#VoiceTV
LIVE! "มนต์รักรัฐธรรมนูญคนจน : เมื่อหิ่งห้อยจะพรายแสง" ณ บริเวณหน้ากระทรวงเกษตรและสหกรณ์
Streamed live on Dec 11, 2022
LIVE! "มนต์รักรัฐธรรมนูญคนจน : เมื่อหิ่งห้อยจะพรายแสง" ณ บริเวณหน้ากระทรวงเกษตรและสหกรณ์
Streamed live on Dec 11, 2022
"มนต์รักรัฐธรรมนูญคนจน : เมื่อหิ่งห้อยจะพรายแสง" สู่เวทีสัญญาประชาคมเขียนรัฐธรรมนูญใหม่ ณ บริเวณหน้ากระทรวงเกษตรและสหกรณ์
.....ประชาไท Prachatai.com was live.
1d

วันอาทิตย์ที่ 11 ธันวาคม 2565
ณ บริเวณหน้ากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรุงเทพมหานคร
…………………………………………………………………….
เครือข่ายองค์กรภาคีคนจนซึ่งเป็นคนจนสิทธิ จนอำนาจ จนโอกาส และถูกทำให้จน ทั้งในชนบทและคนจนเมืองในฐานะผู้ได้รับผลกระทบจากนโยบายการพัฒนาของรัฐที่ได้รับความเดือดร้อนทั้งที่เกิดขึ้นจากนโยบายในอดีตและปัจจุบัน ได้ติดตามกระบวนการจัดทำตลอดจนการบังคับใช้ รัฐธรรมนูญ ปี 2560 พบปัญหาหลายประการ กล่าวคือ รัฐธรรมนูญฉบับนี้เพิ่มอำนาจให้กับรัฐ ลดทอนสิทธิเสรีภาพของประชาชน ลิดรอนสิทธิการมีส่วนร่วม ไม่เป็นประชาธิปไตย คนจนเข้าไม่ถึงการจัดการทรัพยากรที่เป็นธรรม ถูกลิดรอนสิทธิชุมชน ได้รับผลกระทบจากการพัฒนา การทำหน้าที่ของรัฐไม่ทั่วถึงไม่ครอบคลุมและไม่เป็นธรรม รัฐไม่รับผิดชอบต่อการกระทำของตนเองที่สร้างความเสียหายให้กับประชาชน รวมศูนย์อำนาจไว้ที่ส่วนกลางแต่ไม่สามารถแก้ปัญหาให้กับประชาชนได้ ประชาชนไม่สามารถเข้าถึงทุนและปัจจัยการผลิต แรงงานไม่ได้รับการคุ้มครอง ขาดสวัสดิการและอยู่ในภาวะอ่อนแอ ความเหลื่อมล้ำจากกระบวนการยุติธรรม สถานการณ์การเมืองเป็นไปเพื่อให้รัฐมีอำนาจเหนือประชาชน ไม่คุ้มครองคนผลัดถิ่น คนไร้สัญชาติ แรงงานข้ามชาติ และไม่สามารถแก้ปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จากปัญหาดังกล่าวเครือข่ายองค์กรภาคีคนจนจึงร่วมกันรณรงค์การแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อเปิดทางให้มีการเขียนใหม่ทั้งฉบับ ผ่านเวทีระดมข้อเสนอระดับภาคเพื่อพัฒนาร่างรัฐธรรมนูญที่มาจากปัญหาที่คนจนเผชิญรวมไปถึงความต้องการของคนจนในการร่วมกันออกแบบสังคม และร่วมกันสร้างกฎเกณฑ์ผ่านร่างรัฐธรรมนูญคนจน โดยมีเครือข่ายองค์กรภาคีคนจน เครือข่ายองค์กรพัฒนาเอกชน(ngo) เครือข่ายนักวิชาการ และสื่อมวลชนจนเกิดรวมตัวขึ้นในนามเครือข่ายรัฐธรรมนูญคนจน
ดังนั้น เครือข่ายรัฐธรรมนูญคนจนกว่า 66 องค์กรเห็นว่านับจากนี้อีกมานาน อาจมีการยุบสภาผู้แทนราษฎรหรือสภาผู้แทนราษฎรครบวาระ ซึ่งจะนำไปสู่การจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่วประเทศ พรรคการเมืองจึงจำเป็นต้องทราบเข้าใจถึงปัญหาและความต้องการของประชาชน ตลอดจนรับฟังข้อเสนอของประชาชนทุกกลุ่ม โดยเฉพาะคนจน ซึ่งเป็นกลุ่มคนส่วนใหญ่ของประเทศแต่มีเสียงเบาที่สุดในการสะท้อนปัญหาและความต้องการต่อพรรคการเมือง จึงจัดงานสัมมนาที่มีชีวิต : Life Symposium “มนต์รักรัฐธรรมนูญคนจน : เมื่อหิ่งห้อยจะพรายแสง” เพื่อให้พรรคการเมืองได้รับทราบต้องการของประชาชนคนจน นำไปออกแบบและผลักดันนโยบาย ตลอดจนการร่วมลงนามสัญญาประชาคมเขียนรัฐธรรมนูญใหม่ อันจะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาของคนจนและประชาชนอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรมต่อไป
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้เครือข่ายองค์กรภาคีคนจนนำเสนอปัญหาที่กระทบต่อวิถีชีวิตความเป็นอยู่ ตลอดจนเสนอข้อเรียกร้อง และความต้องการที่จะนำไปสู่ความอยู่ดีมีสุขให้แก่พรรคการเมืองต่างๆ ทราบ
2. เพื่อเผยแพร่และผลักดันร่างรัฐธรรมนูญคนจนต่อพรรคการเมืองต่าง ๆ ผ่านการนำเสนอปัญหาของคนจนที่ เกิดขึ้นจริงในแต่ละพื้นที่
3. เพื่อให้ตัวแทนพรรคการเมืองได้นำเสนอนโยบายของพรรคในการแก้ไขปัญหาของคนจน และการผลักดันการแก้ไขรัฐธรรมนูญ รวมถึงให้นำเสนอนโยบายที่จะใช้ในการหาเสียงในการเลือกตั้งครั้งต่อไป
4. เพื่อทำสัญญาประชาคมระหว่างเครือข่ายองค์กรภาคีคนจน กับพรรคการเมืองในการเขียนรัฐธรรมนูญใหม่
รูปแบบกิจกรรม : THEME ของงานเป็นการสะท้อนวิถีชีวิตคนจน “จนสิทธิ จนอำนาจ จนโอกาส และถูกทำให้จน” ผ่านการเล่าด้วยภาพถ่าย งานศิลปะ ดนตรี กวี อาหาร ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น ฯลฯ อันเป็นที่มาและมีเนื้อหาที่เสนอไว้ในการเขียนรัฐธรรมนูญใหม่ โดยมีกิจกรรมในงาน 4 ส่วน ได้แก่
• เวทีสัมมนาที่มีชีวิต นำเสนอปัญหา ข้อเสนอ และข้อเรียกร้อง ของเครือข่ายรัฐธรรมนูญคนจนต่อสาธารณะชนและพรรคการเมือง
• นิทรรศการรณรงค์ จากเครือข่ายรัฐธรรมนูญคนจน อาทิ กำแพงประวัติศาสตร์การต่อสู้ของคนจนจากมด วนิดา ถึงราษฎร/กำแพงประวัติศาสตร์รัฐธรรมนูญคนจน
• ครัวสี่ภาค ตลาดคนจน จากเครือข่ายรัฐธรรมนูญคนจน
• เวทีวัฒนธรรม/ดนตรีร่วมสมัย ว่าด้วย“ประชาธิปไตยที่กินได้ รัฐธรรมนูญที่เห็นหัวคนจน”
องค์กรร่วมจัด : ประกอบด้วยองค์กรภาคประชาสังคม องค์กรพัฒนาเอกชน เครือข่ายนักวิชาการ เครือข่ายนักกิจกรรม หน่วยงานภาครัฐ สื่อมวลชน องค์กรระหว่างประเทศ ได้แก่
1. THE ISAAN RECORD
2. THE PATANI
3. The Reporters
4. กลุ่มโกงกาง
5. กลุ่มแตกหน่อประชาธิปไตยประชาชน
6. กลุ่มพัฒนาแรงงานสัมพันธ์ตะวันออก
7. กลุ่มศึกษาการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก(ECC Watch)
8. กลุ่มสหภาพแรงงานย่านรังสิตและใกล้เคียง
9. กลุ่มสุรินทร์เสวนา
10. ขบวนการประชาชนเพื่อประชาธิปไตยแห่งประเทศไทย (ขปท.)
11. ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม : P-move
12. ขบวนผู้หญิงปฏิรูปประเทศไทย (WeMove)
13. คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน
14. คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชนภาคเหนือ (กป.อพช.เหนือ)
15. คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชนภาคใต้ (กป.อพช.ใต้)
16. คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชนภาคอีสาน (กป.อพช.อีสาน)
17. คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
18. คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
19. คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
20. คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
21. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
22. คณะรณรงค์เพื่อรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน (ครช)
23. คณะรณรงค์รัฐธรรมนูญ (CALL)
24. คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
25. เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก
26. เครือข่ายความหลากหลายทางเพศอีสาน (IGDN)
27. เครือข่ายชาวสวนมะพร้าวอำเภอบางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์
28. เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง (คนส.)
29. เครือข่ายนักวิชาการศึกษานโยบายการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (คนศ.จชต.)
30. เครือข่ายปฏิรูปที่ดินภาคอีสาน (คปอ.)
31. เครือข่ายประชาชนผู้เป็นเจ้าของแร่
32.เครือข่ายประชาชนเพื่อรัฐสวัสดิการ
33. เครือข่ายสลัม 4 ภาค
34. เครือข่ายเหล้าพื้นบ้านอีสานใต้
35. เครือข่ายองค์กรชุมชนแก้ไขปัญหาที่ดินอีสาน (คอ.ปอ.)
36. เครือข่ายองค์กรชุมชนรักเทือกเขาบรรทัด
37. เครือข่ายอนุรักษ์และฟื้นฟูลุ่มน้ำห้วยเสนง
38. โครงการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะด้านทรัพยากรแร่
39. โครงการทามมูล
40. ชุมชนนักกิจกรรมภาคเหนือ
41. ทะลุฟ้า
42. แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม
43. เฟมินิสต์ปลดแอก
44. มูลนิธิชุมชนเกษตรนิเวศน์
45. มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม – EnLAW
46. มูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
47. มูลนิธิศูนย์ข้อมูลชุมชน (CRC)
48. มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อพัฒนาสังคม (มอส.)
49. ศูนย์ประสานงานกลุ่มเพื่อนฅนไร้บ้าน จังหวัดขอนเเก่น
50. ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ (Deep South Watch)
51. ศูนย์ฟื้นฟูและพัฒนาศักยภาพคนไร้บ้านจังหวัดเชียงใหม่
52. สมัชชาคนจน
53. สมัชชาประชาชนภาคใต้ (สปต.)
54. สมัชชาภาคประชาสังคมเพื่อสันติภาพ (CAP)
55. สมาคมคนทาม
56. สมาคมเครือข่ายแรงงานนอกระบบประเทศไทย (HomeNet)
57. สมาคมชุมชนประมงน้ำจืดภาคอีสาน
58. สมาคมลุ่มน้ำสายบุรี
59. สมาคมวิถีชนบท
60. สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
61. สำนักข่าว : ประชาไท
62. สำนักข่าวราษฎร - Ratsadon News
63. สำนักคิดท้องถิ่นเพื่อสังคม (สคทส.)
64. องค์การความร่วมมือเพื่อการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติอันดามัน
65. อุทยานการเรียนรู้ป๋วย 100 ปี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
66. กลุ่มดินสอสี
67. กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
#สมัชชาคนจน #วนิดา #รัฐธรรมนูญ #จนสิทธิ #จนโอกาส #จนอำนาจ #ถูกทำให้จน #ธันวาคม #ป่าไม้ #แม่น้ำ #คน
ลิงค์วิดีโอ https://www.facebook.com/Prachatai/videos/709442007451969