วันพฤหัสบดี, เมษายน 29, 2564

พรุ่งนี้(29)ไปม็อบกันที่ศาลอาญารัชดา ตั้งแต่เวลาเที่ยงตรง ให้ผู้พิพากษาเคารพกฎหมายโดยการปล่อยเพนกวิน เพราะเป็นการกระทำโดยไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ



Thanapol Eawsakul
4h ·

พรุ่งนี้แม่เพนกวินอาจจะไปยื่นประกันเพนกวินเป็นครั้งสุดท้ายก็ได้
ในภาพเป็นผู้บริหารศาลอาญา
ในส่วนของผู้ที่จะอนมัติให้ประกันหรือไม่ มีอยู่ 5 คนคือ (ระดับรองอธิบดี)
พิศิษฐ์ วิริยะพาณิชย์ รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา
ชนาธิป เหมือนพะวงศ์ รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา
เทวัญ รอดเจริญ รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา
สันติ บุตรดี ผู้พิพากษาหัวหน้าแผนกยาเสพติด
มุขเมธิน กลั่นนุรักษ์ ผู้พิพากษาหัวหน้าแผนกค้ามนุษย์
รอดูว่าพรุ่งนี้จะเป็นเวรของใคร
และคนเหล่านี้จะเลือกเส้นทางไหน
จะเป็นผู้พิพากษาที่ดำเนินคดีเคารพสิทธิผู้ต้องหาอย่างเคร่งครัด ตามรัฐธรรมนูญ
ดังที่ปริญญา เทวานฤมิตรกุล ได้กล่าวไว้อย่างละเอียด
https://www.facebook.com/prinya.thaewanarumitkul/posts/4133446440032596
หรือจะเป็นคนทำผิดรัฐธรรมนูญเสียเอง
.....
ถ้าไม่ทำตามรัฐธรรมนูญ ก็ชัวว่าทำเพื่อพ่อง
มิตรท่านหนึ่ง
.....

Prinya Thaewanarumitkul
5h ·

#การไม่ปล่อยชั่วคราวเป็นข้อยกเว้น ที่ต้องมีเหตุตามมาตรา 108/1 เท่านั้น
#เหตุใดจึงมีการไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวที่ไม่เป็นไปตามกฎหมาย? และ #ควรจะแก้ไขอย่างไร
รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 มาตรา 29 วรรคสอง บัญญัติว่า “ในคดีอาญา #ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มีความผิด ก่อนมีคำพิพากษาถึงที่สุดอันแสดงว่าบุคคลใดกระทำความผิดจะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นเสมือนเป็นผู้กระทำความผิดมิได้” ดังนั้น ผู้ต้องหาหรือจำเลยจึงต้องมีสิทธิได้รับอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว หรือได้รับการประกันตัว เพื่อให้ไม่ติดคุกก่อนศาลพิพากษาและสามารถสู้คดีนอกคุกได้ ซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 107 ก็ได้บัญญัติเป็นหลักไว้โดยสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญว่า “ผู้ต้องหาหรือจำเลย #ทุกคน พึงได้รับอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว”
การไม่ปล่อยชั่วคราวจึงเป็นเรื่องยกเว้น และต้องเข้าเหตุใดเหตุหนึ่งที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 108/1 ดังต่อไปนี้เท่านั้น จึงจะไม่ปล่อยชั่วคราวได้
“(1) ผู้ต้องหาหรือจําเลยจะหลบหนี
(2) ผู้ต้องหาหรือจําเลยจะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน
(3) ผู้ต้องหาหรือจําเลยจะไปก่อเหตุอันตรายประการอื่น
(4) ผู้ร้องขอประกันหรือหลักประกันไม่น่าเชื่อถือ
(5) การปล่อยชั่วคราวจะเป็นอุปสรรคหรือก่อให้เกิดความเสียหายต่อการสอบสวนของเจ้าพนักงานหรือการดําเนินคดีในศาล”
การที่ศาลท่านไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว #ด้วยเหตุผลอื่น อันได้แก่ “คดีมีอัตราโทษสูง พฤติการณ์แห่งคดีเป็นเรื่องร้ายแรง” และ “หากอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว จำเลยอาจไปก่อเหตุลักษณะเดียวกันกับความผิดที่ถูกกล่าวหาอีก” (คำสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาในคดีประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 -โปรดดูภาพประกอบ) จึงไม่เป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 108/1
#คำถามที่น่าสงสัยเป็นอย่างย่ิง คือ ทำไมผู้พิพากษาในคดีนี้ ท่านจึงไม่ยึดถือมาตรา 107 และมาตรา 108/1 ในการพิจารณาเรื่องนี้? อีกทั้งคำสั่งไม่ปล่อยชั่วคราว ก็เขียนเป็น #ลายมือ หรือพิมพ์ลงในคำร้อง ทั้งๆ ที่มาตรา 108/1 วรรคสอง กำหนดไว้ว่า หากศาลมีคำสั่งไม่ปล่อยชั่วคราว จะต้องแจ้งเหตุที่ไม่ปล่อยชั่วคราวให้ผู้ต้องหาหรือจําเลยทราบเป็น #หนังสือ ทำไมจึงเกิดการไม่ปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายอย่างชัดเจนเช่นนี้?
คำตอบของเรื่องนี้จะทำให้เราประหลาดใจ หรืออาจจะถึงขั้นตกใจด้วยซ้ำ เรื่องของเรื่องคือประมวลกฎหมายอาญามาตรา 107 ที่บัญญัติว่า “ผู้ต้องหาหรือจำเลยทุกคนพึงได้รับอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว” นั้น เพิ่งจะถูกแก้ไขให้มีข้อความดังกล่าวนี้ในปี พ.ศ.2547 ก่อนหน้านั้นมาตรา 107 เขียนไว้แต่เพียงว่า “เมื่อได้รับคำร้องให้ปล่อยชั่วคราว ให้เจ้าพนักงานหรือศาลรีบสั่งโดยอาศัยหลักเกณฑ์ในหกมาตราต่อไปนี้” (ดูภาพประกอบ) และมาตรา 108/1 ก็เพิ่งจะถูกเติมเข้าไปจากการแก้ไขประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาในปี พ.ศ.2547 เช่นกันครับ
นั่นหมายความว่า มีความเป็นไปได้ว่าศาลท่านอาจจะไม่ทราบว่ามาตรา 107 มีการแก้ไขให้ “ผู้ต้องหาหรือจำเลยทุกคนพึงได้รับอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว” คือการปล่อยชั่วคราวได้กลายเป็นหลักและการไม่ปล่อยชั่วคราวเป็นเรื่องยกเว้นไปแล้ว และทำนองเดียวกันท่านก็อาจจะไม่ทราบว่ามีมาตรา 108/1 เป็นมาตราใหม่ในเรื่องนี้แล้ว เพราะตอนที่ท่านเรียนนั้น ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 107 ไม่ใช่แบบปัจจุบันนี้ และมาตรา 108/1 ก็ยังไม่มีครับ
ท่านอ่านแล้วอาจจะเห็นต่าง เพราะไม่น่าจะเป็นไปไม่ได้ที่ศาลท่านจะไม่รู้ว่าประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามีการแก้ไขแล้ว ผมก็เห็นด้วยว่าไม่น่าเชื่อว่าจะเป็นไปได้ แต่ไม่ว่าจะเป็นอย่างไร ด้วยความเคารพ กฎหมายคือสิ่งที่ศาลท่านต้องใช้ในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดี ดังที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญมาตรา 188 ว่า “การพิจารณาพิพากษาอรรถคดีเป็นอำนาจของศาล ซึ่ง #ต้องดําเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย” โดย “#มีอิสระ ในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดี #ตามรัฐธรรมนูญและกฎหมาย ให้เป็นไปโดยรวดเร็ว เป็นธรรม และปราศจากอคติทั้งปวง”
การไม่ปล่อยชั่วคราวที่ไม่เป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเป็นเรื่องที่มีปัญหามากในขณะนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อความเชื่อถือศรัทธาของผู้คนที่มีต่อศาลและกระบวนการยุติธรรม เพราะไม่เคยมีเหตุการณ์ที่ผู้คนไปยืนเรียกร้องหน้าศาลฎีกาเป็นจำนวนมากและอย่างต่อเนื่องเช่นนี้มาก่อนเลย แล้วก็กำลังจะกระทบเลยเถิดไปมากกว่านั้น เพราะคนจำนวนไม่น้อยมีความเชื่อว่ามีใบสั่งมาให้ศาลทำเช่นนี้ ซึ่งทำให้สถานการณ์จะยิ่งแย่ลงไปอีกครับ
#วิธีแก้ไข ก็คือต้องยึดมาตรา 107 และ 108/1 ในการดำเนินการเรื่องปล่อยชั่วคราว หากศาลท่านกังวลว่าปล่อยชั่วคราวแล้วจะเกิดปัญหา หรือความเสียหายใด ท่านก็สามารถใช้มาตรา 108 วรรคสาม ซึ่งเพิ่งแก้ไขในปี พ.ศ.2558 ที่บัญญัติว่า “ศาลจะกําหนดเงื่อนไขเก่ียวกับที่อยู่หรือเงื่อนไขอื่นใดให้ผู้ถูกปล่อยชั่วคราวปฏิบัติ หรือในกรณีที่ผู้นั้นยินยอมจะสั่งให้ใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หรืออุปกรณ์อื่นใดท่ีสามารถใช้ตรวจสอบหรือจํากัดการเดินทางของผู้ถูกปล่อยชั่วคราวก็ได้ ท้ังนี้ เพื่อป้องกันการหลบหนี หรือภัยอันตราย หรือความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น ..”
“เงื่อนไขอื่นใด” ในมาตรา 108/1 คือจะกำหนดอะไรก็ได้ทั้งสิ้น และหากท่านเห็นว่า “ไม่มีเหตุให้เปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม” และจึงยกคำร้องขอปล่อยชั่วคราวทุกครั้ง ผมใคร่ขอเสนอว่าสุขภาพของผู้ต้องหาหรือจำเลยเป็นเหตุให้เปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิมได้แล้วครับ หรือหากพบว่า #คำสั่งเดิมไม่ถูกต้องหรือไม่สอดคล้องกับกฎหมาย ก็เป็นเหตุให้เปลี่ยนแปลงคำสั่งได้ เพราะศาลต้องพิจารณาพิพากษาอรรถคดีให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญและกฎหมายครับ
ผู้ต้องหาหรือจำเลยจะกระทำผิดจริงตามข้อหาหรือไม่ เป็นอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาล แต่การปล่อยชั่วคราวเป็นสิทธิของผู้ต้องหาและจำเลยทุกคนไม่ว่าจะเป็นคดีใดครับ เพราะในคดีอาญาเราต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มีความผิด และจะปฏิบัติกับเขาแบบผู้กระทำผิดก่อนที่จะมีคำพิพากษาไม่ได้ นี่คือสิทธิพื้นฐานตามรัฐธรรมนูญที่คุ้มครองพวกเราทุกคนครับ