วันเสาร์, ตุลาคม 28, 2566

พิธาโพสต์มุมมอง อาจารย์ฮาร์วาร์ด หลังการบรรยาย

https://www.facebook.com/timpitaofficial/posts/894321795386930?ref=embed_post
Pita Limjaroenrat - พิธา ลิ้มเจริญรัตน์
8h·

ดีใจที่ได้กลับมาที่ #Harvard อีกครั้ง หลังจากจบมา 12 ปีที่แล้ว ก็แทบไม่ได้กลับมาเลย ครั้งนี้เปลี่ยนจาก นั่งฟังหลังห้อง เป็นคนพูดแถวหน้าแทน
.
บรรยายคราวนี้ หัวข้อ Moving forward: Thailand, ASEAN and beyond มีทั้งพี่น้องคนไทย, อาเซียน, อินเดีย, จีน และ อเมริกันมาร่วมแลกเปลี่ยน
.
หลังจากบรรยายเสร็จก็มีร่วมรับประทานอาหาร Reception กลุ่มเล็กๆ พบ Prof. James Robson และ อาจารย์ฮาร์วาร์ดหลายท่าน รวมถึง นักศึกษาชาวไทยและต่างชาติ หลายท่าน ที่สนใจ ASEAN ทั้งจาก Harvard Law School, Harvard Education School, Harvard Graduate School of Design, Harvard Business School, Harvard Divinity School และ Harvard Kennedy School
.
เท่าที่ได้คุยกันใกล้ชิดขึ้น หลายท่านผูกพันกับไทย และ/หรืออาเซียนตั้งแต่ 1984 บ้าง 1992 บ้าง จนถึง ปีที่ผ่านมา ทำการศึกษาเกี่ยวกับเศรษฐกิจ ความเหลื่อมล้ำหลังโควิด
.
หลายคนไปอยู่ลำปาง แม่สอด เชียงราย สมุย เลยทำให้รู้ว่าความสนใจเกี่ยวกับไทยที่ Harvard มีมานาน ถึงอาจจะไม่มาก (เมื่อเทียบกับเวียดนาม อินโด จีน เกาหลี) แต่ "growing" และเริ่ม Thai studies program แล้ว และมีอาจารย์ สอน ภาษาไทย หนึ่งท่าน
.
เราแลกเปลี่ยนกันเรื่อง:
.
ประชาธิปไตยถดถอยทั่วโลก (Democratic backsliding) ปีที่ผมมาเรียน 2006 มาจนถึงปีนี้ ตามดัชนีของ Freedom house, สังคมเสรีประชาธิปไตยลดลงจาก 48% ทั่วโลก เหลือเพียง 20%
.
มีเทคนิคที่ชื่อว่า "competitive authoritarianism" หรือ เผด็จการในรูปแบบนักเลือกตั้ง คล้ายๆ กับที่ อ. ชัชชาติเคยพูดว่า เผด็จการฉลาดขึ้น
.
เรื่องการทำให้ ASEAN กลับมามี relevancy กับ creditability เปลี่ยน 5 point consensus ให้กลายเป็น 5 year roadmap ในการแก้ไขวิกฤต Myanmar เรื่องเทอมของอาเซียนที่ rotate บ่อย ปีเดียว ทำงานไม่ต่อเนื่อง น่าจะมีข้อเสนอเรื่อง Troika ให้เกิดความต่อเนื่องในการแก้ปัญหาอย่าง PM 2.5 & การค้ามนุษย์ ได้มากขึ้น
.
Rule based world order ที่ Middle power รวมถึง อาเซียน (3,6 Trillion and 670 ล้านคน โดนการร่วมนำของไทย จะทำให้มีน้ำหนักพอ ที่จะพัฒนา international architecture และ international peace ที่มั่นคงมากขึ้น ในทางกลับกัน ขาดไทย ก็ยากที่จะเห็นอาเซียนทำตามสิ่งที่ควรหวังได้จากประชาคมโลก หรือ ตามความสำเร็จในอดีตที่เคยทำมาแล้ว
.
สำหรับมุมมอง อาจารย์ที่นี้ เขาคิดว่า ประเทศไทยเคยและยังมีศักยภาพ เป็น middle power ไม่ใช่ประเทศเล็กๆ ยิ่งถ้ารวมน้ำหนึ่งใจเดียวของ อาเซียนได้เมื่อไร อย่างน้อย founding members ทั้ง 5 - มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ จะยิ่งทำให้เป็น middle power ที่สามารถ contribute กับ new world order ได้
.
อย่าปล่อยให้ new world order เป็น no world order. Middle power ต้องเข้าช่วย
.
สั้นๆ แต่สนุกมากครับ