วันพฤหัสบดี, กันยายน 26, 2562

ความก้าวหน้าของศาลอังกฤษ กรณีที่ศาลฎีกาอังกฤษพิพากษาว่า #การปิดสมัยประชุมสภาชั่วคราว ของนายกรัฐมนตรี บอริส จอห์นสัน เป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แล้วย้อนกลับมาดูศาลที่ประเทศสารขัณฑ์แถวๆนี้




ขออนุญาตนำ คำอธิบายของ อ.วิษณุ วรัญญู (ไม่ใช่ เครืองาม นะครับ) มาแชร์ให้ได้อ่านกันครับ

กรณีที่ศาลฎีกาอังกฤษพิพากษาว่า #การปิดสมัยประชุมสภาชั่วคราว ของนายกรัฐมนตรี บอริส จอห์นสัน เป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

ประเด็นน่าสนใจ คือ การที่ศาลใช้คำว่า “#undemocratic” (ไม่เป็นประชาธิปไตย) ถือว่า เป็นความก้าวหน้ามากในวงการกฎหมาย

เพราะปกติศาลจะพิพากษาแค่ #unlawful (ไม่ชอบด้วยกฎหมาย) เท่านั้น

แต่เคสนี้ ศาลก้าวไปถึงความเป็น #ประชาธิปไตย ด้วย เท่ากับว่า ศาลได้ตัดสินคดีโดยอิงกับประชาชน

ถือว่าลึกซึ้งมากนะครับ

เข้าไปดูต้นฉบับได้ที่ https://www.facebook.com/100001456380493/posts/2669564799768707?sfns=mo

(แชร์แล้วมาแต่ YouTube เลยต้องขอแคปภาพมาแทน)

@Harvey
Law Inspiration
..

กฤษณะชัย ผลจันทร์ บ้านเรายังแปลกๆ อึนๆ งงๆ อยู่เลยครับ รัฐธรรมนูญถูกฉีกไปแล้ว แต่ศาลรัฐธรรมนูญยังอยู่ ในขณะที่มีองค์กรภาคเอกชน ชื่อสุดเท่ ดูดี ว่าพิทักษ์รัฐธรรมนูญ แต่พอมีคนมาฉีกรัฐธรรมนูญ ดันไม่สามารถทำอะไรได้

Law Inspiration กฤษณะชัย ผลจันทร์ รอถึงวันที่ศาลจะกล้าหาญไม่รับรองการรัฐประหารอยู่เหมือนกันครับ

Bank Thanachot Rojkanok จริงๆ ในการรัฐประหารปี'49 ศาลรัฐธรรมนูญถูกยุบทิ้งเลยนะครับ รวมทั้งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทั้งหมดก็ถูกถอดถอน... (เพราะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเหล่านั้น ล้วนมีที่มาจาก สว.เลือกตั้ง ที่เป็นผู้เสนอ เห็นชอบ) ...หลังจากยุบศาลรัฐธรรมนูญไม่นาน คมช. ก็ตั้ง "คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ"ขึ้นมา โดยเอาผู้พิพากษา และตุลาการจำนวนหนึ่ง(ที่โปรทหาร) เข้าไปนั่งเป็น ตุลาการรัฐธรรมนูญ และออกโทษทางการเมืองย้อนหลัง ยุบพรรคไทยรักไทย (จุดชนวนเริ่มต้นของ"คนเสื้อแดง")...

Bank Thanachot Rojkanok เราจะสังเกตเห็นว่า ศาลรัฐธรรมนุญในช่วงที่ผ่านมา หลังจากปี49 ก็คือ "รัฐซ้อนรัฐ" รูปแบบหนึ่ง... คือ แทนที่จะเป็นองค์กรพิทักษ์รัฐธรรมนูญ ตรวจตราตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมาย แต่บางครั้งก็กลับเป็นองค์กรที่คอยตรวจสอบ"การกระทำทางการเมือง"ผ่านการวินิจฉัยทางกฎหมายเสียเอง... (ซึ่งฝ่ายรัฐบาล พรรคเพื่อไทย ในขณะนั้น มักจะเป็นฝ่ายที่ถูกตรวจสอบเสมอ...?)

กฤษณะชัย ผลจันทร์ Bank Thanachot Rojkanok สงสัย ตุลาการชุดนั้น ไม่เป็นประชาธิปไตยมั้งครับ พวกท่านๆ เลยจัดชุดตุลาการประชาธิปไตยแแบบสุดๆเข้าไปเป็นแทน 555555+

Bank Thanachot Rojkanok ขณะที่ประเทศไทย​ ศาลฎีกายังยึดฎีกาแนวเดิมที่​ 1662/2505 ฎีกาที่​ 1234/2523 และวินิจฉัยว่า​ "คำสั่งหรือประกาศของคณะรัฐประหารย่อมชอบด้วยกฎหมาย​ ในกรณีที่ยึดอำนาจสำเร็จ" (แม้ว่าคำสั่งหรือประกาศฉบับนั้นจะขัดกับหลักสิทธิและเสรีภาพตามกติกาสากลของ​ ICCPR ก็ตาม)​ 555+

Law Inspiration Bank Thanachot Rojkanok มีนิมิตหมายที่ดีอันนึงครับ

เคยอ่านเจอว่า คำพิพากษาเสียงข้างน้อย (ไม่แน่ใจว่าชั้นต้นหรือชั้นอุทธรณ์) บอกว่า การรัฐประหาร ถือว่าผิดกฎหมาย
คงต้องรอให้ผู้พิพากษาที่มีหัวใจประชาธิปไตยเติบโตในศาลยุติธรรมเยอะ ๆ ครับ ^^

Teerak Tongrak ไม่ต้องย้อนไปไกลครับ เอาแค่คำวินิจฉัยของศาสรัฐธรรมนูญคดีประยุทธ์เป็นเจ้าหน้าที่รัฐวันก่อนก็ได้ legalized อำนาจรัฐประหารเต็มที่มาก 55

Bank Thanachot Rojkanok Law Inspiration ผมจำได้ครับ​ รู้สึกว่า​ ผู้พิพากษาท่านนั้นชื่อ​ "ท่านกีรติ​ กาญจนรินทร์​" ที่เขียนความเห็นแย้งกลับไปในคำวินิจฉัย/คำพิพากษา...
นอกจากนี้​ ท่านกีรติ​ ยังเป็นอาจารย์บรรยายในวิชามรดกที่เนติบัณฑิตยสภาในปัจจุบันด้วยครับ​ และก็เขียนตำรามรดกที่"อ่านง่าย" เล่มหนึ่ง​ :)​

Thanakrit Boonmee Bank Thanachot Rojkanok
อันนี้ศาลไทยก้าวหน้าเช่นกันยึดหลักกฎหมายละติน
"inter arma enim silent leges"
ในยามแห่งอาวุธ กฎหมายทรุดเงียบเสียงลง
😂

Law Inspiration Bank Thanachot Rojkanok ขอบคุณมากครับ .. ถือว่าท่านกีรติกล้าหาญและก้าวหน้ามากครับ ^^

Law Inspiration Thanakrit Boonmee ผมก็ยึดหลักนี้เหมือนกันครับ .. กลัวรถทหารวิ่งมาเยี่ยมหน้าบ้าน 55+

Oatty Lovly Bank Thanachot Rojkanok จริงๆ ประเด็นนี้ก็เป็นเรื่องเข้าใจผิด ตั้งแต่นักกฎหมายรุ่นเก่า ถึงรุ่นใหม่
กรณีนี้หมายถึง ประกาศ หรือคำสั่งอะไรก็ตามมีผลบังคับใช้อยู่ หากไม่มีการยกเลิก แต่ไม่รวมถึงกฎหมายที่มีศักดิ์เท่ากัน หรือเหนือกว่าที่ออกมายกเลิก หรือออกมาแก้ไขแล้ว
จะเห็นได้จาก รธน. จึงจะมีบทที่เกี่ยวกับการกระทำที่ก่อนนี้ไว้ เพื่อไม่ให้ส่งผลกับกฎหมายหรือประกาศ หรือบุคคลหรือคณะเดิม
แต่ไม่ได้หมายถึงกฎหมายหรือระเบียบเดิม จะมีฐานะสูงกว่าหรือต้องยึดของเดิมมากกว่า กฎหมายปัจจุบัน

Bank Thanachot Rojkanok Oatty Lovly ตบมือข้างเดียวมันไม่ดังครับ กล่าวคือ กรณีนี้ หากศาลไม่เล่นด้วย ยึดอำนาจไปก็กลายเป็น "กบฏ-ทรราชย์" ไปในทันที เพราะคำสั่งหรือประกาศของคณะรัฐประหารไม่ชอบด้วยกฎหมายมาตั้งแต่ตอนต้น รัฐธรรมนูญฉบับเดิมยังคงมีผลบังคับใช้ ไม่ถูกฉีกทิ้งไป.. และในเมื่อคำสั่ง-ประกาศดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย/รัฐธรรมนูญแล้ว ก็ย่อมมีความผิด ถูกจำคุก ประหารชีวิตตามมาตรา 113 ของป.อ. คงไม่เหลือโอกาสได้มานั่งบริหารประเทศอยู่ต่อหรอกครับ ส่วน "บทบัญญัติที่ไปรับรองการกระทำใดๆของคณะรัฐประหารที่เขียนไว้ในรัฐธรรมนูญ" มันเป็นการ legitimatize ความชอบธรรมของการกระทำของตนเองอีกต่อหนึ่งครับ (หาได้เกี่ยวกับศาลไม่) ดังที่เขียนไว้ในบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ปี60 มาตรา 279