แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม (UFTD)
@ThammasatUFTD
"14 ตุลา: ตามหาเสรีภาพ" ร่วมสร้างประวัติศาสตร์ผนึกกำลังประชาชน จับมือปกป้องประชาธิปไตย
.
แล้วพบกัน
.
.....ปราศรัย/เดินขบวน 14 ตุลา : ตามหาเสรีภาพ โดย แนวร่วมธรรมศาตร์และการชุมนุม และเครือข่าย
Friends Talk
Streamed live 13 hours ago
Streamed live 13 hours ago
14 ต.ค.67
October 13, 2020
·
ฝ่ายอนุรักษ์นิยมหวังยืมมือศาลรัฐธรรมนูญ "ล้มกระดาน" ม็อบคณะราษฎร
.
การชุมนุมใหญ่หลายครั้งในช่วงสองสามเดือนที่ผ่านมา ข้อเรียกร้องหลักของผู้ชุมนุมนอกเหนือจากการเรียกร้องให้รัฐบาลหยุดคุกคามประชาชน ยุบสภา และแก้รัฐธรรมนูญ คือ การเรียกร้องให้ปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ โดยปรากฏการณ์ "ขยับเพดาน" เริ่มตั้งแต่ "ทนายอานนท์ นำภา" กล่าวปราศรัยถึงปัญหาของอำนาจและบทบาทของสถาบันกษัตริย์ จนมาถึงการชุมนุมในวันที่ 10 สิงหาคม 2563 ที่มีข้อเรียกร้องต่อการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์จำนวน 10 ข้อ
.
อย่างไรก็ดี การขยับเพดานของประชาชนในครั้งนี้ ทำให้ฝ่ายอนุรักษ์นิยม นำโดย "ณฐพล โตประยูร" อดีตนักร้อง(เรียน)ที่เคยยื่นเรื่องยุบพรรคอนาคตใหม่มาก่อน ได้ยื่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญอีกครั้ง โดยความฝันอันสูงสุดในครั้งนี้ ไม่ใช่แค่การสกัดการชุมนุมของประชาชน แต่เป็นความพยายามในการ "ล้มกระดาน" การจัดชุมนุมของกลุ่มนักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชน ที่เรียกตัวเองว่า "คณะราษฎร" โดยหวังยืมมือศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้ตัดสินชี้ชะตา
.
ฟ้องม็อบนักศึกษา: 7 ชุนนุม - 2 คำร้อง - 1 ข้อกล่าวหา
.
นับตั้งแต่การชุมนุมเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2563 หรือในชื่อม็อบ "เสกคาถาปกป้องประชาธิปไตย" ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย กรุงเทพฯ ที่มี 'ทนายอานนท์ นำภา' เป็นผู้เริ่มต้นปราศรัยขยับเพดานเพื่อสะท้อนปัญหาที่เกี่ยวกับบทบาทและอำนาจของสถาบันกษัตริย์ ทำให้เกิดการชุมนุมที่มีเนื้อหาวิพากษ์วิจารณ์อำนาจและบทบาทของสถาบันกษัตริย์อย่างน้อย 6 ม็อบ ในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคม และนำไปสู่การผู้ยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ยุติการกระทำดังกล่าวถึง 2 ครั้ง
.
ผู้ที่ยื่นคำร้องคนแรก คือ 'ณฐพร โตประยูร' ผู้ซึ่งเคยยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อขอให้สั่งยุบพรรคอนาคตใหม่ในคดีล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือที่รู้จักในชืื่อคดี "อิลลูมินาติ" โดยการยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อตัดสินคดีม็อบนักศึกษาในคดีก็ยังอิงกับบทบัญญัติเดิมของรัฐธรรมนูญ ปี 2560 ตามมาตรา 49 ที่บัญญัติว่า
.
"มาตรา ๔๙ บุคคลจะใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขมิได้
.
ผู้ใดทราบว่ามีการกระทําตามวรรคหนึ่ง ย่อมมีสิทธิร้องต่ออัยการสูงสุดเพื่อร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทําดังกล่าวได
.
ในกรณีที่อัยการสูงสุดมีคําสั่งไม่รับดําเนินการตามที่ร้องขอ หรือไม่ดําเนินการภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับคําร้องขอ ผู้ร้องขอจะยื่นคําร้องโดยตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญก็ได้
.
การดําเนินการตามมาตรานี้ไม่กระทบต่อการดําเนินคดีอาญาต่อผู้กระทําการตามวรรคหนึ่ง"
.
ทั้งนี้ ในคำร้องของ ณฐพร โตประยูร ระบุถึงการชุมนุมจำนวน 6 ครั้ง ที่มีการปราศรัยในเนื้อหาเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ซึ่งเข้าข่ายล้มล้างการปกครองฯ ดังนี้
.
๐ 3 สิงหาคม - เวที "เสกคาถาปกป้องประชาธิปไตย" อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย กทม. อ้างถึงคำปราศรัยของอานนท์ นำภา
.
๐ 9 สิงหาคม - เวที "เชียงใหม่จะไม่ทน" จ.เชียงใหม่ อ้างถึงคำปราศรัยของอานนท์ นำภา
.
๐ 10 สิงหาคม - เวที "ธรรมศาสตร์จะไม่ทน" มธ. ศูนย์รังสิต จ.ปทุมธานี อ้างถึงคำปราศรัยของอานนท์ นำภา, ภาณุพงศ์ จาดนอก, ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล
.
๐ 20 สิงหาคม - เวที "ขอนแก่นพอกันที่" จ.ขอนแก่น อ้างถึงคำปราศรัยของพริษฐ์ ชิวารักษ์
.
๐ 21 สิงหาคม - เวที "อยุธยาไม่สิ้นประชาธิปไตย" จ.พระนครศรีอยุธยา อ้างถึงคำปราศรัยของพริษฐ์ ชิวารักษ์
.
๐ 30 สิงหาคม - เวที "สมุทรปรากาธ์ดีดนิ้วไล่เผด็จการ" จ.สมุทรปราการ อ้างถึงคำปราศรัยของพริษฐ์ ชิวารักษ์, จุฑาทิพย์ ศิริขันธ์, สิริพัชระ จึงธีรพานิช, สมยศ พฤกษาเกษมสุข และอาทิตยา พรพรม
.
โดยคำร้องของ ณฐพร ระบุว่า ให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขหรือไม่ และขอให้ศาลมีคำสั่งให้คณะบุคคลเลิกการกระทำดังกล่าว
.
ส่วนผู้ที่ยื่นคำร้องที่สอง คือ สนธิญา สวัสดี (ผู้ร้อง) อดีตสมาชิกพรรคพลังประชารัฐ ได้ใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 เช่นเดียวกับ 'ณฐพร' เพื่อขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยการชุมนุมของนิสิต นักศึกษาและกลุ่มเยาวชนปลดแอก (Free Youth) ในวันที่ 18 กรกฎาคม 2563 และการชุมนุมในวันที่ 10 สิงหาคม ของกลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม เข้าข่ายล้มล้างการปกครองฯ หรือไม่ และขอให้ศาลสั่งคุ้มครองชั่วคราวโดยไม่ให้มีการชุมนุมจนกว่าจะพิจารณาคดีนี้เสร็จสิ้น
.
ศาลรัฐธรรมนูญมีมติรับพิจารณาแค่ม็อบ "10 สิงหาฯ" เรื่องเดียว
.
วันที่ 16 กันยายน 2563 ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งรับคำร้องของ 'ณฐพร โตประยูร' ไว้พิจารณา โดยรับไว้เฉพาะกรณีการชุมนุมเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม ที่งานชุมนุม "ธรรมศาสตร์จะไม่ทน" เนื่องจากศาลไม่เห็นว่า ผู้ร้องได้ยื่นคำร้องต่ออัยการสูงสุด อันเป็นเหตุที่จะยื่นคำร้องโดยตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญได้ ตามมาตรา 49 ก่อน ดังนั้นจึงรับพิจารณาแค่บางการชุมนุม
.
ทั้งนี้ ศาลได้ให้ผู้ถูกร้อง 3 คน ได้แก่ อานนท์ นำภา, ภาณุพงศ์ จาดนอก หรือไมค์ ระยอง แกนนำกลุ่ม “เยาวชนภาคตะวันออก” และ ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล หรือรุ้ง แกนนำกลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม ยื่นคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้รับสำเนาคำร้อง และมีคำสั่งให้อัยการสูงสุด (อสส.) แจ้งผลการดำเนินการและส่งเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องต่อศาลรัฐธรรมนูญภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งเช่นกัน
.
ส่วนคดีที่ 'สนธิญา' ได้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญไปนั้น ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งไม่รับคำร้อง เนื่องจากพิจารณาคำร้องและเอกสารประกอบคำร้องแล้วเห็นว่า ข้อเท็จจริงตามคำร้องและเอกสารประกอบคำร้องยังไม่เพียงพอ เพื่อประโยชน์แก่การพิจารณา ให้แสวงหาข้อเท็จจริงเพิ่มเติมเพื่อประกอบการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญว่าจะรับคำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัย หรือไม่
.
"ล้มกระดานม็อบคณะราษฎร" ความฝันอันสูงสุดของฝ่ายอนุรักษ์นิยม
ณฐพร โตประยูร ให้สัมภาษณ์ผ่านสำนักข่าวบีบีซีไทยไว้ก่อนหน้านี้ ถึงความต้องการที่จะเปิดโปงเบื้องหลังขบวนการนักศึกษา และใช้คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเพื่อเป็นฐานในการดำเนินคดีอาญาและเอาผิดทางวินัยกับ "ผู้ร่วมขบวนการ 10 สิงหา" เขายังได้กล่าวอีกว่า หากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าการชุมนุมเมื่อ 10 ส.ค. เป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 ศาลก็จะสั่งให้ยกเลิกการกระทำ นั่นเท่ากับว่ากลุ่ม "ผู้สมรู้ร่วมคิด" หรือ "ผู้สนับสนุน" จะเข้าข่ายกระทำผิดกฎหมายทันที
.
ด้าน ภาวิณี ชุมศรี ทนายความของแกนนำนักศึกษา เปิดเผยว่า มีความประหลาดใจหลังศาลรัฐธรรมนูญรับคดีดังกล่าวไว้พิจารณา เนื่องจากตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 แท้จริงแล้วมีเจตนาให้ยกเลิกการกระทำนั้นๆ แต่ในคดีดังกล่าวต้องถือว่าการกระทำของผู้ถูกกล่าวหาในคดีนี้ได้จบลงไปแล้ว เพราะยุติการชุมนุมแล้ว
.
ทนายความ ให้ความเห็นด้วยว่า การกระทำของผู้ถูกกล่าวหาไม่ถือเป็นการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เพราะการล้มล้างนั้นหมายถึง การทำให้ไม่มี เมื่อพิจารณาจากข้อเรียกร้องทั้ง 10 ประการของผู้ถูกร้องแล้ว ก็ไม่มีความตอนใดที่เรียกร้องให้เปลี่ยนระบอบการปกครองจากระบอบเดิมไปเป็นระบอบอื่น ฉะนั้นจึงคิดว่าศาลน่าจะมีคำวินิจฉัยให้ยกคำร้องเสียมากกว่า
.
อีกทั้ง การที่ศาลจะมีคำสั่งให้หยุดหรือเลิกการชุมนุมตามคำขอของผู้ร้องได้นั้น ศาลจะต้องฟังให้ได้เสียก่อนว่าการกระทำของผู้ถูกร้องเป็นการล้มล้างการปกครองฯตามมาตรา 49 ถ้าหากฟังไม่ได้ว่าเข้าข่ายการล้มล้างการปกครองฯ ก็ย่อมไม่อาจสั่งให้เลิกการกระทำหรือมีคำสั่งเป็นอย่างอื่นได้
.
ส่วนประเด็นผลกระทบต่อเนื่องจากคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญนั้น ทนายความเห็นว่า โดยหลักกฎหมายแล้ว คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญผูกพันองค์กรของรัฐก็จริงแต่ไม่มีผลผูกพันไปถึงคำพิพากษาในคดีใดคดีหนึ่ง การที่จะบอกว่า เมื่อมีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญออกมาว่าเป็นการล้มล้างการปกครองฯ แล้วการกระทำอื่นจะผิดกฎหมายโดยอัตโนมัตินั้น คิดว่าไม่ถูกต้อง เพราะกฎหมายแต่ละเรื่องมีองค์ประกอบที่แตกต่างกัน หากจะบอกว่าเป็นความผิดตามกฎหมายอาญา มาตรา 116 ทันทีเมื่อมีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญออกมา ก็จะเป็นการข้ามขั้นตอนของพนักงานสอบสวน ซึ่งถือว่าไม่เป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
·
ฝ่ายอนุรักษ์นิยมหวังยืมมือศาลรัฐธรรมนูญ "ล้มกระดาน" ม็อบคณะราษฎร
.
การชุมนุมใหญ่หลายครั้งในช่วงสองสามเดือนที่ผ่านมา ข้อเรียกร้องหลักของผู้ชุมนุมนอกเหนือจากการเรียกร้องให้รัฐบาลหยุดคุกคามประชาชน ยุบสภา และแก้รัฐธรรมนูญ คือ การเรียกร้องให้ปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ โดยปรากฏการณ์ "ขยับเพดาน" เริ่มตั้งแต่ "ทนายอานนท์ นำภา" กล่าวปราศรัยถึงปัญหาของอำนาจและบทบาทของสถาบันกษัตริย์ จนมาถึงการชุมนุมในวันที่ 10 สิงหาคม 2563 ที่มีข้อเรียกร้องต่อการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์จำนวน 10 ข้อ
.
อย่างไรก็ดี การขยับเพดานของประชาชนในครั้งนี้ ทำให้ฝ่ายอนุรักษ์นิยม นำโดย "ณฐพล โตประยูร" อดีตนักร้อง(เรียน)ที่เคยยื่นเรื่องยุบพรรคอนาคตใหม่มาก่อน ได้ยื่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญอีกครั้ง โดยความฝันอันสูงสุดในครั้งนี้ ไม่ใช่แค่การสกัดการชุมนุมของประชาชน แต่เป็นความพยายามในการ "ล้มกระดาน" การจัดชุมนุมของกลุ่มนักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชน ที่เรียกตัวเองว่า "คณะราษฎร" โดยหวังยืมมือศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้ตัดสินชี้ชะตา
.
ฟ้องม็อบนักศึกษา: 7 ชุนนุม - 2 คำร้อง - 1 ข้อกล่าวหา
.
นับตั้งแต่การชุมนุมเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2563 หรือในชื่อม็อบ "เสกคาถาปกป้องประชาธิปไตย" ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย กรุงเทพฯ ที่มี 'ทนายอานนท์ นำภา' เป็นผู้เริ่มต้นปราศรัยขยับเพดานเพื่อสะท้อนปัญหาที่เกี่ยวกับบทบาทและอำนาจของสถาบันกษัตริย์ ทำให้เกิดการชุมนุมที่มีเนื้อหาวิพากษ์วิจารณ์อำนาจและบทบาทของสถาบันกษัตริย์อย่างน้อย 6 ม็อบ ในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคม และนำไปสู่การผู้ยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ยุติการกระทำดังกล่าวถึง 2 ครั้ง
.
ผู้ที่ยื่นคำร้องคนแรก คือ 'ณฐพร โตประยูร' ผู้ซึ่งเคยยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อขอให้สั่งยุบพรรคอนาคตใหม่ในคดีล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือที่รู้จักในชืื่อคดี "อิลลูมินาติ" โดยการยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อตัดสินคดีม็อบนักศึกษาในคดีก็ยังอิงกับบทบัญญัติเดิมของรัฐธรรมนูญ ปี 2560 ตามมาตรา 49 ที่บัญญัติว่า
.
"มาตรา ๔๙ บุคคลจะใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขมิได้
.
ผู้ใดทราบว่ามีการกระทําตามวรรคหนึ่ง ย่อมมีสิทธิร้องต่ออัยการสูงสุดเพื่อร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทําดังกล่าวได
.
ในกรณีที่อัยการสูงสุดมีคําสั่งไม่รับดําเนินการตามที่ร้องขอ หรือไม่ดําเนินการภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับคําร้องขอ ผู้ร้องขอจะยื่นคําร้องโดยตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญก็ได้
.
การดําเนินการตามมาตรานี้ไม่กระทบต่อการดําเนินคดีอาญาต่อผู้กระทําการตามวรรคหนึ่ง"
.
ทั้งนี้ ในคำร้องของ ณฐพร โตประยูร ระบุถึงการชุมนุมจำนวน 6 ครั้ง ที่มีการปราศรัยในเนื้อหาเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ซึ่งเข้าข่ายล้มล้างการปกครองฯ ดังนี้
.
๐ 3 สิงหาคม - เวที "เสกคาถาปกป้องประชาธิปไตย" อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย กทม. อ้างถึงคำปราศรัยของอานนท์ นำภา
.
๐ 9 สิงหาคม - เวที "เชียงใหม่จะไม่ทน" จ.เชียงใหม่ อ้างถึงคำปราศรัยของอานนท์ นำภา
.
๐ 10 สิงหาคม - เวที "ธรรมศาสตร์จะไม่ทน" มธ. ศูนย์รังสิต จ.ปทุมธานี อ้างถึงคำปราศรัยของอานนท์ นำภา, ภาณุพงศ์ จาดนอก, ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล
.
๐ 20 สิงหาคม - เวที "ขอนแก่นพอกันที่" จ.ขอนแก่น อ้างถึงคำปราศรัยของพริษฐ์ ชิวารักษ์
.
๐ 21 สิงหาคม - เวที "อยุธยาไม่สิ้นประชาธิปไตย" จ.พระนครศรีอยุธยา อ้างถึงคำปราศรัยของพริษฐ์ ชิวารักษ์
.
๐ 30 สิงหาคม - เวที "สมุทรปรากาธ์ดีดนิ้วไล่เผด็จการ" จ.สมุทรปราการ อ้างถึงคำปราศรัยของพริษฐ์ ชิวารักษ์, จุฑาทิพย์ ศิริขันธ์, สิริพัชระ จึงธีรพานิช, สมยศ พฤกษาเกษมสุข และอาทิตยา พรพรม
.
โดยคำร้องของ ณฐพร ระบุว่า ให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขหรือไม่ และขอให้ศาลมีคำสั่งให้คณะบุคคลเลิกการกระทำดังกล่าว
.
ส่วนผู้ที่ยื่นคำร้องที่สอง คือ สนธิญา สวัสดี (ผู้ร้อง) อดีตสมาชิกพรรคพลังประชารัฐ ได้ใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 เช่นเดียวกับ 'ณฐพร' เพื่อขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยการชุมนุมของนิสิต นักศึกษาและกลุ่มเยาวชนปลดแอก (Free Youth) ในวันที่ 18 กรกฎาคม 2563 และการชุมนุมในวันที่ 10 สิงหาคม ของกลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม เข้าข่ายล้มล้างการปกครองฯ หรือไม่ และขอให้ศาลสั่งคุ้มครองชั่วคราวโดยไม่ให้มีการชุมนุมจนกว่าจะพิจารณาคดีนี้เสร็จสิ้น
.
ศาลรัฐธรรมนูญมีมติรับพิจารณาแค่ม็อบ "10 สิงหาฯ" เรื่องเดียว
.
วันที่ 16 กันยายน 2563 ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งรับคำร้องของ 'ณฐพร โตประยูร' ไว้พิจารณา โดยรับไว้เฉพาะกรณีการชุมนุมเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม ที่งานชุมนุม "ธรรมศาสตร์จะไม่ทน" เนื่องจากศาลไม่เห็นว่า ผู้ร้องได้ยื่นคำร้องต่ออัยการสูงสุด อันเป็นเหตุที่จะยื่นคำร้องโดยตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญได้ ตามมาตรา 49 ก่อน ดังนั้นจึงรับพิจารณาแค่บางการชุมนุม
.
ทั้งนี้ ศาลได้ให้ผู้ถูกร้อง 3 คน ได้แก่ อานนท์ นำภา, ภาณุพงศ์ จาดนอก หรือไมค์ ระยอง แกนนำกลุ่ม “เยาวชนภาคตะวันออก” และ ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล หรือรุ้ง แกนนำกลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม ยื่นคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้รับสำเนาคำร้อง และมีคำสั่งให้อัยการสูงสุด (อสส.) แจ้งผลการดำเนินการและส่งเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องต่อศาลรัฐธรรมนูญภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งเช่นกัน
.
ส่วนคดีที่ 'สนธิญา' ได้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญไปนั้น ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งไม่รับคำร้อง เนื่องจากพิจารณาคำร้องและเอกสารประกอบคำร้องแล้วเห็นว่า ข้อเท็จจริงตามคำร้องและเอกสารประกอบคำร้องยังไม่เพียงพอ เพื่อประโยชน์แก่การพิจารณา ให้แสวงหาข้อเท็จจริงเพิ่มเติมเพื่อประกอบการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญว่าจะรับคำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัย หรือไม่
.
"ล้มกระดานม็อบคณะราษฎร" ความฝันอันสูงสุดของฝ่ายอนุรักษ์นิยม
ณฐพร โตประยูร ให้สัมภาษณ์ผ่านสำนักข่าวบีบีซีไทยไว้ก่อนหน้านี้ ถึงความต้องการที่จะเปิดโปงเบื้องหลังขบวนการนักศึกษา และใช้คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเพื่อเป็นฐานในการดำเนินคดีอาญาและเอาผิดทางวินัยกับ "ผู้ร่วมขบวนการ 10 สิงหา" เขายังได้กล่าวอีกว่า หากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าการชุมนุมเมื่อ 10 ส.ค. เป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 ศาลก็จะสั่งให้ยกเลิกการกระทำ นั่นเท่ากับว่ากลุ่ม "ผู้สมรู้ร่วมคิด" หรือ "ผู้สนับสนุน" จะเข้าข่ายกระทำผิดกฎหมายทันที
.
ด้าน ภาวิณี ชุมศรี ทนายความของแกนนำนักศึกษา เปิดเผยว่า มีความประหลาดใจหลังศาลรัฐธรรมนูญรับคดีดังกล่าวไว้พิจารณา เนื่องจากตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 แท้จริงแล้วมีเจตนาให้ยกเลิกการกระทำนั้นๆ แต่ในคดีดังกล่าวต้องถือว่าการกระทำของผู้ถูกกล่าวหาในคดีนี้ได้จบลงไปแล้ว เพราะยุติการชุมนุมแล้ว
.
ทนายความ ให้ความเห็นด้วยว่า การกระทำของผู้ถูกกล่าวหาไม่ถือเป็นการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เพราะการล้มล้างนั้นหมายถึง การทำให้ไม่มี เมื่อพิจารณาจากข้อเรียกร้องทั้ง 10 ประการของผู้ถูกร้องแล้ว ก็ไม่มีความตอนใดที่เรียกร้องให้เปลี่ยนระบอบการปกครองจากระบอบเดิมไปเป็นระบอบอื่น ฉะนั้นจึงคิดว่าศาลน่าจะมีคำวินิจฉัยให้ยกคำร้องเสียมากกว่า
.
อีกทั้ง การที่ศาลจะมีคำสั่งให้หยุดหรือเลิกการชุมนุมตามคำขอของผู้ร้องได้นั้น ศาลจะต้องฟังให้ได้เสียก่อนว่าการกระทำของผู้ถูกร้องเป็นการล้มล้างการปกครองฯตามมาตรา 49 ถ้าหากฟังไม่ได้ว่าเข้าข่ายการล้มล้างการปกครองฯ ก็ย่อมไม่อาจสั่งให้เลิกการกระทำหรือมีคำสั่งเป็นอย่างอื่นได้
.
ส่วนประเด็นผลกระทบต่อเนื่องจากคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญนั้น ทนายความเห็นว่า โดยหลักกฎหมายแล้ว คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญผูกพันองค์กรของรัฐก็จริงแต่ไม่มีผลผูกพันไปถึงคำพิพากษาในคดีใดคดีหนึ่ง การที่จะบอกว่า เมื่อมีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญออกมาว่าเป็นการล้มล้างการปกครองฯ แล้วการกระทำอื่นจะผิดกฎหมายโดยอัตโนมัตินั้น คิดว่าไม่ถูกต้อง เพราะกฎหมายแต่ละเรื่องมีองค์ประกอบที่แตกต่างกัน หากจะบอกว่าเป็นความผิดตามกฎหมายอาญา มาตรา 116 ทันทีเมื่อมีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญออกมา ก็จะเป็นการข้ามขั้นตอนของพนักงานสอบสวน ซึ่งถือว่าไม่เป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา