@WassanaNanuam ทวี้ตข่าว ทำเอาตื่นเต้น ‘ครบสองปี คสช.’ ผลงานเจ๋งกว่าที่ วันชัย (สอนศิริ) คุยไว้เสียอีก
“บิ๊กป้อม เผย EU ประเมินแล้ว ไม่ให้ใบแดงแก้ปัญหาประมง IUU Fishing ไทย แต่ให้คงสถานะเดิม อีก ๖เดือนจะประเมินใหม่เราต้องแก้ไขกันเต็มที่ หวังใบเขียว”
นั่นเป็นคำพูดของทั่นรองฯ ฝ่ายกลาโหม พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ทะลุกลางป้องวงสัมมนา ‘ขับเคลื่อน-ปฏิรูป’ ประเทศ ที่ศูนย์ราชการอันมีแม่ทัพนายกองทั้งสามเหล่าไปพร้อมหน้ากันเพียบ
แต่ขอโทษที IUU Fishing นี่มัน ‘Illegal, Unreported and Unregulated fishing’ อันเป็นการจับปลาทะเลที่ขัดต่อหลักการระหว่างประเทศเพื่อการรักษาพันธุ์สัตว์น้ำ และหลักบริหารจัดการการจับปลาในน่านน้ำแห่งชาติและสากล
เมื่อต้นเดือนพฤษภาคมนี้มีข่าวว่าไทยถูก ‘ใบแดง’ และห่วงใยกันว่าฐานะเป็นผู้ละเมิด หรือถูกตราหน้าว่าเป็นประเทศที่ทำผิดกฎหมายการประมงสากล จะทำให้ชาติสมาชิกประชาคมยุโรปพากันงดซื้อปลาที่จับโดยอุตสาหกรรมประมงไทย มูลค่า ๓ พันล้านดอลลาร์ไปเสีย
การคงสถานะเดิมคือกลับไปถือ ‘ใบเหลือง’ รอคำตัดสินชี้ตายในอีก ๖ เดือน ไม่ได้เป็นที่น่าพอใจสำหรับอุตสาหกรรมประมงแต่อย่างใด ตราบเท่าที่ยังมีประเด็นสิทธิมนุษยชนติดอยู่อย่างเหนียวแน่น
สหภาพยุโรปได้ขอยุติการเจรจาทวิภาคีทางการค้าเสรีระหว่างไทยกับเบลเยี่ยมเนื่องจากสถานะใบเหลืองเรื่องละเมิดระเบียบการจับปลา ทั้งด้านปริมาณปลาและแรงงานประมงไปแล้ว
คณะผู้แทนรัฐสภาอียูนำโดย ดร. เวอร์เนอร์ แลงเก็น เพิ่งเสร็จการเยือนประเทศไทยเพื่อสอบถามข้อมูลด้านสิทธิมนุษยชนจากภาคส่วนต่างๆ ทางการเมือง รวมทั้งพรรคเพื่อไทย พรรคประชาธิปัตย์ สนช. และ สปท.
ถ้อยแถลงของนายแลงเก็นก่อนกลับไม่ใช่ภาพพจน์ที่พล.อ.ประวิตรจะเก็บไปคุยให้แม่ทัพพนายกอง หัวหมู่และลิ่วล้อ.ให้พากันเป็นปลื้มยิ้มรื่นอย่าง ผบ.ทบ.ได้
ถ้อยแถลงหลังการเยือนดังกล่าวชี้ชัดแจ้งในคำเตือนว่า “อนาคตความสัมพันธ์ไทย-อียู ขึ้นอยู่กับการมีเลือกตั้งที่ ‘free and fair’ เกิดขึ้น” และ
“การกลับคืนสู่โครงสร้างประชาธิปไตย พร้อมทั้งมีเลือกตั้งอย่างเสรีและเที่ยงตรง สำคัญอย่างยิ่งต่อการสร้างสัมพันธภาพยั่งยืนต่อกัน”
(http://www.eurasiareview.com/22052016-eu-warns-thailand-fr…/)
ทว่าน่าเสียดายที่ข้อสรุปของคณะผู้แทนอียูฯ ๘ คน ในการเยือนสามวัน ดูเหมือนจะมีความ “ไม่แน่ใจ” อยู่มากจากการประชามติที่จะมีขึ้นในอีกสองเดือนข้างหน้า และภาพลักษณ์ระยะยาวของระบอบประชาธิปไตย
“ข้าพเจ้าเชื่อว่าร่างรัฐธรรมนูญที่จะเข้าสู่การออกเสียงประชามติ เต็มไปด้วยบทบัญญัติที่จะกีดกันพรรคการเมืองในทางประชาธิปไตยออกไปเป็นเวลานานทีเดียว” นายแลงเก็นกล่าวตอนหนึ่ง
ดังนั้นคณะผู้แทนสหภาพยุโรปจึงได้ยื่นคำร้องอย่างเป็นทางการขอเข้ามาสังเกตุการณ์การทำประชามติต่อร่างรัฐธรรมนูญในเดือนสิงหาคมนี้ ซึ่งยังไม่ปรากฏท่าทีใดๆ ออกมาจาก คสช. ในข้อเสนอนี้
แม้นว่าจะมีกระบอกเสียงของ คสช. ออกมาแก้ต่างเรื่องการประชุมทบทวนสภาวะสิทธิมนุษยชนในประเทสไทยที่นครเจนีวา ซึ่งมีประเทศสมาชิกสหประชาชาติจำนวนมากตั้งคำถามและข้อกังขาต่อพฤติกรรมละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อประชาชนโดยคณะทหารไทยกันมาก ว่าไทยยอมรับคำแนะนำจากที่ประชุมถึง ๑๘๑ ข้อ
แต่ทว่าการยอมรับคำแนะนำเกี่ยวกับสิทธิต่างๆ “มิได้แสดงถึงการถือปฏิบัติโดยรัฐ” รายงานสื่อสาร ‘ยูเรเซียรีวิว’ อ้างคำพูดของ จอน อึ๊งภากรณ์ จาก ‘ไอลอว์’ ที่วิจารณ์การตอบโจทย์ UPR โดย คสช. ว่าเป็นการกวาดขี้ผงเข้าใต้พรม
ในการที่จะจัดการตามที่สหประชาชาติแนะนำนี้ “ คณะทหารฮุนต้าเพียงแต่คืนสิทธิมหาชนและสิทธิทางการเมืองที่ยึดเอาไปในการรัฐประหาร ๒๕๕๗ เท่านั้นใช้ได้” จอน กล่าว
ไม่เพียงเท่านั้น ‘รีวิว’ ยังอ้างคำของ ดร.จตุรงค์ บุณยรัตนสุนทร แห่งมหาวิทยาลัยหัวเฉียว อีกด้วยว่า “ช่องว่างระหว่างคำอ้างของรัฐบาล (ทหาร) กับการกระทำจริงนั้น มันห่างกว้างไกลกันเหลือเกิน”