วันเสาร์, ธันวาคม 24, 2565

ใช้ชีวิตอย่างปกติ = ไม่จงรักภักดี ? ยังไม่ตาย รีบงดงานรื่นเริงทำไม

.....
มาเข้าใจ 5 ระยะของความเสียใจตามคำนิยามของ คิวเบลอร์-รอสส์ ที่ใช้อธิบายว่ามนุษย์มีระยะการรับยอมความจริงและอยู่กับความเสียใจได้อย่างไร

ระยะแรก: ปฏิเสธ

เมื่อเราเผชิญหน้ากับความเจ็บปวด สิ่งแรกที่มนุษย์ทำตามสัญชาตญาณ คือ การปฏิเสธความจริง เพื่อหลีกหนีความเจ็บปวด เพราะเรากำลังอยู่ในอาการช็อก ไม่สามารถรับมือได้ทัน ขณะเดียวกันก็ไม่เชื่อว่าเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริง ซึ่งเป็นกลไกปรกติที่แสดงให้เห็นว่าเรายังไม่พร้อมรับมือ โ

ระยะที่ 2: โกรธเกรี้ยว

ความโกรธ เป็นปฏิกิริยาตามธรรมชาติที่เกิดขึ้นเมื่อเราพบกับความสูญเสีย

ระยะที่ 3: ต่อรอง

เมื่อความโกรธเริ่มจางหายไป เรามักจะย้อนหวนไปถึงเหตุการณ์ความสูญเสีย และคิดว่าถ้าย้อนเวลากลับไปได้จะเลือกทำอย่างนั้น หรือไม่ทำอย่างนี้ รวมไปถึงการสวดมนต์อ้อนวอนตามความเชื่อ ยอมทำทุกอย่าง เพื่อเปลี่ยนแปลงความจริงไม่ให้เกิดความเสียใจ

ระยะที่ 4: ซึมเศร้า

ระยะนี้เป็นตอนที่เรารู้แล้วว่าไม่สามารถต่อรองกับความเจ็บปวดได้ เราจะกลับมาเผชิญหน้ากับความจริงอีกครั้ง แม้ว่าจะยังทำใจไม่ได้ก็ตาม เราจึงทำได้แต่เสียใจ เศร้าใจ ตรอมใจ จมอยู่กับความเศร้า มีภาวะซึมเศร้า ซึ่งสามารถพัฒนาเป็นโรคซึมเศร้าได้ 

ระยะที่ 5: ยอมรับความจริง

วันเวลาผ่านไป ความเศร้าเสียใจเริ่มเบาบางลง ถึงเวลาที่จะต้องยอมรับความจริงว่าเรากำลังเผชิญหน้าอยู่กับความสูญเสีย

ที่มา
"5 ระยะความเสียใจ" วิธีทำใจยอมรับ เมื่อเจอเรื่องเศร้า
กรุงเทพธุรกิจ