https://www.youtube.com/watch?v=LePpBiRHbwg
เนติวิทย์' อารยะขัดขืนไม่เข้าร่วมเกณฑ์ทหาร | 5 เม.ย. 67
Prachatai
Apr 5, 2024 #เนติวิทย์ #เกณฑ์ทหาร #จับใบดำใบแดง5 เม.ย. 67 บริเวณสำนักงานเทศบาลตำบลบางปู 'เนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล' แถลงจุดยืน และกระทำอารยะขัดขืนไม่เข้าร่วมการบังคับเกณฑ์ทหาร โดยไม่เข้าแสดงตนที่หน่วย ชี้ว่าเป็นสิ่งที่ตนเคลื่อนไหวมาตลอดสิบปีนับตั้งแต่ช่วงรัฐประหาร 2557
"การบังคับพลเมืองที่ไม่เต็มใจรับราชการทหารนั้น ขัดกับหลักสิทธิมนุษยชน ความเชื่อทางศีลธรรม ทั้งยังล้าสมัย ไม่มีประสิทธิภาพ และมีส่วนทำให้สังคมไทยไม่เป็นประชาธิปไตย"
"ด้วยเหตุนี้ข้าพเจ้าจึงขอประกาศกระทำ “อารยะขัดขืน” ไม่เข้าร่วมเกณฑ์ทหาร ข้าพเจ้าทราบดีถึงผลทางกฎหมายที่จะตามมา และหวั่นใจอยู่ไม่น้อย แต่หากผลที่ข้าพเจ้าต้องรับ จะแลกมาด้วยคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของเพื่อนพลเมืองชาวไทยคนอื่น ๆ ข้าพเจ้าก็เต็มใจและพร้อมจะเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมต่อไป"
โดยยืนยันว่าการมาแสดงออกอย่างเป็นสาธารณะ คือการแสดงให้เห็นว่าตนไม่เคยคิดหลบเลี่ยงหรือหลบหนี
เนติวิทย์ให้ความเห็นเพิ่มเติมว่าการบังคับเกณฑ์ทหารสะท้อนถึงความไร้ความสามารถของกองทัพในการจูงใจให้คนมาสมัคร และย้ำว่าการต่อต้านการบังคับเกณฑ์ทหาร ไม่ใช่การต่อต้านการมีอยู่ของกองทัพ ซึ่งเป็นเรื่องที่พูดคุยหาข้อตกลงในรัฐสภาได้ว่าความจำเป็นและสัดส่วนกองทัพควรเป็นอย่างไร อ่านข่าวเต็ม: (https://prachatai.com/journal/2024/04...)
.....
การอารยะขัดขืนของเนติวิทย์กับกรณีต้านเกณฑ์ทหาร
เสฏฐนันท์ ธนกิจโกเศรษฐ์
.....
การอารยะขัดขืนของเนติวิทย์กับกรณีต้านเกณฑ์ทหาร
เสฏฐนันท์ ธนกิจโกเศรษฐ์
5 Apr 2024
101 World
ในวันที่ 5 เมษายน 2567 นี้เป็นวันสุดท้ายช่วงการเกณฑ์ทหารประจำปี ซึ่งทั้งสื่อกระแสหลักและกระแสรองต่างประโคมข่าวเกี่ยวกับการตรวจเลือกฯ อย่างแข็งขันดังเช่นทุกปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ปีนี้พิเศษกว่าปีอื่นตรงที่เนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล นักกิจกรรมเพื่อประชาธิปไตย ได้ประกาศทำ ‘อารยะขัดขืน’ ปฏิเสธเข้าร่วมการเกณฑ์ทหารผ่านแถลงการณ์ที่ยืนอ่านหน้าหน่วยตรวจเลือกฯ ซึ่งมีใจความสำคัญระบุว่าเขาจะไม่ร่วมการเกณฑ์ทหาร เนื่องจากเป็นการบังคับพลเมืองอย่างไม่ชอบธรรม โดยจะไม่หนีไปไหนและจะยอมรับผลทางกฎหมายตามกระบวนการยุติธรรมต่อไป
ภาพเนติวิทย์อ่านแถลงการณ์ในวันที่ 5 เมษายน 2567 ที่มา x (twitter) : @NetiwitC
หากย้อนดูการเคลื่อนไหวของเนติวิทย์เกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวจะพบว่า ในวันเกิดอายุครบ 18 ปีบริบูรณ์ เขาได้ประกาศจุดยืนเป็น ‘ผู้คัดค้านโดยอ้างมโนธรรม’ (conscientious objector)[1] ซึ่งนัยหมายถึงผู้ที่ปฏิเสธการเกณฑ์ทหารด้วยเหตุแห่งเสรีภาพทางความคิด มโนธรรม หรือศาสนา และเผยแพร่ถ้อยแถลงนี้ไว้ในเว็บไซต์ War Resisters’ International[2] ร่วมกับผู้คัดค้านโดยอ้างมโนธรรมคนอื่นๆ จากทั่วโลก
เมื่ออายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ เขายื่นขอผ่อนผันทุกตามที่กฎหมายระบุไว้ และแสดงออกเชิญสัญลักษณ์เพื่อต่อต้านการเกณฑ์ทหารดังเช่นภาพข่าวที่ปรากฏว่าในช่วงปี 2561 เขาเคยสวมนาฬิกา 14 เรือนที่ยืมเพื่อนมา นอกจากนี้ เนติวิทย์ยังเคลื่อนไหวทางความคิดเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวอย่างต่อเนื่องผ่านการสนับสนุนให้จัดพิมพ์หนังสือผ่านสำนักพิมพ์สำนักนิสิตสามย่านที่เขาก่อตั้ง เช่น หนังสือ ยกเลิกเกณฑ์ทหาร: ยุติสังคมอำนาจนิยม[3] หนังสือ ต้านเกณฑ์ทหาร: รวมบทความนานาชาติ[4] เป็นต้น
ในปีนี้ เนติวิทย์อายุเกินกว่า 26 ปีแล้ว จึงไม่สามารถยื่นขอผ่อนผันตามที่กฎหมายกำหนดไว้ได้อีก ด้วยเหตุนี้จึงนำไปสู่การประกาศทำอารยะขัดขืนเพื่อยืนยันจุดยืนที่เขาได้ตั้งใจไว้ตลอด 10 ปีที่ผ่านมา
‘อารยะขัดขืน’ อาจฟังดูแปลกใหม่สำหรับคนทั่วไปอยู่บ้าง แต่ศัพท์ดังกล่าวเป็นที่คุ้นเคยกันดีอยู่แล้วในแวดวงการต่อสู้แบบสันติวิธี (Nonviolent Resistance) โดยเข้าใจกันว่าเป็นหนึ่งในวิธีการต่อสู้อย่างสันติ คำว่า ‘อารยะขัดขืน’ ถูกนำมาใช้ครั้งแรกโดยศาสตราจารย์ ดร.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ ซึ่งแปลมาจากคำว่า civil disobedience ในภาษาอังกฤษ โดยคำเดียวกันนี้อาจพบการแปลเป็นไทยในสำนวนอื่นอีก เช่น ‘การดื้อแพ่ง’ ‘การขัดขืนอย่างสงบ’ เป็นต้น สำหรับคนที่เคยได้ยินเกี่ยวกับอารยะขัดขืนมาบ้าง ก็คงจะนึกถึงกรณีตัวอย่างคลาสสิกในการอารยะขัดขืนของ โสกราตีส, มหาตมา คานธี และมาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์
โสกราตีสเป็นนักปรัชญาชาวกรีกและพลเมืองเอเธนส์ ผู้คอยกระตุ้นให้ชาวเมืองต้องคิดและตั้งคำถามกับความเชื่อที่เป็นนามธรรม เช่น ความดี ความยุติธรรม คุณธรรม จนในที่สุด เขาก็มีปัญหากับผู้มีอำนาจในเมืองเอเธนส์ขณะนั้น และต้องโทษประหารในข้อหาปลุกปั่นเยาวชน (corrupt the youth) แม้ว่าไครโต เศรษฐีใหญ่แห่งกรุงเอเธนส์ ผู้เป็นสหายของโสกราตีส จะเสนอตัวช่วยพาเขาหนีหรือช่วยให้ได้รับโทษเบาลง แต่ต้องแลกกับการเลิกตั้งคำถามอย่างที่เคยทำ โสกราติสก็เลือกที่จะไม่หนี ไม่หยุดตั้งคำถาม และยอมรับโทษตายด้วยการดื่มพิษจากเฮมล็อก เขาตระหนักดีว่ากฎหมายดังกล่าวไม่ชอบธรรมจึงไม่ปฏิบัติตาม แต่เขาก็มีหน้าที่ในฐานะของพลเมืองในการรับโทษจากการละเมิดกฎหมายนั้น
ในสมัยที่อินเดียยังเป็นอาณานิคมของอังกฤษ คานธีเป็นผู้นำชาวอินเดียทำอารยะขัดขืนเพื่อต่อต้านการปกครองของรัฐบาลอังกฤษ โดยเรียกแนวทางของตนว่า ‘สัตยาเคราะห์’ (Satyagraha) ในยุคนั้นการขายเกลือเป็นรายได้สำคัญของรัฐบาลอังกฤษ จึงมีการออกกฎหมายผูกขาดการผลิตและขายเกลือในประเทศอินเดียให้กระทำได้โดยรัฐบาลอังกฤษเท่านั้น ถ้าคนอินเดียต้องการเกลือก็ต้องซื้อจากอังกฤษ หากผู้ใดฝ่าฝืนก็จะต้องโทษจำคุก คานธีและคณะได้เริ่มเดินเท้าเป็นเวลา 23 วัน โดยระหว่างทางได้ผลิตเกลือเพื่อท้าทายกฎหมายที่ไม่ยุติธรรมนี้ จนในที่สุดเขาก็ยอมถูกจับและขึ้นศาล การอารยะขัดขืนของคานธีครั้งนี้รู้จักกันในชื่อ The Salt March ซึ่งนำไปสู่ได้รับเอกราชของประเทศอินเดีย
อเมริกาในยุคของ ดร.คิงมีการเหยียดสีผิวอย่างเข้มข้น รัฐบังคับใช้กฎหมายจิม โครว์ (Jim Crow Laws) แบ่งแยกระหว่างคนผิวขาวและคนผิวดำในสถานที่สาธารณะและการให้บริการทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นโบสถ์ โรงพยาบาล โรงละคร โรงเรียน ห้องน้ำ รถประจำทาง คนผิวดำไม่มีสิทธิ์ใช้ร่วมกับคนผิวขาว ดร.คิงเป็นผู้นำมวลชนในการทำอารยะขัดขืนต่อต้านกฎหมายเหยียดสีผิว เขายอมถูกจับกุมและคุมขังกว่า 20 ครั้ง จนในที่สุดก็นำไปสู่การยกเลิกกฎหมายดังกล่าว
แม้ทั้งสามกรณีข้างต้นต่างกันทั้งในบริบทของยุคสมัยและวัฒนธรรม แต่เราพอจะเห็นจุดร่วมได้อยู่ว่าเป็นเรื่องการปฏิเสธที่จะทำตามกฎหมายอันไม่ชอบธรรม ขณะเดียวกันก็ยอมรับผลทางกฎหมายจากการขัดขืนนั้น นอกจากตัวอย่างทางประวัติศาสตร์แล้ว หนึ่งในนิยามของอารยะขัดขืนที่มักถูกหยิบยกมาพูดถึงในวงวิชาการ คือคำนิยามของจอห์น รอลส์ (John Rawls) นักปรัชญาเสรีนิยมชาวอเมริกัน ซึ่งเขาได้เสนอไว้อย่างน่าสนใจในผลงานชื่อก้องโลกอย่างหนังสือ A Theory of Justice ว่า “เป็นการกระทำทางการเมืองที่เป็นสาธารณะ ไม่ใช้ความรุนแรง และมีมโนธรรม แต่ขัดต่อกฎหมาย ซึ่งมักกระทำโดยมุ่งหมายให้มีการเปลี่ยนแปลงในกฎหมายหรือนโยบายของรัฐ” (Rawls, 1971, p. 364) โดยการสรุปลักษณะของอารยะขัดขืนออกมาเป็น 6 ข้อได้ดังนี้
(1) มาจากมโนธรรม (conscientiousness)[5]
(2) มาจากแรงกระตุ้นทางการเมือง (political motivation)
(3) หวังเพื่อเปลี่ยนกฎหมาย (aimed at changing the law)
(4) เป็นสาธารณะ (publicity)
(5) ปราศจากความรุนแรง (non-violence)
(6) คาดหวังและยอมรับการจับกุมและบทลงโทษ (expectation and acceptance of arrest and punishment)
เมื่อพิจารณากรณีการต่อต้านเกณฑ์ทหารของเนติวิทย์ จะพบว่าจัดเป็นอารยะขัดขืนที่มีลักษณะขนานไปกับสิ่งที่โสกราตีส, คานธี และดร.คิงได้กระทำไว้ก่อนในแง่เป็นการปฏิเสธที่จะทำตามคำสั่งหรือกฎหมายของรัฐที่มองว่าไม่ชอบธรรม ขณะเดียวกันก็ยอมรับผลทางกฎหมายที่จะตามมาจากการขัดขืน แม้จะรู้ดีว่ากฎหมายนั้นไม่ชอบธรรมตั้งแต่แรกก็ตาม
นอกจากนี้ ยังเข้านิยามอารยะขัดขืนของรอลส์ เพราะเป็นการขัดขืนอย่างเป็นสาธารณะ โดยมีแรงขับเคลื่อนทางการเมืองและมาจากมโนธรรม เป็นการกระทำที่ปราศจากความรุนแรง กระทำโดยคาดหวังให้เกิดการยกเลิกกฎหมายบังคับเกณฑ์ทหาร รวมถึงคาดหวังและยอมรับการจับกุมและโทษจากรัฐ ด้วยเหตุนี้ การปฏิเสธการเกณฑ์ทหารของเนติวิทย์จึงเป็นการอารยะขัดขืนทั้งตามตัวอย่างที่เคยได้มีการกระทำมาและนิยามทางวิชาการอย่างไม่ต้องสงสัย
อย่างไรก็ตาม คำถามหนึ่งที่ตามก็คือ การอารยะขัดขืนแบบดั้งเดิมยังใช่ได้ดีอยู่หรือไม่ นักทฤษฎีจำนวนหนึ่งมองว่าการจำกัดนิยามของสันติวิธีภายใต้กรอบของอารยะขัดขืนในลักษณะดั้งเดิมนั้นอาจไม่เพียงพอต่อการขจัดความอยุติธรรมทางสังคม เช่น หนังสือ พลังแห่งสันติวิธี[6] ของจูดิธ บัตเลอร์ (Judith Butler) เสนอการตีความขอบเขตของสันติวิธีในแบบใหม่ หรือบทความ Political rioting: A moral assessment ของอาเวีย ปาสเตอร์นัค (Avia Pasternak) เสนอว่าการก่อจลาจล (political rioting) ที่ประกอบด้วยความรุนแรงตั้งแต่การก่นด่า การปล้นสะดม (looting) ไปจนถึงการทำลายทรัพย์สินสาธารณะ (vandalism) แม้ไม่อยู่ภายใต้ขอบเขตของอารยะขัดขืน แต่ก็ชอบธรรมได้ เป็นต้น
แน่นอนว่าคำถามนี้คงไม่ได้ตอบได้ด้วยการวิเคราะห์เอาเพียงอย่างเดียว แต่กรณีของเนติวิทย์ที่ต่อต้านการเกณฑ์ทหารก็อาจเป็นหนึ่งในหลักฐานประจักษ์ที่จะช่วยตอบคำถามข้อนี้ได้เป็นอย่างดี ว่าท้ายที่สุดการอารยะขัดขืนของเขาจะนำไปสู่การยกเลิกการเกณฑ์ทหารได้สำเร็จหรือไม่ หรือว่าอาจต้องเป็นขยายไปสู่การเคลื่อนไหวสันติวิธีแบบอื่นในนิยามที่กว้างขึ้น
บรรณานุกรม
Rawls, J. (1971). A theory of justice. Clarendon Press.
เชิงอรรถ
[1] อ่านเพิ่มเติม (https://th.wikipedia.org/wiki/ผู้คัดค้านโดยอ้างมโนธรรม#:~:text=ผู้คัดค้านโดยอ้างมโนธรรม%20(อังกฤษ%3A%20conscientious%20objector)%20คือ,สหรัฐอเมริกาด้วยเหตุผลทางศาสนา)
[2] (https://wri-irg.org/en/Netiwit-declaration)
[3] (https://samyanpress.bentoweb.com/th/product/960146/product-960146)
[4] (https://samyanpress.bentoweb.com/th/product/601689/product-601689)
[5] มาจากการตัดสินทางศีลธรรมอย่างจริงใจ
[6] (https://samyanpress.bentoweb.com/th/product/939183/product-939183)
(https://www.the101.world/netiwit-resists-conscription/ )
101 World
ในวันที่ 5 เมษายน 2567 นี้เป็นวันสุดท้ายช่วงการเกณฑ์ทหารประจำปี ซึ่งทั้งสื่อกระแสหลักและกระแสรองต่างประโคมข่าวเกี่ยวกับการตรวจเลือกฯ อย่างแข็งขันดังเช่นทุกปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ปีนี้พิเศษกว่าปีอื่นตรงที่เนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล นักกิจกรรมเพื่อประชาธิปไตย ได้ประกาศทำ ‘อารยะขัดขืน’ ปฏิเสธเข้าร่วมการเกณฑ์ทหารผ่านแถลงการณ์ที่ยืนอ่านหน้าหน่วยตรวจเลือกฯ ซึ่งมีใจความสำคัญระบุว่าเขาจะไม่ร่วมการเกณฑ์ทหาร เนื่องจากเป็นการบังคับพลเมืองอย่างไม่ชอบธรรม โดยจะไม่หนีไปไหนและจะยอมรับผลทางกฎหมายตามกระบวนการยุติธรรมต่อไป
ภาพเนติวิทย์อ่านแถลงการณ์ในวันที่ 5 เมษายน 2567 ที่มา x (twitter) : @NetiwitC
หากย้อนดูการเคลื่อนไหวของเนติวิทย์เกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวจะพบว่า ในวันเกิดอายุครบ 18 ปีบริบูรณ์ เขาได้ประกาศจุดยืนเป็น ‘ผู้คัดค้านโดยอ้างมโนธรรม’ (conscientious objector)[1] ซึ่งนัยหมายถึงผู้ที่ปฏิเสธการเกณฑ์ทหารด้วยเหตุแห่งเสรีภาพทางความคิด มโนธรรม หรือศาสนา และเผยแพร่ถ้อยแถลงนี้ไว้ในเว็บไซต์ War Resisters’ International[2] ร่วมกับผู้คัดค้านโดยอ้างมโนธรรมคนอื่นๆ จากทั่วโลก
เมื่ออายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ เขายื่นขอผ่อนผันทุกตามที่กฎหมายระบุไว้ และแสดงออกเชิญสัญลักษณ์เพื่อต่อต้านการเกณฑ์ทหารดังเช่นภาพข่าวที่ปรากฏว่าในช่วงปี 2561 เขาเคยสวมนาฬิกา 14 เรือนที่ยืมเพื่อนมา นอกจากนี้ เนติวิทย์ยังเคลื่อนไหวทางความคิดเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวอย่างต่อเนื่องผ่านการสนับสนุนให้จัดพิมพ์หนังสือผ่านสำนักพิมพ์สำนักนิสิตสามย่านที่เขาก่อตั้ง เช่น หนังสือ ยกเลิกเกณฑ์ทหาร: ยุติสังคมอำนาจนิยม[3] หนังสือ ต้านเกณฑ์ทหาร: รวมบทความนานาชาติ[4] เป็นต้น
ในปีนี้ เนติวิทย์อายุเกินกว่า 26 ปีแล้ว จึงไม่สามารถยื่นขอผ่อนผันตามที่กฎหมายกำหนดไว้ได้อีก ด้วยเหตุนี้จึงนำไปสู่การประกาศทำอารยะขัดขืนเพื่อยืนยันจุดยืนที่เขาได้ตั้งใจไว้ตลอด 10 ปีที่ผ่านมา
‘อารยะขัดขืน’ อาจฟังดูแปลกใหม่สำหรับคนทั่วไปอยู่บ้าง แต่ศัพท์ดังกล่าวเป็นที่คุ้นเคยกันดีอยู่แล้วในแวดวงการต่อสู้แบบสันติวิธี (Nonviolent Resistance) โดยเข้าใจกันว่าเป็นหนึ่งในวิธีการต่อสู้อย่างสันติ คำว่า ‘อารยะขัดขืน’ ถูกนำมาใช้ครั้งแรกโดยศาสตราจารย์ ดร.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ ซึ่งแปลมาจากคำว่า civil disobedience ในภาษาอังกฤษ โดยคำเดียวกันนี้อาจพบการแปลเป็นไทยในสำนวนอื่นอีก เช่น ‘การดื้อแพ่ง’ ‘การขัดขืนอย่างสงบ’ เป็นต้น สำหรับคนที่เคยได้ยินเกี่ยวกับอารยะขัดขืนมาบ้าง ก็คงจะนึกถึงกรณีตัวอย่างคลาสสิกในการอารยะขัดขืนของ โสกราตีส, มหาตมา คานธี และมาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์
โสกราตีสเป็นนักปรัชญาชาวกรีกและพลเมืองเอเธนส์ ผู้คอยกระตุ้นให้ชาวเมืองต้องคิดและตั้งคำถามกับความเชื่อที่เป็นนามธรรม เช่น ความดี ความยุติธรรม คุณธรรม จนในที่สุด เขาก็มีปัญหากับผู้มีอำนาจในเมืองเอเธนส์ขณะนั้น และต้องโทษประหารในข้อหาปลุกปั่นเยาวชน (corrupt the youth) แม้ว่าไครโต เศรษฐีใหญ่แห่งกรุงเอเธนส์ ผู้เป็นสหายของโสกราตีส จะเสนอตัวช่วยพาเขาหนีหรือช่วยให้ได้รับโทษเบาลง แต่ต้องแลกกับการเลิกตั้งคำถามอย่างที่เคยทำ โสกราติสก็เลือกที่จะไม่หนี ไม่หยุดตั้งคำถาม และยอมรับโทษตายด้วยการดื่มพิษจากเฮมล็อก เขาตระหนักดีว่ากฎหมายดังกล่าวไม่ชอบธรรมจึงไม่ปฏิบัติตาม แต่เขาก็มีหน้าที่ในฐานะของพลเมืองในการรับโทษจากการละเมิดกฎหมายนั้น
ในสมัยที่อินเดียยังเป็นอาณานิคมของอังกฤษ คานธีเป็นผู้นำชาวอินเดียทำอารยะขัดขืนเพื่อต่อต้านการปกครองของรัฐบาลอังกฤษ โดยเรียกแนวทางของตนว่า ‘สัตยาเคราะห์’ (Satyagraha) ในยุคนั้นการขายเกลือเป็นรายได้สำคัญของรัฐบาลอังกฤษ จึงมีการออกกฎหมายผูกขาดการผลิตและขายเกลือในประเทศอินเดียให้กระทำได้โดยรัฐบาลอังกฤษเท่านั้น ถ้าคนอินเดียต้องการเกลือก็ต้องซื้อจากอังกฤษ หากผู้ใดฝ่าฝืนก็จะต้องโทษจำคุก คานธีและคณะได้เริ่มเดินเท้าเป็นเวลา 23 วัน โดยระหว่างทางได้ผลิตเกลือเพื่อท้าทายกฎหมายที่ไม่ยุติธรรมนี้ จนในที่สุดเขาก็ยอมถูกจับและขึ้นศาล การอารยะขัดขืนของคานธีครั้งนี้รู้จักกันในชื่อ The Salt March ซึ่งนำไปสู่ได้รับเอกราชของประเทศอินเดีย
อเมริกาในยุคของ ดร.คิงมีการเหยียดสีผิวอย่างเข้มข้น รัฐบังคับใช้กฎหมายจิม โครว์ (Jim Crow Laws) แบ่งแยกระหว่างคนผิวขาวและคนผิวดำในสถานที่สาธารณะและการให้บริการทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นโบสถ์ โรงพยาบาล โรงละคร โรงเรียน ห้องน้ำ รถประจำทาง คนผิวดำไม่มีสิทธิ์ใช้ร่วมกับคนผิวขาว ดร.คิงเป็นผู้นำมวลชนในการทำอารยะขัดขืนต่อต้านกฎหมายเหยียดสีผิว เขายอมถูกจับกุมและคุมขังกว่า 20 ครั้ง จนในที่สุดก็นำไปสู่การยกเลิกกฎหมายดังกล่าว
แม้ทั้งสามกรณีข้างต้นต่างกันทั้งในบริบทของยุคสมัยและวัฒนธรรม แต่เราพอจะเห็นจุดร่วมได้อยู่ว่าเป็นเรื่องการปฏิเสธที่จะทำตามกฎหมายอันไม่ชอบธรรม ขณะเดียวกันก็ยอมรับผลทางกฎหมายจากการขัดขืนนั้น นอกจากตัวอย่างทางประวัติศาสตร์แล้ว หนึ่งในนิยามของอารยะขัดขืนที่มักถูกหยิบยกมาพูดถึงในวงวิชาการ คือคำนิยามของจอห์น รอลส์ (John Rawls) นักปรัชญาเสรีนิยมชาวอเมริกัน ซึ่งเขาได้เสนอไว้อย่างน่าสนใจในผลงานชื่อก้องโลกอย่างหนังสือ A Theory of Justice ว่า “เป็นการกระทำทางการเมืองที่เป็นสาธารณะ ไม่ใช้ความรุนแรง และมีมโนธรรม แต่ขัดต่อกฎหมาย ซึ่งมักกระทำโดยมุ่งหมายให้มีการเปลี่ยนแปลงในกฎหมายหรือนโยบายของรัฐ” (Rawls, 1971, p. 364) โดยการสรุปลักษณะของอารยะขัดขืนออกมาเป็น 6 ข้อได้ดังนี้
(1) มาจากมโนธรรม (conscientiousness)[5]
(2) มาจากแรงกระตุ้นทางการเมือง (political motivation)
(3) หวังเพื่อเปลี่ยนกฎหมาย (aimed at changing the law)
(4) เป็นสาธารณะ (publicity)
(5) ปราศจากความรุนแรง (non-violence)
(6) คาดหวังและยอมรับการจับกุมและบทลงโทษ (expectation and acceptance of arrest and punishment)
เมื่อพิจารณากรณีการต่อต้านเกณฑ์ทหารของเนติวิทย์ จะพบว่าจัดเป็นอารยะขัดขืนที่มีลักษณะขนานไปกับสิ่งที่โสกราตีส, คานธี และดร.คิงได้กระทำไว้ก่อนในแง่เป็นการปฏิเสธที่จะทำตามคำสั่งหรือกฎหมายของรัฐที่มองว่าไม่ชอบธรรม ขณะเดียวกันก็ยอมรับผลทางกฎหมายที่จะตามมาจากการขัดขืน แม้จะรู้ดีว่ากฎหมายนั้นไม่ชอบธรรมตั้งแต่แรกก็ตาม
นอกจากนี้ ยังเข้านิยามอารยะขัดขืนของรอลส์ เพราะเป็นการขัดขืนอย่างเป็นสาธารณะ โดยมีแรงขับเคลื่อนทางการเมืองและมาจากมโนธรรม เป็นการกระทำที่ปราศจากความรุนแรง กระทำโดยคาดหวังให้เกิดการยกเลิกกฎหมายบังคับเกณฑ์ทหาร รวมถึงคาดหวังและยอมรับการจับกุมและโทษจากรัฐ ด้วยเหตุนี้ การปฏิเสธการเกณฑ์ทหารของเนติวิทย์จึงเป็นการอารยะขัดขืนทั้งตามตัวอย่างที่เคยได้มีการกระทำมาและนิยามทางวิชาการอย่างไม่ต้องสงสัย
อย่างไรก็ตาม คำถามหนึ่งที่ตามก็คือ การอารยะขัดขืนแบบดั้งเดิมยังใช่ได้ดีอยู่หรือไม่ นักทฤษฎีจำนวนหนึ่งมองว่าการจำกัดนิยามของสันติวิธีภายใต้กรอบของอารยะขัดขืนในลักษณะดั้งเดิมนั้นอาจไม่เพียงพอต่อการขจัดความอยุติธรรมทางสังคม เช่น หนังสือ พลังแห่งสันติวิธี[6] ของจูดิธ บัตเลอร์ (Judith Butler) เสนอการตีความขอบเขตของสันติวิธีในแบบใหม่ หรือบทความ Political rioting: A moral assessment ของอาเวีย ปาสเตอร์นัค (Avia Pasternak) เสนอว่าการก่อจลาจล (political rioting) ที่ประกอบด้วยความรุนแรงตั้งแต่การก่นด่า การปล้นสะดม (looting) ไปจนถึงการทำลายทรัพย์สินสาธารณะ (vandalism) แม้ไม่อยู่ภายใต้ขอบเขตของอารยะขัดขืน แต่ก็ชอบธรรมได้ เป็นต้น
แน่นอนว่าคำถามนี้คงไม่ได้ตอบได้ด้วยการวิเคราะห์เอาเพียงอย่างเดียว แต่กรณีของเนติวิทย์ที่ต่อต้านการเกณฑ์ทหารก็อาจเป็นหนึ่งในหลักฐานประจักษ์ที่จะช่วยตอบคำถามข้อนี้ได้เป็นอย่างดี ว่าท้ายที่สุดการอารยะขัดขืนของเขาจะนำไปสู่การยกเลิกการเกณฑ์ทหารได้สำเร็จหรือไม่ หรือว่าอาจต้องเป็นขยายไปสู่การเคลื่อนไหวสันติวิธีแบบอื่นในนิยามที่กว้างขึ้น
บรรณานุกรม
Rawls, J. (1971). A theory of justice. Clarendon Press.
เชิงอรรถ
[1] อ่านเพิ่มเติม (https://th.wikipedia.org/wiki/ผู้คัดค้านโดยอ้างมโนธรรม#:~:text=ผู้คัดค้านโดยอ้างมโนธรรม%20(อังกฤษ%3A%20conscientious%20objector)%20คือ,สหรัฐอเมริกาด้วยเหตุผลทางศาสนา)
[2] (https://wri-irg.org/en/Netiwit-declaration)
[3] (https://samyanpress.bentoweb.com/th/product/960146/product-960146)
[4] (https://samyanpress.bentoweb.com/th/product/601689/product-601689)
[5] มาจากการตัดสินทางศีลธรรมอย่างจริงใจ
[6] (https://samyanpress.bentoweb.com/th/product/939183/product-939183)
(https://www.the101.world/netiwit-resists-conscription/ )
.....