https://www.facebook.com/watch/?v=1189554596210424
.....
ชีวิตที่ 2 ของไชยชนก ชิดชอบ ร่วมรัฐบาล "นายกฯ เจนวาย" ทำไม "ไม่กลัวทักษิณ"

ไชยชนก ชิดชอบ ชูป้ายไฟให้กำลังใจนายกฯ แพทองธาร ในระหว่างถูกฝ่ายค้านเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจเมื่อ 24-25 มี.ค.
หทัยกาญจน์ ตรีสุวรรณ
ผู้สื่อข่าวบีบีซีไทย
6 เมษายน 2025
ชายที่ชื่อมีความหมายว่า "ผู้นำชัยชนะ-ความเจริญ-ความดีงามมาให้พ่อ" เป็นบุตรคนโตของ เนวิน ชิดชอบ และเป็นทายาทเพียงคนเดียวในรุ่นที่ 3 ของตระกูลที่เดินตามรอยเท้าปู่และพ่อเข้าสู่โลกการเมือง
จาก "ไม่ชอบ-ไม่อยาก" เพราะผ่านประสบการณ์ด้านลบในวัยเยาว์จากการเห็นพ่อ "ถูกกระทำ" ในช่วงรัฐประหาร 2549 ไชยชนก ชิดชอบ จึง "หนีการเมือง" มาโดยตลอด ถึงขั้นเคยนำคำบุพการีมาย้อนว่า "พ่อบอกว่าพ่อหลุดจากนรกแล้ว สุดท้ายจะมาบอกให้พวกผมไปเนี่ยนะ" เมื่อถูก "จีบ" ให้เข้ามาทำงานการเมือง
แต่วันนี้ ไชยชนก คือหนึ่งในผู้บริหารรุ่นใหม่ของพรรคภูมิใจไทย (ภท.) ที่พ่อของเขาร่วมก่อร่าง-สร้างมาเมื่อ 17 ปีก่อน และกำลังปรับภาพลักษณ์ (Rebranding) องค์กรใหม่ โดยเปลี่ยนตราสัญลักษณ์ประจำพรรค (โลโก้) เป็นสีน้ำเงินล้วนในระหว่างทำบุญวันเกิดพรรค 6 เม.ย. หลังเปลี่ยนโครงสร้างฝ่ายบริหารครบปีและไล่วางรากฐานระบบการทำงานภายในพรรคใหม่
"ถ้าเกิดไม่ได้เป็นบ้านใหญ่ แล้วผมไม่ได้เป็นลูกชายคนโตของลุงเนนะ ถ้าผมทำไม่ได้ในตอนนี้ ก็ไม่น่ามีใครทำได้แล้ว" เลขาธิการพรรค ภท. กล่าวกับบีบีซีไทย
.....
ชีวิตที่ 2 ของไชยชนก ชิดชอบ ร่วมรัฐบาล "นายกฯ เจนวาย" ทำไม "ไม่กลัวทักษิณ"

ไชยชนก ชิดชอบ ชูป้ายไฟให้กำลังใจนายกฯ แพทองธาร ในระหว่างถูกฝ่ายค้านเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจเมื่อ 24-25 มี.ค.
หทัยกาญจน์ ตรีสุวรรณ
ผู้สื่อข่าวบีบีซีไทย
6 เมษายน 2025
ชายที่ชื่อมีความหมายว่า "ผู้นำชัยชนะ-ความเจริญ-ความดีงามมาให้พ่อ" เป็นบุตรคนโตของ เนวิน ชิดชอบ และเป็นทายาทเพียงคนเดียวในรุ่นที่ 3 ของตระกูลที่เดินตามรอยเท้าปู่และพ่อเข้าสู่โลกการเมือง
จาก "ไม่ชอบ-ไม่อยาก" เพราะผ่านประสบการณ์ด้านลบในวัยเยาว์จากการเห็นพ่อ "ถูกกระทำ" ในช่วงรัฐประหาร 2549 ไชยชนก ชิดชอบ จึง "หนีการเมือง" มาโดยตลอด ถึงขั้นเคยนำคำบุพการีมาย้อนว่า "พ่อบอกว่าพ่อหลุดจากนรกแล้ว สุดท้ายจะมาบอกให้พวกผมไปเนี่ยนะ" เมื่อถูก "จีบ" ให้เข้ามาทำงานการเมือง
แต่วันนี้ ไชยชนก คือหนึ่งในผู้บริหารรุ่นใหม่ของพรรคภูมิใจไทย (ภท.) ที่พ่อของเขาร่วมก่อร่าง-สร้างมาเมื่อ 17 ปีก่อน และกำลังปรับภาพลักษณ์ (Rebranding) องค์กรใหม่ โดยเปลี่ยนตราสัญลักษณ์ประจำพรรค (โลโก้) เป็นสีน้ำเงินล้วนในระหว่างทำบุญวันเกิดพรรค 6 เม.ย. หลังเปลี่ยนโครงสร้างฝ่ายบริหารครบปีและไล่วางรากฐานระบบการทำงานภายในพรรคใหม่
"ถ้าเกิดไม่ได้เป็นบ้านใหญ่ แล้วผมไม่ได้เป็นลูกชายคนโตของลุงเนนะ ถ้าผมทำไม่ได้ในตอนนี้ ก็ไม่น่ามีใครทำได้แล้ว" เลขาธิการพรรค ภท. กล่าวกับบีบีซีไทย

หัวหน้าพรรค ภท. ให้เหตุผลในการโลโก้ใหม่ว่า สิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจคนภูมิใจไทยคือ "ความจงรักภักดีต่อสถาบันสำคัญของชาติ" และให้สอดคล้องกับฉายาที่ประชาชนและสื่อมวลชนเรียกว่า "พรรคสีน้ำเงิน"
Nepo Baby เล่า "ตำนาน" จากมุมมองคนร่วมบ้าน
ชีวิตที่ 2 ของ ไชยชนก เริ่มต้นในปี 2566 เมื่อเขาลงสมัครรับเลือกตั้ง สส.บุรีรัมย์ เขต 2 เป็นครั้งแรก ก็ได้เข้าไปทำหน้าที่ในสภาผู้แทนราษฎรทันที จนกลายเป็นหนึ่งในภาพสะท้อน "Nepo Baby" อันหมายถึง "ลูกท่าน-หลานเธอ" ที่ได้อานิสงส์จาก "บุญเก่า" ของบรรพบุรุษผลักดันให้เติบโตอย่างก้าวกระโดดในวงการต่าง ๆ
เกี่ยวกับเรื่องนี้ สส. เจเนอเรชัน 3 (Generation 3) ของตระกูลชิดชอบ มองเป็น 2 มุม
- มุมบวก: ไม่ปฏิเสธว่าการที่ครอบครัวสร้างคุณประโยชน์หลายอย่างให้ชาวบุรีรัมย์ทั้งในภาคเอกชนและภาคการเมือง "ทำให้ผมได้มาซึ่งตำแหน่ง สส.เขต"
- มุมลบ: หลายคนมีมุมมองที่เป็นอคติ คิดว่าได้มาง่าย ๆ เพราะไม่เห็นเรื่องราวและวิถีชีวิตที่เขาเติบโตมา สิ่งที่เขาทำ ซึ่งเป็นสิทธิในการมองเช่นนั้น

เนวิน ช่วยแต่งตัวให้ สส. บุรีรัมย์หน้าใหม่ ก่อนเข้าร่วมพิธิเปิดประชุมรัฐสภา 3 ก.ค. 2566
ตระกูลชิดชอบยึดครองพื้นที่การเมืองในดินแดนอีสานใต้โดยเฉพาะ จ.บุรีรัมย์ มากว่าครึ่งศตวรรษ นับจากรุ่นปู่ชัย ผู้ไต่ระดับจากกำนันขึ้นสู่จุดสูงสุดทางการเมืองบนบัลลังก์ประธานสภาผู้แทนราษฎร... ส่งต่ออำนาจทางการเมืองให้ลูก ๆ 4 คน จากทั้งหมด 6 คน ได้เป็น สว., สส., รมต. (อุษณีย์-เนวิน-เพิ่มพูน-ศักดิ์สยาม)... และสืบทอดมาถึงรุ่นหลาน ทว่าในเจนนี้มี "ลูกเนวิน" เพียง 1 คน จากทั้งหมด 4 คน ที่รับมรดกทางการเมืองต่อ ได้เป็น สส.บุรีรัมย์ พื้นที่ที่ถูกขนานนามว่า "จังหวัดภูมิใจไทย" จากการกวาดผู้แทนราษฎรยกจังหวัดรวม 8 ที่นั่ง
ปฏิเสธไม่ได้ว่า เนวิน เป็นคนในตำนานการเมืองหลายบท เขาเป็นนักการเมืองฝีปากกล้า-ดาวอภิปรายในสภาภายใต้ชื่อ "กลุ่ม 16" ในช่วงทศวรรษ 2530, "ขุนพลทักษิณ" ที่เคลื่อนไหวทั้งบนดิน-ใต้ดินเพื่อค้ำยันอำนาจให้นายกฯ คนที่ 23 ในช่วงเผชิญกับการชุมนุมขับไล่รัฐบาลโดยกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่จบลงด้วยรัฐประหารปี 2549, สมาชิก "แก๊งออฟโฟร์" ที่เรืองอำนาจสูงสุดในยุครัฐบาล "สมัคร" ปี 2550-2551 และเมื่อนำกลุ่ม "เพื่อนเนวิน" แยกตัวจาก "นายใหญ่" มาก่อตั้งพรรค ภท. ก็เป็น "ครูใหญ่" ตั้งแต่ปี 2551 จนถึงปัจจุบัน
น่าสนใจว่า "ทายาททางการเมือง" ประทับใจในตำนานบทไหนของชายวัยย่าง 67 ปีผู้นี้ผู้ที่เคยบอกว่าหากใครได้ "ชิดแล้วจะชอบ"?
คนร่วมบ้านสารภาพว่าไม่ค่อยรู้ตำนาน-วีรกรรมในเชิงลึกของ เนวิน เพราะส่วนตัวเลี่ยงการเมืองมาตลอด มีเพียงเรื่องราว-เรื่องเล่าเล็ก ๆ ที่ได้รับฟังจากคนรอบข้าง

เนวิน-กรุณา ชิดชอบ และลูก ๆ ทั้ง 4 คนถ่ายภาพร่วมกันในวันคล้ายวันเกิดปีที่ 64 ของ เนวิน เมื่อ 4 ต.ค. 2565
สำหรับเขา ตำนานที่ประทับใจ-ภูมิใจในตัวพ่อที่สุด เป็นตำนานที่กำลังเขียนอยู่ในปัจจุบัน เป็นตำนานของ ด.ช.เนวิน ชิดชอบ ที่มีเจตนาจะสร้างความเปลี่ยนแปลงให้บ้านเกิดเป็นที่รู้จัก คนในจังหวัดบุรีรัมย์มีคุณภาพชีวิตดีขึ้น ประเทศไทยเป็นจุดน่าสนใจและยอมรับทั่วโลก
"ตำนานที่เขาเดินมาในตอนแรกที่ต้องใช้สายการเมืองที่จะสร้าง แต่ตอนนี้ใช้สายเอกชน และวันนี้ผมสามารถจะเป็นส่วนหนี่งในการเขียนตำนานนี้กับเขาได้ด้วย มันยังไม่จบ มันเป็นสิ่งที่เรากำลังทำอยู่" ไชยชนก กล่าว
บารมีเนวิน
ความเป็นเลือดแท้ชิดชอบ ทำให้คนการเมืองหน้าใหม่มีโอกาสใกล้ชิด-ศึกษา-ซึมซับ "สไตล์เนวิน" ผ่านการกระทำของบิดามาทั้งชีวิต และยังได้ใช้ความเป็น "ลูกเนวิน" ช่วยขับเคลื่อนการบริหารพรรค ทำให้เขาได้ลองคิด-ลองทำสิ่งใหม่ ๆ ที่พรรคการเมืองเก่าไม่เคยคิดทำมาก่อน
"การอยู่ในร่มเงาของนายเนวิน ชิดชอบ สำหรับผมมันไม่ใช่ร่มเงาที่ปิดบังผม คุณพ่อไม่ได้กดผม ไม่ได้ทำให้ผมไม่มีพื้นที่ในการคิด ในการตัดสินใจ แต่คุณพ่อเปรียบเสมือนร่มเงาที่คอยให้คำแนะนำ ที่ทำให้ผมร่มเย็นและรู้สึกสบายใจว่ามีประสบการณ์ มีองค์ความรู้ ที่คอยสนับสนุนให้คำแนะนำผมเสมอ"
"ถ้าไม่มีบารมีของคุณพ่อ ผมทำไม่ได้แบบนี้หรอกครับ" เขายอมรับ
ลูกชายคนโตของ เนวิน เข้ารับตำแหน่งเลขาธิการพรรค ภท. เมื่อ มี.ค. 2567 ต่อจากอา ศักดิ์สยาม ชิดชอบ อดีต รมว.คมนาคม ที่ถูกศาลรัฐธรรมนูญสั่งให้พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีจาก "คดีซุกหุ้นบุรีเจริญคอนสตรัคชั่น" เมื่อ 17 ม.ค. 2567 ทั้งนี้น้องชายเนวินยื่นใบลาออกจากการเป็น สส.บัญชีรายชื่อ และเลขาธิการพรรค ภท. ในวันเดียวกัน และกลายเป็นเงื่อนไขบังคับให้คนร่วมตระกูลรุ่นต่อไปต้องก้าวเข้ามารับไม้ต่อ
การขึ้นแท่น "พ่อบ้าน" พรรคอันดับ 3 ของสภาซึ่งมี สส. อยู่ 70 ชีวิต ทำให้คนหนุ่มผู้มีอายุงานการเมืองเพียง 10 เดือน ณ เวลานั้น รู้สึกว่า "เร็วเกินคาด" และ "กดดันหนัก"

"ลุงเนวิน" แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้เข้าร่วมโครงการ "ค่ายยุวชนภูมิใจไทย" เมื่อ 30 มี.ค. ซึ่งมีกรรมการบริหารพรรค ภท. "เจนใหม่" บางส่วนร่วมด้วย
จากเคยคิดว่าชีวิตการเมืองของเขาเริ่มต้นจากศูนย์ แต่ยิ่งเห็น-ยิ่งรู้-ยิ่งเข้าใจในหลากหลายมิติทางการเมือง เขาจึงตระหนักว่ามีอีกหลายอย่างที่ต้องศึกษา
"มันเปรียบเสมือนวันนั้นที่เราก้าวเข้ามา เราคิดว่าศูนย์ แต่จริง ๆ เราเริ่มจากลบเลยด้วยซ้ำ" เขาเล่าพลางหัวเราะ แต่ถึงกระนั้นเขาได้แปรความคาดหวังและแรงกดดันให้เป็นตัวเร่งเรียนรู้และพัฒนาตัวเอง
ในอีก 3 เดือนข้างหน้า ไชยชนก จะมีอายุครบ 35 ปีเต็ม อันเป็นเกณฑ์ขั้นต่ำตามรัฐธรรมนูญที่ทำให้เขามีคุณสมบัติเป็นรัฐมนตรีได้ แต่สังคมอาจยังไม่ได้เห็นภาพทายาทของ "ผู้นำทางจิตวิญญาณภูมิใจไทย" ร่วมวงฝ่ายบริหารในเร็ววันนี้
เขามักส่ายศีรษะเมื่อถูกไถ่ถามถึงการเข้าร่วม ครม. "ถ้าเกิดมีคนในพรรคที่เหมาะสมกับตำแหน่งมากกว่าผม ผมจะไม่เป็น แต่ถ้าผมเชื่อว่าผมทำได้ดีที่สุด ผมเป็น ก็ต้องดูสถานการณ์ก่อน" เขากล่าวและว่า มันแล้วแต่ความพร้อม จังหวะ และโอกาส
เนวิน ประธานสโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ยูไนเต็ด พานายกฯ ทัวร์สนามช้าง อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต ซึ่งเป็นหนึ่งในสนามแข่งขันโมโตจีพี เมื่อ 3 เม.ย. โดยมี อนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกฯ และ รมว.มหาดไทย หัวหน้าพรรค ภท. ร่วมด้วย
บ้านใหญ่-อุดมการณ์ใหม่?
การเกิดและเติบโตในตระกูลการเมือง ในบ้านที่เป็นแหล่งชุมนุมของนักเลือกตั้งอาชีพทั้งระดับชาติและท้องถิ่น บ้านที่เป็นศูนย์กลางอำนาจ ไม่ว่าข้าราชการ นักธุรกิจ พ่อค้า ประชาชนต่างต้องเคลื่อนตัวเข้าหาเจ้าของบ้าน ทำให้ ไชยชนก มองเห็นพลังในเชิงบวกของ "บ้านใหญ่" ที่ช่วยพลิก-พัฒนาบุรีรัมย์ให้เปลี่ยนแปลงจาก จังหวัดยากจนอันดับ 3 ของประเทศ กลายเป็น เมืองกีฬา (Sport City) ที่สร้างเม็ดเงินหมุนเวียนหลายพันล้านบาทให้บุรีรัมย์และจังหวัดใกล้เคียง
แต่ทว่าการบริหารจัดการแบบ "หุ้นส่วนการเมือง" กล่าวคือ หากบ้านนี้ทำยอด สส. ได้ตามเป้าก็เอาเก้าอี้ รมต. ไปครอง คล้ายเป็นอุปสรรคที่ทำให้พรรค ภท. ไม่อาจเป็นสถาบันทางการเมืองอย่างแท้จริงได้
ไชยชนก บอกว่า "ไม่ผิด" ที่คนจะมองพรรค ภท. เช่นนั้น
"ที่ผ่านมามันก็ดูเป็นแบบนั้น แต่มันจะเริ่มเปลี่ยนก็ตอนนี้ละครับตอนที่ผมเข้ามา เพราะว่าส่วนตัวมันเป็นความเชื่อของผม ไม่อย่างนั้นเราจะไม่สามารถทำงานและขับเคลื่อนพรรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ ถ้าเราไม่สามารถใช้บุคลากรที่มีศักยภาพได้อย่างเต็มที่ และเขาไม่สามารถมีพื้นที่ให้เติบโต"
นักการเมืองจาก "บ้านใหญ่บุรีรัมย์" ย้ำว่า ความเปลี่ยนแปลงของพรรค ภท. เริ่มต้นไปแล้ว อย่างกรรมการบริหารพรรคชุดปัจจุบัน 16 คนก็ไม่ใช่ทุกคนที่เป็นบ้านใหญ่หรือทายาททางการเมือง แต่ต่อให้เป็นทายาททางการเมืองก็เป็นคนที่มีศักยภาพและความสามารถที่ "ผมได้เห็นและได้คัดมากับมือ" และเมื่อการวางระบบการทำงานภายในพรรคเสร็จสิ้น สส. ก็จะได้แสดงศักยภาพออกมามากขึ้น
เขาเชื่อว่า ภายใน 1-2 ปีนี้ จะได้เห็นชัดเจนว่าพรรค ภท. ตอบโจทย์ใครบ้าง
บ้านใหญ่-อุดมการณ์ใหม่?
การเกิดและเติบโตในตระกูลการเมือง ในบ้านที่เป็นแหล่งชุมนุมของนักเลือกตั้งอาชีพทั้งระดับชาติและท้องถิ่น บ้านที่เป็นศูนย์กลางอำนาจ ไม่ว่าข้าราชการ นักธุรกิจ พ่อค้า ประชาชนต่างต้องเคลื่อนตัวเข้าหาเจ้าของบ้าน ทำให้ ไชยชนก มองเห็นพลังในเชิงบวกของ "บ้านใหญ่" ที่ช่วยพลิก-พัฒนาบุรีรัมย์ให้เปลี่ยนแปลงจาก จังหวัดยากจนอันดับ 3 ของประเทศ กลายเป็น เมืองกีฬา (Sport City) ที่สร้างเม็ดเงินหมุนเวียนหลายพันล้านบาทให้บุรีรัมย์และจังหวัดใกล้เคียง
แต่ทว่าการบริหารจัดการแบบ "หุ้นส่วนการเมือง" กล่าวคือ หากบ้านนี้ทำยอด สส. ได้ตามเป้าก็เอาเก้าอี้ รมต. ไปครอง คล้ายเป็นอุปสรรคที่ทำให้พรรค ภท. ไม่อาจเป็นสถาบันทางการเมืองอย่างแท้จริงได้
ไชยชนก บอกว่า "ไม่ผิด" ที่คนจะมองพรรค ภท. เช่นนั้น
"ที่ผ่านมามันก็ดูเป็นแบบนั้น แต่มันจะเริ่มเปลี่ยนก็ตอนนี้ละครับตอนที่ผมเข้ามา เพราะว่าส่วนตัวมันเป็นความเชื่อของผม ไม่อย่างนั้นเราจะไม่สามารถทำงานและขับเคลื่อนพรรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ ถ้าเราไม่สามารถใช้บุคลากรที่มีศักยภาพได้อย่างเต็มที่ และเขาไม่สามารถมีพื้นที่ให้เติบโต"
นักการเมืองจาก "บ้านใหญ่บุรีรัมย์" ย้ำว่า ความเปลี่ยนแปลงของพรรค ภท. เริ่มต้นไปแล้ว อย่างกรรมการบริหารพรรคชุดปัจจุบัน 16 คนก็ไม่ใช่ทุกคนที่เป็นบ้านใหญ่หรือทายาททางการเมือง แต่ต่อให้เป็นทายาททางการเมืองก็เป็นคนที่มีศักยภาพและความสามารถที่ "ผมได้เห็นและได้คัดมากับมือ" และเมื่อการวางระบบการทำงานภายในพรรคเสร็จสิ้น สส. ก็จะได้แสดงศักยภาพออกมามากขึ้น
เขาเชื่อว่า ภายใน 1-2 ปีนี้ จะได้เห็นชัดเจนว่าพรรค ภท. ตอบโจทย์ใครบ้าง

สส. "พรรคสีน้ำเงิน" ในระหว่างการประชุมสภา
ไม่ว่าบังเอิญหรือจงใจ ไทม์ไลน์ความเปลี่ยนแปลงของพรรคอันดับ 3 ที่ถูกมองว่าเป็น "พรรคไร้กระแส" ได้คะแนนมหาชนราว 1 ล้านเสียง ไปสอดรับกับฤดูเลือกตั้งปี 2570 ที่จะมาถึงพอดี นั่นอาจช่วยให้สังคมมองเห็นภาพใหม่ของภูมิใจไทยว่าจะเสนอตัวเป็นตัวแทนของใคร-อุดมการณ์ชุดไหน ในภาวะที่ฝ่ายอนุรักษนิยมยังไม่มี "หัวขบวนใหม่" ที่ชัดเจน
"แต่ผมไม่ได้คิดแบบนั้นเลย ทุกคนคิดแบบนั้นกันหมดเลย เราต้องทำแบบนี้นะ ถ้าเราจะเป็นอนุรักษนิยม ถ้าเราจะเป็นรอยัลลิสต์ คือต้องออกนโยบายมาให้เจาะจงกลุ่มนี้ มองเป็นยุทธศาสตร์ไปหมด ผมมองว่าแบบนั้นมันไม่ถูก มันต้องออกมาด้วยความจริงใจสิครับ ดูศักยภาพของเราว่าสามารถทำได้แค่ไหน ทำเรื่องอะไรได้ดีแล้วก็ทำมันออกมา ถ้าเรื่องนั้นทำให้กลุ่มรอยัลลิสต์ กลุ่มอนุรักษนิยม หรือกลุ่มลิเบอรัลได้ประโยชน์มากที่สุดก็ทำมันออกมา อย่าตีกรอบสิ่งที่เราสามารถทำได้ ในเมื่อเรามี สส. หลายรูปแบบ มีประสบการณ์ที่ต่างกัน เราไม่รู้ด้วยซ้ำว่าเราจะไปบริหารกระทรวงไหนในรอบหน้า... การทำแบบนั้นก็เหมือนการตลาดขายของ แน่นอนมันก็ต้องมี แต่ผมไม่อยากให้ core (แกนหลัก) ของสิ่งที่จะทำตั้งต้นจากแบบนั้น"
อย่างไรก็ตามเขายอมรับว่า ขณะนี้คนในพรรคยังเห็นแตกต่างกัน แต่การดูตัวเองว่า "มีของแบบไหนที่สร้างประโยชน์ให้ประชาชนได้มากที่สุด มันก็เป็นอุดมการณ์อย่างหนึ่ง ไม่ใช่เราไม่มีอุดมการณ์ แต่ทุกอย่างคงชัดเจนกว่านี้วันที่นโยบายออกมา"
นายกฯ "พี่อิ๊ง" และนักการเมืองเจนวาย
เมื่อชวนไปมองออกไปนอกบ้าน-นอกพรรค คิดอย่างไรกับนายกฯ เจนวาย (Gen Y) บีบีซีไทยถาม
"ผมเห็นใจมาก" นักการเมืองต่างค่าย แต่ร่วมเจนเดียวกัน ตอบทันควัน พลางนึกเปรียบเทียบกับสถานการณ์ของตัวเองที่ตกที่นั่งไม่ต่างกัน
บุตรชายคนโตของ เนวิน ลงสนามเลือกตั้งครั้งแรกขณะมีอายุ 33 ปี และขึ้นเป็นเลขาธิการพรรค ภท. ในเวลาไม่ถึงปีต่อมา
บุตรสาวคนสุดท้องของ ทักษิณ ไม่เคยลงสมัคร สส. แต่เสนอตัวเป็น 1 ใน 3 แคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของพรรคเพื่อไทย (พท.) ในการเลือกตั้งปี 2566 ก่อนขึ้นเป็นหัวหน้าพรรค พท. หลังจากนั้นเพื่อกอบกู้พรรคสีแดงซึ่งประสบความพ่ายแพ้เป็นครั้งแรกในรอบ 22 ปี และเมื่อเกิดอุบัติเหตุทางการเมืองขึ้นกับ เศรษฐา ทวีสิน นายกฯ คนที่ 30 กลางปี 2567 แพทองธาร ก็เข้ารั้งเก้าอี้ประมุขฝ่ายบริหารแทนในขณะมีอายุเพียง 37 ปี กลายเป็นนายกฯ อายุน้อยที่สุดในประวัติศาสตร์การเมืองไทย
"การขึ้นมาเป็นเลขาธิการพรรคมันเร็วเกินคาด แล้วแรงกดดันที่ผมได้สัมผัสได้เจอ กับการที่เรานึกว่าจะมีเวลาได้ศึกษาเรียนรู้และเตรียมมากกว่านี้ เพราะฉะนั้นอันนี้แค่เลขาธิการพรรค แต่นั่นคือนายกฯ นะครับ แล้วพี่อิ๊งต้องทำในบริบทของการเป็นแม่ด้วย อยู่ในบริบทที่การเมืองมีความแปรปรวน เปลี่ยนผันเยอะมาก มีกระแสสังคมโหมกระหน่ำมาที่เขา ทั้งสิ่งที่พัวพันมาตั้งแต่ก่อนนายกฯ รับตำแหน่งและในระหว่างที่รับตำแหน่ง รวมไปถึงความเป็นพรรคอันดับ 2 มีสมาชิก 141 คน ผมนี่ 70 ยังหนักเลย อันนี้ 140 ในพรรค ต้องบริหารตรงนั้นไม่พอ รัฐบาลทั้งรัฐบาล พรรคร่วมฯ อีกหลายพรรค ความต้องการเหล่านั้นทุกอย่างถาโถมเข้ามา"
"การที่ท่านนายกฯ เข้ามาอยู่ในตำแหน่งนี้ ไม่ว่ามันจะเป็นโดยความตั้งใจ เป็นทางเลือกของเขา 100% หรือสถานการณ์อะไรหรือไม่ ขอให้ตัดไปตรงนั้นก่อนว่าแล้วคุณควรจะมาเป็นนายกฯ หรือไม่ ความพร้อมไม่พร้อมที่ทุกคนพูดถึง ผมขอให้ตัดตรงนั้นไว้ก่อน แต่ให้มองถึงปัจจุบันความเป็นจริงว่าเขาอยู่ตรงนี้ ตอนนี้ผมเห็นใจเป็นอย่างยิ่งมาก ๆ เพราะว่ามันต้องหนักมาก ๆ แน่นอน" เลขาธิการพรรคร่วมรัฐบาลให้ความเห็น

ลูกเนวิน-ลูกทักษิณ พูดคุยกันในนัดหมายประชุมแกนนำพรรคร่วมเมื่อ 26 มี.ค. ก่อนที่สภาจะลงมติ "ไว้วางใจ" ให้นายกฯ คนที่ 31 ทำหน้าที่ต่อไป
อุ๊งอิ๊ง-แพทองธาร เจ้าของวาทะ "อยากให้ทุกคนเข้าใจนายกฯ เจนวาย" คือหนึ่งในผู้นำทางการเมืองที่เกิดในช่วงปี 2523-2537 นอกจากเธอแล้ว ยังมีอีกหลายคนที่เกิดในห้วงเดียวกัน-เป็นคนร่วมรุ่น อาทิ ณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ หัวหน้าพรรคประชาชน (ปชน.), เอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รมว.อุตสาหกรรม และเลขาธิการพรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) รวมถึง ไชยชนก
หากคนเจนวายเข้ามาทำงานการเมืองมากขึ้น จะเปลี่ยนโฉมหน้าการเมืองไทยไปอย่างไร?
ในทัศนะของ ไชยชนก ความเป็นเจนใหม่ไม่ได้อยู่ที่อายุ แต่ขึ้นอยู่กับทัศนคติ มุมมอง และความสามารถในการทำงานมากกว่า ไม่ว่าจะเจนใหม่หรือเจนเก่า สิ่งสำคัญที่สุดคือพร้อมจะปรับตัวเองให้ทันต่อความเปลี่ยนแปลงของเวลาหรือเปล่า
เขายังหลีกเลี่ยงจะตอบคำถามที่ว่านักการเมืองเจนใหม่-เจนวายในพรรค ภท. เหมือนหรือต่างอย่างไรกับเจนวายในพรรคคู่แข่งทั้งพรรค พท. และพรรค ปชช. โดยให้เหตุผลว่าไม่รู้จักเป็นการส่วนตัว ไม่มีโอกาสพูดคุย หรือสนิทสนมขนาดนั้น
"ถ้าเอาเฉพาะเรื่องการทำงาน เจนใหม่เพื่อไทย ผมมองว่าประเมินได้ยาก เพราะรู้สึกว่าเขามีบทบาทที่จะแสดงศักยภาพออกมาได้น้อยกว่าศักยภาพของเขาที่ผมเห็นเวลาได้ทำงานร่วมกันในกรรมาธิการโดยเหตุผลอะไรก็แล้วแต่ ของฝั่งประชาชน ผมมองว่ามีหลายรูปแบบมาก มีทั้งกลุ่มที่มีศักยภาพ มีความสามารถ มีทั้งกลุ่มที่รู้สึกว่าตั้งตัวไม่ทันเหมือนกันกับการรับผิดชอบในบทบาทหน้าที่ของการเป็น สส. อันนี้เป็นผลจากการเลือกตั้งที่กระแสก็เกินความคาดหมายของพวกเขาเช่นกัน ไม่ใช่เฉพาะกับพวกเรา ก็มีหลายรูปแบบ แต่ผมรู้ว่าทุก ๆ คนก็พยายามในแบบของตัวเอง" ไชยชนก กล่าว

การเกิดขึ้นของพรรคอนาคตใหม่/ก้าวไกล ซึ่งปัจจุบันกลายเป็นพรรคประชาชน คือหนึ่งในเหตุผลที่ทำให้ ไชยชนก สนใจเข้ามาทำงานการเมือง จากเคย "หนีการเมือง" มาตลอด
เมื่อให้ย้อนกลับมาสำรวจพรรค-พวกตัวเอง ภูมิใจไทยตั้งเป้าหมายเคลื่อนไปสู่ทิศทางไหนใน 5-10 ปีข้างหน้าภายใต้ผู้บริหารพรรคเจนใหม่ เขามอบรอยยิ้มแทนคำตอบ โดยบอกเพียงว่า "ต้องคอยชมครับ" แต่แสดงความเชื่อมั่นว่าจะสร้างประโยชน์ให้ประชาชนได้มากกว่าที่เคยทำในทุก ๆ สมัย
ความในใจที่ นักการเมืองเจนวาย อยากบอกกับ นักการเมืองเจนลุง คือ "อยากให้ให้โอกาสพวกเรา" ถึงแม้มีข้อบกพร่อง มีหลายอย่างที่จะได้มาจากการมีประสบการณ์และผ่านชีวิตมามากกว่า แต่เราก็มีหลายสิ่งหลายที่พวกท่านไม่มี เพราะเกิดมาในเจเนอเรชันที่แตกต่างกัน อยู่ในยุคสมัยที่มีองค์ประกอบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยี ความเข้าใจทางสังคม หรือสิ่งแวดล้อมแตกต่างกัน
"อยากให้ให้โอกาส อยากให้เข้าใจ อยากให้พยายามมองข้ามสิ่งที่เราขาด พยายามใช้ประโยชน์จากสิ่งที่เรามี และเติมเต็มสิ่งที่เราขาดด้วยประสบการณ์ที่ท่านมี ผมว่าเหล่านี้จะนำไปซึ่งการสร้างประโยชน์ต่อพี่น้องประชาชนได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนที่สุด" ผู้แทนราษฎรวัยย่าง 35 ปี บอก
"ทำไมต้องกลัวทักษิณด้วย"
แม้การเมืองของ 2 พรรค เพื่อไทย-ภูมิใจไทย เดินมาถึงจุดที่ผลัดอำนาจให้คนรุ่นลูกก้าวขึ้นมารับบท "ตัวแสดงนำ" บนเวทีการเมือง ทว่าแทบทุกครั้งที่ปรากฏกระแสข่าว 2 พรรคไม่ลงรอย-กลายเป็นความขัดแย้ง-แข่งกันแสดงอำนาจ ศึกในรัฐบาลมักไปจบลงที่หลังม่านการเมือง ปรากฏข่าวออกทางหน้าสื่อเป็นระยะ ๆ ว่า เนวิน-อนุทิน มุดบ้านจันทร์ส่องหล้าของ ทักษิณ นั่นทำให้การเมืองไทยคล้ายมี "โลก 2 ใบ" ของ "คน 2 รุ่น" โดยคนรุ่นพ่อยังเป็นผู้มีอำนาจตัวจริง
ไชยชนก ระบุว่า นี่คือสิ่งที่เห็นมาตลอดในหลายบริบท ถามว่ามันเป็นเรื่องปกติหรือไม่ ส่วนตัวก็ไม่แตกต่างจากสังคมไทยที่เห็นเรื่องนี้มาโดยตลอด แต่ถามว่ามันเป็นสิ่งที่ถูกและควรหรือไม่ อันนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง
"สำหรับผมมันเป็นเรื่องที่เป็นอยู่ แต่มันไม่ได้เป็นเรื่องที่จำเป็นต้องเป็นต่อและมีตลอดไป ถ้าตราบใดที่มันเป็นสิ่งที่นำไปซึ่งประโยชน์ต่อพี่น้องประชาชนได้ จริง ๆ ผมมองว่ามันก็ไม่ใช่เรื่องผิด แต่ถ้ามันเป็นสิ่งที่นำไปซึ่งปัญหา ความขัดแย้ง หรือก่อให้เกิดผลกระทบในเชิงลบต่อประเทศและประชาชน ต่อให้เป็นวันนี้หรืออนาคต ผมมองว่ามันก็เป็นเรื่องที่ไม่ดี เพราะฉะนั้นต้องมองในอีกมุมหนึ่ง ต้องถามว่าการที่สิ่งแบบนี้กำลังเกิดอยู่ มันนำไปสู่ประโยชน์หรือไม่มากกว่า"

เลขาธิการพรรค ภท. ได้เจอ "ลุงทักษิณ" ขณะไปร่วมแสดงความยินดีในโอกาสเปิดที่ทำการพรรค พท. ใหม่เมื่อ 27 ม.ค.
ไชยชนก เคยเจอ-สัมผัสอดีตนายกฯ ทักษิณ มาบ้างเมื่อครั้งที่เขายังเป็นเด็กและติดสอยห้อยตามพ่อไปที่ต่าง ๆ รวมถึงช่วงที่ศึกษาอยู่ที่ประเทศอังกฤษในจังหวะเดียวกันกับ อุ๊งอิ๊ง ก็รู้สึกว่า "เป็นคุณลุงที่น่ารักดี" แต่พอมาทำงานการเมือง เขาไม่มีโอกาสเจอ ยกเว้นเวลาออกงานสังคมต่าง ๆ
"เรื่องงานกับเรื่องส่วนตัวมันต้องแยกแยะ สำหรับผม ในฝั่งการเมือง ผมถือว่าพี่อิ๊งเป็นนายกฯ ผมก็จะไม่เอามุมมองอื่น ๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง และเวลาผมเจอคุณทักษิณ ผมก็มองเขาเป็นคุณลุงที่ผมเคารพคนหนึ่งที่เคยเจอมาตั้งแต่เด็ก ๆ"
ความเห็นของ ไชยชนก สอดคล้องกับข้อวิเคราะห์ของผู้สังเกตการณ์ทางการเมืองที่ว่า จุดแข็งของเจนใหม่ค่ายภูมิใจไทยคือ "ไม่กลัวทักษิณ" ส่วนหนึ่งเป็นเพราะโตไม่ทันได้เห็นยุคที่ ทักษิณ เรืองอำนาจ-มีอิทธิฤทธิ์-อิทธิพลทางการเมืองสูง จึงไม่ตัดสินอดีตนายกฯ จากบทบาททางการเมือง ขณะที่อีกส่วนหนึ่งคือ "แก๊งลูก" ของนักการเมืองพรรคต่าง ๆ ที่เคยแข่งขันขับเคี่ยวกับลูกพรรคทักษิณมาก่อนแล้วคือ "ผู้รอด-ผู้ชนะ" ข้อวิเคราะห์นี้มีส่วนจริงหรือไม่?
"จริงครับ ทำไมต้องกลัวคุณทักษิณด้วย" เขาโยนคำถามกลับมาด้วยสีหน้าเรียบเฉย
เขาเป็นเจ้านายเก่าของพ่อคุณ กับหัวหน้าพรรคคุณเลยนะ บีบีซีไทยช่วยตอบ
ไชยชนก ฉีกยิ้มพลางพูดว่า "ไม่ใช่เจ้านายผม" ก่อนอธิบายเหตุผลเพิ่มเติมว่า "ผมได้เจอคุณทักษิณในมุมที่ผมมองว่าน่ารักด้วยครับ ผมได้เห็นเขาในมุมที่ก็เป็นคุณพ่อคนหนึ่ง และเวลาทำงาน ผมก็ทำงานกับในพรรค กับ สส. มีโอกาสได้เจอท่านนายกฯ บ้าง พรรคอื่นบ้าง ไม่เคยมีอะไรที่ท่านมาเกี่ยวข้องในบริบทที่ผมสัมผัสโดยตรง"
สไตล์การทำงานของเลขาธิการพรรคสีน้ำเงินคือ จะประเมินทุกคนทุกอย่างตามประสบการณ์ส่วนตัวที่ได้รับโดยตรงเท่านั้น ไม่เอาเรื่องเขาเล่าว่ามาเป็นตัวพิจารณา ไม่ว่าใครบอกว่าดีไม่ดี จะรับฟังและเก็บเอาไว้จนกว่าจะได้สัมผัสด้วยตัวเอง อย่างไรก็ตามเขาย้ำว่าให้ความเคารพ ทักษิณ ในฐานะที่เป็นผู้อาวุโสมีประสบการณ์ ถ้าเกิดมีโอกาสพูดคุย ก็พร้อมรับฟังทุกอย่างมาเพื่อพิจารณา
สำรวจโลกแล้วย้อนมองไทย
นอกจากโลก 2 ใบในการเมืองไทย สถานการณ์การเมืองโลกก็อยู่ในภาวะระส่ำระสายภายหลังการหวนคืนสู่เก้าอี้ประธานาธิบดีสหรัฐฯ สมัยที่ 2 ของ โดนัลด์ ทรัมป์ ที่ออกคำสั่งฝ่ายบริหารหลายฉบับเขย่าทั้งคุณค่าประชาธิปไตยสากล ระเบียบโลก โลกาภิวัตน์ ไปยันลัทธิทางเศรษฐกิจ
ชายผู้เคยใช้ชีวิตที่สหราชอาณาจักรมาครึ่งชีวิต ติดตามข่าวสารด้วยความเป็น "กังวลใจที่สุด" ยิ่งกว่าศึกอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล "แพทองธาร" ที่เพิ่งผ่านพ้นไป หรือคดีในดีเอสไอที่อาจพัวพันมาถึงพรรคของเขา
ไชยชนก ใช้เวลาพูดคุยแลกเปลี่ยนกับนักการทูตและเพื่อนนักธุรกิจในต่างแดนเกี่ยวกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ก่อนชวนคนไทยให้ถอดตัวเองออกมาจากการเมืองบ้านเรา แล้วมองไปทั่วโลกว่ากำลังเกิดอะไรขึ้นและเรียนรู้ไปด้วยกัน เพราะสหรัฐฯ เป็นหนึ่งในประเทศที่จะเจริญที่สุด มีการพัฒนาในเชิงของประชาธิปไตยและบริบทอื่น ๆ "ดังนั้นเส้นทางประชาธิปไตยของเขาทั้งเริ่มมาก่อนและดำเนินไปไกลกว่าทุกประเทศ จึงพูดได้ว่ามันคือปลายทางที่เราจะได้เห็นของประชาธิปไตย"
เช่นเดียวกับสงครามการค้าที่ล่าสุด ทรัมป์ ประกาศขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าประเทศต่าง ๆ โดยที่ไทยโดนไป 37% ซึ่งในความรู้สึกของนักการเมืองไทยรายนี้ "เหมือนสงครามโลกได้เกิดขึ้นแล้ว" และส่งผลกระทบต่อไทยมหาศาล โดยปกติเวลาสงครามเกิดขึ้นกับมหาอำนาจ มันจะบีบให้โลกทั้งโลกต้องเลือกฝั่ง ถามว่าเราสามารถเลือกฝั่งได้ไหมระหว่างจีนกับอเมริกา ไม่ได้ ไม่ใช่เพราะเราเลือกที่จะสนับสนุนใครคนใดคนหนึ่งได้ แต่เพราะเราไม่สามารถเป็นศัตรูกับใครได้เลย เพราะไทยไม่เข้มแข็งพอในทุกเชิง ครั้งจะไม่เลือกฝั่ง จะไปเข้ากับสหประชาชาติ (UN) ก็ไปไม่ได้เพราะไทยไม่สามารถเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ได้ในอนาคตอันใกล้ เท่ากับว่าในเชิงการค้า ไทยไม่มีที่พึ่งในอนาคตอันใกล้เลย
นักการเมืองรุ่นใหม่ชี้ว่า ในผลกระทบไม่ได้มีแต่เรื่องลบ แต่จะนำมาซึ่งโอกาสด้วย หากทุกคนมารวมพลังสามัคคี เลิกตีกันภายใน เชื่อว่าจะนำมาซึ่งการที่ไทยไม่ใช่แค่รับมือกับผลกระทบ แต่สามารถคว้าโอกาสเอาไว้ได้ด้วย โดยเฉพาะการปรับตัวให้เป็นประเทศที่สามารถ facilitate ทั้งการลงทุน การพัฒนา การขับเคลื่อน มุ่งสู่การเป็นฮับของเอเชีย