Yostorn Triyos
8h
กว่า 5 ปีแล้วที่เร่ิมทำโปรเจกต์ภาพถ่ายการซ้อมทรมาน ไม่เคยคิดว่าจะอยู่กับประเด็นนานขนาดนั้น แต่พอจะขยับออกจากมันกับเห็นความเป็นไปได้ที่น่าสนใจในการสื่อสารเต็มไปหมด เสียดายที่ไม่มีกำลังทำได้ทั้งหมด
.
อยากขอบคุณทุกเคสที่กล้าหาญสู้มาด้วยกัน และขอโทษที่ไม่สามารถจะพากันไปได้ไกลว่านี้ แต่ยังคงเชื่อว่าความกล้าหาญนั้นจะไม่สูญป่าว
.
เนื่องในวันต่อต้านการทรมานสากล
(26 มิถุนายนของทุกปี)
The Reporters was live.
20h
วันต่อต้านการทรมานสากลกับความรับผิดชอบโดยรัฐ
[LIVE] “วันต่อต้านการทรมานสากลกับความรับผิดชอบโดยรัฐ” กลุ่มด้วยใจขอเชิญทุกท่านและผู้สนใจ เข้าร่วมงานเนื่องในวันการต่อต้านการทรมานสากล ภายใต้หัวข้อ “วันต่อต้านการทรมานสากลกับความรับผิดชอบโดยรัฐ”
ในวันที่ 25 มิถุนายน 2565 เวลา 09.00 เป็นต้นไป
ณ โรงแรมเซาว์เทรินวิว ปัตตานี ในงานพบกับ
ผลงานนิทรรศการจากผู้เสียหายจากการทรมาน
เวทีเสวนา 2 ช่วง
1.Transitional justice กับการป้องกันการทรมานและอุ้มหาย
ร่วมเสวนาโดย
•ผศ.มูฮัมหมัดรอฟีอี มูซอ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
•จิตแพทย์ที่ทำงานกับผู้เสียหายจากการทรมาน (ศูนย์สุขภาพจิตที่ 12)
•ครอบครัวผู้เสียหายจากการทรมาน
•ครอบครัวผู้เสียหายจากการอุ้มหาย
•ตัวแทนคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
คุณอิมรอน ซาเหาะ สถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ ,สถาบันสันติศึกษา
ดำเนินรายการโดย อาจารย์ดุษณ์ดาว เลิศพิพัฒน์ (คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์)
2.บทบาทของนักการเมืองกับ พรบ.การป้องกันการทรมานและอุ้มหาย ร่วมเสวนาโดย
•ส.ส. อดิลัน อาลีอิสเฮาะ พรรคพลังประชารัฐ
•ส.ส. เบญจา แสงจันทร์ พรรคก้าวไกล
•คุณ จตุรนต์ เอี่ยมโสภา ส.อบจ. อำเภอเมืองปัตตานี
•คุณพรเพ็ญ คงขจรเกียรติ ผู้อำนวยการมูลนิธิผสานวัฒนธรรม
•กระทรวงยุติธรรม
ดำเนินรายการโดย อาจารย์ดุษณ์ดาว เลิศพิพัฒน์ (คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์)