วันอังคาร, กุมภาพันธ์ 25, 2568

โคตรอํามหิต ​ยื่นประกันกี่ครั้ง ก็ "ยกคำร้อง"


https://www.facebook.com/xannth.na.pha/posts/28616933027921388


https://www.facebook.com/photo/?fbid=1041736621130141&set=a.656922399611567


ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน
15 hours ago
·
ยกคำร้องประกันรวด 16 ฉบับ ศาลไม่ให้สิทธิประกันตัวผู้ต้องขังการเมืองออกมาต่อสู้คดี หลังทนายยื่นประกันชุดใหญ่วันวาเลนไทน์
.
18 ก.พ. 2568 ศาลมีคำสั่ง #ยกคำร้อง ทุกฉบับ หลังทนายความยื่นประกันผู้ต้องขังทางการเมืองรวมทั้งสิ้น 16 คน เนื่องในโอกาสวันแห่งความรัก หวังศาลคืนสิทธิประกันตัวให้ผู้ต้องขังได้กลับบ้านไปอยู่กับคนรักและครอบครัวอย่างพร้อมหน้า และให้โอกาสพวกเขาได้เตรียมตัวต่อสู้คดีอย่างเต็มที่
.
การยื่นประกันผู้ต้องขังทางการเมืองครั้งนี้แบ่งออกเป็นผู้ต้องขังในคดี “หมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ” ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 รวม 10 คน ได้แก่ วีรภาพ วงษ์สมาน, “มานี” เงินตา คำแสน, “ขุนแผน” เชน ชีวอบัญชา, อัฐสิษฎ (สงวนนามสกุล), “ขนุน” สิรภพ พุ่มพึ่งพุทธ, “อาย” กันต์ฤทัย คล้ายอ่อน, สถาพร (สงวนนามสกุล), “ก้อง” อุกฤษฎ์ สันติประสิทธิ์กุล, ทิวากร วิถีตน และ “แอมป์” ณวรรษ เลี้ยงวัฒนา
.
และผู้ต้องขังในคดีข้อหาอื่น ๆ ที่สืบเนื่องจากเหตุชุมนุม รวมทั้งสิ้น 6 คน ได้แก่ “บาส” ประวิตร (สงวนนามสกุล), ไพฑูรย์ (สงวนนามสกุล), สุขสันต์ (สงวนนามสกุล), คเชนทร์ (สงวนนามสกุล), ขจรศักดิ์ (สงวนนามสกุล) และ จักรี (สงวนนามสกุล)
.
.
คำสั่ง “ยกคำร้อง” ในทุกคดีเป็นไปในทิศทางเดียวกันและเหมือนกับทุกครั้งที่ผ่านมาคือ เกรงว่าจำเลยจะหลบหนี และไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม
.
เป็นที่สังเกตได้ว่า การได้รับประกันตัวในคดีที่มีมูลเหตุจูงใจทางการเมืองยังคงเป็นเรื่องที่ยากลำบาก โดยศาลสูง (ศาลอุทธรณ์และศาลฎีกา) มีแนวโน้มที่จะไม่อนุญาตให้ประกันจำเลยคดีมาตรา 112 หรือคดีอื่น ๆ ที่สืบเนื่องจากการชุมนุม ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำคุก ทั้งที่พวกเขายังอยู่ในระหว่างการต่อสู้คดี และก่อนหน้านี้มาศาลตามนัด ไม่มีพฤติการณ์หลบหนี ทั้งยังมีเหตุผลจำเป็นอย่างยิ่งในการขอประกันตัว อาทิ การศึกษา อาการเจ็บป่วยของตน การดูแลหรือหารายได้เลี้ยงดูครอบครัว
นอกจากนี้กว่าครึ่งของผู้ต้องขังทางการเมืองทั้งหมดที่ไม่ได้รับสิทธิในการประกันตัว ถูกศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุกไม่เกิน 5 ปี ซึ่งเข้าหลักเกณฑ์ที่ศาลชั้นต้นต้องอนุญาตให้ประกันหลังมีคำพิพากษาในทันที ตามข้อบังคับประธานศาลฎีกา ว่าด้วยการปล่อยชั่วคราวและวิธีการเรียกประกันในคดีอาญา พ.ศ. 2565 ข้อที่ 24 ซึ่งระบุไว้ว่า กรณีที่ศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 5 ปี ไม่ว่าจะเป็นคดีที่ต้องห้ามอุทธรณ์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง หรือคดีที่ต้องขออนุญาตฎีกาก็ตาม หากจำเลยไม่เคยถูกคุมขังมาก่อน หรือได้รับการปล่อยชั่วคราวในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ และไม่มีพฤติการณ์จะหลบหนีหรือก่อภัยอันตรายใด ๆ ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาสั่งอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว โดยใช้วิธีการอย่างเดียวกับการปล่อยชั่วคราวในระหว่างพิจารณา หรือใช้เงื่อนไขหรือมาตรการที่เข้มงวดเพิ่มมากขึ้นก็ได้ โดยไม่จำเป็นต้องส่งให้ศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาสั่ง
.
แต่จากการเก็บข้อมูลของศูนย์ทนายฯ พบว่า ศาลชั้นต้นมักจะส่งให้ศาลสูงเป็นผู้พิจารณาคำร้องขอประกัน และการขอประกันตัวในครั้งถัด ๆ ไป ศาลชั้นต้นผู้รับคำร้องก็จะส่งไปให้ศาลสูงพิจารณาเช่นเดิม
.
แม้ว่า มีบ้างที่ศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกามีคำสั่งอนุญาตให้ประกัน เช่น กรณี “ไผ่” จตุภัทร์ บุญภัทรรักษา, “บูม” จิรวัฒน์ หรือล่าสุด “พอร์ท” ปริญญา ชีวินกุลปฐม แต่ก็มีจำนวนน้อยมาก ขณะที่คดีที่พฤติการณ์คดีรวมทั้งพฤติการณ์ของจำเลยคล้ายคลึงกัน มีโทษจำคุกเท่ากันหรือน้อยกว่า กลับไม่ได้รับอนุญาตให้ประกัน
.
กล่าวโดยสรุป สิทธิประกันตัวผู้ต้องขังทางการเมืองที่อยู่ในระหว่างต่อสู้คดียังคงเป็นปัญหา ทั้งการที่ศาลไม่ได้นำหลักการ ‘สันนิษฐานไว้ก่อนว่าบริสุทธิ์’ มาใช้เป็นหลักในคดีทางการเมือง และการใช้ดุลยพินิจของศาลก็มีความลักลั่นไม่แน่นอน และไม่ชัดเจนว่ามีมาตรฐานเช่นใด ใช้ปัจจัยใดบ้างประกอบการพิจารณามีคำสั่งให้ประกันหรือไม่ให้ประกัน หรือกระทั่งในการพิจารณาส่งคำร้องให้ศาลสูงเป็นผู้สั่ง
.
.
อ่านข่าวทั้งหมดบนเว็บไซต์
https://tlhr2014.com/archives/73101