นอกจากต้องสนับสนุนการ #แก้รัฐธรรมนูญ ตามข้อเสนอที่ประชาชนช่วยกันเสนอแล้ว
— ยิ่งชีพ (เป๋า) (@yingcheep) October 7, 2020
การคัดค้านร่างที่รัฐบาลเสนอก็ซีเรียส ต้องจริงจังเท่าๆ กับตอนค้านร่างฉบับปี2559 เลย ถ้ามันผ่านตามนั้น เข้าก็ยึด สสร. เขียนรัฐธรรมนูญใหม่ได้ตามใจอีกรอบ แถมลากยาวรัฐบาลนี้ได้อีกด้วยhttps://t.co/d2feQA1jeT
โดย iLaw
หลังพรรคร่วมฝ่ายค้านและภาคประชาชนได้ออกมาเสนอแนวทางแก้รัฐธรรมนูญ หลากหลายรูปแบบแล้ว ก็ถึงคราวที่พรรครัฐบาลและพรรคร่วมรัฐบาลจะเสนอแนวทางของตัวเองบ้าง โดยในร่างรัฐธรรมนูญของรัฐบาล มีการเสนอให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) ที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงด้วย ซึ่งเมื่อฟังผิวเผินคล้ายกับข้อเสนอตามร่างรัฐธรรมนูญฉบับพรรคการเมืองฝ่ายค้าน แต่ส่วนต่างสำคัญ คือ ให้มีสัดส่วน สสร. ที่มาจากการเลือกของรัฐสภา และการแต่งตั้งที่คัดเลือก "ผู้เชี่ยวชาญ" รวมถึงบรรดานักเรียน นิสิต นักศึกษา
สสร. 150 คน เลือกตั้งทางตรง อีก 50 คน มาทางอ้อม
ร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมของพรรคร่วมรัฐบาล ได้กำหนดให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญ ประกอบไปด้วยสมาชิก 200 คน มีที่มา ดังนี้
ส่วน สสร. อีก 50 คน ถูกแบ่งออกเป็นสามส่วน ได้แก่ จำนวน 20 คน มาจากการเลือกโดยรัฐสภา โดยมีข้อแม้ว่า การคัดเลือกต้องใกล้เคียงกับอัตราส่วนของจำนวน ส.ส.และ ส.ว. ซึ่งหมายความว่า จะได้ สสร. ที่เป็นคนจากระบอบ คสช. อย่างน้อยประมาณ 2 ใน 3 ของระบบนี้ ถัดมาอีก 20 คน ให้มาจากที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทยเป็นคนคัดเลือกจากผู้ที่ได้รับคะแนนสูงสุดว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายมหาชน สาขารัฐศาสตร์ หรือมีประสบการด้านการบริหารราชแผ่นดิน เป็นต้น และสุดท้าย 10 คน ให้มาจากนักเรียน นิสิต นักศึกษา แต่ให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เป็นผู้คัดเลือกนักเรียน นิสิต นักศึกษา
สสร. อายุ 18 ก็สมัครได้ แต่ต้องไม่เป็น ส.ส.-ส.ว.-ข้าราชการ
ตามร่างรัฐธรรมนูญที่รัฐบาลเสนอ กำหนดคุณสมบัติผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็น สสร. ไว้คล้ายกับฉบับที่เสนอโดยพรรคเพื่อไทย โดยผู้สมัครต้องมีคุณสมบัติที่สำคัญ ดังนี้
(1) มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้ง
(2) มีชื่อในทะเบียนบ้าน หรือเคยศึกษาในสถานศึกษา หรือรับราชการ ในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 5 ปี
(3) ไม่เป็นบุคคลที่มีลักษณะต้องห้ามใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ
(4) ไม่เป็นข้าราชการการเมือง
(5) ไม่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา หรือ รัฐมนตรี
ให้รับฟังความคิดเห็น ส.ส. ส.ว. รัฐบาล และองค์กรอิสระด้วย
ร่างรัฐธรรมนูญฉบับพรรคร่วมรัฐบาล มีกำหนดว่า ในการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ สสร. ต้องจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนทุกจังหวัดอย่างทั่วถึง และให้รัฐบาลหรือหน่วยงานรัฐจัดให้มีการเผยแพร่เนื้อหาและความคืบหน้าต่อสื่อมวลชน
นอกจากนี้ ยังเขียนเพิ่มจากร่างรัฐธรรมนูญของฝ่ายอื่นๆ อีกด้วยว่า ให้แจ้งคณะรัฐมนตรี สภาผู้แทนฯ วุฒิสภา องค์กรตามรัฐธรรมนูญ และหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง เพื่อแสดงความคิดเห็นเห็นหรือมีข้อเสนอแนะอื่นใดในการจัดทำรัฐธรรมนูญ
รัฐสภามีบทบาททั้งตรวจสอบเนื้อหาและเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญ
ในร่างรัฐธรรมนูญฉบับพรรคร่วมรัฐบาล ได้เขียนอำนาจหน้าที่ของรัฐสภาบางส่วนไว้ อาทิ ให้อำนาจรัฐสภาเข้ามาตรวจสอบว่า ร่างรัฐธรรมนูญที่จัดทำโดย สสร. เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมหมวด 1 และ หมวด 2 ของรัฐธรรมนูญหรือไม่ หากมีการแก้ไขหมวดดังกล่าว ให้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนั้นเป็นอันตกไป
นอกจากนี้ ส่วนที่เพิ่มอำนาจให้รัฐสภา คือ เมื่อ สสร. ได้จัดทำร่างรัฐธรรมนูญเสร็จแล้ว ให้นำร่างรัฐธรรมนูญเสนอต่อรัฐสภาเพื่อให้พิจารณาให้ความเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ แต่จะมีการแก้ไขเพิ่มเติมประการใดไม่ได้
ทั้งนี้ ในกรณีที่มีคะแนนเสียงให้ความเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญไม่ถึงกึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา ให้ดำเนินการจัดให้มีการประชามติเพื่อให้ประชาชนออกเสียงลงคะแนนว่า จะเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบกับร่างรัฐธรรมนูญที่ สสร. เป็นคนจัดทำขึ้น
วางกรอบ "เลือกตั้ง-ยกร่าง-สภาเห็นชอบ" ต้องเสร็จภายในปีครึ่ง
สำหรับกรอบเวลาในการดำเนินการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ตามร่างรัฐธรรมนูญฉบับรัฐบาล มีดังนี้
(1) ให้กกต. จัดให้มีการเลือกตั้ง สสร. ภายใน 90 วันนับตั้งแต่รัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขมีผลบังคับใช้ และประกาศผลเลือกตั้งภายใน 15 วัน
(2) ให้ สสร. จัดให้มีการประชุมสภาครั้งแรกภายใน 30 วัน นับตั้งแต่มีสมาชิก สสร. ครบทุกประเภท
(3) สสร. ต้องจัดทำร่างรัฐธรรมนูญให้แล้วเสร็จภายใน 240 วัน นับตั้งแต่ประชุมสภาครั้งแรก
(4) เมื่อ สสร. จัดทำร่างรัฐธรรมนูญเสร็จแล้ว ให้นำเสนอต่อรัฐสภาเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับโดยไม่มีการแก้ไขเพิ่มเติม
(5) ในกรณีที่เสียงเห็นชอบของรัฐสภาไม่ถึงกึ่งหนึ่งให้ประธานรัฐสภาส่งร่างรัฐธรรมนูญให้ กกต. เพื่อจัดให้มีการออกเสียงโดยประชาชน ซึ่งต้องไม่เกิน 60 วัน แต่ต้องไม่เร็วกว่า 45 วัน
ทั้งนี้ รัฐธรรมนูญเป็นอันตกไปไม่ว่าด้วยไม่ผ่านการเห็นชอบจากประชาชน หรืออื่นใด ให้ถือว่าร่างนั้นเป็นอันตกไป แต่คณะรัฐมนตรี หรือ ส.ส. ไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของสภา หรือ ส.ส.ร่วมกับ ส.ว. ไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของสองสภา มีสิทธิเสนอให้มีการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ตามหมวดนี้อีกได้
เรื่องที่เกี่ยวข้อง:
หลังพรรคร่วมฝ่ายค้านและภาคประชาชนได้ออกมาเสนอแนวทางแก้รัฐธรรมนูญ หลากหลายรูปแบบแล้ว ก็ถึงคราวที่พรรครัฐบาลและพรรคร่วมรัฐบาลจะเสนอแนวทางของตัวเองบ้าง โดยในร่างรัฐธรรมนูญของรัฐบาล มีการเสนอให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) ที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงด้วย ซึ่งเมื่อฟังผิวเผินคล้ายกับข้อเสนอตามร่างรัฐธรรมนูญฉบับพรรคการเมืองฝ่ายค้าน แต่ส่วนต่างสำคัญ คือ ให้มีสัดส่วน สสร. ที่มาจากการเลือกของรัฐสภา และการแต่งตั้งที่คัดเลือก "ผู้เชี่ยวชาญ" รวมถึงบรรดานักเรียน นิสิต นักศึกษา
สสร. 150 คน เลือกตั้งทางตรง อีก 50 คน มาทางอ้อม
ร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมของพรรคร่วมรัฐบาล ได้กำหนดให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญ ประกอบไปด้วยสมาชิก 200 คน มีที่มา ดังนี้
- 150 คน มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน
- 20 คน มาจากการเลือกโดยรัฐสภา
- 20 คน มาจากการเลือกโดยที่ประชุมอธิการบดี โดยแบ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญกฎหมายมหาชนหรือรัฐศาสตร์ 10 คน และผู้มีประสบการณ์การเมือง การบริหารราชการแผ่นดิน หรือการร่างรัฐธรรมนูญ 10 คน
- 10 คน มาจากนักเรียน นิสิต นักศึกษา
ส่วน สสร. อีก 50 คน ถูกแบ่งออกเป็นสามส่วน ได้แก่ จำนวน 20 คน มาจากการเลือกโดยรัฐสภา โดยมีข้อแม้ว่า การคัดเลือกต้องใกล้เคียงกับอัตราส่วนของจำนวน ส.ส.และ ส.ว. ซึ่งหมายความว่า จะได้ สสร. ที่เป็นคนจากระบอบ คสช. อย่างน้อยประมาณ 2 ใน 3 ของระบบนี้ ถัดมาอีก 20 คน ให้มาจากที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทยเป็นคนคัดเลือกจากผู้ที่ได้รับคะแนนสูงสุดว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายมหาชน สาขารัฐศาสตร์ หรือมีประสบการด้านการบริหารราชแผ่นดิน เป็นต้น และสุดท้าย 10 คน ให้มาจากนักเรียน นิสิต นักศึกษา แต่ให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เป็นผู้คัดเลือกนักเรียน นิสิต นักศึกษา
สสร. อายุ 18 ก็สมัครได้ แต่ต้องไม่เป็น ส.ส.-ส.ว.-ข้าราชการ
ตามร่างรัฐธรรมนูญที่รัฐบาลเสนอ กำหนดคุณสมบัติผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็น สสร. ไว้คล้ายกับฉบับที่เสนอโดยพรรคเพื่อไทย โดยผู้สมัครต้องมีคุณสมบัติที่สำคัญ ดังนี้
(1) มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้ง
(2) มีชื่อในทะเบียนบ้าน หรือเคยศึกษาในสถานศึกษา หรือรับราชการ ในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 5 ปี
(3) ไม่เป็นบุคคลที่มีลักษณะต้องห้ามใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ
(4) ไม่เป็นข้าราชการการเมือง
(5) ไม่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา หรือ รัฐมนตรี
ให้รับฟังความคิดเห็น ส.ส. ส.ว. รัฐบาล และองค์กรอิสระด้วย
ร่างรัฐธรรมนูญฉบับพรรคร่วมรัฐบาล มีกำหนดว่า ในการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ สสร. ต้องจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนทุกจังหวัดอย่างทั่วถึง และให้รัฐบาลหรือหน่วยงานรัฐจัดให้มีการเผยแพร่เนื้อหาและความคืบหน้าต่อสื่อมวลชน
นอกจากนี้ ยังเขียนเพิ่มจากร่างรัฐธรรมนูญของฝ่ายอื่นๆ อีกด้วยว่า ให้แจ้งคณะรัฐมนตรี สภาผู้แทนฯ วุฒิสภา องค์กรตามรัฐธรรมนูญ และหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง เพื่อแสดงความคิดเห็นเห็นหรือมีข้อเสนอแนะอื่นใดในการจัดทำรัฐธรรมนูญ
รัฐสภามีบทบาททั้งตรวจสอบเนื้อหาและเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญ
ในร่างรัฐธรรมนูญฉบับพรรคร่วมรัฐบาล ได้เขียนอำนาจหน้าที่ของรัฐสภาบางส่วนไว้ อาทิ ให้อำนาจรัฐสภาเข้ามาตรวจสอบว่า ร่างรัฐธรรมนูญที่จัดทำโดย สสร. เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมหมวด 1 และ หมวด 2 ของรัฐธรรมนูญหรือไม่ หากมีการแก้ไขหมวดดังกล่าว ให้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนั้นเป็นอันตกไป
นอกจากนี้ ส่วนที่เพิ่มอำนาจให้รัฐสภา คือ เมื่อ สสร. ได้จัดทำร่างรัฐธรรมนูญเสร็จแล้ว ให้นำร่างรัฐธรรมนูญเสนอต่อรัฐสภาเพื่อให้พิจารณาให้ความเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ แต่จะมีการแก้ไขเพิ่มเติมประการใดไม่ได้
ทั้งนี้ ในกรณีที่มีคะแนนเสียงให้ความเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญไม่ถึงกึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา ให้ดำเนินการจัดให้มีการประชามติเพื่อให้ประชาชนออกเสียงลงคะแนนว่า จะเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบกับร่างรัฐธรรมนูญที่ สสร. เป็นคนจัดทำขึ้น
วางกรอบ "เลือกตั้ง-ยกร่าง-สภาเห็นชอบ" ต้องเสร็จภายในปีครึ่ง
สำหรับกรอบเวลาในการดำเนินการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ตามร่างรัฐธรรมนูญฉบับรัฐบาล มีดังนี้
(1) ให้กกต. จัดให้มีการเลือกตั้ง สสร. ภายใน 90 วันนับตั้งแต่รัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขมีผลบังคับใช้ และประกาศผลเลือกตั้งภายใน 15 วัน
(2) ให้ สสร. จัดให้มีการประชุมสภาครั้งแรกภายใน 30 วัน นับตั้งแต่มีสมาชิก สสร. ครบทุกประเภท
(3) สสร. ต้องจัดทำร่างรัฐธรรมนูญให้แล้วเสร็จภายใน 240 วัน นับตั้งแต่ประชุมสภาครั้งแรก
(4) เมื่อ สสร. จัดทำร่างรัฐธรรมนูญเสร็จแล้ว ให้นำเสนอต่อรัฐสภาเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับโดยไม่มีการแก้ไขเพิ่มเติม
(5) ในกรณีที่เสียงเห็นชอบของรัฐสภาไม่ถึงกึ่งหนึ่งให้ประธานรัฐสภาส่งร่างรัฐธรรมนูญให้ กกต. เพื่อจัดให้มีการออกเสียงโดยประชาชน ซึ่งต้องไม่เกิน 60 วัน แต่ต้องไม่เร็วกว่า 45 วัน
ทั้งนี้ รัฐธรรมนูญเป็นอันตกไปไม่ว่าด้วยไม่ผ่านการเห็นชอบจากประชาชน หรืออื่นใด ให้ถือว่าร่างนั้นเป็นอันตกไป แต่คณะรัฐมนตรี หรือ ส.ส. ไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของสภา หรือ ส.ส.ร่วมกับ ส.ว. ไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของสองสภา มีสิทธิเสนอให้มีการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ตามหมวดนี้อีกได้
เรื่องที่เกี่ยวข้อง:
เปิดโมเดล สสร. ตามร่างรัฐธรรมนูญฉบับ 'พรรคเพื่อไทย'
เปิด 4 โมเดล "สสร." เพื่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน
"สสร. 40" จุดเริ่มต้นรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน
ฝ่ายค้าน-คณะก้าวหน้า-ประชาชน เห็นพ้องตั้ง สสร. ร่างรัฐธรรมนูญใหม่