31 ตุลาคม 2567
ประชาไท
‘อานนท์ นำภา - สมชาย ปรีชาศิลปกุล - ยิ่งชีพ อัชฌานนท์’ เบิกความคดี 112 ส่งจดหมายถึงในหลวง ร.10 ในกิจกรรม #ราษฎรสาสน์ ‘อานนท์’ ระบุหวังสื่อสารเพื่อให้สถาบันพระมหากษัตริย์ยังดำรงอยู่ได้ในยุคสมัยใหม่และในระบอบประชาธิปไตยฯ แม้อาจดูตรงไปตรงมาแต่ก็ทำได้ด้วยปรารถนาดีและด้วยความเป็นมนุษย์ ศาลนัดฟังคำพิพากษา 3 ธ.ค.นี้
31 ต.ค.2567 ที่ศาลอาญา รัชดาฯ มีนัดสืบพยานคดีของอานนท์ นำภา ทนายความด้านสิทธิมนุษยชน ที่อัยการฟ้องด้วยข้อหาหมิ่นประมาทกษัตริย์ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และมาตรา 14 พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ จากกรณีอานนท์โพสต์เฟซบุ๊กกิจกรรม #ราษฎรสาสน์ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ชวนประชาชนเขียนจดหมายถึงพระมหากษัตริย์ เมื่อวันที่ 8 พ.ย. 2563
วันนี้เป็นการสืบพยานฝั่งพยานจำเลย 3 ปาก โดยอานนท์เบิกตัวเองเป็นพยาน และยังมีพยานอื่น ได้แก่ สมชาย ปรีชาศิลปกุล อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ ยิ่งชีพ อัชฌานนท์ ผู้อำนวยการโครงการ iLaw
ในการสืบพยานครั้งนี้มีประชาชนให้ความสนใจเดินทางมาร่วมฟังการสืบพยานจนเต็มห้องกว่า 30 คน บางส่วนเป็นเพื่อนนักกิจกรรมที่มาร่วมให้กำลังใจอานนท์
อานนท์ขึ้นเบิกความเป็นคนแรกในเวลา 11.30 น. เนื้อหาคำเบิกความของเขากล่าวถึงเนื้อหาในจดหมายที่เขาตั้งใจเขียนถึงในหลวงรัชกาลที่ 10 เพราะต้องการแสดงความคิดเห็นต่อบทบาทขององค์พระมหากษัตริย์ในร่างรัฐธรรมนูญในปี 2560 หลังจากประชาชนออกเสียงประชามติมาแล้วในปี 2559 โดยเพิ่มเนื้อหาที่เป็นการเพิ่มพระราชอำนาจเข้ามา โดยอานนท์ย้ำในประเด็นนี้ว่าข้อเท็จจริงปรากฏตามข่าวหนังสือพิมพ์รายงานถึงพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีในเวลานั้นกล่าวในเดือนมกราคม 2560 ว่ามีกระแสรับสั่งมาว่ามีข้อสังเกตพระราชทานถึงร่างรัฐธรรมนูญที่ผ่านประชามติแล้ว
อานนท์ระบุถึงผลของการแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าวว่าทำให้พระมหากษัตริย์สามารถแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการในพระองค์โดยไม่ต้องมีผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการและสามารถทำได้แม้จะเสด็จประพาสอยู่ในต่างประเทศ
นอกจากนั้นยังกล่าวถึงกฎหมาย 3 ฉบับที่ออกมาโดยสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ได้แก่
1. พ.ร.บ.จัดระเบียบบริหารราชการในพระองค์ พ.ศ.2560
2. พ.ร.บ.จัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ศ. 2560 และต่อมามีพ.ร.บ.จัดระเบียบทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ พ.ศ. 2561 มายกเลิกฉบับ 2560
3. พระราชกำหนด โอนอัตรากำลังพลและงบประมาณบางส่วน ของกองทัพบก กองทัพไทย กระทรวงกลาโหม ไปเป็นของหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์
อานนท์ให้เหตุผลว่าทั้งการแก้ไขรัฐธรรมนูญและการออกกฎหมายเหล่านี้กระทบต่อระบอบประชาธิปไตยอันทรงมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และสถานะขององค์พระมหากษัตริย์ตามหลักการ The King can do no wrong ซึ่งเป็นหลักการที่อยู่ในรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 6 คือ “องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใด ๆ มิได้”
อานนท์ย้ำหลายครั้งในการเบิกความต่อศาลว่า การวิพากษ์วิจารณ์ของเขารวมถึงเยาวชนที่ออกมาร่วมชุมนุมในปี 2563 นั้นเพียงต้องการเรียกร้องให้ในหลวงรัชกาลที่ 10 กลับมาเป็นพระมหากษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตยอันทรงมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขและทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นสถาบันที่ทันสมัยเท่านั้น
เขากล่าวด้วยว่า แม้ว่าสุดท้ายแล้วสิ่งที่พูดอาจถูกตัดสินให้ผิดกฎหมายหรือนอกกรอบรัฐธรรมนูญไปบ้าง แต่ก็ทำไปด้วยความเป็นมนุษย์ที่เมื่อเห็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องตามหลักการก็วิพากษ์วิจารณ์ และการถูกคุมขั งเขาก็มองว่าเป็นเรื่องที่คุ้มค่าเพราะเกิดการปรับเปลี่ยนได้บ้าง เช่นเรื่องขบวนเสด็จที่มีการแก้ไขให้กระทบกับประชาชนน้อยลง
สมชาย ปรีชาศิลปกุล เบิกความโดยสรุปถึงประเด็นหลักการของมาตรา 6 ในรัฐธรรมนูญว่าเป็นประเด็นที่ถกกันมาตั้งแต่การร่างรัฐธรรมนูญฉบับแรกของไทย ทั้งนี้ส่วนที่บอกว่าพระมหากษัตริย์จะละเมิดไม่ได้ก็คือจะฟ้องร้องดำเนินคดีต่อพระมหากษัตริย์ไม่ได้ แต่ไม่ได้หมายถึงประชาชนวิจารณ์ไม่ได้ และเรื่องนี้สอดคล้องกับหลักการ The King can do no wrong เพราะจะต้องมีผู้ลงชื่อรับสนองพระบรมราชโองการในการแต่งตั้งหรือดำเนินการแทนจึงสอดคล้องกับหลักพระมหากษัตริย์จะล่วงละเมิดไม่ได้ ประชาชนจึงฟ้องร้องดำเนินคดีพระมหากษัตริย์ไม่ได้ด้วย
สมชายกล่าวถึงประเด็นเรื่องสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นด้วยว่าถูกบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญเป็นหลักการพื้นฐานในระบอบประชาธิปไตยและถูกบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญเช่นเดียวกับสถานะของพระมหากษัตริย์ โดย 2 หลักนี้เป็นคุณค่าในรัฐธรรมนูญที่ไม่สามารถเอาหลักการหนึ่งไปทำลายคุณค่าของอีกหลักการหนึ่งได้
อาจารย์นิติ มช. ยังบอกด้วยว่า การจะพิจารณาหลักการเรื่องเสรีภาพในการแสดงออก ไม่สามารถเลือกแค่ส่วนเสี้ยวของการกระทำเท่านั้น แต่ต้องดูภาพรวมของการแสดงออกทั้งหมดด้วย เขายกตัวอย่างการเผาธงในสหรัฐฯ ถือว่าเป็นการทำผิดกฎหมาย แต่ศาลในสหรัฐฯ ก็เคยมีคำตัดสินว่าการเผาธงเพื่อประท้วงนโยบายของประธานาธิบดีโรนัลด์ เรแกน ถือว่าเป็นการใช้เสรีภาพในการแสดงออก ดังนั้นการเลือกแค่ส่วนเสี้ยวของการกระทำหนึ่งบอกว่าเป็นความผิดก็จะทำให้การแสดงออกทุกอย่างผิดกฎหมายไปด้วย เช่นการชุมนุมบนถนนก็จะกลายเป็นความผิดตามพ.ร.บ.จราจรฯ เป็นต้น
สมชายยังย้ำด้วยว่า การตีความ มาตรา 6 ของรัฐธรรมนูญ กับมาตรา 112 ของประมวลกฎหมายอาญา จึงเป็นคนละเรื่องกัน และมาตรา 112 ยังเป็นกฎหมายอาญาที่จะต้องตีความอย่างเคร่งครัดอีกด้วย เป็นเรื่องที่ต้องชั่งน้ำหนัก การพูดที่เข้าข่ายจะต้องเป็นการพูดที่เข้าองค์ประกอบความผิด คือต้องเป็นการพูดถึงบุคคลที่กฎหมายให้การคุ้มครอง 4 ตำแหน่งคือ องค์พระมหากษัตริย์ ราชินี รัชทายาทและผู้สำเร็จราชการพระองค์ อีกทั้งในโพสต์ของอานนท์ก็มีการระบุด้วยว่าการโพสต์นี้เป็นการท้วงติงด้วยความเคารพ จึงต้องปรับหลักการในรัฐธรรมนูญมาใช้ด้วย
นอกจากนั้นสมชายยังเบิกความถึงประเด็นที่รัฐธรรมนูญ 2560 ถูกแก้ไขหลังจากประชาชนออกเสียงประชามติผ่านมาแล้วด้วยว่า เป็นเรื่องที่เขาเองในฐานะผู้สอนเรื่องรัฐธรรมนูญตั้งข้อสงสัยเช่นกัน เพราะประชาชนออกเสียงประชามติในรัฐธรรมนูญที่จะนำมาบังคับใช้คือร่างรัฐธรรมนูญในปี 2559 การที่มีการแก้ไขหลังประชามติมาแล้วจึงเป็นเรื่องที่ตอบไม่ได้
อาจารย์นิติ มช.ยังกล่าวถึงปัญหาของพ.ร.บ.จัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ศ. 2560 ด้วยว่า กฎหมายนี้ทำให้ ‘ทรัพย์สินส่วนพระองค์’ ‘ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์’ และ ‘ทรัพย์สินพระมหากษัตริย์’ กลายเป็นทรัพย์สินขององค์พระมหากษัตริย์ไปทั้งหมด
ยิ่งชีพ อัชฌานนท์ ผู้อำนวยการของ iLaw กล่าวถึงการการแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญที่ผ่านประชามติมาแล้วว่ามีการแก้ไขรัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 เพื่อให้มีช่องทางแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญตามข้อสังเกตพระราชทานได้ แล้วจึงมีการแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญในปี 2560 ใน 7 ประเด็น ก่อนที่จะประกาศใช้ออกมาเป็นรัฐธรรมนูญฉบับ 2560 ซึ่งประเด็นที่แก้ก็เป็นพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์
ต่อมายังมีความเปลี่ยนแปลงในระดับกฎหมายรองหลังจากรัฐธรรมนูญ 2560 ประกาศใช้ เช่น สนช.ออก พ.ร.บ.จัดระเบียบบริหารราชการในพระองค์ พ.ศ.2560 ที่ออกมาตามมาตรา 15 วรรคสองของรัฐธรรมนูญ และเพียงไม่กี่วันก็มีกฤษฎีกาที่อธิบายโครงสร้างของส่วนราชการในพระองค์ตามออกมาที่เป็นเหมือนหน่วยงานพิเศษที่ไม่ใช่ข้าราชการและเจ้าหน้าที่รัฐ แต่ใช้งบประมาณแผ่นดิน และการแต่งตั้งเป็นไปตามพระราชอัธยาศัย ทำให้ไม่ถูกตรวจสอบจาก ป.ป.ช.และ สตง.
ต่อมา สนช.ยังออก พ.ร.บ.จัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ศ. 2560 ที่ทำให้ทรัพย์สินที่เคยถูกแบ่งเป็น 3 ส่วนตามกฎหมายเมื่อปี 2491 เหลือเพียงทรัพย์สินส่วนพระองค์ และปีต่อมาจึงออก พ.ร.บ.จัดระเบียบทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ พ.ศ. 2561 มายกเลิกฉบับ 2560 และแบ่งเพิ่มเป็นทรัพย์สินส่วนพระองค์กับทรัพย์สินในพระมหากษัตริย์ และยังเปลี่ยนโครงการภายในสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์จากเดิมที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นประธาน แต่ภายหลังตำแหน่งในสำนักงานจะตั้งขึ้นตามพระราชอัธยาศัย
ยิ่งชีพเบิกความถึง พ.ร.ก.โอนอัตรากำลังพลและงบประมาณบางส่วนของกองทัพบก กองทัพไทย กระทรวงกลาโหม ไปเป็นของหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ด้วยว่า ทำให้เกิดการโอนย้ายกรมทหารราบที่ 1 และกรมทหารราบที่ 11 เข้าไปเป็นไปเป็นหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ ซึ่งเป็นส่วนราชการในพระองค์ ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการในพระองค์ด้วย
ผอ.iLaw ยังกล่าวถึงการใช้มาตรา 112 ดำเนินคดีกับผู้ที่ออกมาวิพากษ์วิจารณ์สถาบันพระมหากษัตริย์มาอย่างต่อเนื่อง แต่ก็มีช่วงที่หยุดใช้ไปในช่วงปี 2560-2563 จนกระทั่ง พล.อ.ประยุทธ์ มีการประกาศว่าจะใช้กฎหมายทุกมาตรากับผู้ที่ออกมาชุมนุมในปี 2563 ทำให้จำนวนคดีเพิ่มขึ้นมาอีกในปี 2563 และเพิ่มสูงที่สุดในปี 2564 ซึ่งเป็นการดำเนินคดีกับกลุ่มเยาวชนที่ออกมาแสดงออกตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นมา
หลังการสืบพยานเสร็จสิ้นศาลนัดฟังคำพิพากษาในวันที่ 3 ธ.ค.2567
ทั้งนี้อานนท์ ถูกดำเนินคดีด้วยมาตรา 112 ทั้งหมด 14 คดี และมีคำพิพากษาแล้ว 4 คดี มีโทษจำคุกรวม 14 ปี 2 เดือน 20 วัน
https://prachatai.com/journal/2024/10/111240
ประชาไท
‘อานนท์ นำภา - สมชาย ปรีชาศิลปกุล - ยิ่งชีพ อัชฌานนท์’ เบิกความคดี 112 ส่งจดหมายถึงในหลวง ร.10 ในกิจกรรม #ราษฎรสาสน์ ‘อานนท์’ ระบุหวังสื่อสารเพื่อให้สถาบันพระมหากษัตริย์ยังดำรงอยู่ได้ในยุคสมัยใหม่และในระบอบประชาธิปไตยฯ แม้อาจดูตรงไปตรงมาแต่ก็ทำได้ด้วยปรารถนาดีและด้วยความเป็นมนุษย์ ศาลนัดฟังคำพิพากษา 3 ธ.ค.นี้
31 ต.ค.2567 ที่ศาลอาญา รัชดาฯ มีนัดสืบพยานคดีของอานนท์ นำภา ทนายความด้านสิทธิมนุษยชน ที่อัยการฟ้องด้วยข้อหาหมิ่นประมาทกษัตริย์ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และมาตรา 14 พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ จากกรณีอานนท์โพสต์เฟซบุ๊กกิจกรรม #ราษฎรสาสน์ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ชวนประชาชนเขียนจดหมายถึงพระมหากษัตริย์ เมื่อวันที่ 8 พ.ย. 2563
วันนี้เป็นการสืบพยานฝั่งพยานจำเลย 3 ปาก โดยอานนท์เบิกตัวเองเป็นพยาน และยังมีพยานอื่น ได้แก่ สมชาย ปรีชาศิลปกุล อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ ยิ่งชีพ อัชฌานนท์ ผู้อำนวยการโครงการ iLaw
ในการสืบพยานครั้งนี้มีประชาชนให้ความสนใจเดินทางมาร่วมฟังการสืบพยานจนเต็มห้องกว่า 30 คน บางส่วนเป็นเพื่อนนักกิจกรรมที่มาร่วมให้กำลังใจอานนท์
อานนท์ขึ้นเบิกความเป็นคนแรกในเวลา 11.30 น. เนื้อหาคำเบิกความของเขากล่าวถึงเนื้อหาในจดหมายที่เขาตั้งใจเขียนถึงในหลวงรัชกาลที่ 10 เพราะต้องการแสดงความคิดเห็นต่อบทบาทขององค์พระมหากษัตริย์ในร่างรัฐธรรมนูญในปี 2560 หลังจากประชาชนออกเสียงประชามติมาแล้วในปี 2559 โดยเพิ่มเนื้อหาที่เป็นการเพิ่มพระราชอำนาจเข้ามา โดยอานนท์ย้ำในประเด็นนี้ว่าข้อเท็จจริงปรากฏตามข่าวหนังสือพิมพ์รายงานถึงพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีในเวลานั้นกล่าวในเดือนมกราคม 2560 ว่ามีกระแสรับสั่งมาว่ามีข้อสังเกตพระราชทานถึงร่างรัฐธรรมนูญที่ผ่านประชามติแล้ว
อานนท์ระบุถึงผลของการแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าวว่าทำให้พระมหากษัตริย์สามารถแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการในพระองค์โดยไม่ต้องมีผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการและสามารถทำได้แม้จะเสด็จประพาสอยู่ในต่างประเทศ
นอกจากนั้นยังกล่าวถึงกฎหมาย 3 ฉบับที่ออกมาโดยสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ได้แก่
1. พ.ร.บ.จัดระเบียบบริหารราชการในพระองค์ พ.ศ.2560
2. พ.ร.บ.จัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ศ. 2560 และต่อมามีพ.ร.บ.จัดระเบียบทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ พ.ศ. 2561 มายกเลิกฉบับ 2560
3. พระราชกำหนด โอนอัตรากำลังพลและงบประมาณบางส่วน ของกองทัพบก กองทัพไทย กระทรวงกลาโหม ไปเป็นของหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์
อานนท์ให้เหตุผลว่าทั้งการแก้ไขรัฐธรรมนูญและการออกกฎหมายเหล่านี้กระทบต่อระบอบประชาธิปไตยอันทรงมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และสถานะขององค์พระมหากษัตริย์ตามหลักการ The King can do no wrong ซึ่งเป็นหลักการที่อยู่ในรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 6 คือ “องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใด ๆ มิได้”
อานนท์ย้ำหลายครั้งในการเบิกความต่อศาลว่า การวิพากษ์วิจารณ์ของเขารวมถึงเยาวชนที่ออกมาร่วมชุมนุมในปี 2563 นั้นเพียงต้องการเรียกร้องให้ในหลวงรัชกาลที่ 10 กลับมาเป็นพระมหากษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตยอันทรงมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขและทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นสถาบันที่ทันสมัยเท่านั้น
เขากล่าวด้วยว่า แม้ว่าสุดท้ายแล้วสิ่งที่พูดอาจถูกตัดสินให้ผิดกฎหมายหรือนอกกรอบรัฐธรรมนูญไปบ้าง แต่ก็ทำไปด้วยความเป็นมนุษย์ที่เมื่อเห็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องตามหลักการก็วิพากษ์วิจารณ์ และการถูกคุมขั งเขาก็มองว่าเป็นเรื่องที่คุ้มค่าเพราะเกิดการปรับเปลี่ยนได้บ้าง เช่นเรื่องขบวนเสด็จที่มีการแก้ไขให้กระทบกับประชาชนน้อยลง
สมชาย ปรีชาศิลปกุล เบิกความโดยสรุปถึงประเด็นหลักการของมาตรา 6 ในรัฐธรรมนูญว่าเป็นประเด็นที่ถกกันมาตั้งแต่การร่างรัฐธรรมนูญฉบับแรกของไทย ทั้งนี้ส่วนที่บอกว่าพระมหากษัตริย์จะละเมิดไม่ได้ก็คือจะฟ้องร้องดำเนินคดีต่อพระมหากษัตริย์ไม่ได้ แต่ไม่ได้หมายถึงประชาชนวิจารณ์ไม่ได้ และเรื่องนี้สอดคล้องกับหลักการ The King can do no wrong เพราะจะต้องมีผู้ลงชื่อรับสนองพระบรมราชโองการในการแต่งตั้งหรือดำเนินการแทนจึงสอดคล้องกับหลักพระมหากษัตริย์จะล่วงละเมิดไม่ได้ ประชาชนจึงฟ้องร้องดำเนินคดีพระมหากษัตริย์ไม่ได้ด้วย
สมชายกล่าวถึงประเด็นเรื่องสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นด้วยว่าถูกบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญเป็นหลักการพื้นฐานในระบอบประชาธิปไตยและถูกบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญเช่นเดียวกับสถานะของพระมหากษัตริย์ โดย 2 หลักนี้เป็นคุณค่าในรัฐธรรมนูญที่ไม่สามารถเอาหลักการหนึ่งไปทำลายคุณค่าของอีกหลักการหนึ่งได้
อาจารย์นิติ มช. ยังบอกด้วยว่า การจะพิจารณาหลักการเรื่องเสรีภาพในการแสดงออก ไม่สามารถเลือกแค่ส่วนเสี้ยวของการกระทำเท่านั้น แต่ต้องดูภาพรวมของการแสดงออกทั้งหมดด้วย เขายกตัวอย่างการเผาธงในสหรัฐฯ ถือว่าเป็นการทำผิดกฎหมาย แต่ศาลในสหรัฐฯ ก็เคยมีคำตัดสินว่าการเผาธงเพื่อประท้วงนโยบายของประธานาธิบดีโรนัลด์ เรแกน ถือว่าเป็นการใช้เสรีภาพในการแสดงออก ดังนั้นการเลือกแค่ส่วนเสี้ยวของการกระทำหนึ่งบอกว่าเป็นความผิดก็จะทำให้การแสดงออกทุกอย่างผิดกฎหมายไปด้วย เช่นการชุมนุมบนถนนก็จะกลายเป็นความผิดตามพ.ร.บ.จราจรฯ เป็นต้น
สมชายยังย้ำด้วยว่า การตีความ มาตรา 6 ของรัฐธรรมนูญ กับมาตรา 112 ของประมวลกฎหมายอาญา จึงเป็นคนละเรื่องกัน และมาตรา 112 ยังเป็นกฎหมายอาญาที่จะต้องตีความอย่างเคร่งครัดอีกด้วย เป็นเรื่องที่ต้องชั่งน้ำหนัก การพูดที่เข้าข่ายจะต้องเป็นการพูดที่เข้าองค์ประกอบความผิด คือต้องเป็นการพูดถึงบุคคลที่กฎหมายให้การคุ้มครอง 4 ตำแหน่งคือ องค์พระมหากษัตริย์ ราชินี รัชทายาทและผู้สำเร็จราชการพระองค์ อีกทั้งในโพสต์ของอานนท์ก็มีการระบุด้วยว่าการโพสต์นี้เป็นการท้วงติงด้วยความเคารพ จึงต้องปรับหลักการในรัฐธรรมนูญมาใช้ด้วย
นอกจากนั้นสมชายยังเบิกความถึงประเด็นที่รัฐธรรมนูญ 2560 ถูกแก้ไขหลังจากประชาชนออกเสียงประชามติผ่านมาแล้วด้วยว่า เป็นเรื่องที่เขาเองในฐานะผู้สอนเรื่องรัฐธรรมนูญตั้งข้อสงสัยเช่นกัน เพราะประชาชนออกเสียงประชามติในรัฐธรรมนูญที่จะนำมาบังคับใช้คือร่างรัฐธรรมนูญในปี 2559 การที่มีการแก้ไขหลังประชามติมาแล้วจึงเป็นเรื่องที่ตอบไม่ได้
อาจารย์นิติ มช.ยังกล่าวถึงปัญหาของพ.ร.บ.จัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ศ. 2560 ด้วยว่า กฎหมายนี้ทำให้ ‘ทรัพย์สินส่วนพระองค์’ ‘ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์’ และ ‘ทรัพย์สินพระมหากษัตริย์’ กลายเป็นทรัพย์สินขององค์พระมหากษัตริย์ไปทั้งหมด
ยิ่งชีพ อัชฌานนท์ ผู้อำนวยการของ iLaw กล่าวถึงการการแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญที่ผ่านประชามติมาแล้วว่ามีการแก้ไขรัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 เพื่อให้มีช่องทางแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญตามข้อสังเกตพระราชทานได้ แล้วจึงมีการแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญในปี 2560 ใน 7 ประเด็น ก่อนที่จะประกาศใช้ออกมาเป็นรัฐธรรมนูญฉบับ 2560 ซึ่งประเด็นที่แก้ก็เป็นพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์
ต่อมายังมีความเปลี่ยนแปลงในระดับกฎหมายรองหลังจากรัฐธรรมนูญ 2560 ประกาศใช้ เช่น สนช.ออก พ.ร.บ.จัดระเบียบบริหารราชการในพระองค์ พ.ศ.2560 ที่ออกมาตามมาตรา 15 วรรคสองของรัฐธรรมนูญ และเพียงไม่กี่วันก็มีกฤษฎีกาที่อธิบายโครงสร้างของส่วนราชการในพระองค์ตามออกมาที่เป็นเหมือนหน่วยงานพิเศษที่ไม่ใช่ข้าราชการและเจ้าหน้าที่รัฐ แต่ใช้งบประมาณแผ่นดิน และการแต่งตั้งเป็นไปตามพระราชอัธยาศัย ทำให้ไม่ถูกตรวจสอบจาก ป.ป.ช.และ สตง.
ต่อมา สนช.ยังออก พ.ร.บ.จัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ศ. 2560 ที่ทำให้ทรัพย์สินที่เคยถูกแบ่งเป็น 3 ส่วนตามกฎหมายเมื่อปี 2491 เหลือเพียงทรัพย์สินส่วนพระองค์ และปีต่อมาจึงออก พ.ร.บ.จัดระเบียบทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ พ.ศ. 2561 มายกเลิกฉบับ 2560 และแบ่งเพิ่มเป็นทรัพย์สินส่วนพระองค์กับทรัพย์สินในพระมหากษัตริย์ และยังเปลี่ยนโครงการภายในสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์จากเดิมที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นประธาน แต่ภายหลังตำแหน่งในสำนักงานจะตั้งขึ้นตามพระราชอัธยาศัย
ยิ่งชีพเบิกความถึง พ.ร.ก.โอนอัตรากำลังพลและงบประมาณบางส่วนของกองทัพบก กองทัพไทย กระทรวงกลาโหม ไปเป็นของหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ด้วยว่า ทำให้เกิดการโอนย้ายกรมทหารราบที่ 1 และกรมทหารราบที่ 11 เข้าไปเป็นไปเป็นหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ ซึ่งเป็นส่วนราชการในพระองค์ ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการในพระองค์ด้วย
ผอ.iLaw ยังกล่าวถึงการใช้มาตรา 112 ดำเนินคดีกับผู้ที่ออกมาวิพากษ์วิจารณ์สถาบันพระมหากษัตริย์มาอย่างต่อเนื่อง แต่ก็มีช่วงที่หยุดใช้ไปในช่วงปี 2560-2563 จนกระทั่ง พล.อ.ประยุทธ์ มีการประกาศว่าจะใช้กฎหมายทุกมาตรากับผู้ที่ออกมาชุมนุมในปี 2563 ทำให้จำนวนคดีเพิ่มขึ้นมาอีกในปี 2563 และเพิ่มสูงที่สุดในปี 2564 ซึ่งเป็นการดำเนินคดีกับกลุ่มเยาวชนที่ออกมาแสดงออกตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นมา
หลังการสืบพยานเสร็จสิ้นศาลนัดฟังคำพิพากษาในวันที่ 3 ธ.ค.2567
ทั้งนี้อานนท์ ถูกดำเนินคดีด้วยมาตรา 112 ทั้งหมด 14 คดี และมีคำพิพากษาแล้ว 4 คดี มีโทษจำคุกรวม 14 ปี 2 เดือน 20 วัน
https://prachatai.com/journal/2024/10/111240