"ทักษิณ ชินวัตร" หลังถอดถอนยิ่งลักษณ์
ที่มา มติชนออนไลน์ 25 มกราคม พ.ศ. 2558
ไม่ใช่แค่ถูกสภานิติบัญญัติแห่งชาติถอดถอนจนสิทธิทางการเมืองถูกตัดไป 5 ปี ถูกบังคับให้เดินลงจากสนามการเมืองเท่านั้น แต่ "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" ยังต้องเผชิญชะตากรรมในความผิดทางอาญา ด้วยสำนักงานอัยการสูงสุดแถลงออกมาแล้วว่าจะส่งฟ้องข้อหาทุจริตในโครงการรับจำนำข้าวต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง อันหมายถึงเส้นทางของ "ยิ่งลักษณ์" เลยเถิดไปถึงมีโอกาสติดคุกติดตะรางได้
นับเป็นชะตากรรมที่ชวนขนลุกขนพองไม่น้อย
ดังนั้นหลังจากอัยการสูงสุดประกาศฟ้องและสนช.ลงมติถอดถอนในวันเดียวกันเสียงพูดถึง "ยิ่งลักษณ์" จึงออกมาในทางที่ดูเหมือนว่าการจัดการตัวเองที่ดีที่สุดน่าจะเป็นแบบเดินตามรอย "ทักษิณ ชินวัตร" ผู้พี่ คือหาทางออกไปอยู่ต่างประเทศในฐานะผู้ลี้ภัยทางการเมือง
มีการประเมินกันว่า แม้จะดูจากการที่นายนิคม ไวยรัชพานิช และนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ไม่ถูกถอดถอนไปด้วย แสดงว่านักการเมืองที่เคยเป็นเครือข่ายของ "ทักษิณ ชินวัตร" ยังไม่ได้ถูกล้างบางให้ล้มหายกันแบบสิ้นซาก ยังเปิดทางให้เข้ามามีบทบาทได้อีกหลังจากนี้
อย่างไรก็ตาม บทบาทที่จะเข้ามาเล่นนั้น คงต้องทบทวนกันอย่างหนักว่าจะยืนหยัดอยู่ในสายชินวัตรหรือไม่ เนื่องจากเสียงถอดถอน "ยิ่งลักษณ์" 190 ต่อ 18 เสียงนั้นเป็นการส่งสัญญาณชัดเจนว่าเป็นการผนึกกำลังกันอย่างเป็นเอกภาพในการจัดการกับ"ตระกูลชินวัตร" อย่างเด็ดขาด
ปิดหนทางที่จะกลับมาสู่เส้นทางอำนาจอย่างสิ้นเชิง
เป็นความชัดเจนว่าทุกฝ่ายพร้อมผนึกกำลังอย่างพร้อมเผชิญหน้าเพื่อเขี่ยทิ้งตระกูลชินวัตรพ้นไป
และนี่เป็นสัญญาณที่น่าสนใจไม่น้อย
และคนที่จะต้องมองเรื่องราวนี้อย่างวิเคราะห์ทบทวนใหญ่อีกครั้งคือ "ทักษิณ ชินวัตร"
ก่อนหน้านั้นแม้จะเผชิญชะตากรรมหนักหนาสาหัสเพียงไหนแต่เป็นที่รับรู้กันในแวดวงผู้เสาะหาข่าวว่า "ทักษิณ ชินวัตร" ยังมีความหวังเสมอว่าจะได้กลับมาอยู่ในแผ่นดินเกิด
ยังเชื่อมั่นว่า หากประเทศกลับเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตย เปิดโอกาสให้ประชาชนเลือกผู้นำประเทศ พรรคการเมืองที่ "ทักษิณ" มีบทบาทสำคัญในการก่อตั้งจะได้ชัยชนะเป็นรัฐบาล
และอำนาจรัฐที่ได้มาจะทำให้ช่องทางกลับแผ่นดินเกิดเปิดขึ้นเพื่อต้อนรับได้
ความหวังเช่นนั้นมีอยู่เสมอท่ามกลางความเชื่อมั่นว่าหากเป็นเวทีประชาธิปไตยแล้วยังมีความเหนือกว่าคู่ต่อสู้อยู่
และความเชื่อนี้ส่งผลทางการเมืองอยู่ไม่น้อย
มันหมายถึงการต่อสู้ทางการเมืองระหว่างผู้นิยมประชาธิปไตยกับฝ่ายอำนาจนิยมยังมีเงื่อนไขที่ขบเหลี่ยมเฉือนคมในโอกาศแห่งชัยชนะกันอยู่
ดังนั้นความน่าสนใจจึงอยู่ที่"ชะตากรรม"ของ "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" ครั้งนี้ ส่งผลอย่างไรต่อความคิดของ "ทักษิณ"
เมื่อคนแล้วคนเล่าต้องเอาอนาคตที่สุขสบายมาสังเวยการเมือง ทำให้กลายเป็นผู้ที่อยู่อย่างทุกข์ร้อนลำบาก
จะยังยืนหยัดที่จะสู้ต่อหรือไม่
การตัดสินใจสู้หรือไม่สู้ของ"ทักษิณ"
ย่อมส่งผลต่อความเป็นไปของประเทศที่แตกต่างกัน
ที่มา : มติชนรายวัน ฉบับวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2558
ที่มา มติชนออนไลน์
2.ลดอำนาจและบทบาทของพรรคการเมืองและนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งทั้งหลาย
3.กำหนดให้คนนอกเป็นนายกฯได้
4.วุฒิสภาและองค์กรอิสระหรือองค์กรตรวจสอบที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง สามารถกำหนดที่มาและการดำรงอยู่ของรัฐบาลได้
5.นโยบายในการบริหารประเทศทั้งระยะสั้นและระยะยาวถูกกำหนดไว้หมดแล้วในรัฐธรรมนูญและแนวทางการปฏิรูปและวิสัยทัศน์ของประเทศ
6.มีกลไกที่คอยกำกับให้รัฐบาลหลังการเลือกตั้งต้องทำตามสิ่งที่กำหนดไว้และป้องกันไม่ให้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้
7.เพิ่มอำนาจศาลรัฐธรรมนูญในการตีความรัฐธรรมนูญมาตรา7 เพื่อให้ผู้มีอำนาจสามารถเปลี่ยนรัฐบาลและแก้ไขกติกาได้ โดยไม่ต้องทำรัฐประหารให้เหนื่อยแรง
นี่คือโรดแม็ปของการสร้างระบบการปกครองที่ไม่เป็นประชาธิปไตยที่จะเกิดขึ้นและต้องการให้ดำรงอยู่ไปอีกนาน
การเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นจะไม่มีความหมายอย่างการเลือกตั้งในอารยประเทศ
ฉะนั้นความคิดหรือความเชื่อที่ว่า ปล่อยให้พวกเขาทำไปเถอะ เลือกตั้งเมื่อไหร่ก็ดีเองนั้น ใช้ไม่ได้แน่แล้ว
ooo
"อยากจะบอกความลับ ให้รู้ในวันที่ทหาร-ตํารวจเข้าควบคุมพื้นที่รร.เอสซีฯ มีนายทหารยศพันโท-ตํารวจยศพันตํารวจเอก ในนามคสช. มาพบคุยกับผมบอกว่า คสช.ห้ามแถลงข่าว เป็นคําสั่งเด็ดขาดของแม่ทัพภาพที่1 ถ้าไม่เชื่อฟัง!จะใช้กฏอัยการศึก และในวันรุ่งขึ้นจะให้อดีตนายกฯ พร้อมทนายความเข้ารายงานตัวทันที! ทําให้ผมต้องออกมาแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนครับ"