http://www.matichon.co.th/news/135203
ค้านเลิกจ่ายเบี้ยคนชรา แนะดึงงบ ทท. 1% มาดูแล หวั่นกลุ่มแรงงานไร้หลักประกันยามแก่
เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม นายพลภูมิ วิภัติภูมิประเทศ อดีตส.ส.กทม.พรรคเพื่อไทย(พท.) กล่าวถึงกรณีที่กระทรวงการคลังเตรียมทบทวนนโยบายการจ่ายสวัสดิการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุคนละ 600 บาทต่อเดือนใหม่ โดยจะยกเลิกจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุที่มีรายได้เกินเดือนละ 9,000 บาท หรือมีสินทรัพย์สูงเกิน 3 ล้านบาท และเลือกจ่ายให้เฉพาะผู้สูงวัยที่มีรายได้ต่ำ โดยระบุว่า ไม่เห็นด้วยกับแนวทางดังกล่าว เพราะผู้สูงอายุในปัจจุบัน คือบุคคลที่เคยทำงาน เป็นผู้ใช้แรงงาน ที่ทำงานหนัก จ่ายค่าประกันสังคมและเสียภาษีให้กับประเทศนี้ ที่สำคัญยังเป็นผู้ที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ สร้างรากฐานให้ประเทศในอดีต
แต่วันนี้บุคคลที่ถูกเรียกว่า ผู้สูงอายุ กลับถูกมองเป็นภาระสังคม จากการที่กระทรวงการคลังเตรียมทบทวนนโยบายการจ่ายสวัสดิการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุใหม่ เพียงเพราะรัฐบาลนี้ต้องการประหยัดงบประมาณแค่ปีละ 10,000 ล้านบาท ทั้งที่เมื่อเทียบกับงบประมาณรายจ่ายปี 2559 ซึ่งคณะรัฐมนตรี เสนอต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) วงเงิน 2.7 ล้านล้านบาท ถือเป็นเพียงแค่ส่วนเล็กๆ ของงบประมาณเท่านั้น ดังนั้นรัฐบาลควรหารายได้เพิ่มเติมหรือลดรายจ่ายในเรื่องไม่จำเป็นมากกว่า
“รายได้ที่มาจากการท่องเที่ยวในปี 2559 มีจำนวนกว่า 2.23 ล้านล้านบาท หากมีการส่งเสริมการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับการท่องเที่ยว ตลอดจนส่งเสริมบรรยากาศให้ประเทศมีความเป็นมิตร รายได้จากการท่องเที่ยวเพียง 1% ก็เพียงพอต่อการดูแลผู้สูงอายุ ที่จะเพิ่มสูงขึ้นในอนาคต
“รายได้ที่มาจากการท่องเที่ยวในปี 2559 มีจำนวนกว่า 2.23 ล้านล้านบาท หากมีการส่งเสริมการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับการท่องเที่ยว ตลอดจนส่งเสริมบรรยากาศให้ประเทศมีความเป็นมิตร รายได้จากการท่องเที่ยวเพียง 1% ก็เพียงพอต่อการดูแลผู้สูงอายุ ที่จะเพิ่มสูงขึ้นในอนาคต
แต่หากรัฐบาลยังดึงดันที่จะปรับเปลี่ยนนโยบายดังกล่าว คนที่ทำงานเสียภาษีในปัจุบันนี้ ก็คงไม่มีอะไรรับประกันได้ว่า ในอนาคตเมื่อเขากลายเป็นผู้สูงอายุ รัฐบาลดูแลพวกเขา” นายพลภูมิ กล่าวและว่า ความไม่แน่นอนมีอยู่จริงในประเทศนี้ ทั้งที่ผ่านมาสามารถจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุได้โดยไม่มีปัญหาอะไร หรือเป็นเพราะว่าขณะนี้รายได้ของประเทศไม่พอกับรายจ่าย พูดง่ายๆ คือกำลังเข้าสู่ภาวะ ไม่มีจะกินนั่นเอง
ที่มา: มติชน, 14/5/2559 http://www.matichon.co.th/news/135772
วิธีคิดเรื่องผู้สูงอายุของพวกกุมและกำกับงบประมาณของรัฐไทย นี้น่าเป็นห่วงมาก
เพราะในขณะหนึ่ง ผู้กุมชะตากรรมของประเทศไทย ก็คือผู้สูงอายุเกิน 60, 70 และ 90 กว่าปี กันทั้งนั้น ที่อยู่กินกันอย่างหรูหราฟุ่มเฟื่อย อยู่บ้านหลวงฟรี น้ำไฟไม่ต้องจ่าย แล้วยังมีข้าทาสบริวารไว้คอยรับใช้กันอย่างมากมายมหาศาล
แต่คนสูงอายุกลุ่มนี้ กับไม่เคยให้คุณค่ากับคนสูงอายุคนอื่นๆ กว่าสิบล้านคนในประเทศไทย พอยึดอำนาจได้มา ก็พูดแต่เรื่องจะตัดเงินบำเหน็ดบำนาญคนสูงอายุมาโดยตลอด
ผมคิดว่า คนสูงอายุเหล่านั้น (ที่ไม่ใช่เหล่าพวกยึดอำนาจไม่ยอมปล่อย) คือ กลุ่มคนที่ทำคุณประโยชน์ให้กับประเทศไทยมายาวนาน อย่างน้อยก็ทำงานใช้แรงโดยไม่ปริปากบ่นให้ผู้กุมอำนาจทางการเมือง (ที่มาจากนายทหารมากกว่านักการเมืองเสียอีก) ได้จัดสรรงบประมาณกันตามอำเภอใจกันมาตลอด 60 - 70 ปี
เมื่อพวกเขาแก่ตัวและเรี่ยวแรงหายไป พวกเขาก็ยังถูกบีบให้ไปเก็บขวดน้ำ เก็บผักเก็บหญ้า หรือของเก่า เอามาขายขายของเก่ามาเลี้ยงชีวิต โดยไร้การเหลียวแล และยังต้องทำตัวกราบใหญ่คนสูงอายุ(เช่นกัน) ที่ไม่น่ากราบกันอีกด้วย
ประเทศไทยต้องปรับวิถีคิดเรื่องสวัสดิการผู้สูงอายุ ให้ได้ใช้ชีวิตในบันปลายได้อย่างไม่ขัดสน และต้องมีการจัดโครงสร้างสวัสดิการหลากหลายรูปแบบและที่เป็นธรรม โดยเฉพาะต่อคนที่ไม่รายได้อะไรเลย
งบประมาณแผ่นดินประเทศไทยตอนนี้คือ สามล้านล้านบาท ถ้าคิดเป็นสัดส่วนเปอร์เซ็นต์การจัดสรรตามกลุ่มอายุคน คนสูงอายุถือเป็นกลุ่มคนประมาณ 15% ของประเทศ พวกเขาควรมีส่วนที่จะได้รับประโยชน์จากงบประมาณแผ่นดินถึง 10% ด้วยซ้ำไปครับ
เงิน 6-7 หมื่นล้านบาทที่อ้างว่าจ่ายให้กับผู้สูงอายุตอนนี้ เมื่อคิดเป็นเปอร์เซนต์เทียบกับเงินสามล้านล้านบาทแล้ว ก็เพียง 2.3 % เท่านั้นเองครับ ยังถือว่าน้อยนิดมากจริงๆ เมื่อเทียบกับจำนวนกลุ่มประชาชน
รัฐบาลที่เป็นรัฐบาลของประชาชน จะต้องคิดเรื่องการจัดสรรงบประมาณให้สอดคล้องกับความจำเป็น และจะต้องคิดหาทางหารายได้มาใช้จ่ายเพื่อการจัดสรรสวัสดิการให้กับประชาชน
แต่รัฐบาลคนเฒ่าที่ยึดทำรัฐประหาร คิดเพียงแต่จะใช้เงินจากภาษีเลี้ยงดูพวกตัวเองให้อิ่มหมีพลีมัน และใช้ซื้ออาวุธมาใช้จี้ปิดปากประชาชนกันได้อย่างไรเท่านั้นเองครับ!
Junya Yimprasert
ที่มา: มติชน, 14/5/2559 http://www.matichon.co.th/news/135772
ooo
วิธีคิดเรื่องผู้สูงอายุของพวกกุมและกำกับงบประมาณของรัฐไทย นี้น่าเป็นห่วงมาก
เพราะในขณะหนึ่ง ผู้กุมชะตากรรมของประเทศไทย ก็คือผู้สูงอายุเกิน 60, 70 และ 90 กว่าปี กันทั้งนั้น ที่อยู่กินกันอย่างหรูหราฟุ่มเฟื่อย อยู่บ้านหลวงฟรี น้ำไฟไม่ต้องจ่าย แล้วยังมีข้าทาสบริวารไว้คอยรับใช้กันอย่างมากมายมหาศาล
แต่คนสูงอายุกลุ่มนี้ กับไม่เคยให้คุณค่ากับคนสูงอายุคนอื่นๆ กว่าสิบล้านคนในประเทศไทย พอยึดอำนาจได้มา ก็พูดแต่เรื่องจะตัดเงินบำเหน็ดบำนาญคนสูงอายุมาโดยตลอด
ผมคิดว่า คนสูงอายุเหล่านั้น (ที่ไม่ใช่เหล่าพวกยึดอำนาจไม่ยอมปล่อย) คือ กลุ่มคนที่ทำคุณประโยชน์ให้กับประเทศไทยมายาวนาน อย่างน้อยก็ทำงานใช้แรงโดยไม่ปริปากบ่นให้ผู้กุมอำนาจทางการเมือง (ที่มาจากนายทหารมากกว่านักการเมืองเสียอีก) ได้จัดสรรงบประมาณกันตามอำเภอใจกันมาตลอด 60 - 70 ปี
เมื่อพวกเขาแก่ตัวและเรี่ยวแรงหายไป พวกเขาก็ยังถูกบีบให้ไปเก็บขวดน้ำ เก็บผักเก็บหญ้า หรือของเก่า เอามาขายขายของเก่ามาเลี้ยงชีวิต โดยไร้การเหลียวแล และยังต้องทำตัวกราบใหญ่คนสูงอายุ(เช่นกัน) ที่ไม่น่ากราบกันอีกด้วย
ประเทศไทยต้องปรับวิถีคิดเรื่องสวัสดิการผู้สูงอายุ ให้ได้ใช้ชีวิตในบันปลายได้อย่างไม่ขัดสน และต้องมีการจัดโครงสร้างสวัสดิการหลากหลายรูปแบบและที่เป็นธรรม โดยเฉพาะต่อคนที่ไม่รายได้อะไรเลย
งบประมาณแผ่นดินประเทศไทยตอนนี้คือ สามล้านล้านบาท ถ้าคิดเป็นสัดส่วนเปอร์เซ็นต์การจัดสรรตามกลุ่มอายุคน คนสูงอายุถือเป็นกลุ่มคนประมาณ 15% ของประเทศ พวกเขาควรมีส่วนที่จะได้รับประโยชน์จากงบประมาณแผ่นดินถึง 10% ด้วยซ้ำไปครับ
เงิน 6-7 หมื่นล้านบาทที่อ้างว่าจ่ายให้กับผู้สูงอายุตอนนี้ เมื่อคิดเป็นเปอร์เซนต์เทียบกับเงินสามล้านล้านบาทแล้ว ก็เพียง 2.3 % เท่านั้นเองครับ ยังถือว่าน้อยนิดมากจริงๆ เมื่อเทียบกับจำนวนกลุ่มประชาชน
รัฐบาลที่เป็นรัฐบาลของประชาชน จะต้องคิดเรื่องการจัดสรรงบประมาณให้สอดคล้องกับความจำเป็น และจะต้องคิดหาทางหารายได้มาใช้จ่ายเพื่อการจัดสรรสวัสดิการให้กับประชาชน
แต่รัฐบาลคนเฒ่าที่ยึดทำรัฐประหาร คิดเพียงแต่จะใช้เงินจากภาษีเลี้ยงดูพวกตัวเองให้อิ่มหมีพลีมัน และใช้ซื้ออาวุธมาใช้จี้ปิดปากประชาชนกันได้อย่างไรเท่านั้นเองครับ!
Junya Yimprasert
ooo
สวิสเซอร์แลนด์กำลังจะจัดลงประชามติกฎหมาย ให้พลเมืองทุกคนมีสิทธิได้รับรายได้ขั้นพื้นฐาน (basic income) ผู้ใหญ่และเด็กทุกคนมีสิทธิได้รับเงินคนละ 90,000 บาท และ 23,000 บาท
ตามหลักการ universal basic income (UBI) นี้ พลเมืองทุกคนมีสิทธิขอรับเงินจำนวนนี้ได้ ไม่จำเป็นต้องตกงาน ไม่ต้องมีหลักฐานว่าเป็นคนยากจน แม่บ้านที่ต้องการอยู่บ้านเฉย ๆ หรือทำงานพาร์ทไทม์ก็ขอรับเงินจำนวนนี้ได้ เป็น “สิทธิ” ของประชาชนทุกคน
ในเวลาเดียวกัน คนไทยกำลังลงประชามติร่างรธน.ที่กำหนดให้มีหลักประกันสุขภาพเฉพาะคนยากไร้ ตัดสิทธิของคนพิการที่เข้าถึงการอำนวยความสะดวกอย่างเท่าเทียม ล่าสุดยังจะตัดเบี้ยยังชีพของผู้สูงวัย รัฐบาลนี้อยู่ได้เพราะมีปืนเท่านั้นเอง
Pipob Udomittipong