วันเสาร์, เมษายน 19, 2568

สุภลักษณ์ กาญจนขุนดี ชวนมองกองทัพไทยผ่านแนวคิด 'patrimonialism' หรือรัฐแบบอุปถัมภ์ ซึ่งช่วยอธิบายการดำรงอยู่ของกองทัพไทยในฐานะกองทัพแบบอุปถัมภ์หรือกองทัพราชสมบัติ


The101.world
18 hours ago
·
“ในโครงสร้างรัฐที่ผู้ปกครองถืออำนาจเสมือนเป็นสมบัติส่วนตัวเช่นนี้ กองทัพจึงถูกใช้เป็นกลไกสำคัญในการรักษาโครงสร้างดังกล่าว กองทัพไทยดำรงอยู่ภายใต้ระบบที่เอื้อให้ทหารระดับสูงสามารถใช้สถานะของตนเพื่อรักษาอำนาจของชนชั้นนำแทนที่จะทำหน้าที่รับใช้ประชาชนและรัฐตามหลักสากล”
.
“กองทัพไทยในบริบทนี้ไม่ได้ทำหน้าที่ปกป้องประชาธิปไตยหรือสนับสนุนรัฐบาลพลเรือนที่มาจากการเลือกตั้ง แต่กลับเป็นผู้กำหนดทิศทางของรัฐไทย ผ่านการรัฐประหารและการแทรกแซงการเมืองในรูปแบบต่างๆ และการดำรงสถานะพิเศษที่อยู่เหนือการตรวจสอบของสังคม”
.
สุภลักษณ์ กาญจนขุนดี ชวนมองกองทัพไทยผ่านแนวคิด 'patrimonialism' หรือรัฐแบบอุปถัมภ์ ซึ่งช่วยอธิบายการดำรงอยู่ของกองทัพไทยในฐานะกองทัพแบบอุปถัมภ์หรือกองทัพราชสมบัติ (patrimonial military) ที่มีบทบาทหลักในการรักษาสมดุลอำนาจของชนชั้นนำ มากกว่าการปกป้องผลประโยชน์ของชาติและประชาชนโดยรวม
.
อ่านได้ที่: https://www.the101.world/patrimonial-army/
.
“อนุสนธิจากการเข้าไปมีส่วนร่วมในคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการถ่ายโอนธุรกิจกองทัพไปอยู่ในความดูแลของหน่วยงานอื่นหรือย้ายไปสถานที่อื่นที่เหมาะสม สภาผู้แทนราษฎร ทำให้ได้รับรู้ความจริงประการหนึ่งว่า กองทัพไทย ‘หวง’ ธุรกิจหรือกิจการต่างๆ ที่ดำเนินการอยู่ในปัจจุบันนี้อย่างมาก ราวกับว่ามันเป็นกิจการประจำเหล่าหรือหน่วยทหาร หรือในหลายกรณีเป็นของรุ่น เหล่า หรือ นายทหารบางกลุ่มบางพวกมากกว่าจะเป็นสมบัติของชาติซึ่งสามารถโอนย้าย ปรับเปลี่ยนรูปแบบ หรือแม้แต่ยุบเลิกไปเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการใช้ทรัพยากรและประโยชน์สาธารณะ”
.
“ประกอบกับการได้อ่านงานของนิธิ เอียวศรีวงศ์ (2483-2566) อีกครั้งในผลงานรวมเล่มล่าสุด ‘ทหารไทยมาถึงจุดนี้ได้อย่างไร’ ว่าด้วยวัฒนธรรมทหารในกองทัพไทยและกองทัพอื่นๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทำให้เกิดความคิดว่า น่าจะลองใช้แนวคิด ‘patrimonialism’ เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์กองทัพไทยดูบ้าง เผื่อว่าจะได้แนวทางในการปฏิรูปกองทัพไทยให้ ทันสมัย เข้มแข็ง และที่สำคัญเลิกยุ่งเกี่ยวกับการเมืองแล้วหันไปให้ความสำคัญกับหน้าที่หลักในการป้องกันประเทศเสียที”
.
“แนวคิด patrimonialism หรือ patrimonial state หรือ รัฐแบบอุปถัมภ์ ซึ่งคำนิยามที่นักวิชาการไทยนิยมใช้กัน เช่น รัฐราชสมบัติ (นิธิ เอียวศรีวงศ์) และ รัฐสมบัติ (ปิยบุตร แสงกนกกุล) นั้นมาจากมักซ์ เวเบอร์ (Max Weber) นักสังคมวิทยาชาวเยอรมัน ซึ่งนิยามรัฐชนิดนี้ว่าเป็นรัฐที่ผู้ปกครองถือว่าอำนาจรัฐและกลไกรัฐทั้งหมดเป็นทรัพย์สมบัติส่วนตัว และใช้อำนาจในการบริหารประเทศ เสมือนเป็นกิจการบ้านเรือนของตนเอง”
.
“รากเหง้าของกองทัพไทยสามารถสืบย้อนกลับไปถึงยุคก่อนรัชกาลที่ 5 ซึ่งกองทัพไม่ได้เป็นองค์กรอิสระ แต่เป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างอำนาจของกษัตริย์โดยตรง ระบบไพร่หลวงถูกใช้เป็นเครื่องมือหลักในการเกณฑ์แรงงานทางทหารเพื่อปกป้องราชอาณาจักร ซึ่งสะท้อนถึงแนวคิด patrimonialism อย่างชัดเจน กล่าวคือ อำนาจทหารผูกขาดอยู่กับสถาบันกษัตริย์และชนชั้นปกครอง อันได้แก่ ขุนนาง เสนาอมาตย์ ซึ่งส่วนใหญ่ก็มักจะเป็นญาติพี่น้องของกษัตริย์ ไม่มีการแบ่งแยกระหว่างรัฐกับบุคคลที่ปกครองรัฐ”
.
“การแต่งตั้งโยกย้ายนายทหารของกองทัพไทยทุกระดับเป็นไปตามระบบเส้นสายอุปถัมภ์และพวกพ้องมากกว่าจะเป็นไปตามระบบคุณธรรม (meritocracy) หรือความรู้ความสามารถ [...] สำหรับผู้สนใจกิจการทหารคงเข้าใจเรื่องนี้เป็นอย่างดีเพราะ narrative ที่สื่อมวลชนไทยใช้ในการอธิบายการแต่งตั้งโยกย้ายนายทหารประจำปีหรือที่รู้กันดีในนามของ ‘โผทหาร’ นั้นล้วนเป็นคำบรรยายของระบบเส้นสายของนายทหารในกองทัพทั้งสิ้น เช่นนายทหารคนนี้ได้รับตำแหน่งนี้เพราะเขาเป็นนักเรียนทหารรุ่นนั้นและเป็นน้องรักของบิ๊กนั่นบิ๊กนี่ ทั้งที่ยังอยู่ในราชการและเกษียณอายุไปแล้วแต่ยังคงมีบารมีอยู่ นายทหารเหล่านั้นมักได้รับการวางตัวให้ขึ้นสู่ตำแหน่งเพื่อรักษาผลประโยชน์ของกลุ่มพวกพ้องหรือเป็นการสืบทอดอำนาจต่อจากรุ่นพี่หรืออดีตผู้บังคับบัญชาที่โปรดปรานกันเป็นพิเศษ”
.
“กองทัพไทยได้รับมอบหมายให้ดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจอย่างเป็นล่ำเป็นสันมาตั้งแต่สมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เพราะในสมัยนั้นภาคเอกชนยังไม่เติบโตก้าวหน้าหรือมีความพร้อมด้านเงินทุนเท่าใดนัก ถึงปัจจุบันการพัฒนาเศรษฐกิจก้าวหน้าและซับซ้อนมากขึ้น ภาคเอกชนเติบโต มีความพร้อมทางเทคโนโลยีและเงินทุน ธุรกิจกองทัพหลายกิจการมีอันต้องล้มหายตายจากไปเพราะไม่สามารถแข่งขันได้และกองทัพขาดทักษะในการดำเนินธุรกิจ แต่ถึงกระนั้นก็ตามกองทัพยังเก็บรักษาและดำเนินธุรกิจหลายอย่างต่อไปแม้ว่าจะไม่ประสบความสำเร็จอะไรเลยหรือแม้แต่กระทั่งขาดทุนจนน่าจะอยู่ในสภาพที่ล้มละลาย เราจึงพบว่ากองทัพมีสนามกอล์ฟ ที่พักโรงแรม การบิน ท่าเรือ ไปจนถึงกิจการสื่อสารมวลชนและพลังงาน ซึ่งไม่อยู่ภายใต้การตรวจสอบของรัฐบาลพลเรือน”
.
ภาพประกอบ: จิราภรณ์ บุญเย็น
.....


กองทัพไทยภายใต้รัชสมัย ร. 10 - BBC News ไทย

Jul 26, 2024

พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็น “กษัตริย์นักการทหาร” โดยแท้ โดยถือเป็นเป็นกษัตริย์พระองค์ที่ 3 ในราชวงศ์จักรี ที่ทรงศึกษาการทหารในต่างประเทศ ทรงรับราชการทหารหลังจากเสด็จนิวัตประเทศไทย และทรงสนพระทัยในกิจการทหารยิ่ง 

บีบีซีไทยคุยกับ สุภลักษณ์ กาญจนขุนดี ที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การทหาร สภาผู้แทนราษฎร และเป็นผู้เขียนหนังสือ A Soldier King: Monarchy and Military in the Thailand of Rama X เพื่อหาคำตอบว่าโฉมหน้ากองทัพไทยเปลี่ยนแปลงไรอย่างไรภายใต้รัชสมัย ร.10

00:00 กระบวนการสร้างทหารพระราชา (Monarchization) 
00:19 กษัตริย์นักการทหาร 
00:39 หน่วยงานใหม่ (New Units) 
02:06 คอแดง = นายทหารต้นแบบ (Prototype Soldiers) 
04:21 การบังคับบัญชาโดยตรง (Direct Control) 
06:17 องคมนตรี (The Privy Council) 
08:18 การแปรบุคคลรอบข้างให้เป็นทหาร (Militarizing) 

อ่านต่อ https://bbc.in/3ya1cLr

https://www.the101.world/patrimonial-army/