มั่นหน้า น่าอับอายชิบหาย
Sujane Kanparit
...
VOA Thai
20h
·
สื่อต่างชาติมอง 'รอยแยกในอาเซียน' กรณีไทยจัดประชุมหารือวิกฤตเมียนมา
.
รัฐบาลรักษาการของไทยพยายามปกป้องการตัดสินใจจัดประชุมหารือร่วมกับผู้แทนของรัฐบาลทหารเมียนมา ซึ่งทำให้เกิดการแบ่งแยกด้านจุดยืนที่มีต่อเมียนมาภายในสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ อาเซียน อยู่ในขณะนี้ ตารายงานของสื่อเอเอฟพีและรอยเตอร์
.
ในช่วงเกือบสองปีที่ผ่านมา ผู้นำทหารเมียนมาถูกปฏิเสธการเข้าร่วมในการประชุมระดับสูงของสมาคมอาเซียน เนื่องจากไม่ปฏิบัติตาม 'ฉันทามติ 5 ข้อ' และไม่เริ่มการเจรจากับฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองซึ่งมีความเชื่อมโยงกับรัฐบาลพลเรือนที่ถูกยึดอำนาจ
.
แต่เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว รัฐบาลไทยได้เชิญรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของรัฐบาลทหารเมียนมา ตาน สเว ร่วมการเจรจากับประเทศสมาชิกอื่น ๆ ของอาเซียน เป็นเวลาสองวันเริ่มตั้งแต่วันจันทร์ ที่เมืองพัทยา ชลบุรี
.
นายกรัฐมนตรีรักษาการของไทย พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา กล่าวว่าการเจรจาครั้งนี้เป็นสิ่งจำเป็น เนื่องจากไทยเดือดร้อนมากกว่าประเทศอื่น เพราะมีพรมแดนติดกับเมียนมามากกว่า 3,000 กม. ทั้งทางบกและทางทะเล พร้อมยืนยันว่าการเจรจาในวันจันทร์เป็นเพียงการพบปะกันเท่านั้น มิได้มีการตกลงใด ๆ เกิดขึ้น ตามรายงานของเอเอฟพี
.
อย่างไรก็ตาม สำนักข่าวรอยเตอร์ระบุว่า เรื่องนี้ได้ทำให้เกิดการแบ่งแยกสมาชิกอาเซียนออกเป็นสองฝ่ายท่ามกลางเสียงวิจารณ์ถึงความเหมาะสม และถือเป็นการกัดเซาะความพยายามของอาเซียนในการแก้ไขจัดการวิกฤตในเมียนมา
.
อินโดนีเซียและมาเลเซียต่างปฏิเสธเข้าร่วมการประชุม ขณะที่สิงคโปร์เตือนว่ายังเร็วเกินไปที่จะให้ผู้แทนรัฐบาลทหารเมียนมาเข้าร่วมการประชุมระดับสูงในอาเซียน
.
แต่กัมพูชายืนยันส่งผู้แทนเข้าร่วมการประชุมที่ไทยเป็นเจ้าภาพ ขณะที่จีนซึ่งเป็นผู้สนับสนุนรัฐบาลทหารเมียนมามาโดยตลอด ส่งผู้แทนพิเศษด้านกิจการเอเชีย เติ้ง สีจุ้น มาร่วมการประชุม
.
ด้านรัฐมนตรีต่างประเทศของไทย ดอน ปรมัตถ์วินัย ย้ำว่า ไทยได้รับผลกระทบจากวิกฤตในเมียนมามากกว่าประเทศอื่น และระบุว่า "ไทยคือประเทศเดียวที่ต้องการหาทางแก้ไขจัดการ" "ประเทศสมาชิกอื่นในอาเซียนไม่ให้ความสนใจเท่ากับเรา" อ้างอิงจากรายงานของเอเอฟพี
.
เจ้าหน้าที่ระดับสูงของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ผู้หนึ่งกล่าวกับเอเอฟพีว่า ตนเชื่อว่ารัฐบาลไทยกำลังต้องการหาทางนำเมียนมากลับเข้าสู่การประชุมระดับสูงภายในอาเซียนอีกครั้ง
.
https://www.voathai.com/a/7143715.html
สื่อต่างชาติมอง 'รอยแยกในอาเซียน' กรณีไทยจัดประชุมหารือวิกฤตเมียนมา
.
รัฐบาลรักษาการของไทยพยายามปกป้องการตัดสินใจจัดประชุมหารือร่วมกับผู้แทนของรัฐบาลทหารเมียนมา ซึ่งทำให้เกิดการแบ่งแยกด้านจุดยืนที่มีต่อเมียนมาภายในสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ อาเซียน อยู่ในขณะนี้ ตารายงานของสื่อเอเอฟพีและรอยเตอร์
.
ในช่วงเกือบสองปีที่ผ่านมา ผู้นำทหารเมียนมาถูกปฏิเสธการเข้าร่วมในการประชุมระดับสูงของสมาคมอาเซียน เนื่องจากไม่ปฏิบัติตาม 'ฉันทามติ 5 ข้อ' และไม่เริ่มการเจรจากับฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองซึ่งมีความเชื่อมโยงกับรัฐบาลพลเรือนที่ถูกยึดอำนาจ
.
แต่เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว รัฐบาลไทยได้เชิญรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของรัฐบาลทหารเมียนมา ตาน สเว ร่วมการเจรจากับประเทศสมาชิกอื่น ๆ ของอาเซียน เป็นเวลาสองวันเริ่มตั้งแต่วันจันทร์ ที่เมืองพัทยา ชลบุรี
.
นายกรัฐมนตรีรักษาการของไทย พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา กล่าวว่าการเจรจาครั้งนี้เป็นสิ่งจำเป็น เนื่องจากไทยเดือดร้อนมากกว่าประเทศอื่น เพราะมีพรมแดนติดกับเมียนมามากกว่า 3,000 กม. ทั้งทางบกและทางทะเล พร้อมยืนยันว่าการเจรจาในวันจันทร์เป็นเพียงการพบปะกันเท่านั้น มิได้มีการตกลงใด ๆ เกิดขึ้น ตามรายงานของเอเอฟพี
.
อย่างไรก็ตาม สำนักข่าวรอยเตอร์ระบุว่า เรื่องนี้ได้ทำให้เกิดการแบ่งแยกสมาชิกอาเซียนออกเป็นสองฝ่ายท่ามกลางเสียงวิจารณ์ถึงความเหมาะสม และถือเป็นการกัดเซาะความพยายามของอาเซียนในการแก้ไขจัดการวิกฤตในเมียนมา
.
อินโดนีเซียและมาเลเซียต่างปฏิเสธเข้าร่วมการประชุม ขณะที่สิงคโปร์เตือนว่ายังเร็วเกินไปที่จะให้ผู้แทนรัฐบาลทหารเมียนมาเข้าร่วมการประชุมระดับสูงในอาเซียน
.
แต่กัมพูชายืนยันส่งผู้แทนเข้าร่วมการประชุมที่ไทยเป็นเจ้าภาพ ขณะที่จีนซึ่งเป็นผู้สนับสนุนรัฐบาลทหารเมียนมามาโดยตลอด ส่งผู้แทนพิเศษด้านกิจการเอเชีย เติ้ง สีจุ้น มาร่วมการประชุม
.
ด้านรัฐมนตรีต่างประเทศของไทย ดอน ปรมัตถ์วินัย ย้ำว่า ไทยได้รับผลกระทบจากวิกฤตในเมียนมามากกว่าประเทศอื่น และระบุว่า "ไทยคือประเทศเดียวที่ต้องการหาทางแก้ไขจัดการ" "ประเทศสมาชิกอื่นในอาเซียนไม่ให้ความสนใจเท่ากับเรา" อ้างอิงจากรายงานของเอเอฟพี
.
เจ้าหน้าที่ระดับสูงของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ผู้หนึ่งกล่าวกับเอเอฟพีว่า ตนเชื่อว่ารัฐบาลไทยกำลังต้องการหาทางนำเมียนมากลับเข้าสู่การประชุมระดับสูงภายในอาเซียนอีกครั้ง
.
https://www.voathai.com/a/7143715.html