วันศุกร์, ตุลาคม 27, 2560

Note พระราชพิธี 2 จาก อ.พิพัฒน์ กระแจะจันทร์



ภาพจาก Thai PBS


ที่มา FB
Pipad Krajaejun
10 hrs ·


Take note พระราชพิธี 2: (โพสต์นี้จะใช้เทคโน้ตเติมเนื้อหาไปเรื่อยๆ) 

- งานพระบรมศพและพระเมรุคือ tangible / intangible แบบหนึ่ง

- ก่อนหน้าพญาโศก เป็นเพลง slow march ของทหาร แตก่อนหน้านี้เดี๋ยวคงต้องค้น เข้าใจว่าเป็นการตีกลองชนะและมโหระทึกนำ บรรเลงด้วยเพลงนางหงส์

- ธนาคารโคกระบืก represent กิจกรรมกับเกษตรกรหรือรากหญ้า

- รามายณะ/รามเกียรติ์ เจริญสังคมพุทธ เพราะหลักแนวคิดเชิง ideology สอดคล้องกัน และยังเสริมความคิดเรื่องธรรมะชนะอธรรม

- เสียงโขนเดี๋ยวนี้ไม่ค่อยเหน่อ

- ต้องชมในการเลือกซีนของโขน เพราะแฝงความหมายของพระนารายณืเดินทางข้ามสมุทร สมุทร = น้ำ สีทันดร พิภพ

- โขนโบราณในงานพระบรมศพแสดงในดรงรำนอกราชวัติ

- ดูหีบพระบรมศพแล้ว ทำให้คิดไปด้วยว่า อนาคตควรต้องมีการสร้างราชรถใหม่ที่รองรับกับหีบพระบรมศพ ปัจจุบันเราใช้ของเดิมเพราะใช้ตั้งโกศทรงสูง คือราชรถเริ่มไม่เหมาะกับแนวคิดใหม่ที่เปลี่ยนไป

- ด้านหนึ่งอาจจะบอกว่าพระเมรุมาจากบ้านผี แต่พระเมรุนั้นก็คือเครื่องมืออย่างหนึ่งในการประกาศอำนาจของ king of kings ในรัฐโบราณ

- ผู้ประกาศ ไม่มีรายชื่อกษัตริย์หรือผู้นำประเทศอยู่ในมือเลย ทำการบ้านไม่ค่อยดี

- พระเมรุของไทย พยายามสร้างความเป็นอินเดียตามคัมภีร์อย่างมาก

- พระเมรุจำลองแต่ละจังหวัดคืออำนาจของสถาบันกษัตริย์ที่ปักหมุดไปในแต่ละที่ หรือแสดงอำนาจแบบ modern state

- ธรรมเนียมสมัยก่อน กษัตริย์ต่างแดนที่เป็นประเทศราชเท่นั้นจะมาทำความเคารพ แต่นับแต่รัชกาลที่ 5 เป็นต้น สยามเล่นการเมืองระดับ global เพราะฉะนั้น กษัตริย์หรือตัวแทนประเทศต่างๆ จึงเป็นเรื่องการเมืองสมัยใหม่ และอื่นๆ ตีความได้อีกมาก

- เสียงสวดของพระ ทำให้รู้สึกว่าไม่ใช่ทำนองการสวดตามวิธีการสวดมนต์ของพระทั่วไป (เท่าที่เคยได้ยิน) หรือว่าจริงๆ แล้วคือการแปลงบทสวดมนต์ให้กลายเป็นของพื้นเมือง

- การบรรยายของวิทยากรแสดงให้เห็นชัดถึงความรู้ที่ขาดไปช่วงหนึ่งเกี่ยวกับพระราชพิธี กระทั่งในราชสำนักเองก็ไม่เข้าใจรากของประเพณี คงเหลือแต่รูปแบบ

- สมัยโบราณไม่เคยมีกระบวนนักเรียนเข้าร่วม การมีกระบวนนักเรียนเป็นเรื่องของรัฐสมัยใหม่

- ท่าเดินกรีดเท้านี่เริ่มตั้งแต่เมื่อไหร่ แต่ก็ไม่เคยเห็นในธรรมเนียมตะวันตก (ไม่แน่ใจ)

- คำว่า "ตามโบราณราชประเพณี" ปัญหาอย่างหนึ่งคือ ความดั้งเดิมแบบโบราณนี้แท้จริงแล้วผ่านการปรับเปลี่ยนมาโดยตลอด

- การแห่พระบรมศพวนเกือบรอบพระบรมราชวังสัมพันธ์กับคติจักรวาล

- Imagined community คือสิ่งที่ทำให้คนร้องไห้

- พระราชพิธีคือพื้นที่ของระเบียบ

- ในเมื่อมีการอัญเชิญพระบรมศพไปก่อนหน้านี้ (ลักพระศพ) พระโกศจึงเป็นเรื่องของ symbolic ที่หมายถึงทั้งเป็นตัวแทนของ body และตัวแทนของพระราชอำนาจ

- ระหว่างที่ดูการถ่ายทอดสดก็มีความรู้สึกว่า ระบบทหารสมัยใหม่ส่งผลต่อรูปแบบการเดินของทหารอย่างมาก คือนึกไม่ออกว่าสมัยโบราณนั้นทหารจะเดินแถวอย่างไร

- ทหารชุดแดงสวมหมวกทรงสูงเป็นการแต่งกายแบบทหารของอังกฤษหรือทหารมหาดเล็ก อังกฤษเรียก King's guard พิธีพระบรมศพจึงเป็นส่วนผสมกันระหว่างความเป็นไทยกับอังกฤษ

- เพลงของ ร.9 สะท้อนถึงแนวคิดแบบปัจเจก

- ฉัตรคือ ร่ม แสดงบารมีของกษัตริย์เหนือกษัตริย์เมืองอื่น

- อ่าน comment ในเฟซ ทำให้เห็นว่า concept ของ king เปลี่ยนจาก king สู่ พ่อ