
JustPow
Yesterday
·
หากรัฐเซ็นสัญญารับซื้อไฟฟ้าจากโครงการรับซื้อไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนจากรอบแรกในวันที่ 19 เมษายน นี้ ค่าไฟก็จะไม่ลดลง
.
ก่อนหน้านี้ ครม. มีแนวคิดลดค่าไฟฟ้าให้เหลือ 3.99 บาทต่อหน่วย โดยสั่งให้บอร์ด กฟผ. และ กกพ. ไปหาแนวทางแก้ปัญหาสัญญา Adder และ FiT รวมถึงสัญญา PPA ที่ทำให้รัฐเสียเปรียบ และสั่งสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ศึกษาและเสนอแนวทางปรับโครงสร้างระบบ Pool Gas เพื่อให้ราคาค่าไฟฟ้างวดปลายปี 2568 ถูกลง
.
โดยเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2568 ที่ประชุม กกพ. ได้มีมติเสนอคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ให้ทบทวน และปรับปรุงต้นทุนค่าไฟฟ้าในส่วนค่าใช้จ่ายตามนโยบายรัฐ (Policy Expense) ซึ่งประกอบด้วย โครงการอุดหนุนส่วนต่างต้นทุน (Adder) และ มาตรการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน Feed in Tariff (FiT) ที่อยู่ในสัญญาซื้อขายไฟฟ้าในกลุ่มผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายเล็ก (SPP) และกลุ่มผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายเล็กมาก (VSPP) โดยเงินส่วนนี้ถือเป็นภาระที่ส่งผ่านมาในค่าไฟฟ้าผันแปรหรือค่าเอฟที (Ft) จำนวน 17 สตางค์/หน่วย หากตัดส่วนนี้ออกไปได้ ค่าไฟฟ้าจะลดลงเหลือ 3.98 บาท/หน่วย และหากนำมาคำนวณด้วยประมาณการใช้ไฟฟ้าตลอดปี 2568 ที่คาดว่าจะมีการใช้ไฟฟ้า 195,000 ล้านหน่วย ก็จะสามารถประหยัดค่าไฟฟ้าที่ประชาชนต้องจ่ายในปีนี้ลงไปได้ 33,150 ล้านบาท
.
ในขณะที่ยังไม่มีมาตรการอะไรออกมาว่าจะต้องทำอย่างไร หรือปรับลดส่วนไหนที่จะทำให้ค่าไฟลดลงเหลือ 3.99 บาท/หน่วย ตามแนวคิดของ ครม. กลับกลายเป็นว่า รัฐกำลังจะลงนามสัญญารับซื้อไฟฟ้าจากโครงการรับซื้อไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนจากรอบแรก ซึ่งนอกจากจะทำให้ค่าไฟไม่ลดแล้ว ยังอาจจะเพิ่มขึ้นอีกด้วย
.
จากข้อมูลของศุภโชติ ไชยสัจ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน ที่ออกมาเปิดเผยว่ารัฐบาลจะให้เอกชนที่ได้โควต้าจากโครงการรับซื้อไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนรอบแรก 5,200 เมกะวัตต์ ในส่วนที่เหลือที่ยังไม่ได้ลงนามเซ็นสัญญาซื้อขายไฟฟ้าเข้าระบบ (PPA) เข้ามาลงนามทั้งหมดภายในวันที่ 19 เมษายน 2568 นี้
.
โดยการเซ็นสัญญาซื้อไฟจากโครงการรับซื้อไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน จะตามมาด้วยการที่ภาครัฐจะต้องจ่ายค่า FiT หรือเงินอุดหนุนเพิ่มเติมที่รัฐจ่ายให้กับผู้ผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนเพื่อส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนเข้าสู่ระบบมากขึ้น โดยก่อนหน้านี้มันคือค่า Adder ก่อนจะเปลี่ยนค่า FiT ในปี 2557 (ปัจจุบันยังมีโรงไฟฟ้า SPP ที่ได้รับค่า Adder จำนวน 22 โครงการ ขณะที่ VSPP มีจำนวน 520 โครงการ และได้รับค่า FiT อีก 372 โครงการ) ซึ่งค่า Adder และ FiT คือการที่รัฐจ่ายเงินซื้อไฟฟ้าจากเอกชนในราคาที่สูงกว่าปกติเพื่อจูงใจให้เอกชนผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนเข้าสู่ระบบมากขึ้น เพื่อประเทศไทยจะได้มีไฟสะอาดมากขึ้น
.
ยกตัวอย่างเช่น ก่อนปี 2565 โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ จะได้รับซื้อไฟฟ้าในอัตราค่าไฟฟ้าขายส่งเฉลี่ยหน่วยละ 3.1617 บาท บวกกับค่า Adder หน่วยละ 8 บาทจากสัญญาที่ทำไว้ตั้งแต่ปี 2554 รวมแล้วภาครัฐรับซื้อไฟฟ้าหน่วยละ 11.1617 บาท ระยะสัญญากว่า 10 ปี ขณะที่ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 2.2 บาท/หน่วยเท่านั้น ซึ่งค่า Adder/FiT ที่รัฐจ่ายเงินอุดหนุนเหล่านี้ก็จะถูกผลักเข้ามาอยู่ในบิลค่าของประชาชนในชื่อค่าใช้จ่ายของรัฐที่แฝงอยู่ในค่า Ft นั่นเอง
.
โดย 18 ปีที่ผ่านมา เงินอุดหนุนค่า Adder และ FiT ถูกส่งผ่านมาในบิลค่าไฟประชาชนแล้ว 462,477 ล้านบาท หรือหากดูเฉพาะค่า FiT ที่เก็บมาตั้งแต่ปี 2557 จะพบว่า คนไทยต้องจ่ายค่า FiT ในบิลค่าไฟไปแล้ว เป็นจำนวน126,331.47 ล้านบาท
.
ดังนั้นการที่รัฐจะลงนามเซ็นสัญญารับซื้อไฟฟ้าจากโครงการรับซื้อไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนจากรอบแรกในส่วนของโครงการที่ยังไม่ได้เซ็นสัญญาในวันที่ 19 เมษายนนี้ ทั้งที่ตัวโครงการรับซื้อไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนนั้นถูกตั้งคำถามอย่างมาก ทั้งความโปร่งใส ทั้งการสร้างภาระค่าไฟในระยะยาวในแก่ประชาชนจากสัญญาที่ยาวนานถึง 20-25 ปี ไม่เพียงจะทำให้แนวคิดที่จะลดค่าไฟ ให้เหลือ 3.99 บาท/หน่วย โดยไปลดค่า Adder/FiT จะไม่เกิดขึ้น เพราะรัฐกำลังทำสวนทางคือเซ็นซื้อไฟฟ้าเพิ่มทำให้ต้องจ่ายค่า FiT เพิ่ม แต่ในขณะเดียวกันกลับจะทำให้เพิ่มไม่มีวันลดลงอีกด้วย จากค่า Adder/Fit ที่ผู้ใช้ไฟร่วมกันจ่ายไปแล้ว 462,477 ล้านบาท และจะต้องจ่ายเพิ่มอีกหลายแสนล้านบาทในอนาคต
.
อ่านเพิ่มเติม
.
ปัญหาของโครงการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ปี 2565-2573 : https://justpow.co/article-re-biglot/
.
ลดค่าไฟ อย่าตัดแค่ค่า Adder/FiT : https://justpow.co/article-electric-bill/
.
#ค่าไฟแพง #ค่าไฟต้องแฟร์ #ค่าไฟ #ลดค่าไฟ
·
หากรัฐเซ็นสัญญารับซื้อไฟฟ้าจากโครงการรับซื้อไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนจากรอบแรกในวันที่ 19 เมษายน นี้ ค่าไฟก็จะไม่ลดลง
.
ก่อนหน้านี้ ครม. มีแนวคิดลดค่าไฟฟ้าให้เหลือ 3.99 บาทต่อหน่วย โดยสั่งให้บอร์ด กฟผ. และ กกพ. ไปหาแนวทางแก้ปัญหาสัญญา Adder และ FiT รวมถึงสัญญา PPA ที่ทำให้รัฐเสียเปรียบ และสั่งสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ศึกษาและเสนอแนวทางปรับโครงสร้างระบบ Pool Gas เพื่อให้ราคาค่าไฟฟ้างวดปลายปี 2568 ถูกลง
.
โดยเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2568 ที่ประชุม กกพ. ได้มีมติเสนอคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ให้ทบทวน และปรับปรุงต้นทุนค่าไฟฟ้าในส่วนค่าใช้จ่ายตามนโยบายรัฐ (Policy Expense) ซึ่งประกอบด้วย โครงการอุดหนุนส่วนต่างต้นทุน (Adder) และ มาตรการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน Feed in Tariff (FiT) ที่อยู่ในสัญญาซื้อขายไฟฟ้าในกลุ่มผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายเล็ก (SPP) และกลุ่มผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายเล็กมาก (VSPP) โดยเงินส่วนนี้ถือเป็นภาระที่ส่งผ่านมาในค่าไฟฟ้าผันแปรหรือค่าเอฟที (Ft) จำนวน 17 สตางค์/หน่วย หากตัดส่วนนี้ออกไปได้ ค่าไฟฟ้าจะลดลงเหลือ 3.98 บาท/หน่วย และหากนำมาคำนวณด้วยประมาณการใช้ไฟฟ้าตลอดปี 2568 ที่คาดว่าจะมีการใช้ไฟฟ้า 195,000 ล้านหน่วย ก็จะสามารถประหยัดค่าไฟฟ้าที่ประชาชนต้องจ่ายในปีนี้ลงไปได้ 33,150 ล้านบาท
.
ในขณะที่ยังไม่มีมาตรการอะไรออกมาว่าจะต้องทำอย่างไร หรือปรับลดส่วนไหนที่จะทำให้ค่าไฟลดลงเหลือ 3.99 บาท/หน่วย ตามแนวคิดของ ครม. กลับกลายเป็นว่า รัฐกำลังจะลงนามสัญญารับซื้อไฟฟ้าจากโครงการรับซื้อไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนจากรอบแรก ซึ่งนอกจากจะทำให้ค่าไฟไม่ลดแล้ว ยังอาจจะเพิ่มขึ้นอีกด้วย
.
จากข้อมูลของศุภโชติ ไชยสัจ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน ที่ออกมาเปิดเผยว่ารัฐบาลจะให้เอกชนที่ได้โควต้าจากโครงการรับซื้อไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนรอบแรก 5,200 เมกะวัตต์ ในส่วนที่เหลือที่ยังไม่ได้ลงนามเซ็นสัญญาซื้อขายไฟฟ้าเข้าระบบ (PPA) เข้ามาลงนามทั้งหมดภายในวันที่ 19 เมษายน 2568 นี้
.
โดยการเซ็นสัญญาซื้อไฟจากโครงการรับซื้อไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน จะตามมาด้วยการที่ภาครัฐจะต้องจ่ายค่า FiT หรือเงินอุดหนุนเพิ่มเติมที่รัฐจ่ายให้กับผู้ผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนเพื่อส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนเข้าสู่ระบบมากขึ้น โดยก่อนหน้านี้มันคือค่า Adder ก่อนจะเปลี่ยนค่า FiT ในปี 2557 (ปัจจุบันยังมีโรงไฟฟ้า SPP ที่ได้รับค่า Adder จำนวน 22 โครงการ ขณะที่ VSPP มีจำนวน 520 โครงการ และได้รับค่า FiT อีก 372 โครงการ) ซึ่งค่า Adder และ FiT คือการที่รัฐจ่ายเงินซื้อไฟฟ้าจากเอกชนในราคาที่สูงกว่าปกติเพื่อจูงใจให้เอกชนผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนเข้าสู่ระบบมากขึ้น เพื่อประเทศไทยจะได้มีไฟสะอาดมากขึ้น
.
ยกตัวอย่างเช่น ก่อนปี 2565 โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ จะได้รับซื้อไฟฟ้าในอัตราค่าไฟฟ้าขายส่งเฉลี่ยหน่วยละ 3.1617 บาท บวกกับค่า Adder หน่วยละ 8 บาทจากสัญญาที่ทำไว้ตั้งแต่ปี 2554 รวมแล้วภาครัฐรับซื้อไฟฟ้าหน่วยละ 11.1617 บาท ระยะสัญญากว่า 10 ปี ขณะที่ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 2.2 บาท/หน่วยเท่านั้น ซึ่งค่า Adder/FiT ที่รัฐจ่ายเงินอุดหนุนเหล่านี้ก็จะถูกผลักเข้ามาอยู่ในบิลค่าของประชาชนในชื่อค่าใช้จ่ายของรัฐที่แฝงอยู่ในค่า Ft นั่นเอง
.
โดย 18 ปีที่ผ่านมา เงินอุดหนุนค่า Adder และ FiT ถูกส่งผ่านมาในบิลค่าไฟประชาชนแล้ว 462,477 ล้านบาท หรือหากดูเฉพาะค่า FiT ที่เก็บมาตั้งแต่ปี 2557 จะพบว่า คนไทยต้องจ่ายค่า FiT ในบิลค่าไฟไปแล้ว เป็นจำนวน126,331.47 ล้านบาท
.
ดังนั้นการที่รัฐจะลงนามเซ็นสัญญารับซื้อไฟฟ้าจากโครงการรับซื้อไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนจากรอบแรกในส่วนของโครงการที่ยังไม่ได้เซ็นสัญญาในวันที่ 19 เมษายนนี้ ทั้งที่ตัวโครงการรับซื้อไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนนั้นถูกตั้งคำถามอย่างมาก ทั้งความโปร่งใส ทั้งการสร้างภาระค่าไฟในระยะยาวในแก่ประชาชนจากสัญญาที่ยาวนานถึง 20-25 ปี ไม่เพียงจะทำให้แนวคิดที่จะลดค่าไฟ ให้เหลือ 3.99 บาท/หน่วย โดยไปลดค่า Adder/FiT จะไม่เกิดขึ้น เพราะรัฐกำลังทำสวนทางคือเซ็นซื้อไฟฟ้าเพิ่มทำให้ต้องจ่ายค่า FiT เพิ่ม แต่ในขณะเดียวกันกลับจะทำให้เพิ่มไม่มีวันลดลงอีกด้วย จากค่า Adder/Fit ที่ผู้ใช้ไฟร่วมกันจ่ายไปแล้ว 462,477 ล้านบาท และจะต้องจ่ายเพิ่มอีกหลายแสนล้านบาทในอนาคต
.
อ่านเพิ่มเติม
.
ปัญหาของโครงการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ปี 2565-2573 : https://justpow.co/article-re-biglot/
.
ลดค่าไฟ อย่าตัดแค่ค่า Adder/FiT : https://justpow.co/article-electric-bill/
.
#ค่าไฟแพง #ค่าไฟต้องแฟร์ #ค่าไฟ #ลดค่าไฟ
https://www.facebook.com/photo/?fbid=122207528228175256&set=a.122130629210175256
คนไทยไม่ได้จนเพราะขี้เกียจ แต่จนเพราะถูกเอาเปรียบ #ค่าไฟแพง pic.twitter.com/4P5PjxFPVo
— สส.ไมค์ ประสิทธิ์ พรรคประชาชน (@PrasitPutt) April 19, 2025