วันศุกร์, กรกฎาคม 04, 2568

วันนี้ในอดีต 3 กค. อย่าลืม เหตุการจลาจลที่พลับพลาไชย ที่เป็น ‘จุดเปลี่ยน’ ให้ ‘ฝ่ายขวา’ เริ่มหันมาตระหนกกับ ‘ฝ่ายซ้าย’ แล้วค่อยๆ นำทางสังคมไปสู่ความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519


สงวน คุ้มรุ่งโรจน์
16 hours ago
·
#อย่าลืมวันนี้ #ตำหนวดเฮงซวย ดูไว้ #นะจ๊ะ

วันนี้(3 กรกฎาคม)ครบรอบ 51 ปีแห่งประวัติศาสตร์การจลาจลครั้งรุนแรงในย่านชุมชนชาวจีน สมัยรัฐบาลสัญญา ธรรมศักดิ์

ปี 1974 เกิดเหตุจลาจลที่ห้าแยกพลับพลาไชย น้ำผึ้งหยดเดียว จนต้องประกาศภาวะฉุกเฉิน บานปลายถึง 4 วัน ตายเจ็บและถูกจับกุมราว 250 คน

เหตุเกิดวันที่ 3 กรกฎาคม เจ้าหน้าที่ตำรวจสถานีตำรวจนครบาลพลับพลาไชยจับกุมคนขับรถแท็กซี่"ฝู แซ่หลู่" หรือชื่อไทย "พูน ล่ำลือประเสริฐ" ในข้อหาจอดรถในที่ห้ามจอด แต่เจ้าตัวไม่ยอมให้จับพร้อมกับตะโกนว่า"ตำรวจทำร้าย" เจ้าหน้าที่ได้ควบคุมตัวไปไว้ที่โรงพัก
จากเหตุนี้ ทำให้ผู้คนส่วนใหญ่ที่เป็นชาวบ้านเชื้อสายจีนที่ไม่ทราบเรื่องได้รวมตัวปิดล้อมโรงพัก มีการยิงปืนใส่เจ้าหน้าที่ จุดไฟเผารถตำรวจที่ด้านหน้า จากนั้นช่วยกันเข็นรถให้พุ่งเข้าไปในสถานีตำรวจ

ต่อเนื่องจนถึงวันรุ่งขึ้น ก็ยังไม่สงบ แต่กลับรุนแรงมากขึ้น
สัญญา ธรรมศักดิ์ นายกรัฐมนตรีและพลตำรวจตรี อรรถสิทธิ์ สิทธิสุนทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยขณะนั้น จึงต้อง ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินและให้ทหารทำการปราบปราม

พล.ต.ท. ณรงค์ มหานนท์ ผู้บัญชาการตำรวจนครบาลขณะนั้น ได้ระดมกำลังตำรวจทุกสถานีในเขตนครบาล, ตำรวจกองปราบ และรถวิทยุ มายังสถานีตำรวจพลับพลาไชย เพื่อตรึงฝูงชน

อธิบดีกรมตำรวจขณะนั้น"ประจวบ สุนทรางกูร"ได้สรุปเหตุการณ์ครั้งนี้ว่า ตัวการที่ปลุกปั่นก็คือ"แก๊งมังกร" "แก๊งอินทรี" "กลุ่มอันธพาลย่านเยาวราช" มีคนตาย 26 คน บาดเจ็บ 124 คน และถูกควบคุมตัว 97คน
สำหรับนายพูน ล่ำลือประเสริฐ คนต้นเหตุ เดินถนนไม่ได้เลยต้องยอมมอบตัว แต่ถูกฟ้องเพียงข้อหาจอดรถในที่ห้ามจอด ต่อสู้ขัดขวางและดูหมิ่นเจ้าพนักงาน

ไม่ควรปฏิเสธเลยว่า
กรณีพลับพลาไชยคือ‘ข้อต่อ’ แห่งความรุนแรง เกี่ยวข้องกับคนหลายฝ่าย เกี่ยวพันกับการเกลียดชัง'กุมารจีน’ เกี่ยวข้องกับการต่อต้านจักรวรรดิอเมริกาที่กำลังขยายตัวต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ในขณะนั้น
ถือเป็น จุดวิกฤตที่พลิกผันให้ ‘ฝ่ายขวา’ เริ่มหันมาตระหนักและตระหนกกับการต่อสู้ของ ‘ฝ่ายซ้าย’ นำทางสังคมไปสู่ความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 1976 .....

(สงวน คุ้มรุ่งโรจน์)

https://www.facebook.com/photo/?fbid=650682281355983&set=a.101588879598662