Atukkit Sawangsuk
5h ·
44 ปี 6 ตุลา 47 ปี 14 ตุลา พลังนักเรียนนักศึกษากลับมาเกิดใหม่ ความคิดเสรีหลากไหล ทลายความคิดความเชื่อเก่าๆ จนเกิด"แผ่นดินไหว"
สำหรับคนรุ่นตุลา (ถ้าไม่เปลี่ยนไปรับใช้อนุรักษ์นิยมเสียก่อน) นี่คือปรากฏการณ์ที่โคตรตื้นตันใจ แค่ได้มีชีวิตอยู่เห็นคนรุ่นใหม่วันนี้ก็ดีใจจนน้ำตาซึม
ได้เห็นเด็กนักเรียนชูหนังสือธงชัย วินิจจะกูล อดีตเลขาศูนย์นักเรียน อ่านงาน สศจ. อาจารย์ยิ้ม
ได้เห็นเพลงประเทศกูมี ประจานภาพแขวนคอ
นี่ไม่เคยคิดว่าจะได้เห็น ชีวิตนี้คุ้มแล้ว
:
ในประวัติศาสตร์ไทย นี่คือคลื่นลูกที่สาม แห่งความคิดเสรีของคนรุ่นใหม่
ลูกแรกคือ 2475 คณะราษฎร ข้าราชการหัวใหม่ ได้รับผลสะเทือนจากกระแสปฏิวัติประชาธิปไตยในโลกยุคนั้น
บวกกับความไม่เอาไหน ความเสื่อมของระบอบเดิม ไม่สามารถรับมือวิกฤติเศรษฐกิจ The Great Depression
:
14 ตุลา ก็มาจากกระแสโลก ยุคซิกซ์ตี้ ยุคแสวงหา แอนตี้ระบบ
ต่อต้านความคิดความเชื่อเดิมๆ ทำลายค่านิยมเก่าคร่ำครึ สร้างความคิดวัฒนธรรมใหม่
ซึ่งมันสะท้อนออกทั้งในหนังในเพลงในงานศิลปต่างๆ ยุคนั้นที่ "ทลายกรอบ"
(เหมือนที่ผมเคยบอกว่าฟังเพลง The Sound of Silence ทีแรก ก็โดนเลย
ดูหนัง The Geaduate เอาไม้กางเขนล็อกประตูโบสถ์แล้วหนุ่มสาวพากันหนี)
พูดง่ายๆ โลกยุคทศวรรษ 1950 มันเป็นสีขาวดำ หัวสี่เหลี่ยม ยุคซิกซ์ตี้มันพังกรอบเดิมหมด
ในทางการเมืองก็เกิดการเดินขบวนต่อต้านสงครามเวียดนาม นอกอเมริกาก็่ต่อต้านเผด็จการส่งออกโดยจักรพรรดินิยมอเมริกา
เกิดขบวนการมาร์ตินลูเธอร์คิงต่อต้านการเหยียดผิว ขบวนวูเมนลิบต่อต้านความไม่เสมอภาคทางเพศ เสรีภาพทางเพศ
ขนาดพระเอกในจอหนังยังเปลี่ยนจากจอห์น เวย์น ชาร์ลตัน เฮสตัน มาเป็นดัสติน ฮอฟฟ์แมน อัล ปาซิโน มี Shaft เป็นฮีโร่ของคนดำ
:
คนตุลาก็เกิดมาจากความคิดเสรี ได้รับอิทธิพลจากโลกตะวันตก
ส่วนที่เป็นฝ่ายซ้าย สังคมนิยม นิยมจีน นั่นมาทีหลัง
ผมเข้าธรรมศาสตร์ 17 อมธ.ก็เปิดเพลง Bob Dylan, Joan Baez
(ก่อนที่ปี 19 เราจะฟังวิทยุ สปท.)
เพราะความคิดเรื่องสังคมเท่าเทียมเป็นธรรม ทำให้โน้มเอียงไปทางสังคมนิยม
:
ยุคขบวนการนักศึกษา นอกจากต่อต้านเผด็จการก็ต่อต้านความคิดความเชื่อเก่าๆ อำนาจบังคับ
เช่นนักเรียนก็ต่อต้านการบังคับตัดผม จนมีระเบียบทนงผมปี 2518 แต่พ้นยุคนั้นก็ถูกลืม
อิทธิพลฮิปปี้ก็ทำให้เกิด 5 ย. ผมยาวเสื้อยืดกางเกงยีนส์สะพายย่ามรองเท้ายาง ปฏิเสธแบบแผนจารีต
อิทธิพล Bob Dylan ก็ทำให้เกิดหงา คาราวาน เพลงเพื่อชีวิต มีการสร้างสรรค์ศิลปวัฒนธรรมเพื่อชีวิต
วิพากษ์วรรณคดีไทย "เผาวรรณคดี" เช่นนางวันทองผิดตรงไหน ขุนแผนต่างหากเจ้าชู้
ปริญญาก็ปฏิเสธ เรียนเพื่อเป็นเจ้าคนนายคน สุดท้ายได้กระดาษแผ่นเดียว
:
จริงๆ แล้ว ขบวนการเดือนตุลาไม่ได้เพียงโค่นเผด็จการ
แต่สร้างความคิดค่านิยมใหม่ไว้ในสังคมจำนวนมาก
แต่หลัง 6 ตุลา ความคิดเสรีความคิดวิพากษ์ระบบก็ถูกปราบจนหมดสิ้นเหลือแค่อบรมปลูกฝังให้สวามิภักดิ์ชนชั้นนำ
:
ขบวนการนักศึกษาเข้าป่าจับปืน แล้วพรรคคอมมิวนิสต์พัง โลกสังคมนิยมล่ม
อเมริกาเลิกส่งออกรัฐประหาร หันมาเปิดการค้าเสรี ทุนนิยมโลกาภิวัตน์
ชนชั้นนำไทยปรับตัว เปลี่ยนจากเผด็จการหอยสุดโต่งเป็นประชาธิปไตยครึ่งใบ
สร้าง Consensus ใต้อำนาจนำ ปรับตัวเข้ากับวัฒนธรรมบริโภค วัฒนธรรมฟาสต์ฟู้ด
ผลิตซ้ำความเชื่อถือศรัทธาผ่านการโปรโมทโฆษณา
พฤษภา 35 ยิ่งทำให้เกิดสภาพที่เรียกว่าประชาธิปไตยใต้อำนาจนำ
:
44 ปีหลัง 6 ตุลา Consensus เดิมสิ้นสุดแล้ว สร้างใหม่ไม่ได้
กลายเป็นอยู่ด้วยอำนาจบังคับ จากโครงสร้างอำนาจส่วนบนที่เป็นปึกแผ่นไม่กล้าแตกแถว
ทหารตำรวจศาลรัฐราชการ ซ้ายหันขวาหัน แต่ขัดแย้งอย่างรุนแรงกับประชาชน
เพราะรัฐประหาร 57 ทำเพื่อเหตุผลนี้ รัฐธรรมนูญ 60 วางโครงสร้างไว้อย่างนี้
เพื่อให้อำนาจสามารถอยู่ได้โดยไม่ต้องแยแสประชาชน
:
ทั้งที่โลกไปถึงไหนแล้ว
ค่านิยมความคิดวัฒนธรรมของคนในโลกปัจจุบันที่เติบโตมากับสังคมออนไลน์
ให้ความสำคัญกับสิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาคเท่าเทียม ไม่พอใจอำนาจบงการ ใบสั่ง
อำนาจที่กดทับสังคมไทยอยู่จึงสร้างความตื่นตัวให้คนรุ่นใหม่อย่างกว้างขวาง
:
ซึ่งบังเอิญก็เป็นโลกยุค disrupt
ระบบโลกกำลังพัง ระบบเศรษฐกิจที่เป็นอยู่ก็กำลังย่ำแย่ เงินล้นโลก แต่คนตกงาน
คนรุ่นใหม่ทั้งโลกแอนตี้ระบบอำนาจเดิม ต้องการมีอำนาจร่วมตัดสินใจ
ตั้งแต่เรื่องการเมืองไปถึงเรื่องสิ่งแวดล้อม อย่างเกรต้า ธุนเบิร์ก
หรือเรื่องความเสมอภาค LGBTQ ต่อต้านการเลือกปฏิบัติ เหยียดผิว ชาติพันธุ์
ต่อต้านจีนต่อต้านทรัมป์ต่อต้านตู่ ความเหลื่อมล้ำไม่เป็นธรรมในสังคม
:
ในกระแสเช่นนี้ ในเงื่อนไขอย่างนี้
แม้เราไม่รู้ว่าจะจบที่ไหน อย่างไร
แต่มันก็มีแนวโน้มที่จะเป็นความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในรอบ 40 กว่าปี
โดยเฉพาะถ้าฝ่ายอนุรักษ์นิยมไม่รู้สึกรู้สาไม่ปรับเปลี่ยนเลบ