
Pichet Tunthirojanakul
16 hours ago
·
สรุปดราม่า ฟ้อนเล็บเชียงใหม่ (จบใน 2 นาที)
เสียงสะท้อน หรือท่านอายความเป็นพวกเรา
งานฟ้อนที่ได้สถิติโลก..แต่ไม่ได้ใจช่างฟ้อน
.
19 เมษายน 2568 จังหวัดเชียงใหม่จัดงานฟ้อนเล็บยิ่งใหญ่เฉลิมฉลอง ครบรอบ 729 ปีเมืองเชียงใหม่ โดยมีการรวมตัวช่างฟ้อนกว่า **10,000 คน** ร่วมฟ้อนเล็บตามแบบ **คุ้มพระราชชายาเจ้าดารารัศมี** รอบคูเมืองเชียงใหม่ โดยมีการเตรียมความพร้อมหลังบ้านกันก่อนแล้ว เพื่อจะบันทึกสถิติ Guinness World Records ในหมวด “The Largest Thai Dance” โดยต้องการทำลายสถิติเดิมที่ 5,255 คน โดยครั้งนี้ ทำได้ถึง 7,218 คน ซึ่งมีบุคคลสำคัญ ทั้งรัฐมนตรี ข้าราชการระดับสูง นักการเมือง ฯลฯ เข้าร่วม
.
แม้ความสำเร็จระดับโลกจะเกิดขึ้นตรงหน้า
แต่กลับถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง ถึงการจัดงาน
.
งานนี้ไม่ได้จัดโดยเครือข่ายชุมชนเมืองรักษ์เชียงใหม่ กลุ่มที่เคยจัดงานฟ้อนเล็บอย่างเปิดกว้างและมีส่วนร่วมจากคนในหลายชุมชน มีรายงานข่าวว่า การจัดครั้งนี้ จัดโดย “สมาคมแห่งหนึ่ง”
.
หลายคนบ่นว่า “ตั้งใจมา แต่ไม่ได้ฟ้อน” เพราะติดเงื่อนไขเรื่องชุด แม้ยอดคนมาร่วมมากกว่า 10,000 คน แต่มีเพียง 7,218 คนที่ได้ถูกนับในสถิติ หนึ่งในคลิปที่มีคนแชร์เยอะมาก แม้ในคลิปเจ้าหน้าที่ฯ จะไม่ได้พูดว่าห้าม แต่รีแอคชั้นของคนที่โวยวายและช่างฟ้อน สื่อได้ว่า พวกเขาถูกกันออก เพราะไม่ได้สวมผ้าซิ่น 729
.
ช่างฟ้อนจำนวนหนึ่ง เล่าถึงความรู้สึกอัดอั้น ถึงดราม่าไม่ซื้อผ้าซิ่น 729 = ไม่มีสิทธิ์ฟ้อน ในกระทู้ของสื่อสังคมออนไลน์ จนกลาย ประเด็นที่ร้อนแรงที่สุดคือ ใครที่ไม่ได้ใส่ “ผ้าซิ่นลายที่ผู้จัดกำหนด” ก็ไม่มีสิทธิ์เข้าร่วมขบวน แม้จะซ้อมมา แต่งกายสุภาพ และพร้อมแสดงก็ตาม
.
ช่างฟ้อน ส่วนหนึ่งกลับทันที ส่วนหนึ่งอยากเข้าไปถามท่านวัฒนธรรมฯ ว่าทำไมถึงไม่ให้ฟ้อน ไม่เหมือนแล้วเป็นอะไร อายอะไร?
.
อันนี้ต้องรอสมาคมฯ ออกมาชี้แจง รอฟังความอีกด้านว่าจริงไหม (ให้ความธรรมกับเขา)
.
ดราม่าก็ยังไม่จบ หนึ่งให้ประเด็นใหม่ คือสรุปแล้วผ้าซิ่นที่ขาย ทอมือหรือโรงงาน อะไรคืออัตลักษณ์ หรือทำเชิงพาณิชย์ ชาวเน็ตหลายคนตั้งคำถาม สะท้อนความรู้สึก งานที่ควรเชิดชูวัฒนธรรม กลับกลายเป็นเรื่อง “ธุรกิจแฝง” สรุปใครได้ประโยชน์หรือไม่
.
กูรูด้านวัฒนธรรม ติง! ท่ารำที่ไม่เหมือนต้นฉบับ ไม่ตรงกับแบบดั้งเดิมของคุ้มหลวงหรือวังเจ้าดารารัศมี หากมีการปรับ ควรแจ้งชัดว่า “เป็นท่ารำใหม่” เพื่อความถูกต้องทางประวัติศาสตร์ และควรบอก Guinness Book ด้วย!
.
ดราม่า งานใหญ่ระดับจังหวัด แต่เครื่องเสียง–อาหาร–พื้นที่ ไม่เพียงพอและทั่วถึง ช่างฟ้อนหลายกลุ่ม ยืนยันว่าไม่ได้ยินเพลง ทำให้ฟ้อนไม่พร้อมกัน บางจุดฟ้อนเสร็จแล้ว บางจุดยังได้ครึ่งเพลง บางคณะยืนรอ 4–5 ชั่วโมง แต่ไม่มีพื้นที่ให้ฟ้อน บางคนไม่ได้รับอาหารหรือน้ำดื่ม ช่างฟ้อนแม่อุ้ยบางคน บอกว่าโชดดีที่ตัวเองห่อข้าวมาด้วย จำนวนมาก ตัดสินใจซื้อข้าวและน้ำเอง
.
หลายคนโพสต์ด้วยความเสียใจว่า “ตั้งใจมาด้วยใจ แต่งตัวตามประเพณี เรียบร้อยที่สุดแล้ว ซ้อมมาเต็มที่ แต่สุดท้าย…ไม่ได้ฟ้อน”
เสียความรู้สึกมาก หรือพวกเขาต้องยอมซื้อซิ่น ให้เหมือน ถึงจะได้ฟ้อน ท่าน อาย... Guinness Book เหรอ?
.
ทั้งที่ชาวเน็ตจำนวนมาก สะท้อนตรงกันว่า ”วัฒนธรรมไม่ใช่เพียงเรื่องของเวที หรือการโชว์ให้โลกเห็น แต่มันคือเรื่องความรู้สึกมีส่วนร่วม ของคนในชุมชน หากจะจัดอีก ขอให้เป็นงานของทุกคน ไม่ใช่ของใครบางคน บางกลุ่ม
.
นอกจากนี้ก็มีคนมาแสดงความคิดเห็นที่ต่างออกไปอีกหลายแง่มุม อาทิ ภูมิใจ๋เจ้า น้ำตาไหล ดีใจ๋ที่ได้เป๋นส่วนหนึ่งในนั้น ลูกข้าเจ้าได้ฟ้อน สีซิ่นบ่เหมือนก่อได้ฟ้อนเจ้า จุดที่ป้าเขาอยู่มีข้าวไข่คั่วหื้อ ได้กิ๋นน้ำอยู่เจ้า ซิ่นงามอยู่เจ้า ดีที่อุ้ยห่อข้าวมา เป็นต้น
.
#ฟ้อนเล็บเชียงใหม่ #GuinnessWorldRecords #ดราม่าฟ้อนเล็บ #เชียงใหม่729ปี #เชียงใหม่ไม่ใช่ของบางกลุ่ม #ล้านนาเป็นของทุกคน
.
ภาพ : กลุ่มไลน์ ส่วนราชการกับสื่อ
https://www.facebook.com/PichetTunthirojanakul/posts/pfbid0wVKnvZP7Y7EZKcjvn377kSFiya6M6FKMfnCNM8nUpZcX9AbRukX1Eep9y7iLdSkrl
Atukkit Sawangsuk
4 hours ago
·
ฟ้อนเพื่อลงกินเนสบุ๊ค ความคลั่ง "ที่สุดในโลก" ของคนไทย
แต่ขายผ้าซิ่นผืนละ 500 ไม่ใส่ไม่ให้ฟ้อน สถิติเลยหายไปร่วมครึ่ง