
ผลงานเด่น ๆ เลยก็คือเป็นผู้บุกเบิกการเลี้ยงไก่ในประเทศไทย และได้พัฒนาระบบการเลี้ยงไก่ไข่แบบขังกรง ซึ่งในสมัยนั้นเรียกว่า "โรงแรมไก่" ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเลี้ยงไก่ทำให้สามารถดูแลและจัดการไก่ได้ดีขึ้น ซึ่งก็ได้พัฒนามาเป็นฟาร์มไก่สมัยใหม่ที่เราเห็นกันในปัจจุบัน นี่คือมรดกทางการเกษตรที่น่าสนใจอีกชิ้นหนึ่งจากยุครัฐนิยม
.
วรสารเพื่อคนเลี้ยงไก่
ตอนนี้เราก็ได้ คนคิด คนบุกเบิก แต่ยังขาดคนเชื่อและคนทำเพราะจากบันทึกของหลวงสุวรรณวาจกกสิกิจเล่าไว้ว่า หลังจากที่กลับมาจากเรียนต่อ ท่านรู้ว่ามีฟาร์มไก่อยู่แล้วที่บางเบิด โดยส่งขาย แค่ 500 ตัว แต่ก็ยังไม่มีคนซื้อ ทำให้เมื่อต้องเป็นคนบุกเบิกเรื่องนี้จะต้องเพิ่มให้ความรู้แกประชาชนเพื่อให้กล้าเลี้ยงและกล้ากินไก่มากขึ้น จนเป็นที่มาของวารสาร”สาส์นไก่” ในปี พ.ศ. 2494 ที่ให้ความรู้แก่เกษตรกรอย่างเป็นวิทยาศาสตร์เพื่อให้สามารถเลี้ยงไก่เป็นอาชีพได้ ควบคู่ไปกับนโยบายการซื้อการขาย การรณรงค์ให้คนรับประทานไก่และไขมากขึ้น
.
4.ปราบจีนแต่ทำให้วันนี้เรามีไก่ไหว้เจ้า
คงปฎิเสธไม่ได้ว่าคนที่ทำให้โต๊ะไหว้เจ้าในบ้านคนไทยเชื้อสายจีนยังคงมีไก่ต้มวางอยู่จนถึงทุกวันนี้ คนๆ นั้นคงไม่ใช่ใครที่ไหน แต่เป็น "จอมพล ป. พิบูลสงคราม" - ผู้นำที่มีชื่อเสียงในการปราบปรามวัฒนธรรมจีน ไม่ว่าจะเป็นการบังคับให้เปลี่ยนชื่อ การห้ามพูดภาษาจีน หรือการควบคุมการค้าของชาวจีน
.
แต่ในขณะเดียวกัน ก็เป็นคนที่ผลักดันให้การเลี้ยงไก่กลายเป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ในเมืองไทย แม้แต่นโยบายที่ตั้งใจจะกลืนวัฒนธรรม ก็อาจจะมีนโยบายอื่นที่ค้ำจุนวัฒนธรรมนั้นไว้โดยไม่รู้ตัว
.
วันนี้ เมื่อเราเห็นไก่ต้มบนโต๊ะไหว้เจ้า เราอาจต้องนึกถึงเรื่องราวความย้อนแย้งทางประวัติศาสตร์ที่ทำให้วัฒนธรรมจีนในเมืองไทยยังคงมีชีวิตชีวาอยู่จนถึงทุกวันนี้ และบางทีนี่อาจเป็นเครื่องเตือนใจว่า การพยายามควบคุมหรือทำลายวัฒนธรรมใดวัฒนธรรมหนึ่งนั้น อาจไม่ง่ายอย่างที่คิด เพราะวัฒนธรรมมักจะหาทางอยู่รอดในรูปแบบที่เราคาดไม่ถึงเสมอ
.
อ่านแบบสบายตาได้ที่ https://wongnai.onelink.me/ECPl/p0qqvjy4
.
รีวิวแค่ 3 ร้าน รับ Whoscall พรีเมียม เบสิก ไปใช้ฟรี 3 เดือน!
รายละเอียดเพิ่มเติม : https://wongn.ai/21ubo4
.
#WongnaiStory #Wongnai #ไก่ไหว้เจ้า #ตรุษจีน #จอมพลป #ประวัติศาสตร์
.
Reference
ปฎิวัติที่ปลายลิ้น ชาติชาย มุกสง
"ชำแหละอำนาจนำ ผ่านสัญลักษณ์ 'ไก่' ของจอมพล ป. พิบูลสงคราม" โดย: ชาตรี ประกิตนนทการ ที่มา: ศิลปวัฒนธรรม, 1 ธันวาคม 2565
"ไก่ประดับบารมี/ไก่กิน: การเลี้ยงไก่สมัยรัฐนิยมกับสามเกลอ" โดย: ณัฐพล ใจจริง ที่มา: มติชนสุดสัปดาห์, 2-8 กันยายน 2565
"ไอเดียจอมพล ป. ให้เลี้ยงเป็ด-ไก่ ไว้กินไข่ ยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 ดันไข่สู่ 'อาหารจำเป็น'?" โดย: กองบรรณาธิการศิลปวัฒนธรรม ที่มา: ศิลปวัฒนธรรม, 6 พฤษภาคม 2567
https://www.facebook.com/photo/?fbid=1002445575250995&set=p.1002445575250995
...
Pattarakorn Chanhom
ถ้าไก่ไข่ท่านแรกที่เริ่มน่าจะหม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร ไก่พันธุ์เลคฮอร์นที่ไข่ดกนำมาในสยามยุคท่าน ถ้าไก่เนื้อก็ตามบทความครับ
..
Dhamanoon Kwodd Dhandarananda
เจริญ เจียรวนนท์ หรือที่รู้จักในฐานะหนึ่งในผู้ก่อตั้งและผู้บริหารกลุ่มบริษัทเครือเจริญโภคภัณฑ์ (CP) เริ่มต้นเลี้ยงไก่ในช่วงรัฐบาล จอมพล ป. พิบูลสงคราม ซึ่งเป็นยุคที่ประเทศไทยเริ่มมีการพัฒนาภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกในลักษณะสมัยใหม่ โดยเฉพาะในด้านปศุสัตว์
ในยุคดังกล่าว รัฐบาลมีการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์และการเกษตรในรูปแบบอุตสาหกรรม ทำให้ CP เริ่มต้นธุรกิจจากการนำเมล็ดพันธุ์พืชและอาหารสัตว์คุณภาพเข้ามาในประเทศไทย และขยายไปสู่การเลี้ยงไก่เพื่อการส่งออกในเวลาต่อมา
เครือ CP ถือเป็นผู้บุกเบิกอุตสาหกรรมไก่ครบวงจรรายแรก ๆ ของประเทศไทย ตั้งแต่การผลิตอาหารสัตว์ การเลี้ยงสัตว์ และการแปรรูปผลิตภัณฑ