วันจันทร์, มิถุนายน 03, 2562

“ดร.โกร่ง”ยำใหญ่ “รัฐธรรมนูญเพื่อพวกเรา” อวสานรัฐบาลเผด็จการอาจเร็วกว่าที่คาด





“ดร.โกร่ง”ยำใหญ่ “รัฐธรรมนูญเพื่อพวกเรา” อวสานรัฐบาลเผด็จการ


By JNC Editorial team
-1 June 2019


“ดร.โกร่ง”ยำใหญ่ “รัฐธรรมนูญเพื่อพวกเรา”
ทำนายทายทักรัฐบาลสืบทอดอำนาจเผด็จการ
อาจถึงกาลอวสานเร็วกว่าที่คาด
ไม่น่าไปรอด

ดร.วีรพงษ์ รามางกูร


แม้รัฐธรรมนญูปี 2560 เป็นรัฐธรรมนญูที่ออกแบบมา “เพื่อพวกเรา” ข่าวปฏิวัติรัฐประหารที่พรรคสืบทอดอำนาจเผด็จการทหารคุมความได้เปรียบ และใช้เงินของมากมาย สั่งการในทางลับให้องค์กรอิสระทาเรื่องต่างๆ ที่ขัดกับหลักการ และ ความคิดของสังคม เพื่อให้ฝ่ายสืบทอดเผด็จการเอาชนะฝ่ายประชาธิป ไตยให้ได้

แต่ผลที่ออกมาก็ยังไม่สามารถเอาชนะอย่างเด็ดขาดในการจัดตั้งรัฐบาลได้ ต้องอาศัยสมาชิกวุฒิสภาที่ตนตั้งมากับมือลงคะ แนนเสียงในการประชุมรัฐสภา เพื่อลงมติเลือกนายกรัฐมนตรี แม้ว่ากรรมการร่างรัฐธรรมนญูจะกำหนดหลักเกณฑ์รายละเอียดบางอย่างไว้ ชัดเจนแต่ก็เลือกปฏิบัติได้โดยพยายามให้คนไม่รู้สึกว่าน่าเกลียด

บางอย่างก็ทำไปอย่าง “หน้าด้าน” เช่น การให้กลุ่มพรรคเล็กที่ได้คะแนนไม่ถึง 71,000 เศษได้ สส.แม้คะแนนจะไม่ถึงตามเกณฑ์ ดรูายชื่อของแต่ล ะพรรคแล้วก็เหลือเชื่อ ล้วนแต่เคยเป็นผู้หลักผู้ใหญ่ในวงราชการแต่กลับมายอมรับใช้ เผด็จการสืบ ทอดอำนาจอย่างไม่รู้สึกละอายใจ

แม้ว่าการเลือกตั้งนายกรัฐมนตรีนั้นเป็นที่คาดเดาได้ว่าผลจะออกมาอย่างไร แต่เมื่อมาถึงขั้นจัดตั้งรัฐบาล แม้ว่าพรรคประ ชาธิปัตย์จะได้หัวหน้าพรรค และกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่

ก็เป็นที่รู้กันว่า ต้องเข้าร่วมรัฐบาลสืบทอดอำนาจเผด็จการแน่ เช่นเดียวกับ พรรคภูมิใจไทยที่ออกข่าวทางทีวีว่ายังไม่แน่นอน นั้น ก็เป็นการออกข่าวเอาใจประชาชนที่ลงคะแนนให้พรรคตน เพราะตอนรณรงค์หาเสียงนั้นให้คำมั่นกับ ประชาชนว่า พรรคตนจะไม่เดินแนวทางสนับสนุนการสืบทอดอำนาจของฝ่ายสืบทอดอำนาจเผดจ็การ

แต่เมื่อประชาชนลงคะแนนเสียงให้ตนแล้ว ก็แล้วกัน การตัดสินใจเข้าค้ำบัลลังก์เผด็จการ เป็นเรื่องของตน

แต่ผลประโยชน์และอานาจไม่เข้าข้างใคร จึงเป็นที่แน่นอน อยู่แล้วว่าพรรคประชาธิปัตย์และพรรคภูมิใจไทยคงเข้าร่วมสนับ สนุน การสืบทอดอำนาจของเผด็จการทหารที่อยู่ภายใต้เสื้อคลุม จากการเลือกตั้ง แม้ตนจะไม่ได้ลงเลือกตั้งก็ตาม

พรรคที่เสียหายทางด้านชื่อเสียงและเกียรติภูมิมากที่สุด คือพรรคประชาธิปัตย์โดยเฉพาะอย่างย่ิงประธานคณะกรรมการที่ปรึกษาพรรคที่เคยลั่นสัจวาจาว่า“ผมเชื่อมั่นในระบอบรัฐสภา” ไม่แน่ใจว่าบัดนี้สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์จะยังจำกันได้หรือไม่ไม่แน่ใจว่ายังเชื่อมั่นในระบอบรัฐสภาอยู่หรือไม่ ยังึดถือ“หลักการ”เดิมอยู่หรือเปล่า

การที่พรรคประชาธิปัตย์ที่เคยรุ่งเรือง ต้องกลับกลายมาเป็นพรรคที่ได้ที่นั่งในสภาเพียงครึ่งร้อยเท่าๆกับพรรคภูมิใจไทย ดังนั้นแม้ว่าทหารจะเลือกให้เข้าร่วมรัฐบาลเช่นเดียวกับพรรคภูมิใจไทย และพรรคที่มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเพียงคนเดียวจำนวน 11-12 พรรค ก็คงจะเป็นเพียง “ไก่รองบ่อน” ไม่มีความหมายอะ ไร การที่จะกลับมาเป็นพรรคที่มีที่นั่งในสภาเกิน100 ก็คงจะไม่มีความหวังเช่นเดิม เพราะจะกลายเป็นพรรคสายเผด็จการทหารไปเช่นเดียวกับที่เคยรับเป็นนายกรัฐมนตรีในค่ายทหาร

จะใหญ่ในสายประชาธิปไตยก็ไม่ได้ จะใหญ่ในสายเผด็จ การก็ไม่มีทางเป็นไปได้!

สาหรับพรรคภูมิใจไทยนั้น ไม่มีเกียรติภูมิอะไรที่ต้องรักษาคนที่ลงคะแนนเสียงให้ไม่ได้คาดหวังอะไร นอกจากผลประโยชน์เช่นเดัยวกับพรรคชาติไทยพัฒนา ประโยชน์อยู่ทางไหน ก็ไปทางนั้นเป็นของธรรมดา เพราะไม่เคยประกาศอดุมการณ์ทางการเมืองอะไร คนที่ลงคะแนนเสียงให้ ก็ไม่ได้คาดหวังอะไร เลือกตั้งเสร็จ ก็เสร็จไม่เหมือนพรรคประชาธิปัตย์ที่มีคนผิดหวัง และสม หวัง ถ้าเข้าร่วมรัฐบาล คนก็จะผิดหวังมาก

ทั้งนี้ทั้งนั้น สาหรับพรรคประชาธิปัตย์ การตัดสินใจอยู่ที่ประ ธานทที่ปรึกษาพรรคคนเดียวเท่านั้น มติกรรมการกลางพรรค ก็เป็นเพียงพิธีกรรมเช่นเดียวกับการเลือกตั้งหัวหน้าพรรคที่ยังไม่สามารถโค่นล้มบารมีของประธานที่ปรึกษาพรรคได้ หัวหน้าพรรคเป็นแต่เพียงผู้แสดงเท่านั้น

การที่แกนนำฝ่ายเผด็จการทหาร ยังไม่กล้าประกาศอย่างเต็มคำว่า ตนกับพรรคร่วมรัฐบาลได้คะแนนเกินครึ่งแล้ว คงต้องรอพรรคประชาธิปัตย์ประกาศเป็นทางการก่อน ทั้งๆที่รู้อยู่ว่า พรรคประชาธิปัตย์ร่วมรัฐบาลสืบทอดอำนาจเผด็จการ แน่นอน พรรคภูมิใจไทยนั้น อยู่ในกระเป๋าอยู่แล้ว เพราะพิธีกรรมของประชาธิปัตย์สลับซับซ้อนอยู่มาก ไม่ตรงไปตรงมา คำพูดกับความจริงไม่แน่ว่าตรงกันหรือไม่

หลังพระราชพิธีเปิดสมัยประชุมรัฐสภา จะมีการเลือกประ ธาน และรองประธานสภาผู้แทนราษฎร ตามประเพณี ประธานสภาผู้แทนก็จะมาจากพรรครัฐบาล ส่วนรองประธานทั้ง 2 คน ก็จะมาจากพรรคร่วมรัฐบาลเช่นเดียวกับรองนายกรัฐมนตรี ก็จะมาจากพรรคร่วมรัฐบาล และดูแลกระทรวงที่ตนได้รับการจัดสรรให้เป็นรัฐมนตรีว่าการ

ถ้าเป็นตามข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์“มติชน”ฉบับวันศกุร์ที่ 17 พฤษภาคม 2562 ฝ่ายรัฐบาล 8 พรรคได้ลงนามให้สัตยาบันแล้ว 245 เสียง ฝ่ายที่ประกาศหนุนนายกรัฐมนตรีคนเดิม 7 พรรคกับอีก 1 กลุ่ม วมกันได้เสียงเพียง150 เสียง ยังต้องการเสียงจาก ประชาธิปัตย์ 52 เสียง และภูมิใจไทย 51 เสียงซึ่งไม่น่ามีปัญ หาทั้ง 2 พรรคเข้าร่วมแน่ แต่จะมีเสียงรวมกันเพียง 253 เสียง เกินครึ่งมาเพียง 3 เสียง ซึ่งน้อยกว่ากลุ่มพรรคเล็ก 11 พ่อ 11 แม่เสียอีก

การรวมกลุ่มเช่นว่าไม่มีทางที่จะเหนียวแน่นเหมือนฝ่ายค้าน ทั้งที่อิสระ และไม่อิสระซึ่งไม่ทราบแปลว่าอะไร อิสระ กับ ไม่อิสระจากใคร การซื้อ“งูเห่า”จึงมีความจำเป็นสาหรับการดารงอยู่ของ รัฐบาลทุกครั้งที่มีการลงมติในสภาผู้แทนราษฎร

การยุบสภาคงจะต้องเกิดขึ้นภายในเวลาอันสั้น คาดกันว่าน่าจะไม่เกินปลายปีนี้ ขณะนี้ฝ่ายประชาธิปไตยต้องการให้มีรัฐ บาลเพื่อคณะเผด็จการ คสช.จะได้หมดอานาจไปพร้อม ๆ กับ มา ตรา 44 แห่งรัฐธรรมนญู ซึ่งก็จะเป็นจุดอวสานของรัฐบาลเผด็จ การทหารที่ยึดอำนาจมาจากประชาชน และอยู่ในอำนาจยาว นานที่สดุ ตั้งแต่เคยมีเผด็จการที่มาจากการปฏิวัติรัฐประหาร

เสียทีไม่มีผลงานอะไรที่เป็นชิ้นเป็นอัน จนต้องเล่นเลกิออกอากาศเพลง“ขอเวลาอีกไม่นาน”ไปแล้ว เพราะได้ขอเวลาสืบ ทอดอำนาจมาแล้ว 4 – 5ปี อยู่ต่อไปคงแต่งเพลงขอเวลา 20 ปี

ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ราคาสินค้าเกษตร ประมง อุต สาหกรรมตกต่ำลงเรื่อย ๆ

แม้ว่า ดุลการค้า และดุลบัญชีเดินสะพัด ยังเกินดุล แต่ค่าเงินบาทตก นักเลงโตโดนัลด์ ทรัมป์ ประกาศจะเล่นงาน จึงต้องคอยดูว่ารัฐบาลจะแก้ตัว หรือจะโดนเล่นงานโดยการถูกขึ้นภาษีขาเข้าจากร้อยละ 5 – 10 เป็นร้อยละ 25 หรือไม่

จะเดินทางไปเจรจาการค้า เขาก็ไม่ให้วีซ่า หัวหน้ารัฐบาลเผด็จการทหารเดินทางเข้าประเทศไม่ได้ นอกจากเดินทางไปประชุมองค์การระหว่างประเทศที่จัดประชุมที่อเมริกา หรือ ยุโรป

หลังจากที่ถูกทัก คราวนี้รัฐมนตรีต่างประเทศ ก็ไม่กล้าออกมาพูดไม่จริงกับประชาชน สร้างผลงานปลอมเพื่อเอาใจหัวหน้ารัฐบาลอย่างที่เคยทำ ตาแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาจจะรักษาไว้ได้เช่นเดียวกับกลาโหม มหาดไทย แต่กระทรวงการต่างประเทศไม่แน่ว่าจะรักษาเอาไว้ได้

หลังการจัดตั้งคณะรัฐมนตรี การจัดสรรเลขานุการและรองเลขานุการรัฐมนตรี ประธานกรรมาธิการในสภาผู้แทนราษฎรแล้ว เมื่อถึงคราวจะต้องลงมติรับหลักการร่าง พ.ร.บ.หรือลงคะ แนนเสียงไว้วางใจนายกรัฐมนตรี คราวนี้แหละจะได้เห็นอำนาจอธิปไตยที่เป็นของประชาชน ไม่ใช่เป็นของ คสช.อย่างที่เคยเป็น

บรรยากาศการเมืองของคนกรุงเทพและคนในเมืองใหญ่ ๆ ยังคงเป็นไปอย่างเนือยๆ ไม่คึกคัก เพราะพรรคเพื่อไทย ไม่ชำนิชำนาญการอภิปรายในสภา พรรคที่มี“มีดโกนอาบนำ้ผึ้ง”อย่างพรรคประชาธิปัตย์ ก็คงถูกนายกรัฐมนตรีเป่ากระหม่อม กลืนเข้าไปอยู่ในรัฐบาล นั่งมองตาปริบๆ ในการอนุมัติโครงการต่างๆที่มีเงินทอน

แม้ว่าจะมีพรรคประชาธิปัตย์อยู่ในกระเป๋าเข้าร่วมรัฐบาลก็ไม่ได้หมายความว่า จะอยู่อย่างสงบเสงี่ยมเจียมตัวอย่างเรียบ ร้อย เมื่อถึงจุดหนึ่ง พรรคประชาธิปัตย์มักจะแตกออกไปตั้งพรรคใหม่เสมอ มีการแบ่งกลุ่มภายในพรรคอยู่ ตลอดเวลาถ้าคนที่ตนสนับสนุนไม่ได้เป็นหัวหน้าพรรค

เช่นในกรณีที่ผ่านมาสด ๆ ร้อน ๆ นี้เองที่เกิดกลุ่มไม่เอาหัว หน้าพรรคชาวใต้ที่ประธานที่ปรึกษาพรรคเป็นผู้สนับสนุน เสียงกระแนะกระแหน ค่อนขอดว่าไมเ่ฉียบแหลม การศีกษาไม่สูง ไม่ ใช่นักเรียนนอก ก็เกิดขึ้นทันทีอย่างไม่เกรงใจ

การที่รัฐบาลมีเสียงปริ่มน้ำ 255 ต่อ 245 และ มีโครงสร้างพรรคร่วมรัฐบาลที่อ่อนแอเป็นพรรคที่ไม่มีอดุมการณ์เช่นนี้ พรรคที่จะเข้าร่วมคงต้องต่อรองเอากระทรวง และเอาเงินในจำนวนที่สูงจนอาจจะสู้ไม่ไหว

ถ้าสู้ไหวก็ไมน่ารอด อวสานของเผด็จการ ก็อาจจะมาถึง