วันพฤหัสบดี, พฤษภาคม 12, 2559

การใส่ตรวนผู้ต้องหาคดีการเมืองเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมาย และละเมิดสิทธิมนุษยชน







ที่มา FB
Thanapol Eawsakul


การบังคับใส่ตรวนผู้ต้องหา/นักโทษผิดกฎหมาย

............................

เห็นภาพผู้ต้องหาคดีล้อเลียนผู้นำที่มาจากรัฐประหาร ตามมาตรา 116 ต้องถูกตีตรวน

นึกถึงกรณีเรื่องตรวจที่มีคำพิพากษาของศาลปกครองที่มีคำวินิจฉัยเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2552 วางบรรทัดฐานที่น่าสนใจเกี่ยวกับการใส่ตรวนนักโทษไว้หลายประการ เช่น

1. ศาลเห็นว่าการใส่ตรวนนักโทษเป็นการละเมิดต่อเสรีภาพในร่างกายและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ มีลักษณะเป็นการทรมาน ขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 26 และมาตรา32 และเป็นการทำให้เสียหายต่อร่างกายขัดต่อมาตรา 420 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

2. ศาลเห็นว่า การใส่ตรวนขัดต่อปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ ข้อ 1, 5 กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิผลเมืองและสิทธิทางการเมือง ข้อ 7, 10(1) ซึ่งมีผลใช้บังคับในประเทศไทย และขัดต่อกฎมาตรฐานขั้นต่ำของการปฏิบัติต่อนักโทษขององค์การสหประชาชาติ ข้อ33 ซึ่งแม้ไม่มีผลบังคับใช้ในประเทศไทย แต่ก็เป็นเอกสารที่สังคมสหประชาชาติเห็นชอบ กรมราชทัณฑ์จึงควรใช้เป็นแนวทางด้วย และศาลก็สามารถนำมาใช้ประกอบการพิจารณาถึงความเหมาะสมของการใช้เครื่องพันธนาการได้

3. ศาลเห็นว่า การอ้างเรื่องระบบความมั่นคงของเรือนจำนั้น เป็นหน้าที่ของกรมราชทัณฑ์ที่ต้องควบคุมตัวผู้ต้องขัง การอ้างข้อขัดข้องด้านอาคารสถานที่ที่ไม่รัดกุมเพียงพอเพื่อใส่ตรวนผู้ต้องขัง เป็นการแก้ปัญหาที่ไม่คำนึงถึงผลร้ายที่จะตกกับผู้ต้องขัง

4. ศาลเห็นว่า การจำตรวนผู้ต้องขังที่มีโทษประหารชีวิตไว้ตลอดเวลาโดยเห็นว่าเป็นบุคคลที่น่าจะพยายามหลบหนี ตามมาตรา 14(3) โดยไม่ได้พิจารณาถึงพฤติการณ์ของผู้ต้องขังแต่ละรายว่าจะหลบหนีหรือไม่ แต่นำเหตุเรื่องโทษประหารชีวิตมาเป็นข้อสันนิษฐานว่าผู้ต้องขังจะหลบหนี ทั้งที่ยังไม่มีคำพิพากษาถึงที่สุด ซึ่งไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง และเป็นการคาดการณ์ของกรมราชทัณฑ์ซึ่งเป็นเรื่องในอนาคต

5. ศาลเห็นว่า แม้ผู้ฟ้องคดีจะถูกควบคุมตัวอยู่ในอำนาจของกรมราชทัณฑ์ตามคำพิพากษาของศาล แต่เป็นเพียงการสั่งให้ควบคุมหรือจำคุกซึ่งหมายถึงการจำกัดอิสรภาพเท่านั้น กรมราชทัณฑ์ไม่มีสิทธิที่จะกระทำการใดๆ แก่เนื้อตัวร่างกายของผู้ฟ้องคดีโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมายได้
โซ่ตรวนนักโทษ : มิติทางกฎหมาย
http://ilaw.or.th/node/1655

ตามข้อมูลข้างต้น เห็นว่า กรมราชทัณฑ์อุทธรณ์
ไม่ทราบว่าเป็นอย่างไรแล้ว แต่อย่างน้อยคำพิพากษาศาลปกครองก็น่าจะเป็นแนวปฏิบัติได้บ้าง

.....


อยาคตประเทศที่เอาคนหนุ่มสาวเข้าคุก แล้วเอาคนแก่มาเขียนรัฐธรรมนูญ
.................

วันศุกร์ที่ 13 พฤษภาคม 2559 เวลา 17.30-19.30 น. ณ ร้าน bookmoby จะมีงานเสวนา “อ่านประวัติศาสตร์ อ่านอนาคต ผ่านหนังสือในสาธารณรัฐไวมาร์ฯ ”
https://www.facebook.com/events/1546490228988082/

ความน่าสนใจของงานนี้สำหรับผมไม่ใช่หนังสือ หรือวิทยากร
แต่เป็นข้อเขียนของ มิตรสหายท่านหนึ่ง ที่พูดถึง หนังสือในสาธารณรัฐไวมาร์ฯ

-- หยิบเล่มนี้มาอ่านด้วยความคิดถึง ครั้งสุดท้ายที่พบกันคือในงานสัปดาห์ฯ ปอนไปช่วยแจกปก "ไวมาร์จัง" ให้กับแฟนคลับ

ในกรณีที่เกิดขึ้น ฉันไม่เคยใช้คำว่า 'เห็นใจ สงสาร หรือ ไม่น่าเลย' กับปอน เพราะฉันคิดว่ามันไม่ใช่คำที่ถูกต้อง และปอนเองก็คงไม่ชอบคำนั้น

คำเดียวที่ฉันจะบอกคือ 'ขอให้อดทน' จนกว่าเราจะพบกันใหม่ --

https://www.facebook.com/NiSatharnrathWiMar/photos/a.197511890380851.50244.197506433714730/819449318187102/?type=3&theater

แน่นอนว่า ปอน คือ หฤษฎ์ มหาทน ชายหนุ่มอายุ 25 ปี
ตนที่เชื่อว่า วรรณกรรมคือเสรีภาพ
http://prachatai.com/journal/2016/05/65687

อย่างที่ทราบ หฤษฎ์ ถูกจับกุมตั้งแต่วันที่ 27 เมษายน 2559 พร้อมเพื่อนรวม 8 คน ทั้งหมดถูกนำเข้าค่ายทหารและส่งเข้าเรือนจำ

10 พฤษภาคม 2559 6 คนได้รับการประกันตัวออกมาหลังจากเสียอิสรภาพไป 13 วัน ส่วน ณัฏฐิกาและหฤษฏ์ ถูกอายัดตัวเนื่องจากมีคดี 112 ด้วย

ดู
ปล่อย 6 แอดมิน-ม.112 อายัด 2
http://daily.khaosod.co.th/view_news.php…

วันนี้ 11 พฤษภาคม 2559 ณัฏฐิกาและหฤษฏ์ต้องขึ้นศาลทหาร และผลออกมาว่าทั้งคู่ไม่ได้ประกัน ต้องกลับเข้าไปเรือนจำต่อ ไม่ได้ออกมารับเสรีภาพชั่วคราวเหมือนเพื่อนร่วมชะตากรรม

ดู
ศาลทหารไม่ให้ประกันตัว ‘ณัฏฐิกา-หฤษฏ์’ เหตุเกรงหลบหนี
http://prachatai.com/journal/2016/05/65720

เราไม่รู้ว่าข้อความ 112 ที่ว่านั้นคืออะไร มีมากน้อยแค่ไหน
แต่ตามมาตรฐานของศาลทหารแล้วจะคิดกรรมละ 5 ปี

ดูคคีเก่าประกอบ
ศาลทหารจำคุก 30 ปี ชาวเมืองกาญจน์ โพสต์ 6 ข้อความบนเฟซบุ๊ค ผิดมาตรา 112
http://news.thaipbs.or.th/content/4215

นั่นหมายความว่าถ้าความผิดของหฤษฏ์
1 กรรม เขาจะติดคุก 5 ปี ได้รับอิสรภาพเมื่อายุ 30 ปี
2 กรรม เขาจะติดคุก 10 ปี ได้รับอิสรภาพเมื่อายุ 35 ปี
3 กรรม เขาจะติดคุก 15 ปี ได้รับอิสรภาพเมื่อายุ 40 ปี
ฯลฯ

กลับมาดูอีกด้านของการรัฐประหาร เรากลับต้องไปเอาคนอายุ 78 ปี อย่างนายมีชัย ฤชุพันธ์ และพวกมาร่างรัฐธรรมนูญทดแทนบุญคุณแผ่นดิน
ดู
‘มีชัย ฤชุพันธ์’ ร่างรัฐธรรมนูญทดแทนบุญคุณแผ่นดิน
http://www.ilaw.or.th/node/3877

สำหรับประเทศที่เอาคนหนุ่มสาวเข้าคุก แล้วเอาคนแก่มาเขียนรัฐธรรมนูญ

เราก็น่าจะเอ่านอนาคตของสังคมนั้นไม่ยากว่าจะออกมาเช่นไร