Pipob Udomittipong
13h ·
Bangkok Post วิเคราะห์ว่า #การชุมนุม14ตุลา จะมีคนมาน้อย ถ้าแกนนำยืนยันชูประเด็น #ปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ พร้อมกับอ้างคำพูดของ “นักวิชาการ” 2 คน และ “ผู้สังเกตการณ์” ซึ่งไม่ได้ระบุว่าเป็นใคร แต่มีหลายคน เพราะใช้ “observers” “นักวิชาการ” จากพระปกเกล้า เป็นใครก็ไม่รู้ ไม่เคยได้ยินชื่อ บอกว่ากลุ่มน.ศ.ของ #เพนกวิน มีเสียงสนับสนุนน้อยลง “ดูสิ วันที่ 19 ก.ย. คนหนุ่มสาวมาชุมนุมแล้วก็รีบกลับบ้าน ไม่มีใครค้างคืน” (BP ไม่ได้ส่งนักข่าวไปภาคสนามเลยหรือ?) ส่วน “นักวิชาการ” จากม.รังสิตบอกว่า เพราะพรรคเพื่อไทยไม่สนับสนุนม็อบนี้ และเพราะจะมีการเลือกตั้งท้องถิ่นในเดือนธ.ค. คนจะมาชุมนุมน้อยและไม่ยืดเยื้อ
ขอโทษ บทวิเคราะห์แบบนี้ผมใช้ส้นตีนก็เขียนได้ ตั้ง “ธง” ไว้ แล้วไปหา “ปาก” ใครก็ได้ที่คิดว่าพูดเข้าทางมาสัมภาษณ์ ทำไมไม่ไปสัมภาษณ์ อ.พวงทอง อ.ประจักษ์ ซึ่งมีชื่อเสียงมากกว่าด้วยซ้ำ เพราะกลัวจะไม่ได้ quotes ที่ตัวเองต้องการเท่านั้นเอง นักข่าวน่ะ มันต้องทำตัวเหมือน “นักวิจัย” ด้วยสิ นี่มันการเขียน “ข่าว” แบบเก่า แบบ propaganda แบบเดียวกับสื่อในประเทศคอมมิวนิสต์หรือเผด็จการเลย อ้อ แล้วไม่ต้องไปสัมภาษณ์ “นักวิชาการ” ที่ไหนหรอก คุณดูจากจำนวนผู้เข้าร่วมชุมนุมใหญ่ที่ผ่านมาสิ มันเพิ่มขึ้นทุกครั้งใช่มั้ย ยิ่งพูดเรื่องสถาบันฯ มากเท่าไร คนก็ยิ่งมามากขึ้นเท่านั้น มันเป็น empirical data น่ะ ไม่ต้องนั่งทางใน
ใครอ่าน BP ผมแนะนำให้อ่านคอมเมนต์ เพราะผู้อ่านของเขาฉลาดกว่าคนทำหนังสือพิมพ์มาก เสียดายว่าเมืองไทยไม่มีนสพ.ภาษาอังกฤษมากนักเท่านั้นเอง จึงยังพอมีคนอ่าน เชื่อว่าในยุคที่สำนักข่าวขึ้นเว็บมากขึ้น ตอนนี้มี Thisrupt (คนทำเว็บนี้ก็เคยเขียนให้ BP นั่นแหละ) Thai Enquirer และอื่น ๆ อนาคตของ BP น่าจะอีกไม่ไกล ไม่ได้แช่งนะ
https://www.bangkokpost.com/.../royal-reform-bid...
(https://www.facebook.com/photo/?fbid=10158656718416649&set=a.10150096728651649)
Pipob Udomittipong
อ่านคอมเมนต์ครับ สนุกกว่า ได้ความรู้มากกว่าอ่านเนื้อข่าวใน BP สมัยนี้เขาพูดถึงเยอรมันทั้งนั้น BP ว่าไง ตามไม่ทันมั้ง
.....
Atukkit Sawangsuk
3h ·
เพิ่งเห็นบทวิแคะ Bangkok Post จาก Pipob Udomittipong ซึ่งทุเรศมาก
อ้างหน่วยงานความมั่นคงว่าคนจะมาน้อยกว่า 19 ก.ย.เพราะเสื้อแดงจะมาน้อยลง เพราะข้อเรียกร้องปฏิรูปสถาบัน และพรรคเพื่อไทยภายใต้คุณหญิงพจมานจะถอยห่างจากม็อบ จากที่ ส.ส.บางคนช่วยสนับสนุนค่ารถค่าเดินทาง คุณหญิงต้องการให้ไปสนใจงานในสภามากกว่า
:
แล้วก็ไปสัมภาษณ์สติธร ธนานิธิโชติ สถาบันปกเกล้า ว่าคนจะมาไม่มาก เพราะอานนท์ เพนกวิน ไม่สามารถรักษาโมเมนตัมของการเคลื่อนไหว จะต้องหลีกให้กลุ่มปลดแอกขึ้นมานำ เพื่อย้อนไปโฟกัส 3 ข้อเรียกร้อง โดยอ้างเรื่อยเปื่อยว่า กลุ่มปลดแอกใกล้ชิดกับคณะก้่าวหน้าพรรคก้าวไกล ส่วนกลุ่มเพนกวินนี่เชื่อมกับกลุ่มเคลื่อนไหวอื่นเช่น iLaw (อันนี้โคตรมั่วเลย ยิ่งชีพคงฮากลิ้ง)
แล้วก็อ้างตามสูตรว่าปฏิรูปสถาบันทำให้คนสนับสนุนน้อยลง คนรุ่นใหม่ที่ไปร่วม 19 กันยาก็กลับเร็วไม่ค้างคืน (อันนี้เกี่ยวกันเหรอ ไม่ค้างคืนแปลว่าไม่เห็นด้วย?)
:
มีไปสัมภาษณ์วันวิชิต บุญโปร่ง รัฐศาสตร์ ม.รังสิต อาจพูดถูกว่ามันเป็นวันทำงาน คนจะน้อย
แต่ก็หัวปักอยู่กับความเชื่อเดิม เพื่อไทยไม่หนุนแล้ว ปฏิรูปสถาบันทำให้คนไม่สนับสนุน เลือกตั้งท้องถิ่นมาเบนความสนใจคนจากม็อบ
:
มีไปสัมภาษณ์เสื้อแดงด้วยนะ ตีขลุมว่าถ้าเพื่อไทยไม่ช่วยก็มาน้อยลง
โดยยกคำพูดเสือแดงที่โคราชว่า เสื้อแดงอีสานต้องการมาร่วมม็อบ แต่ยังสงสัยว่า ส.ส.เพื่อไทยจะช่วยจัดรถให้ไหม ไม่จัดให้ก็มาลำบาก
แต่แดงโคราชอีกคนก็บอกว่า ตอนนี้จะหารถมากันเองแล้ว
ขณะที่ไปสัมภาษณ์เสื้อแดงเชียงใหม่ ดาบชิต บอกว่าลงชื่อแล้ว 500 คน จัดรถตู้ไว้ 30-40 คัน
:
เออ แล้วเมริงสรุปได้ไงว่าเสื้อแดงจะมาน้อยลง
:
1.ทัศนะมโนเพื่อไทย ทัศนะดูหมิ่นเสื้อแดง
มโนว่าภาพภาพเดียวจะทำให้เพื่อไทยหันจากซ้ายไปขวา
ผมไม่ได้รับประกันว่า เพื่อไทยจะไม่พลิกเลย แต่ความเป็นพรรคการเมืองก็ต้องคำนึงถึงมวลชน เมื่อเสื้อแดงจะมาม็อบ แต่คุณถอย ก็ม๋าสิ สมัยหน้าสูญพันธ์ ต่อให้สู้ไปกราบไป ถ้าไม่เอามวลชนเลย จะเอาอะไรไปต่อรอง
:
คนพวกนี้ยังดูหมิ่นเสื้อแดง ว่าได้แก่คนอีสานคนเหนือจนกรอบไม่มีจะกิน จะมาม็อบต้องพึ่ง ส.ส. เฮ้ยไม่ใช่ งานวิจัยชัดเจน เสื้อแดงคือคนชั้นกลางเกิดใหม่ในชนบท เป็นเกษตรกรหรือคนค้าขายรายย่อยที่มีปิคอัพแต่มีหนี้ ลืมตาอ้าปากได้ในยุคทักษิณ
ฉะนั้น ไอ้การเดินทางแค่เนียะ ไม่ต้องไปรอแบมือขอ ส.ส.หรอก แต่รอดูก่อน ถ้า ส.ส.ช่วยก็ดี ถ้ามันไม่ช่วยก็มาเอง แล้วเมริงจำไว้นะ
:
2.ข้อเสนอปฏิรูปสถาบันทำให้คนสนับสนุนน้อยลง
เมริงฟังในพวกเมริงเองสิ
แบบสลิ่มที่เบื่อประยุทธ์ ทีแรกๆ เห็นคนรุ่นใหม่ไล่ประยุทธ์ก็ดีนะ
แต่พอออกมาเป็นข้อเรียกร้อง 10 ข้อ หงายท้อง ช็อกไปเลย
:
ในทางตรงข้าม คือคนพวกนี้ไม่เข้าใจคนรุ่นใหม่เลย
ไม่รู้ด้วยซ้ำว่า #ให้มันจบที่รุ่นเรา มาจากคำพูดจอมพล ป.
ข้อเสนอปฏิรูปสถาบัน ระเบิดพลังคนรุ่นใหม่ออกมาอย่างร้อนแรง
หลังจากแอบแฝงอยู่ในแฟลชม็อบตั้งแต่ต้นปี
ม็อบ 16 สิงหาที่พวกนี้อ้างว่าคนไปเยอะเพราะไม่พูด 10 ข้อ
คนไปม็อบรู้ล่วงหน้าเหรอะวะว่าบนเวทีจะพูดอะไร
ในทางตรงข้ามที่คนรุ่นใหม่ล้นหลามไป 16 ส.ค.
ก็เพื่อสนับสนุนข้อเรียกร้องวันที่ 10 สิงหา
แล้วเช้าวันรุ่งขึ้นก็ตามมาด้วยนักเรียนชูสามนิ้วทั่วประเทศ
:
3.ปัญหาการนำ การยอมรับกัน อาจมีจริง อาจจะเรื่องบริหารจัดการเรื่องท่าทีเรื่องยุทธวิธีเรื่องการปรึกษาหารือ ฯลฯ
แต่พวกรุ่นเก่างี่เง่าไม่เข้าใจธรรมชาติคนรุ่นใหม่ เขาถกเถียงกันเองเสมอ
เถียงกันเอาเป็นเอาตายก็มี ตามสไตล์คนที่โตมาในโลกออนไลน์ ใครทำอะไรไม่เข้าท่าก็โดนแหกมาเยอะแล้ว
แต่เขาถกเถียงแล้วสามารถรักษาเป้าหมายร่วมกัน เถียงไปสู้ไป
ดังนั้น แนวร่วมธรรมศาสตร์ เยาวชนปลดแอก หรือกลุ่มอื่นๆ อีก ก็คงไม่ใช่เห็นด้วยกันหมดในการเคลื่อนไหวแต่ละครั้ง
แต่ความเห็นต่างไม่ใช่เรื่องปฏิรูปสถาบัน ซึ่งทุกกลุ่มเอาหมด
ไม่ใช่บอกว่าไม่เอาเรื่องนี้ ถอยแล้วแตกแล้วหรือจะมาแย่งชิงการนำเพื่อโยนเรื่องนี้ทิ้ง
ดังจะเห็นว่าการแถลงครั้งล่าสุด ก็ร่วมกันหลายกลุ่มแต่ยังชู "ความฝัน"
ประเด็นมันจะอยู่ที่การปรับยุทธศาสตร์เรื่องระยะยาว เรื่องที่ต้องใช้เวลา กับเรื่องเฉพาะหน้า อย่างที่ผมว่าไปแล้ว เสียมากกว่า
:
4.ปัญหาคนมาน้อยมามาก
ที่จริงผมไม่ค่อยเห็นด้วยกับการปลุกว่า 14 ตุลาคนต้องมากกว่า 19 กันยา
เพราะมันมีหลายปัจจัย เช่นไม่ใช่วันหยุด คน ตจว.ก็อาจมาได้ไม่เยอะ
ม็อบยุคปัจจุบัน เป็นอย่างที่ อ.กนกรัตน์ชี้ว่า มันไม่ใช่ม็อบยุคออฟไลน์ ที่แสดงพลังด้วยการให้คนมาเยอะๆ สมัยนี้มันสามารถสร้างประเด็นด้วยการแสดงออกแบบต่างๆ ทั้งในโลกออนไลน์ออฟไลน์
เช่นที่ยกตัวอย่าง 16 สิงหา ไม่ใช่แค่คนมาเยอะ
แต่ที่ทำให้สลิ่มช็อกตาตั้งคือนักเรียนชูสามนิ้วตอนเช้าวันที่ 17-18-19 ตลอดสัปดาห์
ดังนั้นพลังของ 14 ตุลาอาจไม่อยู่ตรงม็อบก็ได้
อาจกลายเป็นการแสดงสัญลักษณ์ทั่วประเทศโดยนัดกันผ่านทวีตเตอร์
ขณะที่พวกสื่อพวกสลิ่มจะเอาแต่จับจ้องนับว่าม็อบมามากกว่าหรือน้อยกว่า 19 ก.ย. ถ้าน้อยกว่าก็จะเอาไปตีปี๊บว่าม็อบฝ่อแล้ว จบแล้ว ปฏิรูปสถาบันทำให้คนไม่เอาด้วย บลาๆๆ
:
5.แถมอีกนิดว่าการมาม็อบของคนรุ่นใหม่ เป็นอะไรที่วัดได้ยากมาก
ถ้าไล่ลำดับ 18 ก.ค.เกิดเพราะความโกรธเรื่องระยอง คนมาโดยไม่คาดหมาย
16 สิงหา ออกมาเพื่อสนับสนุน 10 ข้อ 10 สิงหา ในเฟซในทวีตตื่นตัวกันมาก เป็นม็อบครั้งแรกของคนรุ่นใหม่ มีการเตรียมตัวเตรียมใจ เราจะโดนปราบไหม เราจะต้องสู้นะ ฯลฯ
19 กันยา คนรุ่นใหม่ไม่ได้ลดลงนะ (แต่เสื้อแดงเยอะขึ้นคนอายุมากเยอะขึ้น สัดส่วนคนรุ่นใหม่เลยดูน้อยลง) แต่ที่คิดว่าจะมากขึ้นก็ไม่ได้มากนัก ผมคุยกับเด็กที่ไปทุกม็อบ เขามองว่าเหมือนมันไม่มีอะไรกระตุ้น เอาด้วยไหม เอา แต่ไม่มีอะไรกระตุ้นอารมณ์โกรธ เลยชิลๆ สมมติเช่นถ้าไม่ปล่อยอานนท์กับไมค์ก่อน น่าจะเกินแสน แล้วผมมาสังเกตว่า คนที่มาตอนค่ำๆ ก็เยอะ วัยทำงานมาเป็นคู่ๆ ก็มี ดึกหน่อยก็กลับ มองมุมหนึ่ง เหมือนไอ้ที่พวกนักวิชาเกินดูหมิ่น ไม่สู้จริง แต่มองอีกมุมหนึ่งก็เซอร์ไพรส์เราเหมือนกัน แบบนัดกันไปพารากอนก่อน แล้วขึ้นรถไฟฟ้ามาม็อบชิลๆ แต่เฮ้ย นี่มันม็อบเรียกร้องปฏิรูปสถาบัันเลยนะ ยังชิลกันอยู่เหรอ ไม่ยักเห็นเป็นเรื่องคอขาดบาดตาย
ำสกู๊ปนี้มีชื่อมงคล บางประภา นายกสมาคมนักข่าวด้วยนะ)
...
เมริงฟังในพวกเมริงเองสิ
แบบสลิ่มที่เบื่อประยุทธ์ ทีแรกๆ เห็นคนรุ่นใหม่ไล่ประยุทธ์ก็ดีนะ
แต่พอออกมาเป็นข้อเรียกร้อง 10 ข้อ หงายท้อง ช็อกไปเลย
:
ในทางตรงข้าม คือคนพวกนี้ไม่เข้าใจคนรุ่นใหม่เลย
ไม่รู้ด้วยซ้ำว่า #ให้มันจบที่รุ่นเรา มาจากคำพูดจอมพล ป.
ข้อเสนอปฏิรูปสถาบัน ระเบิดพลังคนรุ่นใหม่ออกมาอย่างร้อนแรง
หลังจากแอบแฝงอยู่ในแฟลชม็อบตั้งแต่ต้นปี
ม็อบ 16 สิงหาที่พวกนี้อ้างว่าคนไปเยอะเพราะไม่พูด 10 ข้อ
คนไปม็อบรู้ล่วงหน้าเหรอะวะว่าบนเวทีจะพูดอะไร
ในทางตรงข้ามที่คนรุ่นใหม่ล้นหลามไป 16 ส.ค.
ก็เพื่อสนับสนุนข้อเรียกร้องวันที่ 10 สิงหา
แล้วเช้าวันรุ่งขึ้นก็ตามมาด้วยนักเรียนชูสามนิ้วทั่วประเทศ
:
3.ปัญหาการนำ การยอมรับกัน อาจมีจริง อาจจะเรื่องบริหารจัดการเรื่องท่าทีเรื่องยุทธวิธีเรื่องการปรึกษาหารือ ฯลฯ
แต่พวกรุ่นเก่างี่เง่าไม่เข้าใจธรรมชาติคนรุ่นใหม่ เขาถกเถียงกันเองเสมอ
เถียงกันเอาเป็นเอาตายก็มี ตามสไตล์คนที่โตมาในโลกออนไลน์ ใครทำอะไรไม่เข้าท่าก็โดนแหกมาเยอะแล้ว
แต่เขาถกเถียงแล้วสามารถรักษาเป้าหมายร่วมกัน เถียงไปสู้ไป
ดังนั้น แนวร่วมธรรมศาสตร์ เยาวชนปลดแอก หรือกลุ่มอื่นๆ อีก ก็คงไม่ใช่เห็นด้วยกันหมดในการเคลื่อนไหวแต่ละครั้ง
แต่ความเห็นต่างไม่ใช่เรื่องปฏิรูปสถาบัน ซึ่งทุกกลุ่มเอาหมด
ไม่ใช่บอกว่าไม่เอาเรื่องนี้ ถอยแล้วแตกแล้วหรือจะมาแย่งชิงการนำเพื่อโยนเรื่องนี้ทิ้ง
ดังจะเห็นว่าการแถลงครั้งล่าสุด ก็ร่วมกันหลายกลุ่มแต่ยังชู "ความฝัน"
ประเด็นมันจะอยู่ที่การปรับยุทธศาสตร์เรื่องระยะยาว เรื่องที่ต้องใช้เวลา กับเรื่องเฉพาะหน้า อย่างที่ผมว่าไปแล้ว เสียมากกว่า
:
4.ปัญหาคนมาน้อยมามาก
ที่จริงผมไม่ค่อยเห็นด้วยกับการปลุกว่า 14 ตุลาคนต้องมากกว่า 19 กันยา
เพราะมันมีหลายปัจจัย เช่นไม่ใช่วันหยุด คน ตจว.ก็อาจมาได้ไม่เยอะ
ม็อบยุคปัจจุบัน เป็นอย่างที่ อ.กนกรัตน์ชี้ว่า มันไม่ใช่ม็อบยุคออฟไลน์ ที่แสดงพลังด้วยการให้คนมาเยอะๆ สมัยนี้มันสามารถสร้างประเด็นด้วยการแสดงออกแบบต่างๆ ทั้งในโลกออนไลน์ออฟไลน์
เช่นที่ยกตัวอย่าง 16 สิงหา ไม่ใช่แค่คนมาเยอะ
แต่ที่ทำให้สลิ่มช็อกตาตั้งคือนักเรียนชูสามนิ้วตอนเช้าวันที่ 17-18-19 ตลอดสัปดาห์
ดังนั้นพลังของ 14 ตุลาอาจไม่อยู่ตรงม็อบก็ได้
อาจกลายเป็นการแสดงสัญลักษณ์ทั่วประเทศโดยนัดกันผ่านทวีตเตอร์
ขณะที่พวกสื่อพวกสลิ่มจะเอาแต่จับจ้องนับว่าม็อบมามากกว่าหรือน้อยกว่า 19 ก.ย. ถ้าน้อยกว่าก็จะเอาไปตีปี๊บว่าม็อบฝ่อแล้ว จบแล้ว ปฏิรูปสถาบันทำให้คนไม่เอาด้วย บลาๆๆ
:
5.แถมอีกนิดว่าการมาม็อบของคนรุ่นใหม่ เป็นอะไรที่วัดได้ยากมาก
ถ้าไล่ลำดับ 18 ก.ค.เกิดเพราะความโกรธเรื่องระยอง คนมาโดยไม่คาดหมาย
16 สิงหา ออกมาเพื่อสนับสนุน 10 ข้อ 10 สิงหา ในเฟซในทวีตตื่นตัวกันมาก เป็นม็อบครั้งแรกของคนรุ่นใหม่ มีการเตรียมตัวเตรียมใจ เราจะโดนปราบไหม เราจะต้องสู้นะ ฯลฯ
19 กันยา คนรุ่นใหม่ไม่ได้ลดลงนะ (แต่เสื้อแดงเยอะขึ้นคนอายุมากเยอะขึ้น สัดส่วนคนรุ่นใหม่เลยดูน้อยลง) แต่ที่คิดว่าจะมากขึ้นก็ไม่ได้มากนัก ผมคุยกับเด็กที่ไปทุกม็อบ เขามองว่าเหมือนมันไม่มีอะไรกระตุ้น เอาด้วยไหม เอา แต่ไม่มีอะไรกระตุ้นอารมณ์โกรธ เลยชิลๆ สมมติเช่นถ้าไม่ปล่อยอานนท์กับไมค์ก่อน น่าจะเกินแสน แล้วผมมาสังเกตว่า คนที่มาตอนค่ำๆ ก็เยอะ วัยทำงานมาเป็นคู่ๆ ก็มี ดึกหน่อยก็กลับ มองมุมหนึ่ง เหมือนไอ้ที่พวกนักวิชาเกินดูหมิ่น ไม่สู้จริง แต่มองอีกมุมหนึ่งก็เซอร์ไพรส์เราเหมือนกัน แบบนัดกันไปพารากอนก่อน แล้วขึ้นรถไฟฟ้ามาม็อบชิลๆ แต่เฮ้ย นี่มันม็อบเรียกร้องปฏิรูปสถาบัันเลยนะ ยังชิลกันอยู่เหรอ ไม่ยักเห็นเป็นเรื่องคอขาดบาดตาย
ำสกู๊ปนี้มีชื่อมงคล บางประภา นายกสมาคมนักข่าวด้วยนะ)
...
Atukkit Sawangsuk
Yesterday at 11:03 AM ·
ถุยๆ หน้าไม่อาย ทหารโดนจับได้ว่าส่ง IO ไปก่อกวนในทวิตเตอร์ 926 คน
ในเฟซน่าจะเป็นหมื่น เอาไว้กดไลค์เนชั่วไทยเพ้อ
ช่วงนี้ยังมีเพจผี เพจมัจจุราช "ได้รับการสนับสนุน" (จ่ายเงินบูทเพจ)
ออกมาโจมตีม็อบ โจมตีเด็ก ปลุกสลิ่ม
:
ที่ควรอายกว่าคือ IO แทบไม่มีคนติดตาม ไม่ส่งผลอะไร ทวีตไปก็งี่เง่า
ไม่รู้ละลายเงินภาษีเท่าไหร่
ก็เหมือนวิทยุทหาร มีใครฟังบ้าง แม่-โคตรล้าหลัง
อาศัยเซ็งลี้เวลาให้เปิดเพลง หรือจัดรายการ คนไม่ทันเปลี่ยนคลื่นก็ได้ฟังข่าว
(แบบผมเปิดคลื่น 96 สยามกีฬา เผลอฟังข่าว
มันจะมีช่วงข่าวทหารไปช่วยชาวบ้าน ที่เปิดสปอต "ทหารมาแล้วววว!" แทบอ้วกพุ่ง อะไรนิดอะไรหน่อยก็เอามาโปรโมทตัวเอง)
:
สื่อทหาร IO ทหาร มันสะท้อนภูมิปัญญาทหาร
ว่าอยู่หลังเขา ตามไม่ทันโลก ไม่ทันคนรุ่นใหม่ที่ไปไกลลิบ
:
ทหารเปลี่ยน 4 ผบ.เหล่าทัพ ก็รู้กัน คนของใคร
พิมพ์เดียวกันเป๊ะ แบบเปลี่ยนเครื่องแบบแล้วไปนั่งแทนกันได้
ทั้งบุคลิก ท่าทาง ความคิด กระโหลกสมอง เหมือนกันเป๊ะ
เหมือนหุ่นผลิตจากโรงงานเดียวกัน
มาตั้งปุ๊บไขลานปั๊บก็ท่องคาถา ชาติ ศาสน์ กษัตริย์ จงรักภักดี
:
ผบ.ทบ.โดนถาม รัฐประหารไหม
โอกาสเป็นศูนย์แต่อย่าสร้างเงื่อนไขขัดแย้งรุนแรง
อ้าว ก็คนกำลังขัดแย้งกันรุนแรง จากระบอบทหารรัฐประหารสืบทอดอำนาจ
จะให้ยอมสยบ ยอมจำนน ยกมือขุึ้น หมอบลง อยู่ในความสงบ
แน่จริงก็รัฐประหารไปเลย ไม่กล้าหรอก
:
ทหารไม่ยุ่งการเมือง ทหารทำตามคำสั่งรัฐบาล เป็น สว.ก็ไม่รับเงินเดือน
แต่โหวตตู่เป็นนายกฯ ทำตามคำสั่งรัฐบาลทหารรัฐประหารสืบทอดอำนาจ
มันจะไม่ยุ่งการเมืองได้ไง นั่นแหละการเมือง
:
ไปจัดอบรมตามโรงเรียน "เสริมสร้างอุดมการณ์ความรักชาติ" ให้เด็กปฏิญาณตน
การเมืองชัดเจน ค้ำรัฐบาล ค้ำอำนาจ สกัดกระแสต้าน
แม้ไร้ผล โดนเด็ก ม2 โต้หงาย
:
ในทางการเมืองมองลึกไปกว่านั่้นคือทหารใช้กำลังใช้อำนาจ
บีบให้ประชาชนต้องยอมรับ "อุดมการณ์ความรักชาติ" ในแบบของทหาร
ทั้งที่ทหารเป็นข้าราชการประเภทหนึ่ง เป็นอาชีพที่ถูกซ่อมตั้งแต่เข้า ร.ร.เตรียม
ซ่อมไม่ตายได้เป็นป้อม ซ่อมเพื่อทำลายสมองไม่ให้ใช้ความคิด ให้ทำตามคำสั่ง
เพราะอาชีพทหารคือสั่งให้ไปตายก็ต้องไป ห้ามคิดห้ามถาม ลังเลไม่ได้
ทหารจึงมีสมองน้อยกว่าคนทั่วไปในแง่การเชื่อฟัง เชื่อตาม แม้สมองด้านอื่นจะดูเป็นปกติเหมือนชาวบ้าน
:
แล้วทหารมีสิทธิอะไร มาบังคับให้คน 65 ล้าน ซึ่งมีความรอบรู้ความฉลาดกว่าทหารตั้งเยอะ
ต้องยอมรับอุดมการณ์แบบทหาร รักชาติแบบทหาร ความมั่นคงแบบทหาร
หรือประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ก็ต้องเป็นแบบที่ทหารยอมรับ
เป็นประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ในแบบอื่นไม่ได้
ทหารไม่มีสิทธิ ครูก็ไม่มีสิทธิ ข้าราชการประเภทไหนก็ไม่มีสิทธิ
แต่ทหารมีปืนไง ครูมีไม้เรียว กับมีอำนาจลงโทษ
:
นี่เป็นประเด็นสำคัญ ของการที่ทหารยุ่งเกี่ยวการเมือง
คือทหารเข้ามาควบคุมความมั่นคงภายใน
ควบคุมอุดมการณ์ ควบคุมการเมือง ควบคุมความขัดแย้ง กำจัดความเห็นต่าง
ทั้งที่มันไม่ใช่หน้าที่ทหาร ทหารมีไว้รบป้องกันประเทศ
อุดมการณ์แห่งชาติ ระบอบการปกครองของประเทศ จะเป็นอย่างไร
เป็นเรื่องของประชาชน
:
ทหารเข้ามาคุมความมั่นคงภายในตั้งแต่ยุคสงครามเย็น
โดยกลไก กอ.รมน. ต่อสู้คอมมิวนิสต์
ทหารใช้อุดมการณ์ชาติศาสน์กษัตริย์ อบรม จัดตั้งมวลชน
ตั้งแต่ยุคปราบปราม จนยุคการเมืองนำการทหาร ยิ่งเข้าไปคุมทุกอย่าง
แผนพัฒนา ทำถนนหนทาง ทำโครงการเศรษฐกิจ
มีหน่วยงานซ้อนรัฐทุกด้าน ผ่าน กอ.รมน. และงานกิจการพลเรือน
แต่พอหมดสงครามเย็น โครงสร้างเหล่านี้ก็ยังอยู่
และกลายเป็นเครื่องมือของทหาร ในการเข้ามาคุมการเมือง
โดยเฉพาะเมื่อการเมืองมวลชนร้อนแรง
:
ทหารช่วยน้ำท่วม ประเทศไหนเขาก็ทำกัน
เพราะทหารมีกำลังที่อยู่ว่างๆ ยามสงบ
แต่ประเทศอื่นเขาไม่ต้องมีฝ่ายกิจการพลเรือน กอ.รมน.
หรือหน่วยงานเฉพาะที่ตั้งมาดูแลเรื่องนี้
ซึ่งสิ้นเปลืองงบประมาณเอาไปช่วยน้ำท่วมได้หลายสิบครั้ง
:
ยกตัวอย่างทหารพัฒนา ตั้งขึ้นเพื่อทำถนนในพื้นที่สีแดงในอดีต
ที่บริษัทรับเหมาเข้าไปไม่ได้
แต่สงครามเย็นสิ้นสุดมาสามสิบกว่าปี
กลับมีหน่วยบัญชาการทหารพัฒนาใหญ่โต มีกองพลพัฒนาใน ทบ. ทุกทัพภาค
เพื่ออะไร (เอาไว้ฉีดฝุ่น)
โครงสร้างเหล่านี้แหละที่ต้องโละทิ้งให้หมด จึงจะเรียกว่าปฏิรูปกองทัพออกจากการเมือง
:
หลังพฤษภา 35 กองทัพเหมือนออกจากการเมือง กลับกรมกอง
แต่โครงสร้างพวกนี้ก็ยังอยู่
แล้วทหารที่กลับไปอยู่ในกรมกอง ก้็ยิ่งเหมือนไปอยู่หลังเขา
14 ปีกลับมายิ่งโง่ลง เป็นทหารที่อยู่ใต้อำนาจอนุรักษ์นิยมโดยราบคาบ
ไม่ได้เป็นทหารที่มีความคิดของตัวเองแบบสมัยรุ่น 5 รุ่น 7 หรือทหารประชาธิปไตย
ซึ่งเข้าใจการเมืองในแง่ที่รู้ว่าถ้าจะรักษาอำนาจต้องผ่อนคลายต้องเปิดประชาธิปไตยบ้าง
เพื่อเอาชนะ พคท.ในยุคนั้น
แต่ทหารสมัยนี้รู้จักแต่ใช้อำนาจ
:
ทหารกำลังทำศึกกับคนรุ่นใหม่
ซึ่งมีแต่แพ้กับแพ้ เพราะไม่ใช่การปะทะด้วยกำลัง เป็นสงครามความคิด
ปราบม็อบไม่ได้เพราะม็อบกระจายไปทั่วและไม่ได้ปะทะ
ทำสงครามไซเบอร์ก็รบแพ้ จนต้องไปบวช