Photos by montira narkvichien |
#JesuisCharlie #freedomofthepress
Il Pleure dans mon Coeur
by Paul Verlaine
Il pleure dans mon coeur
Comme il pleut sur la ville.
Quelle est cette langueur
Qui pénêtre mon coeur ?
O bruit doux de la pluie
Par terre et sur les toits !
Pour un coeur qui s’ennuie,
O le chant de la pluie !
Il pleure sans raison
Dans ce coeur qui s’écoeure.
Quoi ! nulle trahison ?
Ce deuil est sans raison.
C’est bien la pire peine
De ne savoir pourquoi,
Sans amour et sans haine,
Mon coeur a tant de peine.
...
It rains in my heart
As it rains on the town,
What languor so dark
That it soaks to my heart?
Oh sweet sound of the rain
On the earth and the roofs!
For the dull heart again,
Oh the song of the rain!
It rains for no reason
In this heart that lacks heart.
What? And no treason?
It’s grief without reason.
By far the worst pain,
Without hatred, or love,
Yet no way to explain
Why my heart feels such pain!
Credit
and
ooo
รำลึก #CharlieHebdo ในเมืองไทย ผู้จัดกิจกรรมชี้การ์ตูนกระตุ้นต่อมคิดที่อาจถูกใจและเจ็บปวด ด้านนักกฎหมายชี้สื่อมีเสรีภาพ ไม่ต่างจากผู้มีเสรีภาพในการเชื่อและถือศาสนา แต่ทั้งสองกรณีต้องเคารพศักดิ์ศรีมนุษย์ด้วยกัน ด้านคนไทยที่คุ้นเคยกับการ์ตูนของชาร์ลี เอ็บโด ชี้การ์ตูนนำไปสู่การถกเถียงซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นในสังคมประชาธิปไตย
วันนี้ ที่หน้าหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ประชาชนทั้งไทยและเทศร้อยกว่าคนร่วมจุดเทียน วางดอกไม้และเขียนข้อความรำลึกแด่นิตยสารชาร์ลี เอ็บโด หลังเกิดเหตุคนร้ายบุกกราดยิงสำนักงานนิตยสารทำให้มีผู้เสียชีวิต 12 คน รวมทั้งสเตฟาน ชาร์บอนนิเยร์ บรรณาธิการ และนักเขียนการ์ตูนอีก 3 คน
จีรนุช เปรมชัยพร ผู้ริเริ่มเชิญชวนคนมาทำกิจกรรมรำลึกนี้ผ่านเฟซบุ๊ก กล่าวว่า การ์ตูนไม่ได้ทำหน้าที่รายงานข่าวโดยตรง แต่ทำหน้าที่ตั้งคำถาม กระตุกต่อมคิดของคน เพียงแต่บางภาพที่เขียนอาจมีคนถูกใจ และคนเจ็บปวด “แต่ความเจ็บปวดเหล่านี้ มันไม่ควรต้องนำไปสู่สิ่งนี้”
ทัศนวรรณ บรรจง ผู้มาร่วมกิจกรรม กล่าวว่าเธอเติบโตในฝรั่งเศส อ่านนิตยสาร ชาร์ลี เอ็บโด มาตั้งแต่เรียนมัธยม และชอบตรงที่เขามีเสรีภาพในการแสดงออก
ทัศนวรรณ กล่าวว่า ชาร์ลี เอ็บโด ทำทุกประเด็น ทั้งเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา ศาสนา ไม่ใช่เฉพาะศาสนาอิสลาม และการ์ตูนของ ชาร์ลี เอ็บโด ก็สร้างประเด็นที่เป็นความเห็นสาธารณะขึ้นมา และบางครั้งก็นำไปสู่การถกเถียง ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นในสังคมประชาธิปไตย
ต่อข้อถกเถียงถึงการใช้เสรีภาพในการแสดงออกที่หมิ่นหยามผู้อื่น ทัศนวรรณกล่าวว่า “ใช่ เราต้องตั้งคำถามกับเสรีภาพในการแสดงออก แต่ต้องไม่สร้างความชอบธรรมให้กับการฆ่า เราอยู่ในสังคมประชาธิปไตยที่มีกฎหมายสามารถจัดการได้ ไม่ใช่รูปแบบของการฆ่า”
กนกวรรณ เกิดผลานันนท์ สื่อมวลชนที่มาร่วมกิจกรรมนี้ กล่าวว่า เป็นเรื่องน่าสะเทือนใจที่การเขียนการ์ตูน ในความรู้สึกของสื่อถือเป็นเรื่องตลก ขบขัน หยอกล้อ ไม่น่าเชื่อว่าจะทำให้คนที่คิดต่างมาฆ่ากันได้ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับ ชาร์ลี เอ็บโด ทำให้หวนมาคิดถึงประเทศไทยว่าความแตกต่างทางความคิด จะทำให้คนฆ่ากันด้วยหรือเปล่า “และบางครั้งเราเองอาจเป็นคนกระทำสิ่งนั้นเองด้วย”
ศราวุฒิ ประทุมราช นักกฎหมายผู้มาร่วมกิจกรรม กล่าวว่า สื่อมวลชนมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและวิพากษ์วิจารณ์ ซึ่งหากไปกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของคนอื่นก็จะถูกดำเนินคดีตามกฎหมายอยู่แล้ว ส่วนเสรีภาพในการเชื่อและถือศาสนาเป็นเสรีภาพที่จะปฏิบัติตามความเชื่ออย่างไรก็ได้ตราบใดที่ไม่ไปละเมิดสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น ดังนั้นการใช้เสรีภาพทั้งสองกรณีก็ต้องอยู่ภายใต้การเคารพศักดิ์ศรีมนุษย์ด้วย “การเขียนหรือการแสดงความคิดเห็นไม่ทำร้ายชีวิตใคร แต่การเชื่อและการถือศาสนาอย่างสุดโต่งเป็นเหตุให้ฆ่าผู้อื่น เป็นสิ่งที่รับไม่ได้ ไม่ว่าศาสนาใด”
ooo
Image credits: Lucille Clerc |
Image credits: Jean Jullien |
A vigil in defence of free speech in Paris. Picture from the Telegraph |