"วันนี้เป็นวันสุดท้ายที่รัฐบาลจะระงับการเซ็นสัญญาซื้อ 5,203 เมกะวัตต์ ถ้าสรุปง่ายๆ คือเป็นการเซ็นสัญญาซื้อไฟฟ้าแพงกว่าที่ควรจะเป็น และสุดท้ายคนที่ต้องแบกรับคือประชาชน"
— Sirote Klampaiboon (@sirotek) April 19, 2025
คนไทยเตรียมจ่ายค่าไฟแพงขึ้น 25 ปี! อุ๊งอิ๊งหายตัวในวันเสาร์ 19 เม.ย.… pic.twitter.com/ixtfg1d584
ทำไม #ค่าไฟแพง หากเซ็นสัญญาซื้อไฟวันนี้ ?
— สส.ไมค์ ประสิทธิ์ พรรคประชาชน (@PrasitPutt) April 19, 2025
รายละเอียดการหมกเม็ด ความไม่ชอบมาพากล ความเอื้อนายทุน https://t.co/0D3TAalnhN
จากพลังงานสะอาดสู่ภาระค่าไฟ: จับตาดีลพลังงานหมุนเวียน 19 เมษานี้

เรื่อง : อรพิณ ยิ่งยงพัฒนา
ภาพประกอบ: พิรุฬพร นามมูลน้อย
17 Apr 2025
101 World
ตามกำหนดเดิม วันที่ 19 เมษายน 2568 จะเป็นวันที่รัฐบาลไทยเตรียมลงนามสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (PPA) กับผู้ผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนหลายราย รวมกำลังผลิตกว่า 5,203 เมกะวัตต์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการรับซื้อไฟฟ้าในรูปแบบ Feed-in Tariff (FiT) เฟสแรก ที่เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2566
ฟังจากชื่อแล้วดูเหมือนโครงการนี้จะช่วยรักษ์โลก เพราะเป็นการผลักดันให้เกิดพลังงานหมุนเวียนซึ่งเป็นพลังงานสะอาด แต่มีความกังวลซ่อนอยู่ว่า การส่งเสริมพลังงานสะอาดครั้งนี้ อาจส่งผลให้ค่าไฟสูงขึ้นเกินความจำเป็น โดยที่เราไม่ทันรู้ตัว
ทำไมการซื้อไฟฟ้าของรัฐบาล จึงอาจเชื่อมโยงถึงเรื่องค่าไฟแพง
ทุกฤดูร้อนและทุกแคมเปญหาเสียง มักมีประเด็นค่าไฟแพงอยู่ในนั้น ในประเทศไทย การกำหนดราคาค่าไฟ ขึ้นอยู่กับโครงสร้างการรับซื้อไฟฟ้าและนโยบายพลังงาน ซึ่งกำกับดูแลโดยคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.)
การลงนามซื้อขายไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนในครั้งนี้ สร้างความกังวลว่าอาจเป็นสัญญาที่ทำให้ผู้บริโภคต้องจ่ายค่าไฟแพงขึ้นในท้ายที่สุด โดยมีข้อสังเกตและข้อกังวล ดังนี้
101 World
ตามกำหนดเดิม วันที่ 19 เมษายน 2568 จะเป็นวันที่รัฐบาลไทยเตรียมลงนามสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (PPA) กับผู้ผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนหลายราย รวมกำลังผลิตกว่า 5,203 เมกะวัตต์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการรับซื้อไฟฟ้าในรูปแบบ Feed-in Tariff (FiT) เฟสแรก ที่เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2566
ฟังจากชื่อแล้วดูเหมือนโครงการนี้จะช่วยรักษ์โลก เพราะเป็นการผลักดันให้เกิดพลังงานหมุนเวียนซึ่งเป็นพลังงานสะอาด แต่มีความกังวลซ่อนอยู่ว่า การส่งเสริมพลังงานสะอาดครั้งนี้ อาจส่งผลให้ค่าไฟสูงขึ้นเกินความจำเป็น โดยที่เราไม่ทันรู้ตัว
ทำไมการซื้อไฟฟ้าของรัฐบาล จึงอาจเชื่อมโยงถึงเรื่องค่าไฟแพง
ทุกฤดูร้อนและทุกแคมเปญหาเสียง มักมีประเด็นค่าไฟแพงอยู่ในนั้น ในประเทศไทย การกำหนดราคาค่าไฟ ขึ้นอยู่กับโครงสร้างการรับซื้อไฟฟ้าและนโยบายพลังงาน ซึ่งกำกับดูแลโดยคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.)
การลงนามซื้อขายไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนในครั้งนี้ สร้างความกังวลว่าอาจเป็นสัญญาที่ทำให้ผู้บริโภคต้องจ่ายค่าไฟแพงขึ้นในท้ายที่สุด โดยมีข้อสังเกตและข้อกังวล ดังนี้
1. ราคารับซื้อไฟฟ้าที่กำหนดไว้สูงกว่าราคาตลาดโลก
จากเอกสาร การจัดหาไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ Feed-in Tariff (FiT) ปี 2565 – 2573 สำหรับกลุ่มไม่มีต้นทุนเชื้อเพลิง ที่กำหนด อัตรารับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ FiT ปี 2565-2573 พบว่า ราคารับซื้อไฟฟ้า อาจไม่สอดคล้องกับต้นทุนปัจจุบัน
เมื่อพิจารณารายละเอียดจะเห็นว่า รัฐบาลใช้ระบบ Feed-in Tariff (FiT) กำหนดราคารับซื้อไฟฟ้าจากเอกชนในอัตราคงที่ตลอด 20-25 ปี โดยราคารับซื้อที่คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) กำหนด เช่น
- โซลาร์เซลล์ติดตั้งบนพื้นดิน: 2.1679 บาท/หน่วย (ตามประกาศ ERC FiT ปี 2566–2573)
- พลังงานลม: 3.1014 บาท/หน่วย
- ก๊าซชีวภาพ: 2.0724 บาท/หน่วย
เรื่องนี้จึงเกิดเป็นคำถามว่า ขณะที่ต้นทุนผลิตจริงในตลาดโลกลดต่ำลง และมีแนวโน้มลดลงอีกในอนาคตเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้น กกพ. ควรทบทวนการกำหนดอัตราคงที่นี้ เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายของประชาชนหรือไม่
2. ไม่ได้ใช้วิธีประมูลแข่งขันราคาในโครงการบางส่วน
การคัดเลือกผู้ผลิตไฟฟ้าส่วนใหญ่ในโครงการ FiT ใช้ ‘ระบบคัดเลือก’ (Selection) มากกว่า ‘ระบบประมูลแข่งขันราคา’ (Auction) ซึ่งสภาผู้บริโภคเคยตั้งข้อสังเกตไว้ว่า วิธีนี้ไม่ใช่กลไกที่จะทำให้ได้ราคารับซื้อที่เหมาะสมที่สุด และจะกลายเป็นภาระผู้บริโภคที่ต้องจ่ายค่าไฟแพง
อีกด้านหนึ่ง วรภพ วิริยะโรจน์ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน ตั้งข้อสังเกตเรื่องนี้ไว้ในการอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี เมื่อ 24 มีนาคม 2568 ว่า ในโครงการรับซื้อไฟฟ้า 3,600 เมกะวัตต์ ซึ่งเป็นโครงการเฟสที่สอง ไม่มีการเปิดประมูลเพื่อแข่งขันราคา แต่ล็อกโควตาให้เอกชนที่ยื่นโครงการเฟสหนึ่ง 5,200 เมกะวัตต์ได้รับสิทธิพิจารณาก่อน เอกชนรายอื่นค่อยได้รับพิจารณาหลังจากนั้น อีกทั้งกระบวนการทั้งหมดนี้ ยังซ้ำซ้อนกับการเปิดเสรีไฟฟ้าสะอาด 2,000 เมกะวัตต์ที่อนุมัติในรัฐบาลเศรษฐา ทวีสิน เมื่อเดือนมิถุนายน 2567 ด้วย
ทั้งนี้ ประเทศไทยเคยใช้ระบบประมูลแข่งขันในบางโครงการ เช่น โครงการโซลาร์ฟาร์มในปี 2558 แต่ในรอบนี้กลับเน้นการคัดเลือกโดยพิจารณาจากคุณสมบัติและให้คะแนนเป็นหลัก
3. ไทยซื้อไฟฟ้าตุนมากเกินความต้องการ (Over Contracting) หรือไม่
หากมองด้านความมั่นคงด้านพลังงาน การมีพลังงานไว้เหลือเก็บเหลือใช้อาจจะทำให้รู้สึกสบายใจ ทั้งนี้ ตามการคำนวณของกระทรวงพลังงานเมื่อปี 2566 ประเทศไทยมีการผลิตไฟฟ้า ‘สำรอง’ สูงเกินถึง 36%
การเซ็นสัญญาซื้อไฟฟ้าจากโครงการรับซื้อไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนในครั้งนี้ ไม่เพียงจะซ้ำเติมปัญหา ‘ไฟฟ้าสำรองเกิน’ เท่านั้น แต่สัญญาครั้งนี้ยังล็อกราคาเอาไว้ ‘คงที่’ และกินระยะเวลา ‘นาน 20-25 ปี’ ซึ่งในอนาคต จะทำให้ค่าไฟที่ควรจะถูกลงจากเทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัยขึ้น ไม่สามารถเป็นไปได้ เพราะสัญญาผูกพันไปแล้ว ท้ายที่สุด ต้นทุนเหล่านั้นก็จะถูกส่งผ่านมาปรากฏในค่าไฟที่ประชาชนต้องร่วมกันจ่ายในแต่ละเดือน
4. ประเทศไทยยังไม่มีการออกแบบระบบตลาดซื้อขายไฟฟ้าเสรีอย่างชัดเจน
แนวคิดเรื่องการเปิดตลาดซื้อขายไฟฟ้าเสรี โดยเฉพาะพลังงานสะอาด น่าจะเป็นความหวัง ไม่เพียงเพื่อให้เกิดการแข่งขันราคา แต่ยังช่วยเรื่องการรักษาสิ่งแวดล้อม เพราะจะเป็นการกระตุ้นให้เกิดการซื้อขายพลังงานทางเลือก ที่จะช่วยสร้างความเป็นกลางทางคาร์บอนได้
หากมีตลาดเสรีก็จะทำให้ผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก เช่น ผู้ติดตั้งโซลาร์รูฟท็อป สามารถขายไฟฟ้าตรงถึงผู้ใช้ได้ แต่เวลานี้ยังไม่มีกฎหมายหรือแพลตฟอร์มที่รองรับ รัฐบาลจึงยังรับบท เป็นผู้ ‘ผูกขาด’ คือ รัฐและการไฟฟ้าจึงเป็นผู้รับซื้อรายใหญ่เพียงรายเดียว จากผู้ผลิตเอกชนหลายราย เอกชนจึงขาดแรงจูงใจในการแข่งขันด้านราคาหรือด้านประสิทธิภาพ

พลังงานหมุนเวียนสะดุด: ต้นทุนสูง โปร่งใสต่ำ กลุ่มทุนหน้าเดิม
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยดำเนินโครงการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ Feed-in Tariff (FiT) เพื่อส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาดและลดการพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิล โครงการนี้แบ่งออกเป็นสองเฟสหลัก ได้แก่ เฟสหนึ่งและเฟสสอง มีรายละเอียดและความคืบหน้าดังนี้:
เฟสหนึ่ง: โครงการรับซื้อไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน (5,203 เมกะวัตต์)
- พฤษภาคม 2565: คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เห็นชอบแผนรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ FiT รวม 5,203 เมกะวัตต์
- กันยายน 2565: สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เปิดรับสมัครผู้ผลิตไฟฟ้าเข้าร่วมโครงการ
- เมษายน 2566: ประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือก 175 ราย รวมกำลังผลิต 4,852.26 เมกะวัตต์
- เมษายน 2568: กำหนดลงนามสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (PPA) กับผู้ผ่านการคัดเลือกในวันที่ 19 เมษายน 2568
- กรกฎาคม 2567: กพช. เห็นชอบให้เปิดรับซื้อไฟฟ้าเพิ่มเติมในเฟสสอง รวม 3,668.5 เมกะวัตต์
- กันยายน 2567: กกพ. เปิดรับสมัครผู้ผลิตไฟฟ้าเข้าร่วมโครงการ
- ธันวาคม 2567: ประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือก 72 ราย รวมกำลังผลิต 2,145.4 เมกะวัตต์
- ธันวาคม 2567: กพช. มีมติให้ชะลอการลงนามสัญญาในเฟสสอง เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของกระบวนการคัดเลือกและข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และพิจารณาความโปร่งใสและผลกระทบต่อค่าไฟฟ้า
ในระหว่างนั้น มีการดำเนินการเฟสสองคู่ขนานไป แต่เกิดข้อสังเกตทั้งจากกระแสสังคมและฝ่ายค้านถึงความโปร่งใสและการกำหนดราคารับซื้อที่สูงกว่าราคาตลาด ทำให้ กพช. มีมติชะลอการเซ็นสัญญาออกไปก่อนเมื่อเดือนธันวาคม 2567
เป็นที่เชื่อว่าประชาชนส่วนใหญ่สนับสนุนการเปลี่ยนผ่านไปสู่การใช้พลังงานหมุนเวียน แต่ยังมีประเด็นที่ติดค้างและรอความโปร่งใส ไม่ว่าจะเป็นการขอให้รัฐทบทวนราคารับซื้อไฟฟ้าให้สะท้อนต้นทุนจริง กระบวนการคัดเลือกผู้ผลิตไฟฟ้าควรโปร่งใสกว่านี้ การผลักดันให้ตลาดไฟฟ้าเสรีเกิดขึ้น รวมทั้งต้องการให้รัฐบาลทบทวนเงื่อนไข และออกแบบกระบวนการให้โปร่งใส ซึ่งจะเป็นรากฐานสำคัญของระบบพลังงานในประเทศ
https://www.the101.world/deal-energy-electricity-cost/