วันอังคาร, ตุลาคม 06, 2563

6 ตุลาใครยิง ใครฆ่า ? ใครรัฐประหาร (ข้อมูลจาก มติชนสุดสัปดาห์ และ บันทึก ดร.ป๋วย อึ้งภากรณ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)



Sita Karnkriangkrai18 hours ago

คดี6 ตุลา . ผู้เขียนบันทึก. 40 ปี 6ตุลา ส่งมาให้อ่านกันครับ

คดี 6ตุลาใครยิง ใครฆ่า ? ใครรัฐประหาร
(ข้อมูลจาก มติชนสุดสัปดาห์ และ บันทึก ดร.ป๋วย อึ้งภากรณ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)

คดี 6 ตุลามี นักโทษการเมือง 3154 คน
หลังจากการสังหารหมู่ และจับผู้ชุมนุมไปขัง ต่อมาก็มีการไล่จับแบบกวาดล้างตามมหาวิทยาลัยทุกแห่ง มีการเข้าตรวจค้นทุกจุดไม่เว้นแม้แต่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ได้ผู้ต้องหาเพิ่มอีกเล็กน้อยรวมทั้งหมด 3154 คน ส่วนที่รอดไปได้ ก็หนีเข้าป่าหรือไปต่างประเทศ คณะรัฐประหารและ CIA.ถูกประณามจากนานาชาติว่าอยู่เบื้องหลังการกวาดล้างใหญ่ครั้งนี้ มีการขว้างระเบิด 4 ลูกเข้าใส่ สถานทูตไทยโดยฝ่ายซ้ายอิตาลี ด้วยแรงกดดันต่างๆจึงมีการให้ประกันผู้ที่ถูกจับกุมโดยใช้หลักทรัพย์ 20,000 บาท ภายหลังก็ให้ประกันง่ายขึ้น โดยอาจารย์ในมหาวิทยาลัยก็เป็นนายประกันได้ ในชั้นสอบสวนมีผู้ได้รับการประกันตัว 2,579 คน ส่วนใหญ่หลังจากออกมาก็หนีเข้าป่า ถึงเดือนธันวา 2519 ยังมีผู้ถูกขังอยู่อีก 300 กว่าคน ในเดือนมีนา 2520 ได้มีการสรุปสำนวนคดีและสั่งปล่อยผู้ต้องหาส่วนใหญ่
จนถึงเดือนสิงหาคม 2520 อัยการสรุปว่าผู้ต้องหาทั้งหมด 3154คนหลักฐานไม่พอฟ้อง 3,080 คนซึ่งประกันและปล่อยตัวไปแล้ว และพิจารณาสั่งฟ้องเมื่อวันที่ 28 มีนา 2520 จำนวน 74คน ในกลุ่มนี้ถูกตั้งข้อหาคอมมิวนิสต์เพิ่มขึ้น แต่ได้รับการประกันตัวไป 51คน (ซึ่งสุดท้ายอัยการไม่สั่งฟ้อง) เหลือถูกคุมขังอยู่ 23 คน สุดท้ายเห็นสมควรสั่งฟ้องเพียง 18 คน ให้ปล่อยตัว 5 คน คือ นายสมชาย หอมละออ นายชวลิต วินิจกุล นายสน ชมดี นายวิรัตน์ เตริน นายประสิทธิ์ ตินารักษ์

ถูกตั้งข้อหาว่า..เป็นกบฏ..เป็นคอมมิวนิสต์

ใช้กำลังล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข

มีการตั้งข้อหาร้ายแรงให้กับผู้นำนักศึกษา และแกนนำพรรคการเมือง ที่ไม่ได้ถูกจับในธรรมศาสตร์ จำนวน 32 คน เช่น 1.นายเสกสรร ประเสริฐกุล 2.นายเกรียงกมล เลาหไพโรจน์ 3.นายสงวน นิตยารัมพงษ์ 4.นาย ธีรยุทธ บุญมี 5.นายพีระพล ตรียะเกษม 6.นายพินิจ จารุสมบัติ 7.นายเหวง โตจิราการ 8.นายสมาน เลือดวงหัด 9.นายอเนก เหล่าธรรมทัต 10.นายตา เพียรอภิธรรม 11.นายวิรัติน์ ศักดิ์จิระภาพงษ์ 12.นายชีรชัย มฤคพิทักษ์ 13.นายชัชวาล ปทุมวิทย์ 14.นายสวาย อุดมเจริญชัยกิจ 15.นายวิจิตร ศรีสังข์ 16.นายประสาน สินสวัสดิ์ 17.นายพิเชียร อำนาจวรประเสริฐ 18.นายพลากร จิระโสภณ 19.นายบุญส่ง ชเลธร 20.นายก้องเกียรติ คงคา 21.นายอานนท์ อัศนธรรม ฯลฯ

ส่วนผู้ที่ถูกจับกุมในวันที่6 ตุลาส่งฟ้อง 18 คนและอยู่ในคุกทั้งหมด คือ 1.นายสุธรรม แสงประทุม 2.นายอภินันท์ บัวหะภักดี 3.นายสุรชาติ บำรุงสุข 4.นายประพนธ์ วังศิริพิทักษ์ 5. นายวิโรจน์ ตั้งวาณิชย์ 6.นาย มหินทร์ ตันบุญเพิ่ม 7.นายอารมณ์ พงศ์ พงัน 8.นายประยูร อัครบวร 9.นางสาว สุชีรา ตันชัยนันท์ 10.นาย อรรถการ อัปถัมภากุล 11.นายสุชาติ พัชรสรวุฒิ 12.นายธงชัย วินิจกุล 13.นายคงศักดิ์ อาษาภักดิ์ 14.นายสมศักดิ์ เจียมจีระสกุล 15.นายอนุพงษ์ พงษ์สุวรรณ 16.นายโอริสสา ไอยราวัณวัฒน์ 17.นางสาว เสงี่ยม แจ่มดวง 18.นายเสรี ศิรินุพงษ์

เดือนตุลา 2520 รัฐบาลอำมาตย์ ถูกรัฐประหาร อีกครั้งโดย กลุ่มทหาร คราวนี้พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ ขึ้นเป็นนายกเอง มีการนำคดี 6 ตุลาเข้าสู่ศาลทหาร ตั้งแต่ มกรา 2521

หลังเหตุการณ์ใหม่ๆมีการตั้งข้อกล่าวหาให้กับผู้ที่เสียชีวิตบาดเจ็บและผู้ที่ถูกจับกุมด้วยข้อหาที่ร้ายแรงต่างๆคำบรรยายฟ้องโดยสรุปคือ

ตั้งแต่วันที่ 6 ธันวา 2516 – 6 ตุลา 2519 จำเลยทั้ง 18 คน กับพวกที่หลบหนียังจับไม่ได้ 32คน (ที่ถูกจับกว่า3000คนได้รับการประกันตัว และไม่ได้ถูกฟ้อง ส่วนใหญ่หนีเข้าป่า พวกที่ถูกฟ้องคือแกนนำ) บังอาจตั้งกลุ่มโดยมีจุดมุ่งหมายที่จะทำการเป็นคอมมิวนิสต์ ล้มล้างระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข เปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจให้เป็นระบบคอมมิวนิสต์ มีการกระทำอันเป็นกบฏ ใช้กำลังประทุษร้ายเพื่อล้มล้างและยึดอำนาจการปกครองของรัฐ ...

แสดงว่าชนชั้นปกครอง หลัง14ตุลา 16 ยอมรับให้นักศึกษาเป็น วีรชนอยู่ไม่ถึง 3เดือน ก็มองว่าแกนนำกลุ่มนี้ เป็นคอมมิวนิสต์ คือเสร็จศึกก็เตรียมกำจัด ขุนพล หลัง 6ตุลา 2519 จึงเป็นการกวาดล้างครั้งใหญ่ แบบที่เรียกว่า ตามจับ ตามฆ่า ล่าถึงบ้าน พวกที่หนีเข้าป่า ไม่เสียเปรียบ เพราะมีปืน พอสู้ได้ แต่พวกที่จะสู้ข้อกล่าวหา ในศาลทหาร จะทำอย่างไร?

แต่ทีมกฎหมาย และทนายทำได้จริงๆ โดยใช้ความจริงมาสู้ ยืมปากพยานโจทก์ ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ เปิดโปงความจริง ต่อหน้าประชาชน และตัวแทน ทูต จากนานาชาติ

คำให้การของฝ่ายรัฐ ในศาล เปิดเผย ว่า ใครทำ ใครสั่ง

29 ส.ค. 2521 สืบพยานโจทก์คือ สิบตำรวจเอก อากาศ ... ตำรวจพลร่มค่ายเสือดำหัวหิน ซึ่งเป็นหน่วยสนับสนุนทางอากาศเบิกความว่าตี 2 วันที่ 6 ตุลา 2519 ได้รับคำสั่งจาก พ.ต.ท.ประเสริฐ..ให้มารวมพลเพื่อเข้ามาปฏิบัติการในกรุงเทพโดยไม่ทราบจุดประสงค์ว่าทำไม เบิกอาวุธประจำกายเป็น HK33 พร้อมกระสุน 70-80นัด เดินทางมาพร้อมพวก 50-60 คน โดยมีพ.ต.ตสาโรจน์ ... และ ร.ต.อ. บุญชัย ..เป็นผู้บังคับบัญชา มาถึงกรุงเทพในเวลา 6 โมงเช้า ได้รับคำสั่งให้ไปรักษาการณ์ที่ มธ. และบริเวณข้างเคียง

7และ 14 ก.ย. 2521 สืบพยานโจทย์ปากที่ 10 คือ พ.ต.ต.สพรั่ง ..สารวัตรแผนกอาวุธและอุปกรณ์พิเศษ (S.W.A.T.) กองกำกับการตำรวจนครบาล พยานให้การว่าได้รับคำสั่งมาจากพันตำรวจโททิพย์ ...

ผกก. สายตรวจปฏิบัติการพิเศษให้นำกำลังออกไประงับเหตุที่ มธ.โดยนำกำลังไป 45 นาย มีอาวุธปืน HK33 กระสุน 60นัด พร้อมระเบิดแก๊ซน้ำตา 6โมงรับคำสั่งให้นำกำลัง 20กว่าคนไปสังเกตการณ์บริเวณพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ เห็นนักศึกษาใช้โต๊ะเป็นที่กำบัง ยิงปืนใส่ฝูงชนที่กำลังฝ่าเข้าไปในมหาวิทยาลัย พยานกลับลงมา เวลา 6โมงกว่า ทนายจำเลยซักค้านว่า พยานได้รับมอบหมายให้ไปป้องกันเหตุร้าย แต่ทำไมยกกำลังเข้ากวาดล้างนักศึกษา พยานให้การว่าได้รับคำสั่งใหม่ให้เข้าเคลียร์พื้นที่ โดยอ้างว่า พล .ต.ท วิเชียร ... เป็นผู้สั่ง จึงเข้าไปพร้อมผู้บังคับบัญชาคือ พล.ต.ต เสริม..พ.ต.อ.โกศล..พ.ต.อ ทิพย์..พ.ต.ท.พิโรธ..พร้อมเจ้าหน้าที่ พยานได้ใช้ปืนยิงไป 24 นัด ตามซอกตึกที่เข้าใจว่านักศึกษายิงออกมา

ทีมวิเคราะห์.ได้อ่านคำให้การของพยานหลายคนอย่างละเอียด พอสรุปได้ว่า แม้พยาน จะบอกว่าทำนอกเหนือคำสั่ง ผู้บังคับบัญชา ก็เพื่อตัดตอนไม่ให้ผู้บังคับบัญชาต้องรับผิดชอบ แต่ถ้าทนายฝ่ายนักศึกษา เรียก นายพัน นายพล ที่เกี่ยวข้องซึ่งรู้ชื่อแล้ว มาเป็นพยาน ถูกซักไม่กี่ที รับรองได้รู้ว่าใครอยู่เบื้องหลัง จากคำให้การมีตำรวจหน่วยพิเศษซึ่งใช้ปราบการก่อการร้าย และ ตชด. จากค่ายนเรศวร ไม่มีหน่วยปราบจราจล ไม่มีการสกัดฝูงชนที่ถูกปลุกระดมมา แต่กลับช่วยเปิดทางให้บุกเข้าไป

พยานปากสุดท้ายได้ให้การว่า ขึ้นไปบนพิพิธภัณฑ์สังเกตุการณ์แล้วกลับลงมาโดยไม่มีการยิงเข้าไปภายในมหาวิทยาลัยซึ่งขัดกับคำให้การของหน่วยรปภ.ที่รอดชีวิตมาและสภาพศพที่นอนตายอยู่บริเวณถนนและด้านข้างหอประชุมใหญ่ ในยุคนั้นไม่มีการพิสูจน์วิถีกระสุน รายละเอียดของคำให้การจากเจ้าหน้าที่บอกว่าระยะที่นักศึกษาตั้งที่กำบังอยู่ห่างจากพิพิธภัณฑ์ 100-200 เมตรก็ไม่เป็นความจริง เพราะระยะจริงคือ 40-50 เมตรและเป็นไปไม่ได้ว่าคนระดับผู้บังคับกองร้อยจะกลับลงมาข้างล่างและปล่อยให้ลูกน้องกว่าอีก 20 คน ยิงสังหารนักศึกษาที่เป็น รปภ.โดยไม่มีใครสั่งหรือใครรู้ใครเห็น ที่สำคัญในเวลา 7 โมงเช้า มีพยานคนอื่นได้พบเห็นผู้บังคับบัญชาระดับพลตำรวจโทสองคนอยู่ในบริเวณพิพิธภัณฑ์

การยิงทำลายหน่วยรักษาความปลอดภัยเพื่อเปิดทางให้หน่วยอื่นบุกเข้าไปในธรรมศาสตร์คือจุดเปลี่ยนของสถานการณ์ที่ทำให้เกิดการสังหารโหดอย่างนองเลือดกลางเมือง ถ้าหาก ฝ่ายตำรวจไม่ต้องการให้เกิดเรื่องแบบนั้น ก็สามารถหลีกเลี่ยงได้ เพราะฝ่ายนักศึกษาได้ตรึงกำลังตั้งแต่ช่วงกลางคืนจนถึงเช้าโดยไม่มี การปะทะกัน ทั้งยังเตรียมสลายการชุมนุมและมอบตัวอยู่แล้ว ถ้ากำลังตำรวจมาถึงแล้วและปฏิบัติการเหมือนเมื่อครั้งการประท้วงจอมพลประภาสในบ่ายวันที่ 22 สิงหา 2519 โดยปิดล้อมมหาวิทยาลัยและให้นักศึกษา เดินออกทางประตูท่าพระจันทร์ทั้งหมด เรื่องร้ายแรงก็จะไม่เกิดขึ้น

แต่การกระทำที่เกิดขึ้นวันนั้น เห็นชัดว่าเป็นเจตนาต้องการให้เกิดเรื่องเพื่อสร้างสถานการณ์รัฐประหารนั่นเอง ฝ่ายที่วางแผนหวังว่าจะเกิดเรื่องแล้วควบคุมได้ แต่การปลุกระดมทำไว้แรงเกินไป คุมไม่ได้ ผลเลวร้ายจึงออกมาประจานคณะปฏิรูปฯ จนเกิดกระแสต่อต้านทั่วโลก

จะสังเกตได้ว่ายิ่งสืบพยานมากไปเท่าใด แทนที่ฝ่ายนักศึกษาจะเพลี่ยงพล้ำกลับกลายเป็นความจริงถูกเปิดเผยมากขึ้น ใครมาจากหน่วยไหน? ใช้อาวุธอะไร? มาล้อมฆ่านักศึกษา ถ้าได้สืบพยานต่อ ความจริง

จะต้องถูกเปิดเผยออกมา ลึกกว่านั้นแน่ แต่ฝ่ายที่วางแผนอยู่เบื้องหลัง เป็นตายยังไงก็ไม่ยอมให้เปิดเผย จึงต้องตัดตอน. โดยการนิรโทษกรรม

เช้า 6 ตุลา 2519 มีกลุ่มฝ่ายขวาจัด และตำรวจ 2หน่วยบุกเข้าไปในธรรมศาสตร์ คือ ตำรวจพลร่มค่ายเสือดำหัวหิน และ แผนกอาวุธและอุปกรณ์พิเศษ (S.W.A.T.) Special Weapon and Technical) กองกำกับการตำรวจนครบาล

ไม่มีกำลังทหารแม้แต่หน่วยเดียวในตอนเช้า (ที่ปรากฏตัวอย่างเปิดเผย) แต่ทหารมายึดอำนาจในตอนเย็น

บันทึกของศาสตราจารย์ ดร.ป๋วย อึ้งภากรณ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เขียนเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2519 เกี่ยวกับเหตุการณ์ 6 ตุลา ท่อนหนึ่งได้เขียนว่า......

การปฏิวัติรัฐประหาร

37. คณะที่ทำการปฏิวัติ เรียกตนเองว่า "คณะปฏิรูปการปกครอง" เพื่อมิให้ฟังเหมือนกับการ "ปฏิวัติ" ของจอมพลสฤษดิ์และจอมพลถนอมที่แล้วมา ซึ่งเป็นที่น่าเบื่อหน่ายของประชาชน แต่ความจริงก็เป็นการปฏิวัติรัฐประหารนั่นเองโดยทหารกลุ่มหนึ่ง โดยมีพลเรือนเป็นใจด้วย เพราะ (1) ได้มีการล้มรัฐธรรมนูญ (2) ได้มีการล้มรัฐสภา (3) ได้มีการล้มรัฐบาลโดยผิดกฎหมาย (4) คำสั่งของหัวหน้าคณะ "ปฏิรูป" เป็นกฎหมาย (5) มีการจับกุมปรปักษ์ทางการเมืองโดยพลการเป็นจำนวนมากและยังมีลักษณะอื่นๆที่ไม่ผิดแผกแตกต่างไปจากการปฏิวัติรัฐประหารที่แล้วๆมา

38. มีพยานหลักฐานแสดงว่าผู้ที่ต้องการจะทำการรัฐประหารนั้นมีอยู่อย่างน้อย 2 ฝ่าย ฝ่ายที่กระทำรัฐประหารเมื่อเวลา 18 น.วันที่ 6 ตุลาคม กระทำเสียก่อน เพื่อต้องการมิให้ฝ่ายอื่นๆกระทำได้ ข้อนี้อาจจะเป็นจริง เพราะปรากฎว่าพลเอกฉลาด หิรัญศิริ นักทำรัฐประหารถูกปลดและไปบวชอาศัยกาวสาวพัสตร์อยู่ที่วัดบวรนิเวศเช่นเดียวกับจอมพลถนอม (วัดบวรนิเวศต่อไปนี้คงจะจำกันไม่ได้ว่าแต่ก่อนวัดเป็นอย่างไร) พลตท วิฑูร ยะสวัสดิ์ ก็รีบรับคำสั่งไปประจำตำแหน่งพลเรือนที่ประเทศญี่ปุ่น

แต่อย่างไรก็ตาม ก็ยังเป็นปฏิวัติรัฐประหารอยู่วันยังค่

https://www.facebook.com/sita.karnkriangkrai/posts/3575563249153451