กลุ่มฟื้นฟูประชาธิปไตย Democracy Restoration Group - DRG
10h ·
วันนี้ (23 เมษายน 2564) สำนักงานศาลยุติธรรมได้ออกเอกสารข่าวชี้แจง กรณีการตั้งคำถามต่อการพิจารณาและมีคำสั่งประกันตัวในคดีอาญาบางคดีที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาล โดยอ้างว่าศาลให้ความสำคัญกับสิทธิในการได้ประกันตัว แต่จำเป็นต้องพิจารณาหลักเกณฑ์ตามที่กฎหมายกำหนด ประกอบกับพฤติการณ์และความจำเป็นในแต่ละคดี สำหรับหลักการกฎหมายและแนวปฏิบัติที่ใช้ในประเทศไทยในปัจจุบันถือว่าสอดคล้องกับหลักการสากล และในการพิจารณาคดีต่างๆ ศาลย่อมให้ความสำคัญและรับฟังเหตุผลและข้อต่อสู้ของทุกฝ่ายอย่างเท่าเทียมกัน
.
https://www.facebook.com/themomentumco/posts/2682780785346942
.
ฟังดูดี ฟังดูยุติธรรม แต่... ถ้าเราลองเอาข้อเท็จจริงหรือข้อสังเกตบางอย่างมาดูประกอบกัน มันจะยังเป็นเหมือนที่ศาลอ้างหรือไม่?
.
1. ศาลอ้างถึงประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 108/1 ถึงเงื่อนไขที่ศาลอาจไม่ให้ประกันตัวได้ หนึ่งในนั้นคือหากปรากฎกรณีมีเหตุอันควรเชื่อว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยจะก่ออันตรายประการอื่น ศาลอ้างว่ากฎหมายมุ่งป้องกันมิให้จำเลยหรือผู้ต้องหาไปกระทำซ้ำในสิ่งที่ถูกฟ้องร้องหรือถูกกล่าวหาว่าเป็นความผิดหรือกระทำความผิดอย่างอื่น
.
แต่... ลองคิดดูว่าหากศาลเหมารวมคดีในทุกประเภททุกกรณี ว่าถ้าใครแจ้งข้อหาฟ้องมา แล้วจะให้ประกันตัวออกไปไม่ได้เพราะกลัวจะไปทำอย่างเดิมซ้ำๆ (ทั้งที่ยังไม่ได้ตัดสินเลยว่าผิดหรือไม่) เช่นนี้แล้ว ย่อมเอื้อให้เกิดการไปไล่แจ้งความหรือไล่ฟ้องคดีต่อใครๆ ก็ตาม เพียงเพื่อหวังให้คนนั้นๆ ถูกขัง ไม่ต้องรอผลตัดสินออกมาก็ได้ แค่ถูกขังก็สมประโยชน์ผู้แจ้งความ/ฟ้องแล้ว โดยเฉพาะการแจ้งความ/ฟ้องคนที่เห็นต่างทางการเมือง
.
การไม่ให้ประกันตัวควรใช้กับกรณีที่ "อันตราย" จริงๆ เท่านั้น เช่น กรณีฆาตกรรม หรือมุ่งไล่ล่าประทุษร้ายบุคคล ไม่ใช่มาใช้กับกรณีอย่างการชุมนุมหรือแสดงความคิดเห็น ที่สุดท้ายแล้วอาจถือเป็นการใช้เสรีภาพอันพึงมีด้วยซ้ำ
.
2. ศาลอ้างถึงกฎหมายต่างประเทศ เช่น Criminal Justice and Public Order Act 1994 และ The Bail Act 1976 ของสหราชอาณาจักร ว่าก็มีบางกรณีกฎหมายห้ามมิให้ศาลมีคำสั่งให้ประกันตัวในความผิดบางประเภท และศาลอาจไม่ให้ประกันตัวหากปรากฏข้อเท็จจริงว่าผู้ต้องหา/จำเลยอาจไม่กลับมามอบตัวต่อศาล หรืออาจกระทำความผิดฐานใดฐานหนึ่งอีก
.
แต่... เมื่อไปดูใน Criminal Justice and Public Order Act 1994 จะเห็นว่าประเภทของคดีที่ห้ามให้ประกันตัวนั้น มีเฉพาะคดีอย่างฆาตกรรม (Murder), ทำให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย (Manslaughter), คดีข่มขืนหรือล่วงละเมิดทางเพศต่างๆ เท่านั้น ไม่ได้รวมถึงคดีจากการวิพากษ์วิจารณ์หรือชุมนุม และต้องเป็นกรณีที่เคยถูกพิพากษาในความผิดนั้นๆ มาก่อนแล้ว (์No bail... after previous conviction of such offences.) เท่านั้น
.
ส่วนใน The Bail Act 1976 ก็กำหนดในลักษณะที่คล้ายๆ กันกับมาตรา 108/1 ของกฎหมายไทย อย่างไรก็ตาม สหราชอาณาจักรไม่ได้มีกฎหมายที่ไม่เป็นที่ยอมรับของสากลโลกอย่างมาตรา 112 ของไทย โดยมีเพียง Defamation Act 1996 ที่ใช้กับการหมิ่นประมาทบุคคลโดยทั่วไป ไม่มีการแยกกรณีของกษัตริย์ไว้ให้โทษสูงกว่าการหมิ่นประมาทบุคคลอื่นๆ
.
https://www.legislation.gov.uk/ukpga/1994/33/contents
https://www.legislation.gov.uk/ukpga/1976/63
https://www.legislation.gov.uk/ukpga/1996/31/contents
.
3. ศาลอ้างว่าในการควบคุมตัวระหว่างการพิจารณา แม้จะทำให้จำเลยหรือผู้ต้องหาถูกจำกัดเสรีภาพในการเดินทาง แต่หาได้ทำให้ถึงขั้นขาดความสามารถในการต่อสู้คดีอย่างมีนัยสำคัญ เพราะตามระเบียบกรมราชทัณฑ์ฯ จำเลยหรือผู้ต้องหามีสิทธิปรึกษาและให้ข้อมูลเกี่ยวกับคดีแก่ทนายความของตนได้อย่างเต็มที่ และอาจปรึกษาเป็นการลับก็ได้หากมีความจำเป็นในการดำเนินคดี การสืบพยานและซักถามพยานในกระบวนพิจารณาตามปกติ
.
แต่... มีรายงานว่าเกิดการแทรกแซงการปรึกษาหารือกันเป็นการส่วนตัวระหว่างจำเลยกับทนายความ ดังเช่นกรณีการแถลงขอถอนทนายความของผู้ชุมนุม "ราษฎร" 21 ราย เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2564 เนื่องจากไม่ได้รับสิทธิในการปรึกษาหารือกันในทางคดีอย่างเป็นส่วนตัวและเป็นความลับตามกฎหมาย จากการที่เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ควบคุมจนสิทธิของจําเลยและทนายความถูกละเมิดแม้อยู่ในห้องพิจารณาคดี ทั้งการตรวจเช็ครายชื่อทนายจําเลยและจําเลยที่เข้าร่วมการพิจารณาคดีอย่างเข้มงวด, การทําร้ายร่างกายทนายความที่กําลังใช้สิทธิปรึกษากับจําเลยเป็นการเฉพาะตัว, การยึดโทรศัพท์ของทนายจําเลย, การไม่เปิดโอกาสให้จําเลยและทนายได้ปรึกษากันเป็นการเฉพาะตัว โดยหนึ่งในทนายความบอกเล่าว่าเพียงจำเลยจะลุกขึ้นมาคุยทนาย ผู้คุม 3 - 4 คนก็จะรีบลุกมาฟังจนหูแทบจะติดกัน
.
นี่ยังไม่นับการปฏิบัติอย่างเลวร้ายต่อผู้ที่มาติดตามการพิจารณาคดี ไม่ว่าจะเป็นครอบครัวหรือมิตรสหายของจำเลย ก็มักถูกกีดกันไม่ให้พบเจอและพูดคุยกับจำเลยได้
.
https://web.facebook.com/lawyercenter2014/posts/3816022821780877
.
4. ศาลอ้างว่าในปี 2563 ที่ผ่านมา จำเลย/ผู้ต้องหาได้ยื่นคำร้องขอประกันตัวรวม 237,875 คดี ศาลมีคำสั่งอนุญาตถึง 217,904 คดี หรือคิดเป็นร้อยละ 91.26 ย่อมแสดงให้เห็นว่าการพิจารณาและมีคำสั่งของศาลยุติธรรมได้ตระหนักและให้ความสำคัญต่อสิทธิเสรีภาพของผู้ต้องหา/จำเลยเสมอมา และไม่ได้เป็นการพิจารณาและมีคำสั่งไปในทางใดทางหนึ่งด้วยเหตุอื่นเหตุใดนอกเหนือจากเหตุผลตามที่กฎหมายกำหนด
.
แต่... นั่นคือคดีโดยรวมทุกประเภท แต่ประเด็นที่เป็นปัญหาถกเถียงกันในสังคมทุกวันนี้คือคดีที่มีมูลเหตุจูงใจทางการเมือง คือคดีที่ฟ้อง/แจ้งความเพื่อกลั่นแกล้งผู้เห็นต่างให้ต้องถูกขัง คือคดีที่พุ่งเป้าไปยังผู้ที่วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล, คณะรัฐประหาร, ผู้มีอำนาจ และสถาบันกษัตริย์
.
ซึ่งจนถึงเมื่อวานนี้ ยังมีผู้ต้องหา/จำเลยคดีการเมืองไม่ได้ประกันตัว ถูกขังระหว่างพิจารณาคดีอย่างน้อย 19 คน ในจำนวนนี้มีถึง 14 คนที่มีคดีมาตรา 112 ด้วย ทำไมศาลไม่ลองเอาข้อมูลมาให้ดูบ้างว่าผู้ต้องหา/จำเลยคดีการเมืองกับคดี 112 มีคนได้ประกันตัวกี่เปอร์เซ็นต์?
.
https://web.facebook.com/iLawClub/posts/10165335951190551
.
5. หลังจากศาลออกเอกสารข่าวชี้แจงดังกล่าวไม่นาน ศาลอาญาที่กรุงเทพก็มีคำสั่งอนุญาตให้ประกันตัวสมยศ พฤกษาเกษมสุข และจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา (ไผ่ ดาวดิน) ออกมาสู่โลกภายนอกเป็นครั้งแรกในรอบ 74 และ 47 วัน ตามลำดับ
.
ส่วนที่เชียงใหม่ ศาลก็สั่งให้ประกันตัว "พรชัย" และ "พรพิมล" ซึ่งถูกดำเนินคดีมาตรา 112 ออกมาเช่นกัน
.
โดยมีเงื่อนไขด้วยว่าจะต้องไม่กล่าวถึงสถาบันกษัตริย์ในทางที่เสียหายอีก
.
ช่างเป็นที่พอเหมาะพอดีอย่างยิ่ง ราวกับต้องการย้ำว่าที่กล่าวอ้างไปนั้น ก็ทำออกมาให้เห็นแล้วนี่ไง
.
แต่... ก็ต้องย้ำกันอีกครั้งว่าทั้ง 4 คนที่ได้ประกันตัวในวันนี้ ไม่สมควรต้องถูกฝากขังนานหลายสิบวันตั้งแต่แรก นอกจากนี้อีกอย่างน้อย 15 คนที่ยังถูกขังอยู่ก็สมควรถูกปล่อยตัวออกมาด้วยเช่นกัน โดยไม่มีการวางเงื่อนไขห้ามวิจารณ์กษัตริย์เพื่อแลกกับการได้ปล่อยตัว พวกเขาคือผู้บริสุทธิ์ ยังไม่ถูกตัดสินว่ามีความผิด และไม่ได้คิดจะหลบหนี ยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน หรือจะไปก่อเหตุอันตรายใดๆ ที่จะต้องขังพวกเขาไว้ตั้งแต่แรก
.
สิ่งที่ศาลอ้างมาทั้งหมดนี้ ยุติธรรมแค่ไหน? ถูกต้องตามหลักสากลหรือไม่? ขอให้วิญญูชนทั้งหลายลองพิจารณาดู
.....
Khemthong Tonsakulrungruang
9h ·
ศาลจะออกหนังสือชี้แจงความยุติธรรมอีกกี่สิบฉบับก็ได้ เพราะยุติธรรมหรือไม่ คนไม่เชื่อจากหนังสือ แต่พิจารณาสรุปเอาเองตามที่ได้พบเห็น วิธีการยืนยันความยุติธรรมที่ดีที่สุดคือการปฏิบัติต่อแกนนำเหมือนเช่นปฏิบัติต่อผู้ต้องหาคนอื่นๆในคดีอื่นๆ
ศาลกำลังจะช้าไปในการกู้เกียรติภูมิของตนเองคืนมา ต่อให้ศาลปล่อยตัวแกนนำบางคนก็อาจจะสายไปที่จะชวนให้คนเชื่อว่าศาลยุติธรรมจริง