จากเสาคอนกรีต 800 บาท
— Tosaporn Sererak / นพ. ทศพร เสรีรักษ์ (@TSererak) May 6, 2022
เป็นยางพารา 2,600-2,700 บาท
ปีละ 120,000 -130,000 ต้น
ลองคูณเองนะครับ pic.twitter.com/jXKkYwhcXt
Ch3ThailandNews
โลกออนไลน์แชร์สนั่น ภาพเสาหลักลายริมทางข้างถนน หลังมีผู้ใช้เฟสบุ๊ครายหนึ่ง โพสต์ในกลุ่มเล่าขวัญเมืองน่าน ว่า "ขอโทษครับ เช้านี้ขับรถไปทำงาน พอดีปวดฉี่เลยจอดแวะข้างทาง สงสัยผมจะฉี่แรงไปหน่อย หลักลายเลยแตก เลยทำให้ทราบว่า ข้างในมันเป็นแบบนี้นี่เอง" จากนั้นมีผู้มาแสดงความคิดเห็นจำนวนมาก
ผู้สื่อข่าวลงพื้นที่ตรวจสอบ พบว่า เสาดังกล่าวอยู่บนนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1168 สายภูเพียง-แม่จริม ระหว่างหลักกิโลเมตรที่ 10 ถึงหลักกิโลเมตรที่ 14 พบเสาหลักนำทาง (เสาหลักลาย) ในช่วงดังกล่าวมีลักษณะแปลกไปจากปกติ โดยเป็นเสาชนิดใหม่ที่ผลิตจากยางพารา มีทั้งหมด 260 ต้น เสียหายไป 5 ต้น มีทั้งปริแตก หักโค่น และถูกไฟเผา จนเห็นแกนกลางข้างในว่าเป็นไม้ไผ่
นายนรินทร์ เอี่ยมทอง รองผู้อำนวยการทางแขวงทางหลวงน่านที่ 1 ชี้แจงว่า เมื่อปี 2564 แขวงการทางน่านที่ 1 ได้รับงบประมาณในการจัดซื้อหลักนำทางยางพารา ซึ่งเป็นนโยบายเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยางพาราของรัฐบาล ให้นำมาติดตั้งแทนเสาคอนกรีตที่มีอยู่ และเพิ่มเติมในส่วนที่ติดตั้งไม่ครบ หวังช่วยลดการสูญเสียจากการชน และใช้เป็นแนวนำทางในการขับรถ แต่ไม่ได้ใช้ป้องกันรถ ชน เพราะถ้ารถชนไม่ว่าเป็นเสาคอนกรีต หรือเสายางพาราก็กั้นไม่อยู่
ส่วนที่ต้องมีไม้ไผ่เป็นแกนกลางในเสา เพื่อช่วยในการติดตั้งให้ไวขึ้น เนื่องจากตอนได้เสามาใหม่ ๆ เสาจะมีความอ่อนตัว ทำให้ติดตั้งยาก จึงต้องมีไม้ไผ่เป็นหลักยึด ซึ่งเป็นไปตามแบบมาตรฐานของกรมทางหลวง ยืนยันไม่ใช่การคอรัปชั่น สอดไส้ไม้ไผ่เพื่อลดต้นทุนซึ่งไม่จริง เพราะเสายางพารามีต้นทุนต้นละ 2,600-2,700 บาท ส่วนเสาคอนกรีตแบบเดิม ราคาต้นละ 800 บาท