วันพฤหัสบดี, ตุลาคม 26, 2560

ประเทศกรูหรอ ชอบไล่คนไปอยู่ที่อื่น (ถ้าไม่อยากน้ำท่วมก็ไปอยู่ที่อื่น)... เลิกเหอะ... มาเรียนรู้การบริหารจัดการน้ำของเนเธอร์แลนด์ - อะไรและทำไม ประเทศที่อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล กลายเป็นประเทศที่น้ำไม่ท่วม





ooo


"เนเธอร์แลนด์" จากน้ำท่วมบ่อย พลิกสู่ประเทศที่ป้องกันน้ำท่วมได้ดีที่สุดในโลก





อะไรและทำไม ทำให้ประเทศที่อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล กลายเป็นประเทศที่น้ำไม่ท่วม


24/10/54
ที่มา Dek-D.com

สวัสดีค่ะน้องๆ ชาว Dek-D.com .... ตอนที่กำลังเขียนบทความนี้คือวันศุกร์ที่ 21 ตุลาคมค่ะ แต่บทความนี้จะขึ้นเว็บวันอังคารที่ 25 ตุลาคม (เขียนเหมือนสั่งลา) บอกตามตรงว่าสถานการณ์น้ำท่วมตอนนี้น่าหวาดกลัวมากๆ พี่ๆ ทีมงาน Dek-D.com บางคนก็โดนไปแล้วเต็มๆ ค่ะ ที่เหลือก็ลุ้นกันใจหายใจคว่ำเช้าเย็น เฮ้อ ส่วน พี่เป้ ตอนนี้ยังไม่โดนค่ะ แต่ไม่รู้ว่าจนถึงตอนที่น้องๆ ได้อ่านบทความนี้ จะโดนไปแล้วรึยัง T_T

ดังนั้นวันนี้จึงขอเขียนบทความเกี่ยวกับ "การป้องกันน้ำท่วม" หน่อยดีกว่า .... น้องๆ รู้มั้ยคะว่าประเทศไหนเค้ามีระบบการจัดการป้องกันน้ำท่วมที่ดีที่สุดในโลก ลองทายซิ ????????

คำตอบที่ถูกต้องก็คือ "เนเธอร์แลนด์" ดินแดนกังหันลมนั่นเองค่ะ เพราะที่นั่นเค้าได้สร้างเขื่อนขึ้นมาจำนวนมากเพื่อป้องกันน้ำทะเลไหลเข้าผืนดิน ถ้าใครอยากรู้ว่ามีที่ไปที่มายังไง วันนี้ พี่เป้ขออาสาอธิบายให้ฟัง รับรองว่าอ่านเข้าใจง่าย ไม่ยากและไม่งงแน่นอน !

ประเทศเนเธอร์แลนด์ (Netherland) ชื่อประเทศมีรากศัพท์มาจากคำว่า "Neder" แปลว่า "ต่ำ" แน่นอนว่า แค่ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าพื้นที่ของประเทศบางส่วนอยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล นั่นหมายถึงมีโอกาสน้ำท่วมสูงนั่นเองค่ะ ! ซึ่งพื้นที่ส่วนที่อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลนั้น ก็ไม่ได้หมายความว่าอยู่สูงมากนะคะ เพราะส่วนมากก็อยู่เหนือระดับน้ำทะเลแค่ 1 เมตรเท่านั้น ก็มีโอกาสถูกน้ำท่วมเช่นกัน .... สรุปคือ ประเทศนี้เสี่ยงต่อการถูกน้ำท่วมมากๆ ถึงมากที่สุด

จากแผนที่ด้านบน พื้นที่สีเนื้อคือประเทศเนเธอร์แลนด์ทั้งหมด ให้น้องๆ สังเกตแม่น้ำ 3 สายดังนี้ค่ะ (ทำเครื่องหมายขีดเหลืองๆ ไว้)

- แม่น้ำ Rhine เป็นแม่น้ำที่ยาวและสำคัญที่สุดในทวีปยุโรป มีต้นน้ำจากเทือกแขาแอลป์ ไหลผ่านประเทศต่างๆ และไปสิ้นสุดที่ด้านตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศเนเธอร์แลนด์และไหลลงทะเลเหนือหรือ North Sea หรือสีฟ้าๆ ในภาพนั่นแหละค่ะ
- แม่น้ำ Maas หรือ Meuse เป็นแม่น้ำสายหลักสายหนึ่งของยุโรป มีจุดกำเนิดในฝรั่งเศส ไหลผ่านเบลเยี่ยม และมาที่่ด้านตะวันตกเฉียงใต้ของเนเธอร์แลนด์ และสุดท้ายไหลลงสู่ทะเลเหนือเช่นเดียวกัน
- แม่น้ำ Scheldt มีจุดกำเนิดในฝรั่งเศส ไหลผ่านด้านตะวันตกของเบลเยี่ยม และไหลมาที่ด้านตะวันตกเฉียงใต้ของเนเธอร์แลนด์ และสุดท้ายก็ไหลลงสู่ทะเลเหนืออีกเช่นเดียวกัน

ดังนั้นจะเห็นได้ว่า แม่น้ำทั้ง 3 สายไหลไปด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเนเธอร์แลนด์ และไหลลงสู่ทะเลเหนือเหมือนกัน ซึ่งบริเวณที่แม่น้ำทั้ง 3 สายไหลลงทะเลเหนือนั้น เป็นบริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำค่ะ (คล้ายๆ กับที่แม่น้ำเจ้าพระยาไหลลงอ่าวไทยเหมือนกันเด๊ะ)

แล้วทีนี้เกิดอะไรขึ้น ??? แน่นอนว่าบริเวณตะวันตกเฉียงใต้ส่วนนั้นเป็นพื้นที่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเลอย่างที่บอกไปแล้ว พอน้ำจากทะเลเหนือหนุนเข้ามา ก็ทะลักเข้ามาในดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ และทะลักเข้ามาท่วมที่ประชาชนอาศัย ในอดีตนี่คือน้ำท่วมแล้วท่วมอีก ท่วมกันจนชิน ที่แย่กว่านั้นคือ ทะเลเหนือมักมีปรากฏการณ์ที่เรียกว่า Storm Tide หรือคลื่นชายฝั่งยกตัวสูงจากพายุ (ทำได้ไงเนี่ย) ซึ่งทำให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้นสูงกว่าปกติถึง 5 เมตร จากนั้นน้ำทะเลเหล่านั้นก็พัดเข้ามายังแม่น้ำทั้ง 3 สาย จากนั้นก็ซัดเข้ามาในบ้านเรือนประชาชนอีกเหมือนกัน







จนในปี ค.ศ. 1953 ได้เกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่ คนเสียชีวิตเป็นพันๆ พื้นที่ทางการเกษตรเสียหายจำนวนมาก ดังนั้นรัฐบาลเนเธอร์แลนด์จึงนิ่งนอนใจไม่ได้ หลังเหตุน้ำท่วมสิ้นสุดได้ 20 วัน รัฐบาลได้คิดแผนการณ์หนึ่งขึ้นมาชื่อว่า "Delta Works" เป็นที่มาของสิ่งก่อสร้างด้านวิศวกรรมการจัดการน้ำที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก !!

อะไรคือ Delta Works ????

Delta Works คือโครงการแก้ปัญหาน้ำท่วมในภาคตะวันตกเฉียงใต้ของเนเธอร์แลนด์ เพื่อป้องกันคลื่นน้ำทะเลหนุนสูงจากภาวะ Storm Tide โดยได้มีการสร้างเขื่อน ประตูระบายน้ำ กำแพงกั้นน้ำ คันดินกันน้ำ รวมแล้วกว่า 16 แห่ง เพื่อกั้นปากแม่น้ำต่างๆ เอาไว้ โดยค่อยๆ ทยายสร้างเรื่อยๆ ทีละแห่ง กว่าเขื่อนแห่งสุดท้ายที่มีชื่อว่า Harlingen water retaining wall จะเสร็จนั้น ใช้เวลากว่า 50 ปีเชียวค่ะ สร้างเสร็จสมบูรณ์ในปี ค.ศ. 1997 แต่เพิ่งเปิดให้ใช้ได้จริงในปีที่แล้ว





หลักการทำงานของ Delta Works นั้น อยากให้น้องๆ ลองนึกภาพตามว่า .... เขื่อนต่างๆ จะเป็นตัวกั้นระหว่างแม่น้ำและทะเลเหนือค่ะ ดังนั้นน้ำทะเลเหนือจึงไม่สามารถผ่านเข้ามาถึงบ้านเรือนประชาชนได้ นอกจากนี้ยังมีข้อดีคือ การที่มีเขื่อนกั้นระหว่างทะเลเหนือซึ่งเป็นน้ำเค็มและแม่น้ำซึ่งเป็นน้ำจืดนั้น ทำให้น้ำในเขื่อน (ก็คือน้ำของแม่น้ำสายต่างๆ) ยังคงเป็นน้ำจืด ไม่มีน้ำเค็มจากทะเลเหนือเข้ามาปน จึงสามารถนำมาใช้ในการเกษตรได้ เริดเนาะๆ

ยังไม่หมดเท่านี้นะคะ ในส่วนที่สร้างเป็นประตูระบายน้ำ จะแตกต่างจากเขื่อนค่ะ เพราะเขื่อนจะกั้นแม่น้ำและทะเลออกจากกัน แต่ประตูระบายน้ำจะไม่กั้นทั้งแม่น้ำและทะเลออกจากกันอย่างถาวร ยังปล่อยให้ไหลไปมาหากันได้บ้าง แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่ลมแรงและมีแววว่าจะมีพายุ เค้าก็จะปิดประตูระบายน้ำเพื่อไม่ให้น้ำทะเลไหลเข้ามาในเขื่อนได้ ทั้งหมดนี้ก็เป็นเพราะว่า ในเวลาปกติ ชาวประมงก็จะสามารถจับปลาทะเลที่ไหลเข้ามาในเขื่อนเพื่อหาเลี้ยงชีพได้นั่นเอง ไม่จำเป็นต้องออกทะเลเหนือไปไกล





ใครที่สงสัยเรื่องความแข็งแรงของเขื่อน ก็ขอบอกเลยว่า โอกาสที่เขื่อนจะแตกนั้นอยู่ที่ 10,000 ปีค่ะ !!! จะแข็งแรงไปไหนเนี่ย คุ้มยิ่งกว่าคุ้ม

ดังนั้นรัฐบาลเนเธอร์แลนด์จึงไม่เคยลังเลใจที่จะเทงบประมาณมาใช้ในการสร้างเขื่อน มีงบเท่าไหร่ทุ่มไม่อั้น เพราะอยู่ได้นานเป็นหมื่นปีขนาดนั้น คุ้มจะตาย อ้อ ที่สำคัญ เขื่อนต่างๆ ในโครงการ Delta Works ได้รับการยกย่องให้เป็น 1 ใน 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคใหม่ด้วยนะคะ !! เจ๋งจริงๆ

และแน่นอนว่า ใครสนใจเรียนด้านการจัดการน้ำ คงไม่มีประเทศไหนจะตอบโจทย์ได้ดีที่สุดเท่าเนเธอร์แลนด์แล้วล่ะค่ะ เพราะเชื่อว่าหลังจากนี้ไป ประเทศไทยคงต้องการผู้เชี่ยวชาญด้านนี้อีกเยอะมากๆๆๆ ซึ่งมหาวิทยาลัยดังๆ ที่เปิดสอนก็เช่น

- Delft University of Technology เปิดสอนปริญญาโทด้าน Water Management in Urban Areas
- Wageningen University เปิดสอนปริญญาโทด้าน International Land and Water Management
- Unesco-IHE Institute For Water Education เปิดสอนปริญญาโทด้าน Water Management และ Water Science and Engineering

อ่านมาจนถึงตรงนี้แล้ว หลายคนคงเลิกสงสัยแล้วว่า ทำไมเนเธอร์แลนด์จึงได้ชื่อว่ามีระบบวิศวกรรมการจัดการน้ำที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ต้องนับถือจริงๆ เลยเนาะ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ต่างจากสถานการณ์บ้านเราในตอนนี้อยู่ดีค่ะ คือบ้านเค้าสร้างเขื่อนเพื่อกันน้ำจากทะเลไม่ให้เข้ามาท่วมบ้านคน แต่สถานการณ์บ้านเราคือกำลังหาทางไล่น้ำให้ไหลลงทะเลค่ะ = =" ยังไง พี่เป้ ก็ขอเอาใจช่วยทั้งผู้ที่กำลังประสบภัยและเอาใจช่วยตัวเองด้วย เพราะไม่รู้เหมือนกันว่าจะประสบภัยตอนไหน




ข้อมูลและภาพประกอบ : wikepedia