
วรภพ วิริยะโรจน์
7 hours ago
·
[ เอาให้ครบ มหากาพย์ขบวนการค่าไฟแพง ที่รัฐบาลแพทองธารพึ่งสานต่อลงนามสัญญาซื้อขายไฟฟ้าเพิ่มไปแล้ว เมื่อ 18 เม.ย. 68 จะทำค่าไฟแพง 25 ปี คืออะไรบ้าง ]
.
ถ้าให้สรุปให้สั้น พูดให้หมด โดยย่อแต่ครบถ้วนว่า มหากาพย์ขบวนการค่าไฟแพง มีอะไรบ้าง และ ที่รองโฆษกรัฐบาล ชี้แจ้ง เบี่ยงประเด็นอะไรไปบ้าง ก็ต้องขอไล่ตามนี้ว่า
.
1.โครงการรับซื้อไฟฟ้าหมุนเวียนเฟสแรก รอบ 5,200 MW ริเริ่มในรัฐบาลประยุทธ์ ปี 2565 จริง แต่มีการล็อคในระดับนโยบายว่าจะรับซื้อไฟฟ้าโดยไม่เปิดประมูล ซื้อเพิ่มอีกทั้งๆที่ โรงไฟฟ้าในไทยมีล้นอยู่แล้ว โรงไฟฟ้าไม่ได้เดินเครื่องเกือบครึ่งนึงด้วยซ้ำ แต่ก็ยังจะซื้อไฟฟ้าเพิ่มอีก
.
2.และโครงการนี้ ประกาศเอกชนผู้โชคดีที่ได้รับคัดเลือก 4,852 MW ใน เดือน เม.ย. 66 (จะต้องเซ็นสัญญากับเอกชน โดย กฟผ. 4,346 MW 83 ราย และ กฟภ. 506 MW) แต่โครงการเหล่านี้พึ่งจะมาถึงเวลาที่รัฐบาล (กฟผ. / กฟภ.) ต้องลงนามสัญญาซื้อขายไฟฟ้า ในสมัย รัฐบาลเพื่อไทย คือ ตั้งแต่ ต.ค. 66 เป็นต้นมา (รัฐบาลเศรษฐา) จนถึงสิ้นปี 67 กฟผ. ลงนามไปแล้ว 63 ราย คงเหลือ 20 ราย ที่ยังไม่ได้เซ็นต์สัญญา รอให้รัฐบาลแพรทองธารตัดสินใจ
.
3.ในการอภิปราย ไม่ไว้วางใจ 25 มี.ค. 68 นายกฯ แพรทองธาร ยืนยันว่า ในสมัยรัฐบาลของนายกฯ แพรทองธาร ยังไม่มีการเซ็นต์สัญญาซื้อขายไฟฟ้าเพิ่มเลยแม้แต่โครงการเดียว! แต่ไม่ได้บอกว่ากำลังจะไปเซ็นต์สัญญาซื้อขายไฟเพิ่ม!
.
4.ซึ่ง วันที่ 20 เม.ย. 68 รองโฆษก ยืนยันว่า นับจากสิ้นปี 67 ถึง 20 เม.ย. 68 รัฐบาล (กฟผ.) มีการลงนามสัญญาเพิ่มเติม 7 โครงการ เท่ากับว่าที่รัฐได้ลงนามสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับเอกชนไปแล้ว คือ 70 โครงการ จากทั้งหมด 83 โครงการ และ ข้อมูลจาก อนุกมธ. พัฒนาเศรษฐกิจ กฟภ. ยืนยันว่า หลังจาก วาระไม่ไว้วางใจ กฟภ. ก็ได้เซ็นต์สัญญาซื้อขายไฟฟ้า 506 MW ไปครบหมดแล้ว)
.
5.ข้ออ้างที่ว่า เป็นโครงการจากรัฐบาลประยุทธ์ แก้ไขอะไรไม่ได้ และ รัฐบาลสั่งการ กกพ. ไม่ได้ ล้วนไม่เป็นความจริง! เพราะ ตามระเบียบ กกพ. ที่ประกาศรับซื้อกับเอกชน มีข้อกำหนดเงื่อนไข ข้อที่ 39 ระบุชัดเจนว่า กกพ. สงวนสิทธิยกเลิกโครงการได้ ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงนโยบาย โดย คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ที่นายกฯ เป็นประธาน
.
6. หมายความว่า อีก 13 โครงการ พลังงานลม ที่เหลือ ที่รัฐบาล ยังไม่เซ็นต์สัญญาซื้อขายไฟฟ้า รัฐบาล นายกรัฐมนตรี ยังคงมีอำนาจเต็มที่จะยกเลิกได้ ก่อนการลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้า
.
7.ข้ออ้างที่ว่า ในสัญญาระบุไว้แล้ว ว่า ถ้าพบว่าผิดกฎหมาย รัฐสามารถยกเลิกได้ทันที ล้วนเป็นข้ออ้างที่ฟังไม่ขึ้น ในเมื่อ ความผิดปกติ ที่จะทำให้ค่าไฟแพง ล้วนเกิดจากการนโยบายที่ทำตามกฎระเบียบ แต่มีความผิดปกติที่จะทำให้ค่าไฟแพงขึ้น ทำไมรัฐบาล นายกฯ และ รมว.พลังงาน ถึงไม่สั่งแก้ไข ชลอ ก่อนลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้าที่ จะทำให้ค่าไฟแพงขึ้น และ การแก้ไขสัญญากับเอกชนจะยิ่งยากขึ้น หลังลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้า
8.ที่จะทำให้ค่าไฟประชาชนแพงขึ้น เพราะราคาที่จะรัฐประกาศจะรับซื้อก็เป็นราคาที่กำไรดีสำหรับเอกชน แต่จะเป็นค่าไฟแพงสำหรับประชาชน (แสงอาทิตย์ 2.2 บาท/หน่วย, ลม 3.1 บาท/หน่วย) จนเอกชนสนใจและยื่นโครงการมามากกว่า 3.3 เท่าของที่รัฐบาลประกาศรับซื้อ
.
9.ราคาค่าไฟที่จะแพงขึ้น เพราะราคาไฟฟ้าที่รัฐประกาศรับซื้อจากเอกชนนั้นแพงเกินจริง เป็นการรับซื้อไฟฟ้าโดยไม่เปิดประมูล รับซื้อไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน (Solar, Wind) ที่ราคาลดลงทุกปี แต่ในระดับนโยบายกลับกำหนดให้ราคาที่รัฐจะรับซื้อ ในช่วง 5 ปีข้างหน้า ปี 2567 - 2573 เป็นราคาเท่าเดิมตลอด คือ 2.2 บาท/หน่วย (Solar) 3.1 บาท/หน่วย (Wind) และเป็นราคาค่าไฟคงที่ตลอดอายุสัญญา 25 ปี
.
10.ซึ่ง ส่วนต่าง ราคาค่าไฟที่รัฐรับซื้อ เทียบกับราคาค่าไฟ ที่ถูกลดลงทุกปี จะทำให้ค่าไฟประชาชนแพงขึ้นปีละ 3,600 ล้านบาท หรือ 90,000 ล้านบาท! ตลอดอายุสัญญา 25 ปี โดยคำนวนเฉพาะ โครงการ Solar, Wind จำนวน 3,868 MW (ไม่รวมโครงการ Solar + Battery) ที่มีประมาณการต้นทุนที่ลดลงทุกปีชัดเจน
.
11.และก็มีข้อพิรุธในกระบวนการคัดเลือก ที่ต้องการจะล็อค จิ้มเลือกเอกชนผู้โชคดีได้ชัดๆ ตั้งแต่ที่กำหนดในนโยบายว่าจะไม่เปิดประมูล ดังนั้นเมื่อเอกชนสนใจขายไฟฟ้าให้จำนวนมาก เอกชนที่ได้คะแนนเทคนิคสูงที่สุดจะได้รับคัดเลือก แต่ในระเบียบรับซื้อไฟฟ้ากลับ ไม่มีประกาศหลักเกณฑ์น้ำหนักการให้คะแนนเทคนิคออกมาด้วย ทำให้ สามารถใช้ดุลพินิจ จิ้มเลือกกลุ่มทุนพลังงานใดก็ได้
.
12.และการจิ้มเลือกก็ชัดเจนมาก เมื่อประกาศรายชื่อเอกชนผู้โชคดีที่ได้รับคัดเลือก เมื่อกลุ่มทุนพลังงานลำดับแรกที่ได้รับคัดเลือก เป็นเจ้าสัวไฟฟ้า ยื่นโครงการมา 35 โครงการ ได้รับคัดเลือกทั้ง 35 โครงการ หรือได้รับคัดเลือก 100% ของโครงการที่ยื่น ได้รับคัดเลือกไปทั้งหมด 1,980 MW หรือ 41% ของที่จะรับซื้อ ในขณะที่โดยเฉลี่ยแล้ว โครงการที่ยื่นจะได้รับคัดเลือกเพียง 45% เท่านั้น
.
13.การประกาศเอกชนผู้โชคดี เกิดขึ้น เดือน เม.ย. 66 ก่อนเลือกตั้งใหญ่ 1 เดือนเท่านั้น! เป็นทุนเลือกตั้งให้พรรคการเมืองไหนหรือไม่นั้น ยังไม่มีใบเสร็จที่จะยืนยันได้
.
14.และก่อนประกาศรายชื่อเอกชนผู้โชคดี 1 เดือน หรือ มี.ค. 66 รัฐบาล ประยุทธ์ ประกาศว่าจะรับซื้อไฟฟ้าหมุนเวียนเพิ่มเติม เฟสสอง อีก 3,600 MW และกำหนดให้มีเงื่อนไขพิศดาร 2 อย่าง คือ เอกชนที่ยื่นโครงการในเฟสแรก จะได้ล็อคโควต้าให้ได้รับคัดเลือกในเฟสสองก่อนเพื่อนเลย แต่จะต้องเป็นเอกชนที่ไม่มีคดีความข้อพิพาทกับหน่วยงานรัฐอยู่ - เสมือนการขู่ปิดปากเอกชนว่า แม้ไม่ได้รับคัดเลือกในเฟสแรก ก็อย่าพึ่งมาฟ้องรัฐ เพราะจะไม่ได้ถูกล็อคโควต้าให้ในเฟสสอง
.
15.แต่ก็มีเอกชนที่ยื่นพลังงานลม กล้าฟ้องศาลปกครอง จนศาลปกครองสองศาล มีคำสั่งทุเลาชั่วคราวเดือน ก.ย. 66 ระบุว่า “กระบวนการคัดเลือก ไม่โปร่งใส ไม่ยุติธรรม และจะเป็นเหตุให้ประเทศชาติเสียประโยชน์ได้”
.
15.แต่ต่อให้มีคำสั่งศาลปกครองสำหรับพลังงานลม และเปลี่ยนรัฐบาลหลังเลือกตั้ง มาเป็นพรรคเพื่อไทย รัฐบาลเศรษฐา กลับปล่อยให้ กฟผ. รัฐวิสาหกิจ เดินหน้าลงนามสัญญาซื้อขายไฟฟ้าแสงอาทิตย์ ตั้งแต่เดือน ต.ค. 66 ประมาณ 3,000 MW ทั้งๆที่มีกระบวนการคัดเลือกแบบเดียวกันไปเลย โดยไม่มีการสั่งให้ชลอ หรือ ทบทวน อะไรทั้งนั้น จนน่าพิรุธว่า นี่คือส่วนหนึ่งของ “ดีลจัดตั้งรัฐบาลข้ามขั้ว” หรือไม่
.
16.และปัจจุบัน เอกชนที่ฟ้องศาลปกครองสำหรับพลังงานลม จะขอถอนฟ้องทุกคดีความแล้ว (คาดว่าเพราะสาเหตุจาก เอกชนนั้น มีคดีความค้างใน ก.ล.ต. คดีความอื่น) จนในที่สุด ก็ถึงกำหนดการที่ รัฐบาลจะต้องไปลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้าที่เหลืออยู่ทั้งหมด ที่ยังไม่ได้ลงนามสัญญา (พลังงานลม รัฐบาล สามารถลงนามสัญญาซื้อขายไฟฟ้าได้ก่อน กย. 69 คือ จะลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้าก่อนหน้าก็ได้)
.
17. รัฐบาลปัจจุบัน นายกรัฐมนตรี แพรทองธาร ชินวัตร ในฐานะ ประธาน คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เป็นเพียงคนเดียวที่จะสามารถหยุดยั้ง ชลอ หรือ ยกเลิก การลงนามสัญญาซื้อขายไฟฟ้าได้ เพราะ เงื่อนไขในระเบียบรับซื้อไฟฟ้าระบุชัดเจนว่า มติ กพช. สามารถยกเลิกโครงการได้ ก่อนลงนามสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับเอกชน - ยืนยันว่า เมื่อเปลี่ยนรัฐบาลใหม่แล้ว รัฐบาลใหม่ย่อมสามารถ ชลอ หรือ ยกเลิกโครงการได้ แต่กลับไม่ทำ ปล่อยให้การลงนามสัญญาซื้อขายไฟฟ้าเกิดขึ้นไปแล้วถึง 3,000 ++ MW
.
18. อายุสัญญาซื้อขายไฟฟ้า คือ 25 ปี ทุกสัญญาที่รัฐลงนามซื้อขายไฟฟ้าจะผูกพันค่าไฟประชาชนไปอีก 25 ปี และ จนถึงวันนี้ แม้ค่าไฟยังคงราคาเดิมที่ 4.15 บาท/หน่วย แต่ใส้ในกลับซ่อน ส่วนที่เป็นสาเหตุของค่าไฟแพงไว้ เช่น ต้นทุนพลังงานหมุนเวียนที่รัฐรับซื้อราคาแพงไว้ เช่น Adder 6 - 8 บาท/หน่วย ในอดีต จนทำให้ค่าไฟเฉลี่ยแพงขึ้น 0.17 บาท/หน่วย (หรือ 32,490 ล้านบาท/ปี) หรือ ต้นทุนโรงไฟฟ้าที่ไม่ได้เดินเครื่อง แต่ได้เงินจากเรา เพราะรัฐทำสัญญาค่าความพร้อมจ่ายให้เอกชนไปแล้ว ที่ทำให้ค่าไฟเฉลี่ยแพงขึ้น 0.34 บาท/หน่วย (หรือ 55,042 ล้านบาท/ปี)
.
19. จนทุกวันนี้ ประเทศไทย มีเจ้าสัวโรงไฟฟ้า ที่ขายไฟฟ้าให้คนไทย ร่ำรวยและมั่งคั่งกว่า เจ้าสัว ซัมซุง ของเกาหลีใต้ ที่ขายมือถือไปทั่วโลก ไปแล้ว จากการเอื้อประโยชน์เชิงนโยบายของรัฐ มาหลายรัฐบาล และกำลังจะถูกสานต่อโดย รัฐบาล แพรทองธาร ถ้าไม่มีการเปลี่ยนแปลง มติ กพช ก่อนลงนามสัญญาซื้อขายไฟฟ้า สำหรับโครงการพลังงาน ลมที่เหลืออยู่
.
20 และ โครงการรับซื้อไฟฟ้าหมุนเวียน เฟสสอง รอบ 3,600 MW ก็ยังรอให้รัฐบาลแพรทองธาร ตัดสินใจว่าจะเป็นเพียงการ ชลอโครงการ เพื่อรอให้ข่าวเงียบ แล้วถึงสานต่อเดินหน้า ซ้ำเติม ค่าไฟประชาชนแพงขึ้น หรือจะยกเลิกโครงการนี้ไปเลย
.
จากข้อสรุป 20 ข้อ นี้ มีข้อไหนที่คิดว่า เป็นเรื่องปกติบ้างไหม ทำไมเรื่องราวแปลกๆ ถึงเกิดขึ้น สานต่อกันเป็น ขบวนการค่าไฟแพงแบบนี้ ถ้าคิดว่าไม่ปกติ ขอชวนประชาชนและสื่อมวลชนช่วยกันแชร์ประเด็นนี้กัน เพื่อให้เรื่องค่าไฟกลับมาเป็นประเด็นที่สังคมสนใจ และ ยกเลิกการลงก่อนการลงนามสัญญาซื้อขายไฟฟ้าจะเกิดขึ้น ซึ่งจะทำให้ค่าไฟประชาชนในอนาคตแพงขึ้นไปอีก และแก้ไขไมไ่ด้
.
#ค่าไฟ #ค่าไฟแพง #สสเติ้ล #สสวรภพ #พรรคประชาชน
https://www.facebook.com/photo/?fbid=1238434334956016&set=a.337967835002675