วันอาทิตย์, ตุลาคม 04, 2563

กะจะเลีย...



ภาพจาก FB Thitivada Clanjiu

Krisadang-Pawadee Nutcharus 
20h ·

ผมมีเรื่องน่าเสียใจเกี่ยวกับงานครบรอบ 44 ปี 6ตุลา19 ซึ่งจัดขึ้นที่ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ในช่วงนี้แจ้งให้ทราบ
เมื่อวานนี้ผมได้รับแจ้งว่า ผู้บริหารธรรมศาสตร์ไม่อนุญาตให้น้องเพนกวินและน้องรุ้งซึ่งเป็นนักศึกษาธรรมศาสตร์และทนายอานนท์ซึ่งเป็นทนายสิทธิมนุษยชน มาร่วมเสวนาในงานนี้บนเวทีหอประชุมศรีบูรพาตามกำหนดที่คณะกรรมการได้เตรียมไว้
ผู้บริหารธรรมศาสตร์ให้เหตุผลสั้น ๆ ว่า ไม่สบายใจโดยไม่อธิบายอะไรแถมยังสั่งว่า หากไม่ตัดทั้งสามคนนี้ออกจะไม่ยอมให้มีการแสดงบนเวทีทั้งหมดในงานนี้
ผมต้องขอโทษต่อประชาชนและสื่อมวลชนทั้งไทยและเทศทุกสาขาที่เคยแจ้งว่า เพนกวิน รุ้ง และทนายอานนท์จะมาแสดงความคิดเห็นในหัวข้อ 6ตุลาในทัศนะของคนรุ่นใหม่และการเมืองไทยในมุมมองของเยาวชน
ผมขอเสียใจที่จะแจ้งให้ทราบว่า เราจะไม่ได้ฟังคนทั้งสามพูดอีกแล้วในธรรมศาสตร์
ข้อความต่อไปนี้ ผมนายกฤษฎางค์ นุตจรัส กรรมการจัดงานปีนี้ที่ธรรมศาสตร์แต่งตั้งขอรับผิดชอบในความเห็นที่จะแสดงต่อไป
เป็นอีกครั้งที่ทำให้เราเข้าใจทัศนะ มุมมอง ความขี้ขลาดหรือความกล้าหาญของผู้บริหาร
เราจัดงานรำลึก6ตุลา19 ทุกปี เพราะเราเชื่อมั่นว่าวีรชนคนหนุ่มสาวที่เสียสละชีวิตไปในเหตุการณ์ครั้งนั้นอุทิศร่างกายของตนเพื่อสิทธิเสรีภาพและประชาธิปไตย ฆาตกรผู้ก่ออาชญากรรมต่อพวกเขาก็เพียงเพราะเขามีความคิดที่แตกต่างออกไปจากพวกมันเท่านั้น
ที่สำคัญเราจัดงาน6ตุลา19 เพราะเราเรียกร้องให้สังคมไทยในปัจจุบันรับฟังความเห็นที่แตกต่างกันมิใช่หรือ
ไม่ว่าน้องทั้งสามจะมีความคิดเห็นอย่างไรทำไมเราไม่รับฟังเขา หรือคุณกลัวที่จะฟังในสิ่งที่เขาพูด
ถ้าในทางกลับกันในงานนี้ เชิญแก้วสรร อติโพธิ หรือวรงค์ เดชกิจวิกรม มาพูดในงานนี้ผมเชื่อมั่นว่าผู้บริหารคงมีความสบายใจกระมัง
ท่านผู้ประศาสน์การมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง อาจารย์ปรีดี พนมยงค์ เมื่อคราวก่อการปฏิวิติ 2475 ก็มีความเห็นพลิกฟ้าคว่ำแผ่นดินใช่ไหม ในเวลานั้นท่านก็มีอายุเพียงสามสิบปีเศษ การตั้งธรรมศาสตร์ก็เพื่อเป็นหลักคุ้มครองเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของราษฎรทั่วไปใช่หรือไม่
การสั่งห้ามน้องทั้งสามมาพูดในงาน6ตุลาปีนี้เป็นสิ่งที่ผมไม่มีทางจะรับได้
แม้ผู้บริหารอาจจะดีใจที่สามารถทำตามคำสั่งของนายได้ แต่ประวัติศาสตร์ได้จารึกไว้แล้ว ว่า ในวันเวลานี้ท่านได้ทำอะไรไป ท่านไม่อาจลบมันออกจากส่วนหนึ่งของงานรำลึก6ตุลา19ได้ ถ้าเปรียบก็เป็นเหมือนท็อปบู๊ตที่เหยียบย่ำไปบนร่างกายของวีรชน6ตุลาในวันนั้น
เรื่องในวันนี้ช่างประจวบเหมาะกับกรณีครึกโครมที่โรงเรียนอนุบาลเอกชนดังมีครูเอาถุงขยะดำครอบหัวน้องนักเรียนเพื่อสั่งสอนให้กลัวและเชื่อในสิ่งที่ครูสั่ง
ผมนึกไม่ถึงว่าในวันที่เราจัดครบรอบ 44ปี6ตุลา19 ผู้บริหารธรรมศาสตร์ยังวิ่งไล่เอาถุงขยะดำครอบหัวนักศึกษาอยู่

https://www.facebook.com/krisadangpawadee.nutcharus
.....

อานนท์ นำภา
13h ·
คงกลัวผมไปพูดว่าใครมีส่วนในการฆ่าประชาชนเมื่อ 6 ตุลา 19
.
อานนท์ นำภา
6h ·
6 ตุลา ห้ามพูดถึงสถาบันกษัตริย์ ทั้งที่สถาบันกษัตริย์มีบทบาททั้งเป็นจุดเริ่มต้นและจุดจบของเหตุการณ์
นี่ตลกร้ายที่ผู้บริหารธรรมศาสตร์คิดอย่างง่ายๆ ว่าถ้าห้ามพูดแล้วเรื่องจะจบ ความจริงคือคุณจะเจอการพูดถึงอย่างตรงไปตรงมาจากคนรุ่นใหม่
ปิดปาดผม เพนกวิ้น รุ้ง ก็ไม่มีประโยชน์ เพราะคนมันตาสว่างแล้ว ทุกคนสามารถพูดถึงสถาบันกษัตริย์ได้อย่างไม่ต้องอ้อมค้อมแล้ว
พวกคุณหนีความจริงไม่ได้หรอก
...


Atukkit Sawangsuk
6h ·

6 ตุลาห้ามแตะสถาบัน?
.............................................
ว่าด้วยผู้บริหารธรรมศาสตร์
ต้องแยกแยะด้วยว่า
ท่าพระจันทร์อยู่ในอำนาจของรองอธิการท่าพระจันทร์
ศุภสวัสดิ์ ชัชวาลย์
(เหมือนอนุญาตให้ม็อบที่รังสิตเป็นอำนาจของปริญญา)
:
ศุภสวัสดิ์มาจากไหน?
เป็นเด็กปั้นของนครินทร์ เมฆไตรรัตน์
ขึ้นมาจากรองคณบดีรัฐศาสตร์ เป็นผู้ช่วยอธิการบดี กลับไปเป็นคณบดีรัฐศาสตร์ แล้วก็มาเป็นรองอธิการบดี
ถูกวางตัวเป็นอธิการบดีในอนาคต ในเครือข่ายสมคิด เลิศไพฑูรย์
:
เข้าใจนะว่า เครือข่ายอำนาจในมหาวิทยาลัยปัจจุบัน
คือชงกันเองกินกันเอง กรรมการสภาเลือกอธิการบดี อธิการเสนอชื่อกรรมการ
เครือข่ายส่วนใหญ่ยังเป็นของสมคิด
เพียงแต่ตอนสมคิดครบวาระ 2 ครั้ง
อุดม รัฐอมฤต ที่วางตัวไว้เป็นทายาทต้องไต่บันไดจากคณบดีนิติก่อน
(และติดงานสำคัญ เป็น กรธ.รธน.60 ชุดมีชัยสารพัดพิษนี่ไง)
เลยยอมให้ อ.เกศินีมาขัดตาทัพ
โดยรองอธิการร่วมครึ่งก็ยังเป็นสายสมคิด
ตอนนี้ อุดมจะกลับมาชิงตำแหน่ง
แต่ อ.เกศินีสู้เว้ย
โดยเธอก็มีผลงาน ทั้งด้านบริหาร หาทุนมาพัฒนา ทั้งชนะใจนักศึกษา ตอนลดค่าเทอม
:
เกศินีอยู่ขั้วไหน ไม่มีขั้วทางการเมือง ไม่ได้สนใจทางการเมือง
แต่โดยทั่วไป ก็เปิดกว้างให้เสรีภาพทุกฝ่าย
จนมาเจอของแรงๆ อย่างข้อเสนอปฏิรูปสถาบันจึงผวา
กระนั้นถ้าเทียบกับอุดม
รับใช้รัฐประหารมาอย่างไรก็เห็นกันอยู่
:
ปัญหาของมหาวิทยาลัยในปัจจุบัน ทุกมหาลัย
คือการสรรหาอธิการบดี ประชาคมทั้งอาจารย์ทั้งนักศึกษา แทบไม่มีส่วนร่วมเลย
อยู่ที่กรรมการสภา ซึ่งก็เป็นเครือข่ายสืบทอดอำนาจ วางทายาทอสูร
กระทั่งตั้งคณบดี ก็ลงมายุ่มย่าม กำหนด ล็อกพวกตัวเองหมด
ในธรรมศาสตร์เหลือแค่บางคณะ เช่นรัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์
ที่คณาจารย์ไม่ยอม ใช้วิธีโหวตกันเองก่อนแล้วเสนอชื่อคนเดียว คนแพ้ต้องสละสิทธิ แต่บางคณะวิ่งเต้นแทงข้างหลังกันให้วุ่น