

.....

Vinai Dithajohn
13 hours ago
·
ผมถ่ายภาพนี้ระหว่างการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (เสื้อเหลือง) นำโดยสนธิ ลิ้มทองกุล พลตรี จำลอง ศรีเมือง และแกนนำคนอื่น ๆ ซึ่งเคลื่อนไหวต่อเนื่องจนเกิดรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ภาพนี้สะท้อนพลังของมวลชนกลุ่มสันติอโศก ผู้ร่วมขบวนภายใต้ธงชาติไทย ด้วยศรัทธาในอุดมการณ์ของตน พวกเขามักไม่สวมรองเท้า แต่ในการชุมนุมเมื่อวานนี้ ส่วนใหญ่กลับสวมรองเท้ากันเกือบทุกคน
ผมสังเกตว่ากลุ่มเสื้อเหลืองไม่ค่อยใช้พื้นที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยเป็นสัญลักษณ์หลักในการชุมนุม มักใช้เพียงเป็นจุดตั้งขบวน มีเพียงช่วงสั้น ๆ ที่ม็อบ กปปส. ของสุเทพ เทือกสุบรรณ เคยใช้พื้นที่นี้
แนวคิดของกลุ่มเสื้อเหลืองโน้มเอียงไปทาง "ประชาธิปไตยที่มีคุณภาพ" หรือ "ประชาธิปไตยแบบไทย ๆ" ที่เปิดทางให้กลไกนอกระบบ เช่น องคมนตรี กองทัพ หรือศาล เข้ามาคานอำนาจ พวกเขายึดถือแนวคิดชาตินิยม–สถาบันนิยม มากกว่าประชาธิปไตยเสรีนิยมแบบตะวันตก จึงไม่ได้ยึดโยงอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยในฐานะสัญลักษณ์ของประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยโดยแท้
©Vinai Dithajohn
https://www.facebook.com/photo?fbid=24339433682331427&set=a.108294752538658
.....
https://www.facebook.com/vinai.dithajohn/posts/24342016172073178?ref=embed_post
WAY
May 18, 2023
·
เมล็ดพันธุ์ของความขัดแย้งในสังคมไทยร่วมสมัยที่หยั่งรากลึก ถือกำเนิดด้วยการหว่านโปรยจากเงื่อนไขและปัจจัยที่นำไปสู่การรัฐประหารในปี 2549 ซึ่งส่งผลอย่างเข้มข้นมาจนถึงปัจจุบัน
นับตั้งแต่วันนั้นรอยร้าวก็ค่อยๆ ปริแตก ก่อเกิดการชุมนุมของประชาชนผ่านแกนนำหลายกลุ่ม สลับผลัดเปลี่ยนกันออกมาบนท้องถนนเพื่อแสดงความคิดความเชื่อที่มี หากสิ่งที่เกิดขึ้นหลายครั้งกลับนำไปสู่ความรุนแรง มีคนตาย มีผู้บาดเจ็บ มีความไม่ชอบธรรม มีผู้ถูกทำร้ายร่างกาย ถูกทำลายสิทธิเสรีภาพ จนกระทั่งเกิดการรัฐประหารอีกครั้งในปี 2557
วินัย ดิษฐจร อดีตช่างภาพสำนักข่าว EPA หนังสือพิมพ์ Bangkok post และอดีตกระเป๋ารถเมล์ เฝ้าติดตามการเมืองไทยมานานกว่า 2 ทศวรรษ ผู้บันทึกประวัติศาสตร์การชุมนุมตลอด 17 ปี หลากหลายใบหน้าและดวงตาถูกเก็บบันทึกไว้ในภาพถ่ายของเขา ไม่ว่าจะเป็นการชุมนุมของคนเสื้อเหลือง คนเสื้อแดง มาจนถึงกลุ่มเยาวชนและคนหนุ่มสาวในนามกลุ่มราษฎรยุคปัจจุบัน
“บางสถานการณ์ก็นำพาไป และเราพอจะรับรู้ได้ว่าเขาไม่ได้ต่อต้านเรา มันเหมือนการเต้นรำ สมมุติเขาเปิดโอกาสให้เราเต้นรำ ก็เหมือนเราได้ร่วมวงไปกับเขา แต่ถามว่าเจอการต่อต้านบ้างไหม ในชีวิตการทำงาน มี แต่การรับมือของเราคือจะไม่เป็นคู่ขัดแย้งกับเขา”
นิทรรศการภาพถ่าย ‘RED, YELLOW & BEYOND’ โดย วินัย ดิษฐจร ฉายให้เห็นใบหน้าและดวงตาของผู้คนในช่วง 17 ปีที่ผ่านมา ในฐานะบันทึกประวัติศาสตร์การเมืองภาคประชาชน
--
อ่านฉบับเต็มได้ที่:
https://waymagazine.org/vinai-dithajohn-red-yellow-and.../
text & photo : จรณ์ ยวนเจริญ
May 18, 2023
·
เมล็ดพันธุ์ของความขัดแย้งในสังคมไทยร่วมสมัยที่หยั่งรากลึก ถือกำเนิดด้วยการหว่านโปรยจากเงื่อนไขและปัจจัยที่นำไปสู่การรัฐประหารในปี 2549 ซึ่งส่งผลอย่างเข้มข้นมาจนถึงปัจจุบัน
นับตั้งแต่วันนั้นรอยร้าวก็ค่อยๆ ปริแตก ก่อเกิดการชุมนุมของประชาชนผ่านแกนนำหลายกลุ่ม สลับผลัดเปลี่ยนกันออกมาบนท้องถนนเพื่อแสดงความคิดความเชื่อที่มี หากสิ่งที่เกิดขึ้นหลายครั้งกลับนำไปสู่ความรุนแรง มีคนตาย มีผู้บาดเจ็บ มีความไม่ชอบธรรม มีผู้ถูกทำร้ายร่างกาย ถูกทำลายสิทธิเสรีภาพ จนกระทั่งเกิดการรัฐประหารอีกครั้งในปี 2557
วินัย ดิษฐจร อดีตช่างภาพสำนักข่าว EPA หนังสือพิมพ์ Bangkok post และอดีตกระเป๋ารถเมล์ เฝ้าติดตามการเมืองไทยมานานกว่า 2 ทศวรรษ ผู้บันทึกประวัติศาสตร์การชุมนุมตลอด 17 ปี หลากหลายใบหน้าและดวงตาถูกเก็บบันทึกไว้ในภาพถ่ายของเขา ไม่ว่าจะเป็นการชุมนุมของคนเสื้อเหลือง คนเสื้อแดง มาจนถึงกลุ่มเยาวชนและคนหนุ่มสาวในนามกลุ่มราษฎรยุคปัจจุบัน
“บางสถานการณ์ก็นำพาไป และเราพอจะรับรู้ได้ว่าเขาไม่ได้ต่อต้านเรา มันเหมือนการเต้นรำ สมมุติเขาเปิดโอกาสให้เราเต้นรำ ก็เหมือนเราได้ร่วมวงไปกับเขา แต่ถามว่าเจอการต่อต้านบ้างไหม ในชีวิตการทำงาน มี แต่การรับมือของเราคือจะไม่เป็นคู่ขัดแย้งกับเขา”
นิทรรศการภาพถ่าย ‘RED, YELLOW & BEYOND’ โดย วินัย ดิษฐจร ฉายให้เห็นใบหน้าและดวงตาของผู้คนในช่วง 17 ปีที่ผ่านมา ในฐานะบันทึกประวัติศาสตร์การเมืองภาคประชาชน
--
อ่านฉบับเต็มได้ที่:
https://waymagazine.org/vinai-dithajohn-red-yellow-and.../
text & photo : จรณ์ ยวนเจริญ