
5 ประเด็นต้องรู้ เมื่อฝรั่งเศสเข้ามาอยู่ในสมการข้อพิพาทชายแดนไทย-กัมพูชา
ปณิศา เอมโอชา
ผู้สื่อข่าวบีบีซีไทย
3 กรกฎาคม 2025
ปมข้อพิพาทชายแดนไทย-กัมพูชา ยังคงเป็นเผือกร้อนระหว่างสองประเทศ โดยผู้นำของทั้งสองประเทศต่างพยายามคลี่คลายสถานการณ์ตามโจทย์ทางการเมืองของตนเอง ขณะที่ฝ่ายรัฐบาลไทยดูเหมือนจะเจอกับโจทย์ที่ใหญ่กว่า หลังจากวันที่ 1 ก.ค. น.ส.แพทองธาร ชินวัตร ถูกศาลรัฐธรรมนูญสั่งหยุดปฏิบัติหน้าที่ชั่วคราว จากปมคลิปเสียงสนทนากับสมเด็จฮุน เซน ประธานวุฒิสภากัมพูชา ที่ถูกสังคมวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก
ด้านฝั่งนายกรัฐมนตรีกัมพูชาอย่างฮุน มาเนต เดินเกมกดดันไทยอย่างต่อเนื่อง โดยโพสต์ภาพจับมือกับ ศ.ฌอง มาร์ค โซเรล จากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยปารีส 1 (แพนธีออน-ซอร์บอนน์) ทั้งยังควบตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันวิจัยด้านกฎหมายระหว่างประเทศและยุโรปแห่งซอร์บอนน์ (IREDIES)
แต่ดูเหมือนว่าตำแหน่งที่สำคัญที่สุดของเขาในบริบทนี้คือ "เป็นสมาชิกคนสําคัญของทีมที่ปรึกษากฎหมายและทนายความที่ช่วยให้กัมพูชาประสบความสําเร็จในการตีความคําพิพากษาวัดพระวิหาร (1962) ในปี 2011-2013 ที่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (International Court of Justice - ICJ)" ตามข้อความที่เผยแพร่บนเฟซบุ๊กของฮุน มาเนต
สำหรับข้อพิพาทระหว่างไทยและกัมพูชาที่เกิดขึ้นบนดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศอดีตเจ้าอาณานิคมอย่างฝรั่งเศสไม่ได้สำคัญแค่เพราะทนายคนดังของกัมพูชาเป็นคนฝรั่งเศสเท่านั้น แต่ยังมีส่วนเกี่ยวข้องทั้งเชิงประวัติศาสตร์ การทูต และเกมทางกฎหมาย
นี่คือ 5 ประเด็นที่น่าสนใจที่อาจจะสะท้อนให้เห็นถึงบทบาทสำคัญของฝรั่งเศสในสมการข้อพิพาทดินแดนไทย-กัมพูชา ดังนี้
ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้นายกฯ แพทองธาร ชินวัตร หยุดปฏิบัติหน้าที่ชั่วคราวด้วยมติ 9 ต่อ 2 หลังรับคำร้องของ สว. 36 คน ที่กล่าวหาผู้นำรัฐบาลฝ่าฝืนมาตรฐานจริยธรรมร้ายแรง กรณีปรากฏ "คลิปเสียง" สนทนากับผู้นำกัมพูชา
1. มรดกทางประวัติศาสตร์
ฝรั่งเศสเป็นเจ้าอาณานิคมของกัมพูชาถึง 90 ปี ระหว่างปี ค.ศ. 1863-1953 (พ.ศ. 2406-2496) ซึ่งในช่วงนี้เอง ฝรั่งเศสได้จัดทำทั้งแผนที่และสนธิสัญญาขึ้นมาหลายฉบับ
แผนที่และสนธิสัญญาของฝรั่งเศสถูกใช้เป็นข้อต่อสู้จนฝั่งกัมพูชาชนะคดีปราสาทพระวิหาร ในปี ค.ศ. 1962 (พ.ศ. 2505) ซึ่งศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ศาลโลก) ตัดสินให้ปราสาทพระวิหารตั้งอยู่ในอาณาเขตภายใต้อธิปไตยของกัมพูชา
1. มรดกทางประวัติศาสตร์
ฝรั่งเศสเป็นเจ้าอาณานิคมของกัมพูชาถึง 90 ปี ระหว่างปี ค.ศ. 1863-1953 (พ.ศ. 2406-2496) ซึ่งในช่วงนี้เอง ฝรั่งเศสได้จัดทำทั้งแผนที่และสนธิสัญญาขึ้นมาหลายฉบับ
แผนที่และสนธิสัญญาของฝรั่งเศสถูกใช้เป็นข้อต่อสู้จนฝั่งกัมพูชาชนะคดีปราสาทพระวิหาร ในปี ค.ศ. 1962 (พ.ศ. 2505) ซึ่งศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ศาลโลก) ตัดสินให้ปราสาทพระวิหารตั้งอยู่ในอาณาเขตภายใต้อธิปไตยของกัมพูชา
"ฉันเชื่อจริง ๆ ว่าเรื่องนี้ย้อนกลับไปถึงมรดกทางประวัติศาสตร์ที่ฝรั่งเศสมีในภูมิภาคนี้อย่างชัดเจน เพราะฝรั่งเศสเคยเป็นเจ้าอาณานิคมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ความขัดแย้งเรื่องพรมแดนจำนวนมากก็ย้อนกลับไปยังการวาดแผนที่ในยุคแรกเริ่ม ซึ่งถูกจัดทำโดยอำนาจอาณานิคมของฝรั่งเศสในอดีต" ดร.เพตรา อัลเดอร์แมน ผู้จัดการศูนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซอ สวี ฮ็อก แห่งโรงเรียนเศรษฐศาสตร์และรัฐศาสตร์แห่งกรุงลอนดอน (London School of Economics and Political Science - LSE) กล่าว
2. ผลประโยชน์ต่างตอบแทน

ก่อนหน้าจะถูกสั่งให้ยุติการปฏิบัติงานไม่นาน นายกฯ ไทยได้โทรศัพท์ไปพูดคุยกับนายเอ็มมานูเอล มาครง ประธานาธิบดีฝรั่งเศส เป็นครั้งแรก เพื่อแสดงความยินดีให้การยกระดับความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศ ผู้นำของทั้งสองประเทศยังมีการเชิญแต่ละฝ่ายให้มาเยือนประเทศตัวเองอย่างเป็นทางการเช่นเดียวกัน
ข้อความในบัญชีอย่างเป็นทางการของมาครงบนแพลตฟอร์มเอ็กซ์ ระบุว่า: "ผมเพิ่งได้พูดคุยกับนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรีของประเทศไทย ประเทศของเรากำลังใกล้ชิดกันมากขึ้นเรื่อย ๆ! ท่ามกลางความท้าทายใหญ่หลวงในยุคของเรา เช่น การสั่นคลอนของหลักการการค้าระหว่างประเทศ ประชาชนชาวไทยสามารถไว้วางใจในมิตรภาพจากฝรั่งเศสได้เสมอ"
สำหรับฝรั่งเศส สายสัมพันธ์ที่มีมายาวนานกับฝั่งกัมพูชาเป็นเรื่องที่เห็นได้ชัดเจน คำถามคือแล้วความสัมพันธ์กับประเทศไทยอยู่ตรงไหน การยกหูเริ่มต้นพูดคุยครั้งแรกจะช่วยไทยได้จริงหรือไม่
ดร.ภัทรพงษ์ แสงไกร อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อธิบายกับบีบีซีไทยว่า เนื่องจากนี่เป็นการโทรศัพท์หากันเป็นครั้งแรก เขาจึงไม่คิดว่าจะมีการเจรจาลงลึกในรายละเอียดถึงข้อพิพาทระหว่างไทย-กัมพูชา รวมไปถึงความช่วยเหลือที่อาจเอื้อฝั่งไทยกับความพยายามของกัมพูชาในการยื่นฟ้องต่อศาลโลก
ความเป็นไปได้มากกว่าคือการวางกรอบประเด็นว่าต่อจากนี้จะมีความร่วมมืออะไรกันได้บ้าง ซึ่งรวมไปถึงความพยายามของรัฐบาลไทยในการเข้าร่วมเป็นสมาชิกขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organisation for Economic Co-operation and Development - OECD) รวมไปถึงการเจรจาความตกลงเขตการค้าเสรีกับสหภาพยุโรป ซึ่งไทยอาจเข้าไปขอคำแนะนำจากฝรั่งเศสได้ ในมุมกลับกัน เขามองว่า ฝรั่งเศสเองก็พยายามเข้ามาหาหุ้นส่วนใหม่ ๆ ในแถบภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกอยู่แล้ว
ขณะที่ ดร.อัลเดอร์แมน เสริมว่า ในภาวะการเมืองโลกที่มีนายโดนัลด์ ทรัมป์ ขึ้นมาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ สมัยที่สอง ฝรั่งเศสเองได้เรียนรู้ว่า พวกเขาต้องพยายามมองหาพันธมิตรทางการค้าใหม่ ๆ
เธอเสริมว่าที่ผ่านมาฝรั่งเศสเองได้พยายามมาสักพักในการกระชับความสัมพันธ์กับหลายประเทศในอาเซียน ดังนั้น ทุกอย่างจึงดูเหมือนจะเชื่อมโยงกันได้อย่างลงตัวในแง่นี้ "แต่โดยรวมแล้ว ฉันคิดว่า ประเด็นทางประวัติศาสตร์คือเหตุผลสำคัญ เพราะมันย้อนกลับไปยังการวาดแผนที่ของนักทำแผนที่ฝรั่งเศสในอดีต ซึ่งเป็นต้นตอของข้อพิพาทเรื่องพรมแดนที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบันนั่นเอง"
ในบทวิเคราะห์แนวทางนโยบายต่างประเทศของฝรั่งเศสโดย เซลีน ปาจง หัวหน้าฝ่ายวิจัยญี่ปุ่นและอินโด-แปซิฟิก ประจำศูนย์การศึกษาภูมิภาคเอเชียและอินโดแปซิฟิก ของสถาบันวิจัยระหว่างประเทศแห่งฝรั่งเศส (IFRI) กรุงปารีส ที่ตีพิมพ์ต้นเดือน มิ.ย. คล้อยหลังการเดินทางมาเยือนอาเซียนของมาครง เธอชี้ว่า ฝรั่งเศสเสนอเป็น "แนวทางที่สาม" (Third Way) ระหว่างสองขั้วอำนาจหลักอย่างสหรัฐอเมริกาและจีนในภูมิภาคนี้
มาครงย้ำในการเดินทางมาเยือนอาเซียนเพื่อเข้าร่วมการประชุม "แชงกรีลา ไดอะล็อก" (Shangri-La Dialogue) ครั้งที่ 22 เวทีนี้เป็นการประชุมสุดยอดด้านความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ว่า ในขณะที่เอเชียและยุโรปกำลังเผชิญกับภัยคุกคามจากชาติมหาอำนาจที่ปฏิเสธกฎหมายระหว่างประเทศและใช้การบีบบังคับเป็นเครื่องมือ ฝรั่งเศสคือประเทศที่ยึดมั่นในกฎหมายระหว่างประเทศ ไม่เลือกข้างมหาอำนาจใด และสนับสนุนอธิปไตยและความเป็นอิสระของประเทศในภูมิภาคนี้
ปาจง ยังชี้ว่าฝรั่งเศสเองเล็งเห็นถึงความสำคัญเชิงเศรษฐกิจกับอาเซียน โดยในระดับอินโด-แปซิฟิก ประธานาธิบดีมาครงได้เรียกร้องให้มีข้อตกลงการค้าระหว่างสหภาพยุโรปกับความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิกในระดับที่ครอบคลุมและก้าวหน้า (Comprehensive and Progressive Agreement for Trans-Pacific Partnership - CPTPP) เพื่อมีบทบาทในการกำหนดมาตรฐานระดับโลกด้านการค้า แรงงาน และสิ่งแวดล้อม
3. สมมติฐาน "3 ก๊อก" ของสถานการณ์ทางกฎหมาย
ดร.ภัทรพงษ์ ระบุว่า ในจำนวนผู้พิพากษาทั้ง 15 คน ที่นั่งอยู่ในศาลโลก มักจะมีผู้พิพากษาจากฝรั่งเศสนั่งอยู่ด้วยเสมอ
สำหรับสถานการณ์เชิงกฎหมายตอนนี้ นับตั้งแต่เริ่มมีการปะทะของทหารชายแดนที่ช่องบกเมื่อวันที่ 28 มิ.ย. ต่อมาในวันที่ 4 มิ.ย. รัฐบาลกัมพูชาออกแถลงการณ์ว่าจะนำพื้นที่สามเหลี่ยมมรกต, ปราสาทตาเมือนธม, ปราสาทตาเมือนโต๊ด และ ปราสาทตาควาย เข้าสู่การพิจารณาของศาลโลก
ดร.ภัทรพงษ์ อธิบายประเด็นกฎหมายว่า การจะตั้งต้นฟ้องร้องหรือเอาอีกประเทศหนึ่งไปขึ้นศาลให้ได้ นั่นแปลว่าทั้งสองประเทศคู่กรณีต้องมีความยินยอม และอำนาจศาลในการตัดสินคดีก็มาจากความยินยอมของรัฐที่เอาตัวเองเข้ามาอยู่ใต้อำนาจของศาล
ทว่า ที่ผ่านมานับตั้งแต่ที่ไทยแพ้คดีปราสาทพระวิหารไทยก็ไม่ได้ยอมรับอำนาจศาลโลกอีก ในเชิงเทคนิคนั้น การไม่ยอมรับไม่ได้หมายความว่าไทยออกมาประกาศไม่ยอมรับอำนาจศาลโลก แต่คือการไม่ต่ออายุว่าเรารับเขตอำนาจศาล ซึ่ง ดร.ภัทรพงษ์ อธิบายว่า ไทยเริ่มรับเขตอำนาจศาลโลกในปี ค.ศ. 1929 (พ.ศ. 2472) และต่ออายุมาทุก ๆ 10 ปี จนเมื่อแพ้คดีในปี ค.ศ. 1962 (พ.ศ. 2505) ไทยก็ไม่ได้ต่ออายุอีก
ดังนั้นหากกัมพูชาจะดึงดันให้ไทยไปขึ้นศาลโลกให้ได้ ฝั่งกัมพูชาก็จำเป็นต้องไปหาหลักฐานมาให้ได้ว่า ไทยเคยให้คำยินยอมยังไงบ้าง
"ทีนี้ฝรั่งเศสจะเข้ามาตรงนี้ คือมันมีสนธิสัญญาฉบับหนึ่ง ปี ค.ศ. 1937 (พ.ศ. 2480) ที่ไทยทำกับฝรั่งเศส… แล้วมันก็เขียนไว้ชัดเลยว่าถ้ามีข้อพิพาทระหว่างกันก็คือสยามกับฝรั่งเศสเนี่ย สรุปง่าย ๆ เลยนะ ให้สามารถเอาไปฟ้องคดีในศาลโลกได้"
เขาอธิบายต่อไปว่า สมัยครั้งปราสาทพระวิหารกัมพูชาเองก็ยกสนธิสัญญาฉบับนี้ พร้อมกับเหตุผลที่ไทยรับเขตอำนาจศาลโลกขึ้นมาเป็นข้อต่อสู้ แต่เมื่อศาลโลกเห็นว่าไทยรับอำนาจศาลอยู่แล้วก็เลยไม่ได้ไปตีความต่อว่าสนธิสัญญาฉบับนี้ที่กัมพูชาหยิบยกขึ้นมานับว่าอ้างได้หรือไม่
ตัดภาพกลับมาที่ปัจจุบัน เมื่อเราเห็นแล้วว่ากัมพูชาจะพยายามพาไทยไปศาลโลกให้ได้ เมื่อไทยไม่ได้รับเขตอำนาจศาลโลกอยู่ก่อนแล้ว "ก็วิเคราะห์ได้ว่า กัมพูชาก็ต้องกลับไปเล่นไม้เดิม ข้อต่อสู้เดิมคือสนธิสัญญาปี 1937"
"แต่ฟังดี ๆ นะ นี่คือสนธิสัญญาที่ทำขึ้นระหว่างสยามกับฝรั่งเศส นี่แหละฝรั่งเศสจะเข้ามาตรงนี้"
ประเด็นสำคัญในขั้นแรกของการพาไทยไปศาลโลกคือรัฐบาลฝรั่งเศสจะตีความสนธิสัญญาฉบับนี้อย่างไร จะให้สิทธิถึง ขนาดว่ากัมพูชาสามารถฟ้องคดีได้หรือไม่
นั่นคือคำวิเคราะห์ "ก๊อกแรก" ในเชิงกฎหมายจาก ดร.ภัทรพงษ์
ในก๊อกที่สองนั้น หากสมมติว่าไทยต้องไปศาลโลกขึ้นมาจริง ๆ อาจารย์นิติศาสตร์รายนี้ยังเสริมว่า ในจำนวนผู้พิพากษาทั้ง 15 คน ที่นั่งอยู่ในศาลโลก มักจะมีผู้พิพากษาจากฝรั่งเศสนั่งอยู่ด้วยเสมอ และเขามองว่าในการพิจารณาคดีก็มีความเป็นไปได้ที่ผู้พิพากษารายอื่น ๆ จะให้ความสำคัญกับความเห็นของผู้พิพากษาที่มาจากฝรั่งเศส
ยังมีก๊อกที่สามต่ออีก คือนอกจากผู้พิพากษาแล้ว หากต้องถึงเวลาที่เอาหลักฐานมายันกันจริง ๆ ว่าปราสาททั้งสามหลังเป็นของใครกันแน่ ฝรั่งเศสอาจเข้ามาเป็นตัวแปรสำคัญอีกครั้งผ่านเอกสารที่ยังไม่มีการเผยแพร่มาก่อน
จากประเด็นนี้ เมื่อเดือนที่แล้ว มีรายงานข่าวว่า ฮุน มาเนต นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ได้เข้าพบกับประธานาธิบดีมาครง และตัวมาครงเองก็ได้บอกว่า พร้อมที่จะช่วยเรื่องพยานหลักฐานสำหรับข้อพิพาทชายแดน หากมีความจำเป็น
4. ไทยต้องต่อรองอย่างไร ฝรั่งเศสจะวางตัวเป็นกลางจริงไหม
สำหรับสถานการณ์เชิงกฎหมายตอนนี้ นับตั้งแต่เริ่มมีการปะทะของทหารชายแดนที่ช่องบกเมื่อวันที่ 28 มิ.ย. ต่อมาในวันที่ 4 มิ.ย. รัฐบาลกัมพูชาออกแถลงการณ์ว่าจะนำพื้นที่สามเหลี่ยมมรกต, ปราสาทตาเมือนธม, ปราสาทตาเมือนโต๊ด และ ปราสาทตาควาย เข้าสู่การพิจารณาของศาลโลก
ดร.ภัทรพงษ์ อธิบายประเด็นกฎหมายว่า การจะตั้งต้นฟ้องร้องหรือเอาอีกประเทศหนึ่งไปขึ้นศาลให้ได้ นั่นแปลว่าทั้งสองประเทศคู่กรณีต้องมีความยินยอม และอำนาจศาลในการตัดสินคดีก็มาจากความยินยอมของรัฐที่เอาตัวเองเข้ามาอยู่ใต้อำนาจของศาล
ทว่า ที่ผ่านมานับตั้งแต่ที่ไทยแพ้คดีปราสาทพระวิหารไทยก็ไม่ได้ยอมรับอำนาจศาลโลกอีก ในเชิงเทคนิคนั้น การไม่ยอมรับไม่ได้หมายความว่าไทยออกมาประกาศไม่ยอมรับอำนาจศาลโลก แต่คือการไม่ต่ออายุว่าเรารับเขตอำนาจศาล ซึ่ง ดร.ภัทรพงษ์ อธิบายว่า ไทยเริ่มรับเขตอำนาจศาลโลกในปี ค.ศ. 1929 (พ.ศ. 2472) และต่ออายุมาทุก ๆ 10 ปี จนเมื่อแพ้คดีในปี ค.ศ. 1962 (พ.ศ. 2505) ไทยก็ไม่ได้ต่ออายุอีก
ดังนั้นหากกัมพูชาจะดึงดันให้ไทยไปขึ้นศาลโลกให้ได้ ฝั่งกัมพูชาก็จำเป็นต้องไปหาหลักฐานมาให้ได้ว่า ไทยเคยให้คำยินยอมยังไงบ้าง
"ทีนี้ฝรั่งเศสจะเข้ามาตรงนี้ คือมันมีสนธิสัญญาฉบับหนึ่ง ปี ค.ศ. 1937 (พ.ศ. 2480) ที่ไทยทำกับฝรั่งเศส… แล้วมันก็เขียนไว้ชัดเลยว่าถ้ามีข้อพิพาทระหว่างกันก็คือสยามกับฝรั่งเศสเนี่ย สรุปง่าย ๆ เลยนะ ให้สามารถเอาไปฟ้องคดีในศาลโลกได้"
เขาอธิบายต่อไปว่า สมัยครั้งปราสาทพระวิหารกัมพูชาเองก็ยกสนธิสัญญาฉบับนี้ พร้อมกับเหตุผลที่ไทยรับเขตอำนาจศาลโลกขึ้นมาเป็นข้อต่อสู้ แต่เมื่อศาลโลกเห็นว่าไทยรับอำนาจศาลอยู่แล้วก็เลยไม่ได้ไปตีความต่อว่าสนธิสัญญาฉบับนี้ที่กัมพูชาหยิบยกขึ้นมานับว่าอ้างได้หรือไม่
ตัดภาพกลับมาที่ปัจจุบัน เมื่อเราเห็นแล้วว่ากัมพูชาจะพยายามพาไทยไปศาลโลกให้ได้ เมื่อไทยไม่ได้รับเขตอำนาจศาลโลกอยู่ก่อนแล้ว "ก็วิเคราะห์ได้ว่า กัมพูชาก็ต้องกลับไปเล่นไม้เดิม ข้อต่อสู้เดิมคือสนธิสัญญาปี 1937"
"แต่ฟังดี ๆ นะ นี่คือสนธิสัญญาที่ทำขึ้นระหว่างสยามกับฝรั่งเศส นี่แหละฝรั่งเศสจะเข้ามาตรงนี้"
ประเด็นสำคัญในขั้นแรกของการพาไทยไปศาลโลกคือรัฐบาลฝรั่งเศสจะตีความสนธิสัญญาฉบับนี้อย่างไร จะให้สิทธิถึง ขนาดว่ากัมพูชาสามารถฟ้องคดีได้หรือไม่
นั่นคือคำวิเคราะห์ "ก๊อกแรก" ในเชิงกฎหมายจาก ดร.ภัทรพงษ์
ในก๊อกที่สองนั้น หากสมมติว่าไทยต้องไปศาลโลกขึ้นมาจริง ๆ อาจารย์นิติศาสตร์รายนี้ยังเสริมว่า ในจำนวนผู้พิพากษาทั้ง 15 คน ที่นั่งอยู่ในศาลโลก มักจะมีผู้พิพากษาจากฝรั่งเศสนั่งอยู่ด้วยเสมอ และเขามองว่าในการพิจารณาคดีก็มีความเป็นไปได้ที่ผู้พิพากษารายอื่น ๆ จะให้ความสำคัญกับความเห็นของผู้พิพากษาที่มาจากฝรั่งเศส
ยังมีก๊อกที่สามต่ออีก คือนอกจากผู้พิพากษาแล้ว หากต้องถึงเวลาที่เอาหลักฐานมายันกันจริง ๆ ว่าปราสาททั้งสามหลังเป็นของใครกันแน่ ฝรั่งเศสอาจเข้ามาเป็นตัวแปรสำคัญอีกครั้งผ่านเอกสารที่ยังไม่มีการเผยแพร่มาก่อน
จากประเด็นนี้ เมื่อเดือนที่แล้ว มีรายงานข่าวว่า ฮุน มาเนต นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ได้เข้าพบกับประธานาธิบดีมาครง และตัวมาครงเองก็ได้บอกว่า พร้อมที่จะช่วยเรื่องพยานหลักฐานสำหรับข้อพิพาทชายแดน หากมีความจำเป็น
4. ไทยต้องต่อรองอย่างไร ฝรั่งเศสจะวางตัวเป็นกลางจริงไหม

"มันขึ้นอยู่กับว่าฝรั่งเศสจะได้ประโยชน์อะไรจากการเข้าข้างกัมพูชาแทนที่จะเป็นไทยหรือเปล่า" ดร.อัลเดอร์แมน ระบุ
ดร.ภัทรพงษ์ เสริมว่า หากมองจากภาพรวมแล้ว สิ่งที่ไทยอาจต่อรองกับฝรั่งเศสได้คือเจรจาให้ฝรั่งเศสเอาตัวออกห่างจากข้อพิพาทระหว่างไทย-กัมพูชา มากขึ้น ให้แสดงสถานะเป็นกลางมากขึ้นกว่าที่จะเข้ามาช่วยกัมพูชา หรือแทนที่จะเสนอตัวเข้ามาเป็นผู้ไกล่เกลี่ยหรือคนกลาง
เขาอธิบายว่า ที่ผ่านมาสิ่งที่รัฐบาลไทยหรือกระทรวงต่างประเทศเห็นว่าเป็นปัญหาในเรื่องข้อพิพาทก็คือแผนที่ซึ่งฝรั่งเศสเป็นคนทำขึ้นฝ่ายเดียว "ฝรั่งเศสจะมองว่าตัวเองเป็นส่วนที่ทำให้เกิดข้อพิพาทก็ได้" ดังนั้น หากมองจากฝั่งไทยจึงดูว่าไม่เหมาะสมเมื่อพิจารณาความสัมพันธ์ของกัมพูชาและฝรั่งเศสที่มีอย่างลึกซึ้ง
ในมิติที่คล้ายคลึงกัน บีบีซีไทยถาม ดร.อัลเดอร์แมน เพิ่มเติมว่า หากฝรั่งเศสยื่นมือเข้ามาเป็นตัวกลางในการไกล่เกลี่ยจริงนั่นนับว่าเหมาะสมหรือไม่ แล้วฝรั่งเศสจะเป็นกลางได้จริงหรือ
"มันเป็นคำถามที่ดีมาก และอาจจะตอบได้ยากด้วยซ้ำ คือ... มันขึ้นอยู่กับว่าฝรั่งเศสจะได้ประโยชน์อะไรจากการเข้าข้างกัมพูชาแทนที่จะเป็นไทยหรือเปล่า" ดร.อัลเดอร์แมน ชี้
เธอคิดว่าสำหรับฝรั่งเศส ถ้ามองในแง่ของผลประโยชน์ทางการค้าแล้ว การมีภูมิภาคที่สงบและมั่นคงน่าจะสำคัญมากกว่าการเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งในความขัดแย้ง เธอจึงคิดว่าฝรั่งเศสน่าจะมีแรงจูงใจในการวางตัวเป็นผู้ไกล่เกลี่ยที่มีความเป็นกลาง และด้วยความที่ฝรั่งเศสมีความสัมพันธ์ทางประวัติศาสตร์กับทั้งสองประเทศ ซึ่งอันที่จริงสิ่งนี้อาจเป็นประโยชน์ด้วยซ้ำ เพราะฝรั่งเศสมีความเข้าใจพื้นฐานและบริบทของทั้งสองฝ่ายจากประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา
"แต่ฉันก็เข้าใจได้ว่าฝั่งไทยอาจมีความระแวงหรือกังวล ว่าฝรั่งเศสจะเป็นกลางจริงหรือไม่ในกรณีข้อพิพาทนี้ ในขณะเดียวกัน ก็มีเสียงเรียกร้องว่าเรื่องนี้ควรปล่อยให้เป็นหน้าที่ของอาเซียนจัดการ แต่เอาตรง ๆ เลยนะ อาเซียนเองก็ไม่ค่อยมีผลงานโดดเด่นในการจัดการอะไรแบบนี้อยู่แล้ว"
เธอเสริมว่า ในความขัดแย้งหลาย ๆ ครั้งการมีบุคคลที่สามเข้ามาช่วยเจรจาก็นับว่าเป็นเรื่องดี ทว่าสถานการณ์ตอนนี้ของไทยเองอาจไปเกินกว่าข้อพิพาทเรื่องพรมแดนแล้ว
"แต่ดูเหมือนว่าประเด็นเร่งด่วนในตอนนี้ ไม่ใช่แค่เรื่องพรมแดนหรือที่ดินเท่านั้น โดยเฉพาะในกรณีของไทย ฉันคิดว่าความกังวลหลักในตอนนี้เป็นเรื่องภายในประเทศเสียมากกว่า ดังนั้นทิศทางของปัญหาก็ได้เปลี่ยนไปแล้วเช่นกัน แน่นอนว่า ความขัดแย้งตามแนวชายแดนระหว่างกัมพูชาและไทยมักปะทุขึ้นเป็นระยะ ๆ ซึ่งนี่ไม่ใช่ครั้งแรก และก็คงไม่ใช่ครั้งสุดท้ายที่จะเกิดขึ้น" ดร.อัลเดอร์แมน กล่าว
5. ไทยจะดำเนินการอย่างไร เมื่อกัมพูชาเตรียมตัวเรื่องนี้มานานแล้ว
"ในมิติกฎหมาย เกิดข้อพิพาทไม่จำเป็นต้องระงับเสมอไป" ดร.ภัทรพงษ์ กล่าว
โดยพื้นฐานนั้น เขาอธิบายว่าความเห็นไม่ตรงกันก็นับเป็นข้อพิพาทแล้ว อาทิ วันที่ 28 มิ.ย. ใครเป็นคนเริ่มยิงก่อน ฝ่ายไทยบอกกัมพูชายิงก่อน ขณะที่กัมพูชาบอกฝ่ายไทยยิงก่อน เมื่อมีความเห็นที่ไม่ตรงกันเช่นนี้ ก็นับเป็นข้อพิพาทแล้ว
เขาอธิบายต่อว่า บ่อยครั้งที่ข้อพิพาทยืนอยู่บนประเด็นที่อ่อนไหว และหลาย ๆ ฝ่าย หรือหลาย ๆ ประเทศก็เลือกที่จะไม่ระงับข้อพิพาทเหล่านั้น แต่พยายามควบคุมสถานการณ์ไม่ให้เกิดการปะทะหรือความรุนแรงแทน
ยิ่งเมื่อไปดูในระดับท้องถิ่นเอง ในสถานการณ์ทั่วไปความสัมพันธ์ของผู้คนทั้งสองดินแดนก็มีความลึกซึ้ง เป็นญาติพี่น้องกัน ดังนั้น เขาเสริมว่าหากปล่อยให้ข้อพิพาทในระดับรัฐบาลดำเนินต่อไป ในแง่กฎหมายก็ยังถกเถียงกันต่อไปได้ เพียงแต่ทำให้มั่นใจว่าในระดับปฏิบัติการไม่ได้เกิดความรุนแรงขึ้น
เมื่อบีบีซีไทยถามต่อว่า แล้วปัจจุบันที่อำนาจการเปิดปิดด่านยังคงเป็นของทหารอยู่ นับว่าผิดปกติไหม ดร.ภัทรพงษ์ ตอบกลับมาว่า แท้จริงแล้วไม่ได้ "แปลกประหลาดขนาดนั้น" เพียงแต่เขาย้ำว่า สิ่งที่ยังต้องมีในเชิงหลักการคือ "Civilian Control" หรือการที่ฝ่ายพลเรือนยังมีอำนาจควบคุมกองทัพ"
"สมมติประเทศไทยบอกว่าอำนาจนี้ควรจะเป็นอำนาจทหาร เพราะทหารดูเรื่องชายแดนดีที่สุด ในแง่กฎหมายก็คือเขียนกฎหมายให้เป็นอำนาจทหาร แต่คำถามที่ตามมาคือ แล้วรัฐบาล ซึ่งเป็นพลเรือน จะควบคุมการตัดสินใจอย่างนี้ยังไง รัฐบาลที่เป็นพลเรือนจะเข้าไปควบคุมเรื่องนี้ยังไง"
เมื่อมองต่อไปจากปัจจุบันไปยังอนาคต อาจารย์นิติศาสตร์รายนี้ตั้งข้อสังเกตเพิ่มว่า แม้ว่าตอนนี้ "ทีมไทยแลนด์" ที่รัฐบาลตั้งขึ้นมาเพื่อดูแลประเด็นต่าง ๆ ทั้งฝั่งกองทัพ กรมเสนาธิการ กรมสารนิเทศ รวมไปถึงข้าราชการที่เกี่ยวข้องยังคงปฏิบัติหน้าที่ของตัวเองต่อไปได้ แต่ภาวะที่เกิดขึ้นกับตัวนายกรัฐมนตรีของไทยเองอาจทำให้เกิดการสะดุดในการสั่งการต่าง ๆ ได้ เพราะไร้ทิศทางที่ชัดเจนจากฝั่งการเมือง
"พอนายกฯ ไม่อยู่ใช่ไหม แล้วมันไม่มีคำสั่ง ไม่มีนโยบาย ไม่มีการสั่งการจากฝ่ายรัฐบาล… ขณะที่ฝั่งกัมพูชา เป็นระบบ แทบจะเป็นศูนย์สั่งการ"
และที่สำคัญกว่านั้นที่ ดร.ภัทรพงษ์ ทิ้งท้าย พร้อมย้ำว่านักวิชาการหลาย ๆ คนก็เห็นตรงกันคือ
"เขา [กัมพูชา] เตรียมตัวเรื่องนี้มานาน"
https://www.bbc.com/thai/articles/c62d6e2xk11o