iLaw
10 hours ago
·
ในการประชุมกมธ. พิจารณาร่างพ.ร.บ.ยกเลิกประกาศคำสั่งของคสช. ฝ่ายกฎหมายของกสทช. กังวลว่า หากยกเลิกการคุ้มครองเจ้าหน้าที่ อาจจะทำให้คนที่สั่งปิดสื่อโดนดำเนินการทางวินัยส่วนตัว https://www.ilaw.or.th/articles/47811
.
17 ตุลาคม 2567 มีการนัดประชุมครั้งที่หกของกมธ.ยกเลิกคำสั่งคสช.ฯ ซึ่งเป็นการพิจารณาคำสั่งที่ออกโดยอำนาจ “มาตรา 44” ของรัฐธรรมนูญ (ชั่วคราว) 2557 ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการคลื่นความถี่และกิจการโทรคมนาคมหลายฉบับ โดยมีตัวแทนจากสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) มาให้ความเห็น
สำหรับคำสั่งหัวหน้าคสช. ฉบับที่ 41/2559 ซึ่งขยายอำนาจและขอบเขตของ กสทช. ให้สามารถสั่ง “ปิดสื่อ” หรือลงโทษสื่อที่นำเสนอเนื้อหาที่อาจก่อให้เกิดความสับสนหรือความขัดแย้ง ข่าวสารที่จะเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ และมีบท “คุ้มครองเจ้าหน้าที่” หากการใช้อำนาจของกรรมการ กสทช. เลขาธิการ เจ้าหน้าที่ ทำไปโดยสุจริต ไม่เลือกปฏิบัติ ไม่เกินสมควรแก่เหตุ ไม่ต้องรับผิดทั้งทางแพ่ง ทางอาญา และทางวินัย
กสทช. เคยใช้อำนาจตามคำสั่งนี้ สั่งปิดสถานีโทรทัศน์วอยซ์ทีวี และทำให้สถานีโทรทัศน์ตัดสินใจฟ้องคดีต่อศาลปกครองเพื่อขอให้เพิกถอนคำสั่ง “ปิดสื่อ” ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
สมพร อมรชัยนพคุณ ผู้อำนวยการสำนักกฎหมายกระจายเสียงและโทรทัศน์ สำนักงาน กสทช. ให้ข้อมูลว่า มีผู้ประกอบกิจการสื่อฟ้องคดีจากการใช้อำนาจตามคำสั่งหัวหน้าคสช. ฉบับที่ 41/2559 หนึ่งคดี และสำนักงาน กสทช. ได้นำข้อความที่ยกเว้นความรับผิดจากคำสั่งนี้มาเป็นข้อต่อสู้ในคดี ในศาลชั้นต้นสำนักงาน กสทช. แพ้คดี จึงยื่นอุทธรณ์
สมพรเห็นว่า หากสำนักงาน กสทช. แพ้คดี ผลที่ตามมาคือเจ้าหน้าที่อาจต้องรับผิดทางละเมิดในความเสียหายนั้นด้วย เจ้าหน้าที่จะไม่ได้รับความเป็นธรรมเพราะเป็นการปฏิบัติไปตามคำสั่งและกฎหมาย แม้ว่าในการพิจารณาคดีของศาล ศาลจะพิจารณากฎหมายที่ประกาศใช้บังคับอยู่ในขณะที่เกิดการกระทำนั้น แต่การสอบวินัยไม่ใช่ หากเจ้าหน้าที่ถูกดำเนินการทางวินัย การอธิบายต่อคณะกรรมการสอบวินัยว่าเป็นการดำเนินการตามกฎหมายหรือคำสั่งหัวหน้าคสช. ที่ถูกยกเลิกไปแล้ว คณะกรรมการสอบสวนอาจไม่รับฟัง ซึ่งไม่ยุติธรรมกับเจ้าหน้าที่ที่ได้กระทำการโดยสุจริต
หากคณะกรรมาธิการต้องการยกเลิกคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 41/2559 โดยมีการเขียนบทบัญญัติเพื่อรองรับกรณีที่เกิดขึ้นไปแล้วให้ได้รับความคุ้มครองก็ไม่ควรรองรับเฉพาะคดีที่อยู่ระหว่างการพิจารณาคดีของศาลปกครองสูงสุดเท่านั้น แต่ต้องรองรับผลสืบเนื่องที่จะเกิดขึ้นตามมาทั้งหมดด้วย
ในการประชุมกมธ. พิจารณาร่างพ.ร.บ.ยกเลิกประกาศคำสั่งของคสช. ฝ่ายกฎหมายของกสทช. กังวลว่า หากยกเลิกการคุ้มครองเจ้าหน้าที่ อาจจะทำให้คนที่สั่งปิดสื่อโดนดำเนินการทางวินัยส่วนตัว https://www.ilaw.or.th/articles/47811
.
17 ตุลาคม 2567 มีการนัดประชุมครั้งที่หกของกมธ.ยกเลิกคำสั่งคสช.ฯ ซึ่งเป็นการพิจารณาคำสั่งที่ออกโดยอำนาจ “มาตรา 44” ของรัฐธรรมนูญ (ชั่วคราว) 2557 ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการคลื่นความถี่และกิจการโทรคมนาคมหลายฉบับ โดยมีตัวแทนจากสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) มาให้ความเห็น
สำหรับคำสั่งหัวหน้าคสช. ฉบับที่ 41/2559 ซึ่งขยายอำนาจและขอบเขตของ กสทช. ให้สามารถสั่ง “ปิดสื่อ” หรือลงโทษสื่อที่นำเสนอเนื้อหาที่อาจก่อให้เกิดความสับสนหรือความขัดแย้ง ข่าวสารที่จะเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ และมีบท “คุ้มครองเจ้าหน้าที่” หากการใช้อำนาจของกรรมการ กสทช. เลขาธิการ เจ้าหน้าที่ ทำไปโดยสุจริต ไม่เลือกปฏิบัติ ไม่เกินสมควรแก่เหตุ ไม่ต้องรับผิดทั้งทางแพ่ง ทางอาญา และทางวินัย
กสทช. เคยใช้อำนาจตามคำสั่งนี้ สั่งปิดสถานีโทรทัศน์วอยซ์ทีวี และทำให้สถานีโทรทัศน์ตัดสินใจฟ้องคดีต่อศาลปกครองเพื่อขอให้เพิกถอนคำสั่ง “ปิดสื่อ” ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
สมพร อมรชัยนพคุณ ผู้อำนวยการสำนักกฎหมายกระจายเสียงและโทรทัศน์ สำนักงาน กสทช. ให้ข้อมูลว่า มีผู้ประกอบกิจการสื่อฟ้องคดีจากการใช้อำนาจตามคำสั่งหัวหน้าคสช. ฉบับที่ 41/2559 หนึ่งคดี และสำนักงาน กสทช. ได้นำข้อความที่ยกเว้นความรับผิดจากคำสั่งนี้มาเป็นข้อต่อสู้ในคดี ในศาลชั้นต้นสำนักงาน กสทช. แพ้คดี จึงยื่นอุทธรณ์
สมพรเห็นว่า หากสำนักงาน กสทช. แพ้คดี ผลที่ตามมาคือเจ้าหน้าที่อาจต้องรับผิดทางละเมิดในความเสียหายนั้นด้วย เจ้าหน้าที่จะไม่ได้รับความเป็นธรรมเพราะเป็นการปฏิบัติไปตามคำสั่งและกฎหมาย แม้ว่าในการพิจารณาคดีของศาล ศาลจะพิจารณากฎหมายที่ประกาศใช้บังคับอยู่ในขณะที่เกิดการกระทำนั้น แต่การสอบวินัยไม่ใช่ หากเจ้าหน้าที่ถูกดำเนินการทางวินัย การอธิบายต่อคณะกรรมการสอบวินัยว่าเป็นการดำเนินการตามกฎหมายหรือคำสั่งหัวหน้าคสช. ที่ถูกยกเลิกไปแล้ว คณะกรรมการสอบสวนอาจไม่รับฟัง ซึ่งไม่ยุติธรรมกับเจ้าหน้าที่ที่ได้กระทำการโดยสุจริต
หากคณะกรรมาธิการต้องการยกเลิกคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 41/2559 โดยมีการเขียนบทบัญญัติเพื่อรองรับกรณีที่เกิดขึ้นไปแล้วให้ได้รับความคุ้มครองก็ไม่ควรรองรับเฉพาะคดีที่อยู่ระหว่างการพิจารณาคดีของศาลปกครองสูงสุดเท่านั้น แต่ต้องรองรับผลสืบเนื่องที่จะเกิดขึ้นตามมาทั้งหมดด้วย