https://www.youtube.com/watch?v=SM9nwEMfTgg
เพราะพวกท่านกลัวแพ้ประชามติ! จตุพรสับเละกฎหมายประชามติ ครู ก ข ค ฝ่ายรัฐจะทำผิดกฎหมายเสียเอง
bamboo network
Published on May 19, 2016
ooo
เกาะติดการชี้แจงร่างรัฐธรรมนูญต่อพรรคการเมือง จตุพร ปลอดประสพ อภิสิทธิ์ สโมสรทหารบก 19พค2559
https://www.youtube.com/watch?v=CfyrkEzHxoo
bamboo network
Streamed live 6 hours ago
ooo
ประชุมชี้แจงพรรคการเมือง "ร่างรธน. ประชามติ และประชาชน (ช่วงถาม-ตอบ)
ooo
กกต.จัดชี้แจงกระบวนการ"ประชามติ"ต่อพรรคการเมืองกกต.จัดเวทีชี้แจงประชามติต่อพรรคการเมือง “สนช.-กรธ.-ครม.”ส่งตัวแทนร่วมเวที "วิษณุ"แจงบทบาทรัฐบาล"3 ร."
วันพฤหัสที่ 19 พฤษภาคม 2559
ที่มา เดลินิวส์ออนไลน์
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 19 พ.ค. เวลา 14.00 น. ที่สโมสรทหารบก ถนนวิภาวดีรังสิต สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้จัดการประชุมชี้แจงเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญและกระบวนการประชามติ โดยเป็นการเปิดเวทีให้พรรคการเมืองแสดงความเห็นเกี่ยวกับการจัดทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญ อาทิ พรรคเพื่อไทยที่นำโดยนายปลอดประสพสุรัสวดี รองหัวหน้าพรรค พรรคประชาธิปัตย์ที่นำโดยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะหัวหน้าพรรค และตัวแทนพรรคการเมืองอื่นๆ รวม 63 พรรค รวมทั้งแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.) ที่มีนายจตุพร พรหมพันธุ์ นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ, และนางธิดา ถาวรเศรษฐ แกนนำนปช. เข้าร่วม แต่ไม่มีตัวแทนของคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข(กปปส.) เข้าร่วม ส่วนผู้แทนคณะรัฐมนตรี(ครม.) มีนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี นายปรเมธี วิมลศิริ เลขาธิการคณะกรรมการการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ขณะที่คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ(กรธ.) มีนายอุดม รัฐอมฤต และนายประพันธ์ นัยโกวิท เป็นตัวแทน สภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) มีตัวแทนคือนายกล้านรงค์ จันทิก และนายสมชาย แสวงการ ส่วนสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) มีนายคำนูณ สิทธิสมาน และนายเสรี สุวรรณภานนท์ เป็นตัวแทน โดยในการประชุมจะให้เวลาแต่ละฝ่ายแสดงความคิดเห็นฝ่ายละ 10-15 นาที โดยในการประชุมครั้งนี้ไม่อนุญาตให้สื่อมวลชนนำเครื่องมือสื่อสารเข้าไปภายในห้องประชุม
โดยนายศุภชัย สมเจริญ ประธาน กกต. กล่าวเปิดการประชุมตอนหนึ่ง ว่า การออกเสียงประชามติจะเป็นไปด้วยความสุจริตเที่ยงธรรมและมีประสิทธิภาพหรือไม่นั้น เกิดจากการจัดการออกเสียงเพียงและการตัดสินใจออกเสียงของประชาชนอย่างอิสระ สิ่งสำคัญคือการให้ข้อมูลที่ถูกต้องต่อประชาชนเพื่อประกอบการตัดสินใจที่สามารถสะท้อนเจตนารมณ์ต่อร่างรัฐธรรมนูญได้ อย่างไรก็ตาม กกต.มุ่งมั่นในการควบคุมให้การออกเสียงประชามติเป็นไปอย่างบริสุทธิ์และเที่ยงธรรม โดยขอให้ประชาชนศึกษาเนื้อหาร่างรัฐธรรมนูญให้ครบถ้วนเพื่อประกอบการตัดสินใจออกเสียงประชามติ และขอให้พรรคการเมืองนำสิ่งที่ได้จากการประชุมวันนี้(19 พ.ค.) ไปขยายผลให้ครบถ้วน ขณะที่นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต.ด้านบริหารกิจการการเลือกตั้ง กล่าวว่า ตนเชื่อว่าพรรคการเมืองและกลุ่มการเมืองจะนำไปทำความเข้าใจกับคนที่เกี่ยวข้องต่อไป อาทิ สมาชิกพรรค สมาชิกในองค์กรต่างๆ ซึ่งเชื่อว่าจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่จะทำให้ทุกฝ่ายได้รู้และเข้าใจตรงกัน แต่ไม่ได้เป็นเงื่อนไขว่าถ้ารู้แล้วต่อไปจะทำผิดไม่ได้ เพราะไม่มีใครอยากทำผิดกฎหมายอยู่แล้ว
จากนั้น นายอุดม รัฐอมฤต ตัวแทนกรธ. กล่าวว่า ภาพรวมในร่างนี้ไม่แตกต่างจากรัฐธรรมนูญฉบับก่อนๆ ในเชิงปฎิบัติการ อาทิ หมวดสิทธิเสรีภาพซึ่งเราไม่มีสิทธิไปเปลี่ยนแปลง จึงจะเหมือนร่างที่ผ่ามมา เพราะการไปจำกัดสิทธิประชาชนนั้นทำไม่ได้ ซึ่งการเลือกตั้งใช้บัตรเดียว มุ่งเน้นให้พรรคการเมืองส่งระบบสัดส่วนด้วย ทุกคนที่สมัครส.ส.ต้องสังกัดพรรคการเมือง เลือกทั้งคนทั้งพรรค กรธ.มองว่าหลักการไม่สอดคล้อง เลือกเสียงแตกต่างคะแนนเสียงตกน้ำ เราจะเน้นทุกคะแนนเสียงให้มีความหมาย รวมทั้งส.ว.เลือกจากประชาชนทุกภาคส่วนที่สนใจการเมือง เพื่อให้เป็นสภาที่มีมุมมองของภาคพลเรือน ไม่ใช่สภาพี่เลี้ยง ที่มาของส.ว.จะทำให้ภาคส่วนต่างๆมีประสบการณ์เลือกกันเอง รวมทั้งเนื้อหาร่างนี้ให้ความสำคัญตรวจสอบนักการเมือง มีการกำหนดคุณสมบัติเข้มข้น
ด้านนายคำนูณ สิทธิสมาน ผู้แทนสปท. กล่าวว่าสปท.มีหน้าที่เสนอความเห็นให้สนช. ตัดสินใจประเด็นคำถามพ่วงประชามติรัฐธรรมนูญ หลังจากที่ได้เห็นร่างรัฐธรรมนูญแล้ว ซึ่งคำถามพ่วงจะมีผลถ้าร่างผ่าน ถ้าไม่ผ่านตกไปทั้งหมด ซึ่ง มาตราสำคัญที่ให้ วุฒิสภามีที่มาแตกต่างจากร่างถาวร คือมีอำนาจหน้าที่ติดตามเสนอแนะเร่งรัดการปฎิรูปประเทศ ให้สอดคล้องกับการดำเนินการตามแผนยุทธศาตร์ชาติ ที่กำหนดให้ครม.ต้องชี้แจงต่อรัฐสภาทุก3 เดือนถึงการบริหารตามแผนยุทธศาสตร์ชาติใน ช่วง5 ปีแรก เพราะหัวใจของรัฐธรรมนูญนี้ให้ความสำคัญการปฏิรูปประเทศมาก และควรให้ส.ว.เห็นชอบนายกรัฐมนตรีด้วย เพราะนายกฯเป็นผู้ขับเคลื่อนยุทธ์ศาสตร์ชาติ ซึ่งส.ว.ไม่สามารถเสนอชื่อคนอื่นนอกเหนือจากพรรคการเมืองเสนอมาได้ นอกจากในที่ประชุมสองสภาไม่สามารถเลือกรายชื่อจากสามบัญชีไม่ได้ จึงต้องใช้มาตร 272 เลือกนายกรัฐมนตรีจากคนนอก
ขณะที่นายวิษณุ กล่าวว่า ประเทศไทยไม่คุ้นการออกเสียงประชามติ ซึ่งขณะนี้ถึงเวลาที่จะออกเสียงประชามติครั้งที่ 2 ถ้าผ่าน เราคงจะชิน เพราะมีปัญหาหลายอย่างในอนาคตที่จะเกิดขึ้นซึ่งต้องมีการทำประชามติ เช่น การแก้ไขรัฐธรรมนูญในหมวดสำคัญ เป็นต้น เพราะหากทำประชามติให้ชินทุกคนจะเข้าใจกัน มีระเบียบเข้าระเบียบเข้ารูปเข้าลอย ไม่สิ้นเปลืองงบประมาณ ทั้งนี้ในวันที่ 7 ส.ค. บทบาทของรัฐบาล คือ "3 ร." คือ 1.รักษาความสงบเรียบร้อยเพื่อเดินไปสู่การออกเสียงประชามติ เมื่อใดก็ตามการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนจะมีความเห็นที่หลากหลาย ซึ่งจะสร้างความขัดแย้ง เป็นหน้าที่ของรัฐบาล ที่ต้องใช้ความแตกต่างให้ประโยชน์อย่างสร้างสรรค์ เพื่อทางคลี่คลาย ไม่ให้ความขัดแย้ง แตกแยก ร้าวฉาน ย้อนกลับมา เพราะมีเชื้ออยู่ก่อนแล้วและอย่าให้เรื่องการออกเสียงประชามติเป็นเหตุสำคัญ 2.ร่วมมือกับกกต. ในเรื่องของงบประมาณ ประชาสัมพันธ์ และการรณรงค์ต่างๆ 3.โรดแม็พของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่เราต้องเดินไปนั้น ซึ่งส่วนที่เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ คือการทำประชามติ