เชียงใหม่เตรียม จัดกิจกรรม Big Cleaning Day แม่น้ำปิง วันที่ 10 พฤศจิกายนนี้
ที่มา cm77.com
เชียงใหม่ ประชาชนประหยัดใช้กระทงเล็กลงเน้นการมีส่วนร่วมตามประเพณี ขณะเดียวกันพบกระทงส่วนใหญ่ ใช้วัสดุจากธรรมชาติ ขณะที่ 10 พฤศจิกายนนี้ พ่อเมืองเชียงใหม่นำทีมจัด Big Cleaning Day แม่น้ำปิง จัดเก็บกระทงพร้อมนำกระทงนับแสน จากงานยี่เป็งทั้ง 3 วันจัดทำปุ๋ยหมัก ทั้งนี้พบชาวบ้านหัวใส รีไซด์เคิล เก็บกระทงที่ลอยแล้ว แต่มีสภาพดีสวยงามลอยมาติดประตูระบายน้ำ ทำความสะอาดนำไปขายต่อ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าในวันที่ 10 พฤศจิกายนนี้ นายสุริยะ ประสาทบัณฑิต ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ จัดกิจกรรม Big Cleaning Day แม่น้ำปิง ที่บริเวณประตูระบายน้ำแม่น้ำปิง ตำบลป่าแดด อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ทำความสะอาดแม่น้ำปิง หลังจากมีเศษกระทง ตกค้างลอยติดตลอดแนวแม่น้ำปิง และไหลมารวมกันที่ประตูระบายน้ำ พร้อมก้บเศษขยะเศษซากไม้ที่ไหลจากแหล่งน้ำทางตอนเหนือ หลังจากมีฝนตกมากจนทำให้มีน้ำป่าไหลลงมาในแม่น้ำปิง
โดยในช่วงประเพณียี่เป็งปีนี้ พบว่ากระทงที่นักท่องเที่ยวนำมาลอย ส่วนมากทำมาจากวัสดุธรรมชาติ และขนมปังที่ย่อยสลายเป็นอาหารปลาได้ง่าย ซึ่งแทบไม่พบการนำกระทงจากโฟมมาลอยเลย ซึ่งพบว่ากระทงส่วนใหญ่จะมีขนาดเล็กลงกว่าปีที่ผ่านมา จะเห็นว่าประชาชนเน้นการลอยกระทงเพื่อเป้นไปตามประเพณี ประหยัดในการซื้อหรือทำกระทงมาลอย
นอกจากนี้กระทงที่จัดเก็บขึ้นมาจากแม่น้ำปิง พบว่าส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 90 ทำมาจากต้นกล้วย ใบตอง โดยจังหวัดเชียงใหม่มีแผนดำเนินการในการรักษาสิ่งแวดล้อม รณรงค์การใช้กระทงวัสดุธรรมชาติ และเมื่อเสร็จสิ้นการจัดงานแล้วก็จะรวบรวมเศษกระทงจากแม่น้ำปิงนำมาเข้าเครื่องย่อยสลายเพื่อจัดทำเป็นปุ๋ยหมักแจกจ่ายประชาชนเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป โดยทำการย่อยสลายที่บริเวณสวนหลวง ร.9 เพื่อนำปุ๋ยแบบธรรมชาติตามแนวนโยบายของรัฐบาลที่สนับสนุนนำเศษวัสดุ เหล่านี้มาทำปุ๋ยใช้แทนการใช้ปุ๋ยเคมี ที่สำคัญเพื่อลดปัญหามลพิษจากการทำลายทิ้งโดยเปล่าประโยชน์
ทั้งนี้ผู้สื่อข่าวยังได้พบชาวบ้านหัวใส รีไซด์เคิล เก็บกระทงที่ลอยแล้ว แต่มีสภาพดีสวยงามลอยมาติดประตูระบาย ทำความสะอาดนำไปขายต่อ เพื่อ หารายได้ในค่ำคืนสุดท้ายประเพณียี่เป็ง โดยที่บริเวณประตูระบายน้ำแม่น้ำปิง ตำบลป่าแดด อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่พบเห็นชาวบ้านจำนวนหนึ่ง ลงไปแม่น้ำปิง เพื่อจัดเก็บ กระทงของประชาชนและนักท่องเที่ยวที่ลอยมาแล้วเมื่อค่ำคืนของวันที่ 6 พฤสจิกายน หรือคืนกระทงเล็ก ที่ไหลมาติดอยู่บริเวณปากบานประตูระบายน้ำ โดยส่วนหนึ่งหาเศษเหรียญที่ลอยมากับกระทง
และชาวบ้านบางส่วนได้ลงไปในน้ำค้นหาคัดเลือกกระทงที่สวยงามสภาพดี นำขึ้นทำความสะอาดเพียงเล็กน้อย ก็นำไปว่างจำหน่ายต่อในค่ำคืนสุดท้ายของประเพณียี่เป็ง เพื่อหารายได้โดยที่ไม่ต้องลงทุนอะไรมากนักเพียงออกแรงค้นหาคัดเลือกและลงไปแช่น้ำเพียง 1-2 ชั่วโมง ก็จะได้กระทงที่ต้องการ และคัดเลือกไปพอประมาณ เพื่อว่างจำหน่ายต่อให้กับประชาชนและนักท่องเที่ยว
ผมคิดว่าในที่สุด สิ่งที่รัฐไทยเคยเสนอให้จัดงานลอยกระทง เอาสนุกเมื่อ 80 ปีก่อน แต่บัดนี้ สังคมเปลี่ยนไปมากมาย ก็ลอยๆๆๆ กันใหญ่ ครั้น มาเห็นล้านนาเขาจุดโคมลอย (ว่าวลม) กับโคมไฟ (ว่าวไฟ) ยามค่ำคืนสวยงาม ก็เอาอย่าง เอาไปตีความว่าลอยเคราะห์ลอยโศก ทั้งๆที่งานยี่เป็งของล้านนาเป็นงานไปวัด ไปฟังธรรม จุดไฟ จุดประทีปทั้งหมดก็บูชาศาสนา ไม่ใช่ลอยเคราะห์ แบบฮินดูที่สยามรับมา
พอมาเจอทุนนิยมผสมฮินดูของสยาม ก็เลยไปกันใหญ่ คราวนี้ ปล่อยโคมไฟกันแหลกราญ เป็นหมื่นๆพันๆลูก เอาเท่ ไว้ก่อน เสียเงินเท่าไหร่ไม่ว่า บ้านเรือนไฟไหม้ไปเท่าไหร่ก็ไม่สำคัญ ขอให้คนได้เห็นได้ถ่ายรูป ได้เท่ๆกันไว้ ขนาดงานแข่งกีฬา งานฉลองเลื่อนข้้นเลือนตำแหน่งก็ทำ วันเกิด วันรวมญาติ รวมรุ่นศิษย์เก่าก็ทำ มันถึงได้ทำลายสิ่งแวดล้อมได้ขนาดนี้
ตกลง รัฐที่มีวิสัยทัศน์ก็ต้องหาทางลดปริฒาณ เปลี่ยนความคิดกันใหม่ รณรงค์กันใหม่ และต้องเปลี่ยนพฤติกรรมกันใหม่ครับ ว่าแต่ว่ามีหรือครับ เราจะช่วยกันสร้างผู้นำของเราได้ไหมเอ่ย
Tanet C