บีบีซีไทย - BBC Thai
11h ·
ไม่ต้องสงสัยเลยว่าการตัดสินใจออกหมายจับในครั้งนี้ของศาลอาญาระหว่างประเทศได้กระทบสถานะของอิสราเอลในเวทีระหว่างประเทศอย่างมาก และที่สำคัญที่สุดคือกระทบต่อความพยายามของอิสราเอลที่นำเสนออย่างว่าปฏิบัติการทางทหารในกาซานั้นเป็นการต่อสู้ระหว่างพลังที่ดีกับพลังอันชั่วร้าย
.
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่ https://bbc.in/3V3twYe
เหล่านักกฎหมายต่างแสดงความสงสัยว่า เนทันยาฮูและกัลแลนต์ จะถูกนำตัวไปเข้ารับการพิจารณาคดีได้จริงหรือไม่
ส่วนประชาชนชาวปาเลสไตน์ทั่วไปในกาซาก็มีปฏิกิริยาในทางบวกต่อการออกหมายจับในครั้งนี้เช่นกัน
โมฮัมหมัด อาลี ชายวัย 40 ปีที่ต้องพลัดถิ่นจากกาซา ซิตี และตอนนี้ลี้ภัยอยู่ทางตอนกลางของกาซากล่าวว่า "เราถูกทำให้หวาดกลัวและหิวโซ บ้านของเราถูกทำลาย และต้องสูญเสียเด็ก ๆ ลูกชาย และคนที่รักไป เรายินดีกับการตัดสินใจนี้[ของศาลอาญาระหว่างประเทศ] และเราหวังว่าการตัดสินใจนี้ของศาลอาญาระหว่างประเทศจะถูกนำไปบังคับใช้ต่อ"
มูนีรา อัล-ชามี ผู้ซึ่งน้องสาวถูกสังหารโดยกองกำลังอิสราเอลเมื่อเดือนที่แล้ว เรียกการตัดสินใจของศาลอาญาระหว่างประเทศนี้ว่าเป็น "ความยุติธรรมสำหรับเหยื่อหลายหมื่นราย รวมถึงสำหรับ วาฟา น้องสาวของฉันด้วย"
หมายจับนี้มีผลอย่างไรบ้าง
มี 124 ประเทศทั่วโลกที่ลงนามให้สัตยาบันรับรองเขตอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศ ซึ่งรวมถึงสหราชอาณาจักรด้วย แต่สหรัฐอเมริกา รัสเซีย จีน รวมถึงอิสราเอล ไม่ได้ให้สัตยาบันดังกล่าว
ดังนั้นหมายความว่าในทางเทคนิคแล้ว หากเนทันยาฮูหรือกัลแลนต์เหยียบเข้าไปในดินแดนของประเทศใดก็ตามที่ได้ให้สัตยาบันไว้ พวกเขาทั้งสองก็จะต้องถูกจับและส่งตัวไปที่ศาลอาญาระหว่างประเทศ
แต่เหล่านักกฎหมายนานาชาติต่างแสดงความสงสัย ว่าชายทั้งสองจะสามารถถูกนำตัวมาขึ้นศาลที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ซึ่งเป็นที่ตั้งของศาลอาญาระหว่างประเทศได้หรือไม่
ครั้งสุดท้ายที่เนทันยาฮูเดินทางออกนอกอิสราเอล ก็เพื่อไปเยือนสหรัฐฯ ในเดือน ก.ค. ที่ผ่านมา
ปีก่อน เขาเดินทางไปเยือนหลายประเทศ ซึ่งหลายประเทศในนั้นเป็นผู้ร่วมลงสัตยาบันรองรับขอบเขตอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศด้วย นี่รวมถึงการเดินทางเยือนสหราชอาณาจักรในเดือน มี.ค. ด้วย
อย่างไรก็ตาม เป็นที่เชื่อกันว่าเนทันยาฮูคงไม่อยากเสี่ยงให้ตัวเองถูกจับโดยการเดินทางไปเยือนประเทศเหล่านั้นอีก รวมถึงประเทศต่าง ๆ ก็คงไม่อยากเผชิญสถานการณ์ที่ต้องเข้าจับกุมตัวเนทันยาฮูจริง หากเขาเดินทางไป
รัฐมนตรีต่างประเทศของเนเธอร์แลนด์ระบุว่า ประเทศของเขาพร้อมทำตามหมายจับของศาลอาญาระหว่างประเทศ
ด้านฮามาสแทบไม่มีความกังวลต่อหมายจับของศาลอาญาระหว่างประเทศที่มีต่อ อิบราฮิม อัล-มาสรี หรือที่รู้จักกันในชื่อ โมฮัมเหม็ด เดอีฟ ทั้งนี้ อิสราเอลเชื่อว่าเขาถูกสังหารแล้วในช่วงก่อนหน้านี้ในปีนี้ แม้ว่านี่จะไม่เคยได้รับการยืนยันจากฮามาสก็ตาม
ส่วนผู้นำคนสำคัญของฮามาสอีกสองคนที่เคยเป็นที่ต้องการตัวของศาลอาญาระหว่างประเทศ ทั้ง ยาห์ยา ซินวาร์ และ อิสมาอิล ฮานิเยห์ ล้วนได้รับการยืนยันว่าเสียชีวิตแล้วทั้งคู่
ไม่ต้องสงสัยเลยว่าการตัดสินใจออกหมายจับในครั้งนี้ของศาลอาญาระหว่างประเทศได้กระทบสถานะของอิสราเอลในเวทีระหว่างประเทศอย่างมาก รวมถึงกระทบต่อชื่อเสียงของทั้งคู่ที่ถูกออกหมายจับ และที่สำคัญที่สุดคือกระทบต่อความพยายามของอิสราเอลที่นำเสนออย่างต่อเนื่องว่าปฏิบัติการทางทหารในกาซานั้นเป็นการต่อสู้ระหว่างพลังที่ดีกับพลังอันชั่วร้าย
ในสายตาของพวกเขา อิสราเอลรู้สึกผิดหวังที่ดูเหมือนทั่วโลกจะลืมหรือไม่ก็มองข้ามความโหดร้ายที่ฮามาสได้ก่อขึ้นในวันที่ 7 ต.ค. ปีก่อนไปแล้ว
ด้านชาวปาเลสไตน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่อยู่ในกาซา รู้สึกว่าคำกล่าวหาของพวกเขาว่าอิสราเอลได้ก่ออาชญากรรมสงครามนั้น ตอนนี้ได้รับการยืนยันจากองค์กรระหว่างประเทศที่น่าเชื่อถือระดับหนึ่งแล้ว
https://www.bbc.com/thai/articles/cvg75j5y3n3o
11h ·
ไม่ต้องสงสัยเลยว่าการตัดสินใจออกหมายจับในครั้งนี้ของศาลอาญาระหว่างประเทศได้กระทบสถานะของอิสราเอลในเวทีระหว่างประเทศอย่างมาก และที่สำคัญที่สุดคือกระทบต่อความพยายามของอิสราเอลที่นำเสนออย่างว่าปฏิบัติการทางทหารในกาซานั้นเป็นการต่อสู้ระหว่างพลังที่ดีกับพลังอันชั่วร้าย
.
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่ https://bbc.in/3V3twYe
.....
ศาลอาญาระหว่างประเทศ ออกหมายจับเนทันยาฮู กระทบอิสราเอลอย่างไรบ้าง
แฟรงก์ การ์ดเนอร์
ผู้สื่อข่าวด้านความมั่นคง
ศาลอาญาระหว่างประเทศ ออกหมายจับเนทันยาฮู กระทบอิสราเอลอย่างไรบ้าง
แฟรงก์ การ์ดเนอร์
ผู้สื่อข่าวด้านความมั่นคง
บีบีซี
Reporting from นครเยรูซาเล็ม
22 พฤศจิกายน 2024, 15:19 +07
การที่ศาลอาญาระหว่างประเทศ (International Criminal Court - ICC) ประกาศออกหมายจับ เบนจามิน เนทันยาฮู นายกรัฐมนตรีอิสราเอล และ โยอาฟ กัลแลนต์ รัฐมนตรีกลาโหมของอิสราเอล ได้ทำให้เกิดปฏิกิริยาตอบโต้อันโกรธเกรี้ยวจากกลุ่มผู้นำอิสราเอลจากทุกฟากฝั่งทางการเมือง
ในทางกลับกัน การออกหมายจับดังกล่าวได้รับการตอบรับอย่างดีจากกลุ่มฮามาส กลุ่มปาเลสไตน์อิสลามิกญิฮาด (Palestinian Islamic Jihad) รวมถึงพลเมืองทั่วไปในกาซา
ประธานาธิบดีไอแซก เฮอร์ซอก ของอิสราเอลเรียกมันว่าเป็น "วันที่มืดมิดสำหรับความยุติธรรมและมนุษยชาติ" โดยระบุว่าการตัดสินใจนี้ของศาลอาญาระหว่างประเทศเป็น "การเลือกข้างการก่อการร้ายและความชั่วช้าเหนือประชาธิปไตยและเสรีภาพ"
สำนักนายกรัฐมนตรีของอิสราเอลเรียกมันว่า "การตัดสินใจที่ต่อต้านชาวยิว" และระบุว่าอิสราเอล "ปฏิเสธข้อกล่าวหาที่ไม่เป็นจริงและไร้สาระดังกล่าวอย่างถึงที่สุด" พร้อมชี้ด้วยว่าศาลอาญาระหว่างประเทศนั้นเป็น "องค์กรทางการเมืองที่ลำเอียงและแบ่งแยก"
ยูลี เอเดลสไตน์ ประธานคณะกรรมาธิการด้านกิจการระหว่างประเทศและความมั่นคงของรัฐสภาอิสราเอล เรียกมันว่าเป็น "การตัดสินใจที่น่าละอายโดยองค์กรการเมืองที่ถูกกลุ่มผลประโยชน์อิสลามจับไว้เป็นตัวประกัน" ด้านรัฐมนตรีต่างประเทศของอิสราเอลบอกว่า ศาลอาญาระหว่างประเทศได้สูญเสียความน่าเชื่อถือของตนเองไปแล้ว
ด้านฮามาสตอบรับอย่างดีกับการออกหมายจับดังกล่าว แต่ไม่ได้แสดงความเห็นถึงการที่ผู้บัญชาการทหารของกลุ่มฮามาสที่ชื่อ โมฮัมเหม็ด เดอีฟ ถูกออกหมายจับโดยศาลอาญาระหว่างประเทศเช่นกัน
ในแถลงการณ์ของกลุ่มฮามาสระบุว่า "เราขอเรียกร้องให้ทุกประเทศทั่วโลกให้ความร่วมมือกับศาลอาญาระหว่างประเทศในการนำตัวอาชญากรสงครามไซออนิสต์อย่าง เนทันยาฮู และ กัลแลนต์ มาขึ้นศาล และเดินหน้าทันทีเพื่อหยุดอาชญากรรมฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ที่เกิดขึ้นกับพลเรือนที่ไร้ทางสู้ในฉนวนกาซา"
Reporting from นครเยรูซาเล็ม
22 พฤศจิกายน 2024, 15:19 +07
การที่ศาลอาญาระหว่างประเทศ (International Criminal Court - ICC) ประกาศออกหมายจับ เบนจามิน เนทันยาฮู นายกรัฐมนตรีอิสราเอล และ โยอาฟ กัลแลนต์ รัฐมนตรีกลาโหมของอิสราเอล ได้ทำให้เกิดปฏิกิริยาตอบโต้อันโกรธเกรี้ยวจากกลุ่มผู้นำอิสราเอลจากทุกฟากฝั่งทางการเมือง
ในทางกลับกัน การออกหมายจับดังกล่าวได้รับการตอบรับอย่างดีจากกลุ่มฮามาส กลุ่มปาเลสไตน์อิสลามิกญิฮาด (Palestinian Islamic Jihad) รวมถึงพลเมืองทั่วไปในกาซา
ประธานาธิบดีไอแซก เฮอร์ซอก ของอิสราเอลเรียกมันว่าเป็น "วันที่มืดมิดสำหรับความยุติธรรมและมนุษยชาติ" โดยระบุว่าการตัดสินใจนี้ของศาลอาญาระหว่างประเทศเป็น "การเลือกข้างการก่อการร้ายและความชั่วช้าเหนือประชาธิปไตยและเสรีภาพ"
สำนักนายกรัฐมนตรีของอิสราเอลเรียกมันว่า "การตัดสินใจที่ต่อต้านชาวยิว" และระบุว่าอิสราเอล "ปฏิเสธข้อกล่าวหาที่ไม่เป็นจริงและไร้สาระดังกล่าวอย่างถึงที่สุด" พร้อมชี้ด้วยว่าศาลอาญาระหว่างประเทศนั้นเป็น "องค์กรทางการเมืองที่ลำเอียงและแบ่งแยก"
ยูลี เอเดลสไตน์ ประธานคณะกรรมาธิการด้านกิจการระหว่างประเทศและความมั่นคงของรัฐสภาอิสราเอล เรียกมันว่าเป็น "การตัดสินใจที่น่าละอายโดยองค์กรการเมืองที่ถูกกลุ่มผลประโยชน์อิสลามจับไว้เป็นตัวประกัน" ด้านรัฐมนตรีต่างประเทศของอิสราเอลบอกว่า ศาลอาญาระหว่างประเทศได้สูญเสียความน่าเชื่อถือของตนเองไปแล้ว
ด้านฮามาสตอบรับอย่างดีกับการออกหมายจับดังกล่าว แต่ไม่ได้แสดงความเห็นถึงการที่ผู้บัญชาการทหารของกลุ่มฮามาสที่ชื่อ โมฮัมเหม็ด เดอีฟ ถูกออกหมายจับโดยศาลอาญาระหว่างประเทศเช่นกัน
ในแถลงการณ์ของกลุ่มฮามาสระบุว่า "เราขอเรียกร้องให้ทุกประเทศทั่วโลกให้ความร่วมมือกับศาลอาญาระหว่างประเทศในการนำตัวอาชญากรสงครามไซออนิสต์อย่าง เนทันยาฮู และ กัลแลนต์ มาขึ้นศาล และเดินหน้าทันทีเพื่อหยุดอาชญากรรมฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ที่เกิดขึ้นกับพลเรือนที่ไร้ทางสู้ในฉนวนกาซา"
เหล่านักกฎหมายต่างแสดงความสงสัยว่า เนทันยาฮูและกัลแลนต์ จะถูกนำตัวไปเข้ารับการพิจารณาคดีได้จริงหรือไม่
ส่วนประชาชนชาวปาเลสไตน์ทั่วไปในกาซาก็มีปฏิกิริยาในทางบวกต่อการออกหมายจับในครั้งนี้เช่นกัน
โมฮัมหมัด อาลี ชายวัย 40 ปีที่ต้องพลัดถิ่นจากกาซา ซิตี และตอนนี้ลี้ภัยอยู่ทางตอนกลางของกาซากล่าวว่า "เราถูกทำให้หวาดกลัวและหิวโซ บ้านของเราถูกทำลาย และต้องสูญเสียเด็ก ๆ ลูกชาย และคนที่รักไป เรายินดีกับการตัดสินใจนี้[ของศาลอาญาระหว่างประเทศ] และเราหวังว่าการตัดสินใจนี้ของศาลอาญาระหว่างประเทศจะถูกนำไปบังคับใช้ต่อ"
มูนีรา อัล-ชามี ผู้ซึ่งน้องสาวถูกสังหารโดยกองกำลังอิสราเอลเมื่อเดือนที่แล้ว เรียกการตัดสินใจของศาลอาญาระหว่างประเทศนี้ว่าเป็น "ความยุติธรรมสำหรับเหยื่อหลายหมื่นราย รวมถึงสำหรับ วาฟา น้องสาวของฉันด้วย"
หมายจับนี้มีผลอย่างไรบ้าง
มี 124 ประเทศทั่วโลกที่ลงนามให้สัตยาบันรับรองเขตอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศ ซึ่งรวมถึงสหราชอาณาจักรด้วย แต่สหรัฐอเมริกา รัสเซีย จีน รวมถึงอิสราเอล ไม่ได้ให้สัตยาบันดังกล่าว
ดังนั้นหมายความว่าในทางเทคนิคแล้ว หากเนทันยาฮูหรือกัลแลนต์เหยียบเข้าไปในดินแดนของประเทศใดก็ตามที่ได้ให้สัตยาบันไว้ พวกเขาทั้งสองก็จะต้องถูกจับและส่งตัวไปที่ศาลอาญาระหว่างประเทศ
แต่เหล่านักกฎหมายนานาชาติต่างแสดงความสงสัย ว่าชายทั้งสองจะสามารถถูกนำตัวมาขึ้นศาลที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ซึ่งเป็นที่ตั้งของศาลอาญาระหว่างประเทศได้หรือไม่
ครั้งสุดท้ายที่เนทันยาฮูเดินทางออกนอกอิสราเอล ก็เพื่อไปเยือนสหรัฐฯ ในเดือน ก.ค. ที่ผ่านมา
ปีก่อน เขาเดินทางไปเยือนหลายประเทศ ซึ่งหลายประเทศในนั้นเป็นผู้ร่วมลงสัตยาบันรองรับขอบเขตอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศด้วย นี่รวมถึงการเดินทางเยือนสหราชอาณาจักรในเดือน มี.ค. ด้วย
อย่างไรก็ตาม เป็นที่เชื่อกันว่าเนทันยาฮูคงไม่อยากเสี่ยงให้ตัวเองถูกจับโดยการเดินทางไปเยือนประเทศเหล่านั้นอีก รวมถึงประเทศต่าง ๆ ก็คงไม่อยากเผชิญสถานการณ์ที่ต้องเข้าจับกุมตัวเนทันยาฮูจริง หากเขาเดินทางไป
รัฐมนตรีต่างประเทศของเนเธอร์แลนด์ระบุว่า ประเทศของเขาพร้อมทำตามหมายจับของศาลอาญาระหว่างประเทศ
ด้านฮามาสแทบไม่มีความกังวลต่อหมายจับของศาลอาญาระหว่างประเทศที่มีต่อ อิบราฮิม อัล-มาสรี หรือที่รู้จักกันในชื่อ โมฮัมเหม็ด เดอีฟ ทั้งนี้ อิสราเอลเชื่อว่าเขาถูกสังหารแล้วในช่วงก่อนหน้านี้ในปีนี้ แม้ว่านี่จะไม่เคยได้รับการยืนยันจากฮามาสก็ตาม
ส่วนผู้นำคนสำคัญของฮามาสอีกสองคนที่เคยเป็นที่ต้องการตัวของศาลอาญาระหว่างประเทศ ทั้ง ยาห์ยา ซินวาร์ และ อิสมาอิล ฮานิเยห์ ล้วนได้รับการยืนยันว่าเสียชีวิตแล้วทั้งคู่
ไม่ต้องสงสัยเลยว่าการตัดสินใจออกหมายจับในครั้งนี้ของศาลอาญาระหว่างประเทศได้กระทบสถานะของอิสราเอลในเวทีระหว่างประเทศอย่างมาก รวมถึงกระทบต่อชื่อเสียงของทั้งคู่ที่ถูกออกหมายจับ และที่สำคัญที่สุดคือกระทบต่อความพยายามของอิสราเอลที่นำเสนออย่างต่อเนื่องว่าปฏิบัติการทางทหารในกาซานั้นเป็นการต่อสู้ระหว่างพลังที่ดีกับพลังอันชั่วร้าย
ในสายตาของพวกเขา อิสราเอลรู้สึกผิดหวังที่ดูเหมือนทั่วโลกจะลืมหรือไม่ก็มองข้ามความโหดร้ายที่ฮามาสได้ก่อขึ้นในวันที่ 7 ต.ค. ปีก่อนไปแล้ว
ด้านชาวปาเลสไตน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่อยู่ในกาซา รู้สึกว่าคำกล่าวหาของพวกเขาว่าอิสราเอลได้ก่ออาชญากรรมสงครามนั้น ตอนนี้ได้รับการยืนยันจากองค์กรระหว่างประเทศที่น่าเชื่อถือระดับหนึ่งแล้ว
https://www.bbc.com/thai/articles/cvg75j5y3n3o
Francesca Albanese, the UN’s special rapporteur on Palestine, called the ICC’s issuing of arrest warrants for Israeli PM Netanyahu and former Defence Minister Gallant a 'rare moment of euphoria.'
— Al Jazeera English (@AJEnglish) November 22, 2024
🔴 LIVE updates: https://t.co/hnqwTEPdYq pic.twitter.com/eo0Ph55pyX
Who here is inclined to agree? pic.twitter.com/os2tHodOfS
— Lakota Man (@LakotaMan1) November 21, 2024