วันเสาร์, พฤศจิกายน 09, 2567

การที่นายกฯ ไทยไปพบปะกับมิน อ่อง หล่าย แบบเป็นการส่วนตัว แล้วออกมาพูดกับสื่อว่าจะสนับสนุนสันติภาพและสนับสนุนตารางการเลือกตั้งในเมียนมาตามทหารเมียนมากำหนดนั้น แสดงให้เห็นถึงความอ่อนด้อยของงานการต่างประเทศและความมั่นคงของไทยผ่านประเด็นสถานการณ์เมียนมา


กัณวีร์ สืบแสง Kannavee Suebsang
18 hours ago
·
อีกครั้งที่แสดงให้เห็นถึงความอ่อนด้อยของงานการต่างประเทศและความมั่นคงของไทยผ่านประเด็นสถานการณ์เมียนมา
ทุกครั้งที่พลเอกอาวุโสมิน อ่อง หล่าย ตัดสินใจเดินทางออกนอกประเทศหลังจากที่ตัวเองนำการรัฐประหารยึดอำนาจจากประชาชนเมื่อปี 2564 นั้นมันมีนัยยะที่สำคัญทั้งสิ้น และเมื่อวานนี้ไปร่วมการประชุม Greater Mekong Subregion และการประชุม the Ayeyawady-Chao Phraya-Mekong Economic Co-operation Strategy หรือ ACMECS ที่เมืองคุนหมิงประเทศจีน มันช่างส่งสัญญาณบางอย่างที่ต้องวิเคราะห์กันให้ครอบคลุม !!
มิน อ่อง หล่าย พยายามปฏิเสธการออกนอกประเทศมาโดยตลอดหลังยึดอำนาจเพราะต้องเป็นตัวหลักปราบปรามกองกำลังกลุ่มต่อต้านทั่วประเทศและกลัวเพลี่ยงพล้ำทาง “การทหาร” การใช้กำลังอย่างเด็ดขาดในการเข้าโจมตีทั้งทางบกและทางอากาศ การปราบปรามอย่างรุนแรงต่อพลเรือนผู้ต่อต้านและผู้บริสุทธิ์ การต้องคงกำลังตรึงพื้นที่ยุทธศาสตร์สำคัญทางทหารจากการรุกคืบของกลุ่มต่อต้านทั้งหลาย ทำให้มิน อ่อง หล่าย ต้องหมกมุ่นกับกิจการภายในประเทศเป็นเวลามากกว่า 3 ปีที่ผ่านมา
ครั้งนี้อีกครั้งที่ออกจากประเทศไปจีน เราจะวิเคราะห์ว่าไง ?? อิทธิพลจีนนั้นมากมายขนาดไหน ?? คนที่มิน อ่อง หล่าย ได้เข้าพบด้วยต้องวางจุดยืนอย่างไร ?? มันมีนัยยะอะไรกับการเดินทางของนายพลที่ยึดอำนาจมาคนนี้ ?? การปฏิเสธการเข้าร่วมอย่างเป็นทางการของรัฐบาลทหารเมียนมาจากการประชุมสุดยอดต่างๆ สะท้อนให้เห็นอย่างไร กับเทียบเชิญมิน อ่อง หล่ายที่ไปด้วยตัวเองที่จีนงานนี้ ??
คิด วิเคราะห์ และแยกแยะให้ออกว่าไทยเราควรแสดงบทบาทอย่างไรต่อกรอบความร่วมมือทั้งแบบทวิภาคีกับเมียนมา พหุภาคีแบบอนุภูมิภาคและภูมิภาค และระดับใหญ่ในเวทีระหว่างประเทศ !!
การที่นายกฯ ไทยไปพบปะกับมิน อ่อง หล่าย แบบเป็นการส่วนตัว แล้วออกมาพูดกับสื่อว่าจะสนับสนุนสันติภาพและสนับสนุนตารางการเลือกตั้งในเมียนมาตามทหารเมียนมากำหนดนั้น ต้องบอกตามตรงว่าฝ่ายที่ปรึกษานายกฯ ที่ให้นายกฯ ออกมาพูดอย่างนี้อ่อนมากเรื่องความเข้าใจกับสถานการณ์ที่ละเอียดอ่อนและสลับซับซ้อนในเมียนมาที่ทั้งกระทบกับไทยโดยตรงและหลากหลายประเทศในภูมิภาคและระหว่างประเทศ
คือทำไมไม่พูดว่า “จริงๆ แล้วไม่ต้องการเข้าพบเป็นการส่วนตัว แต่เพราะสถานการณ์ในประเทศเมียนมามันกระทบต่อไทยและประเด็นในเวทีระหว่างประเทศ ดังนั้นจำเป็นต้องหาเวลาเพื่อเข้าไปพูดกับผู้นำทหารของเมียนมาเรื่องสันติภาพ และไทยต้องขอแสดงบทบาทนำในเรื่องนี้ !!“
ผมช่วยแค่เบื้องต้นนะครับเพราะมันรับไม่ได้จริงๆ นายกฯ ไทยไปพบได้ยังไงเป็นการส่วนตัวแบบไม่มีนัยยะ ทั้งๆ ที่เรดาร์เวทีโลกจับจ้องกับทหารเมียนมาที่เข่นฆ่าประชาชนผู้บริสุทธิ์ในประเทศตนเองที่ทำให้คนเกือบ 16 ล้านคนได้รับผลกระทบ 3 ล้านกว่าคนต้องผลัดถิ่นภายในประเทศ และมากกว่า 3 แสนคนต้องลี้ภัยไปยังประเทศต่างๆ
ถามจริงๆ ทีมที่ปรึกษานายกฯ ไทย คิดไม่ออกหรือคิดไม่ได้ !! ส่วนเรื่องสนับสนุนตารางการเลือกตั้งที่ตั้งโดยทหารเมียนมานั้น ฟังแล้วอยากล้มกระดานงานการต่างประเทศของไทยที่อ่อนข้อ ทำให้ไทยถูกจับจ้องและมองว่าเข้าร่วมสถาปนาพวกเผด็จการทหารที่เข่นฆ่าประชาชนผู้บริสุทธิ์
ถามจริงๆ ครับ ได้อ่านข่าวและวิเคราะห์ข้อมูลกันบ้างหรือเปล่า ?? อะไรกันเนี่ยทีมต่างประเทศ ทีมความมั่นคง ทีมที่ปรึกษาของนายกฯ คุณทำอะไร ??
เรื่องนี้ผมคงจะไม่บอกว่าต้องเริ่มต้นและควรพูดอย่างไร เพราะทีมงานทั้งหมดวิเคราะห์ให้ดีนะ อย่าทำอย่างนี้อีก อับอายขายหน้าคนทั้งโลก แล้วดูสิมิน อ่อง หล่าย เลือกพบใคร ฮุน มาเนต ของกัมพูชา และแพรทองธาร ของไทย !! การทูตที่มีนัยยะที่ถูกตีว่าไม่เป็นไปตามหลักการเสรีนิยมที่ไทยชอบแสดงและพูดว่าเราเป็น มันขัดครับ !!
ไม่รู้จะเอาอะไรอีกรัฐบาลชุดนี้ คราวที่แล้วก็การทูตแบ่งปันผลประโยชน์ทางทะเลนำเพื่อแก้ไขข้อพิพาทกับกัมพูชา คราวนี้การทูตเพื่อลดทอดหลักการเสรีนิยมเพื่อเข้าพูดคุยกับผู้นำเผด็จการที่เข่นฆ่าผู้บริสุทธิ์ แถมมีติดปลายนวมโดยการช่วยเหลือทางมนุษยธรรมผ่านองค์กรทหารเมียนมาอย่างกาชาดเมียนมา
ตอบคำถามให้ได้นะครับ ทั้งนายกฯ และทีมงานนายกฯ ไทย !!