โฮปเวลล์เผยเคยเจรจาแต่ไร้ผล ย้ำหากหน่วงเหนี่ยวรัฐต้องจ่ายเงินคืนเพิ่มเป็น 2.7 หมื่นล้านบาท
21 มิถุนายน 2022
นายสุภัทรเล่าย้อนไปถึงช่วงที่บริษัทยังคงเจรจากับทางการไทยว่า "หลัก ๆ คือ ตัวเลข (เงินที่จะต้องคืน) ลดลงครับ แต่เงื่อนไขหลังคือ คุณ (ฝ่ายรัฐ) ต้องยุติการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายทุกเรื่องกับโฮปเวลล์ และจ่ายเงินมาตามตัวเลขที่ตกลงกันได้ แต่ข้อเสนอนี้ไม่มีผลใช้บังคับเพราะฝ่ายรัฐไม่ได้ตอบรับมาภายในระยะเวลาที่กำหนด"
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับโครงการโฮปเวลล์ที่รัฐต้องจ่าย "ค่าโง่" 1.2 หมื่นล้าน
ผู้ว่าฯ กทม. เผย 1 เดือนได้ข้อสรุปปมสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว หลังหารือกรุงเทพธนาคม
เปิด 7 ข้อกังขาของภาคประชาชนกรณีรัฐบาลอนุญาตให้คิงส์เกตกลับมาเปิดเหมืองทอง
คิงส์เกตเผยรัฐบาลไทยอนุมัติให้เปิดเหมืองทองคำชาตรี ขณะที่อนุญาโตฯ เลื่อนอ่านคำชี้ขาดโดยไม่มีกำหนด
อย่างไรก็ตาม หากว่าจะมีการเจรจากันใหม่อีกครั้ง เขาระบุว่า อาจจะต้องมีการกำหนดตัวเลขใหม่ขึ้น ซึ่งอาจจะมากกว่า 2.7 หมื่นล้านบาท จากเดิมอย่างน้อย 1.18 หมื่นล้านบาทที่ยังไม่รวมกับดอกเบี้ย
ทางรถไฟโฮปเวลล์ เมื่อปี 2543
ส่วนการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น นายสุภัทร ยกตัวอย่างกรณี วันที่ 3 ก.ย. 2563 ฝ่ายรัฐร้องทุกข์กล่าวโทษต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ ดีเอสไอเพื่อให้ดำเนินคดีเอาผิดผู้ริเริ่มก่อตั้งบริษัทฯ และเจ้าหน้าที่กรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์ ได้กระทำความผิดกรณีจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งที่สุดแล้ว ดีเอสไอได้สรุปสำนวนไม่ชี้มูลความผิดผู้ใด และส่งเรื่องไปให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. พิจารณาและมีคำสั่ง
ผู้บริหารโฮปเวลล์แสดงหลักฐานการจดทะเบียนบริษัทอย่างถูกต้องตามกฎหมายต่อสื่อมวลชนในการแถลงข่าววันที่ 21 มิ.ย. 2565
โฮปเวลล์ยืนยันคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการปี 2552 ยังมีผล
จุดพลิกผันในคดีมหากาพย์โฮปเวลล์เกิดขึ้นอีกครั้ง เมื่อวันที่ 4 มี.ค. ที่ผ่านมา เมื่อศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งกลับคำสั่งของศาลปกครองชั้นต้นเป็นให้รับคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ (คดีโฮปเวลล์) ไว้พิจารณา
โดยศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า การนับระยะเวลาหรืออายุความในการยื่นข้อเรียกร้องของบริษัทโฮปเวลล์ฯ ต่ออนุญาโตตุลาการในคดีนี้ ตามมาตรา 51 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542 ต้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่บริษัท โฮปเวลล์ฯ รู้หรือควรรู้เหตุแห่งการฟ้องคดี คือ ตั้งแต่วันที่ 30 ม.ค. 2541 ซึ่งเป็นวันที่หนังสือบอกเลิกสัญญาของกระทรวงคมนาคม และ รฟท. ส่งไปถึงบริษัท โฮปเวลล์ฯ จำกัด มิใช่นับตั้งแต่วันที่ 9 มีนาคม 2544 อันเป็นวันที่ศาลปกครองเปิดทำการ จึงเป็นเหตุแห่งการรับเรื่องดังกล่าวพิจารณาเป็นคดีใหม่
นายสุภัทร ติระชูศักดิ์ ฝ่ายกฎหมาย บริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด
ต่อมาในวันที่ 16 มี.ค. ศาลปกครองกลางได้ออกหนังสือชะลอการงดบังคับคดีโฮปเวลล์ ในระหว่างพิจารณาคดีใหม่
อย่างไรก็ตาม นายสุภัทรกล่าวย้ำว่า แม้ผลของคำสั่งของศาลดังกล่าวจะทำให้บริษัทยังคงดำเนินการทวงคืนเงินตามคำชี้ขาดของคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้ แต่ยังมีผลผูกพันทางกฎหมายเช่นเดิม ขณะที่ดอกเบี้ยยังคิดต่อเนื่องอยู่ที่ 2.4 ล้านบาทต่อวัน พร้อมกับยืนยันว่า อายุความในการยื่นข้อเรียกร้องของบริษัทยังไม่หมดอายุ ซึ่งจะต้องจัดทำคำให้การแก้คำขอพิจารณาดดีใหม่ต่อศาลภายในกลางเดือน ก.ค. นี้ ซึ่งบริษัทขอศาลขยายระยะเวลาเพิ่มเติมจากกำหนดคือกลางเดือน เม.ย. เพื่อความละเอียดรอบคอบในการชี้แจงข้อเท็จจริงต่อศาล
ส่วนหนึ่งของเอกสารชี้แจงสื่อมวลชนถึงที่ไปที่มาของโครงการโฮปเวลล์
นอกจากนี้แล้ว บริษัทโฮปเวลล์ฯ ระบุว่ากำลังศึกษาแนวทางติดตามเอาทรัพย์สินของโฮปเวลล์คืนตามกระบวนการอันชอบด้วยกฎหมาย รวมถึงอยู่ระหว่างการพิจารณาดำเนินการที่จะฟ้องคดีนี้ต่อศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ และศาลฎีกาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง การร้องเรียนต่อ ป.ป.ช.ในเรื่องการกระทำผิดจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
หวั่นกระทบภาพลักษณ์การลงทุนประเทศ
นายคอลลิน เวียร์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด แสดงความกังวลว่าการบวนการหน่วงเหนี่ยวการคืนเงินตามคำวินิจฉัยชี้ขาดที่ถึงที่สุดแล้ว จะส่งผลกระทบทางลบต่อการลงทุนในประเทศไทย
มีการประเมินว่ารัฐบาลต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนตอม่อซีเมนต์ของโครงการโฮปเวลล์เป็นเงินกว่า 200 ล้านบาท
"ความพยายามของกระทรวงคมนาคม และ รฟท. มุ่งหวังเพียงเพื่อจะไม่ต้องคืนเงินให้แก่โฮปเวลล์ฯ โดยไม่คำนึงถึงความเสียหายต่อภาพลักษณ์การลงทุนของประเทศไทย ต่อความเชื่อมั่นการลงทุนในประเทศไทยของนักลงทุนนานาชาติ รวมทั้งไม่คำนึงถึงเกียรติยศ ศักดิ์ศรี และความซื่อสัตย์สุจริตในฐานะหน่วยงานภาครัฐ ที่พึงต้องให้ความเคารพและปฏิบัติตามคำพิพากษาอย่างเคร่งครัด โดยปราศจากข้อยกเว้นหรือข้ออ้างใด ๆ" เขากล่าว
บีบีซีไทย
ผู้บริหารบริษัทโฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด เผยตั้งแต่รัฐบาลของ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา บริหารประเทศในปี 2562 มีการเจรจาระหว่างบริษัทฯ และกระทรวงคมนาคม การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ตัวแทนคณะรัฐมนตรีและหน่วยงานที่เกี่ยวเพื่อยุติข้อพิพาทตามคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการเมื่อปี 2551 แต่ไม่เป็นผล
นายสุภัทร ติระชูศักดิ์ ผู้บริหารฝ่ายกฎหมาย บริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า นับตั้งแต่ศาลปกครองสูงสุดได้มีคำพิพากษาในปี 2562 ให้ปฏิบัติตามคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการ ทางบริษัทได้เสนอตัวขอเจรจาหาหรือกับทางการไทย และมีการเจรจากัน 3 ครั้ง โดยครั้งสุดท้ายบริษัทได้ยื่นข้อเสนออย่างเป็นทางการพร้อมเงื่อนเวลากำกับ แต่ทางภาครัฐกลับเงียบหายไป
ผู้บริหารฝ่ายกฎหมายของโฮปเวลล์ตั้งข้อสังเกตว่า ภาครัฐได้ใช้กฎหมายและกระบวนการยุติธรรมเพื่อหน่วงเหนี่ยวการคืนเงินเป็นมูลค่ากว่า 1.18 หมื่นล้านบาท ตามคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการเมื่อวันที่ 30 ก.ย. 2551 ซึ่งมีสาระสำคัญคือ
ผู้บริหารบริษัทโฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด เผยตั้งแต่รัฐบาลของ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา บริหารประเทศในปี 2562 มีการเจรจาระหว่างบริษัทฯ และกระทรวงคมนาคม การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ตัวแทนคณะรัฐมนตรีและหน่วยงานที่เกี่ยวเพื่อยุติข้อพิพาทตามคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการเมื่อปี 2551 แต่ไม่เป็นผล
นายสุภัทร ติระชูศักดิ์ ผู้บริหารฝ่ายกฎหมาย บริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า นับตั้งแต่ศาลปกครองสูงสุดได้มีคำพิพากษาในปี 2562 ให้ปฏิบัติตามคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการ ทางบริษัทได้เสนอตัวขอเจรจาหาหรือกับทางการไทย และมีการเจรจากัน 3 ครั้ง โดยครั้งสุดท้ายบริษัทได้ยื่นข้อเสนออย่างเป็นทางการพร้อมเงื่อนเวลากำกับ แต่ทางภาครัฐกลับเงียบหายไป
ผู้บริหารฝ่ายกฎหมายของโฮปเวลล์ตั้งข้อสังเกตว่า ภาครัฐได้ใช้กฎหมายและกระบวนการยุติธรรมเพื่อหน่วงเหนี่ยวการคืนเงินเป็นมูลค่ากว่า 1.18 หมื่นล้านบาท ตามคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการเมื่อวันที่ 30 ก.ย. 2551 ซึ่งมีสาระสำคัญคือ
- ให้คู่สัญญาทั้ง 2 ฝ่ายคือบริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด กับ กระทรวงคมนาคม และ รฟท. คืนสู่สถานะเดิม
- ให้กระทรวงคมนาคมและ รฟท. คืนเงินค่าตอบแทนให้กับบริษัท โฮปเวลล์ฯ จำนวน 2,850 ล้านบาท รวมทั้งคืนเงินที่บริษัทฯ ได้จ่ายไปแล้วบางส่วน จำนวน 9,000 ล้านบาท รวมทั้งให้คืนหนังสือค้ำประกันสัญญา และคืนค่าธรรมเนียมการออกหนังสือค้ำประกัน จำนวน 38,749,800 บาท ให้แก่บริษัท โฮปเวลล์ฯ พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี
นายสุภัทรเล่าย้อนไปถึงช่วงที่บริษัทยังคงเจรจากับทางการไทยว่า "หลัก ๆ คือ ตัวเลข (เงินที่จะต้องคืน) ลดลงครับ แต่เงื่อนไขหลังคือ คุณ (ฝ่ายรัฐ) ต้องยุติการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายทุกเรื่องกับโฮปเวลล์ และจ่ายเงินมาตามตัวเลขที่ตกลงกันได้ แต่ข้อเสนอนี้ไม่มีผลใช้บังคับเพราะฝ่ายรัฐไม่ได้ตอบรับมาภายในระยะเวลาที่กำหนด"
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับโครงการโฮปเวลล์ที่รัฐต้องจ่าย "ค่าโง่" 1.2 หมื่นล้าน
ผู้ว่าฯ กทม. เผย 1 เดือนได้ข้อสรุปปมสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว หลังหารือกรุงเทพธนาคม
เปิด 7 ข้อกังขาของภาคประชาชนกรณีรัฐบาลอนุญาตให้คิงส์เกตกลับมาเปิดเหมืองทอง
คิงส์เกตเผยรัฐบาลไทยอนุมัติให้เปิดเหมืองทองคำชาตรี ขณะที่อนุญาโตฯ เลื่อนอ่านคำชี้ขาดโดยไม่มีกำหนด
อย่างไรก็ตาม หากว่าจะมีการเจรจากันใหม่อีกครั้ง เขาระบุว่า อาจจะต้องมีการกำหนดตัวเลขใหม่ขึ้น ซึ่งอาจจะมากกว่า 2.7 หมื่นล้านบาท จากเดิมอย่างน้อย 1.18 หมื่นล้านบาทที่ยังไม่รวมกับดอกเบี้ย
ทางรถไฟโฮปเวลล์ เมื่อปี 2543
ส่วนการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น นายสุภัทร ยกตัวอย่างกรณี วันที่ 3 ก.ย. 2563 ฝ่ายรัฐร้องทุกข์กล่าวโทษต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ ดีเอสไอเพื่อให้ดำเนินคดีเอาผิดผู้ริเริ่มก่อตั้งบริษัทฯ และเจ้าหน้าที่กรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์ ได้กระทำความผิดกรณีจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งที่สุดแล้ว ดีเอสไอได้สรุปสำนวนไม่ชี้มูลความผิดผู้ใด และส่งเรื่องไปให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. พิจารณาและมีคำสั่ง
ผู้บริหารโฮปเวลล์แสดงหลักฐานการจดทะเบียนบริษัทอย่างถูกต้องตามกฎหมายต่อสื่อมวลชนในการแถลงข่าววันที่ 21 มิ.ย. 2565
โฮปเวลล์ยืนยันคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการปี 2552 ยังมีผล
จุดพลิกผันในคดีมหากาพย์โฮปเวลล์เกิดขึ้นอีกครั้ง เมื่อวันที่ 4 มี.ค. ที่ผ่านมา เมื่อศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งกลับคำสั่งของศาลปกครองชั้นต้นเป็นให้รับคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ (คดีโฮปเวลล์) ไว้พิจารณา
โดยศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า การนับระยะเวลาหรืออายุความในการยื่นข้อเรียกร้องของบริษัทโฮปเวลล์ฯ ต่ออนุญาโตตุลาการในคดีนี้ ตามมาตรา 51 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542 ต้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่บริษัท โฮปเวลล์ฯ รู้หรือควรรู้เหตุแห่งการฟ้องคดี คือ ตั้งแต่วันที่ 30 ม.ค. 2541 ซึ่งเป็นวันที่หนังสือบอกเลิกสัญญาของกระทรวงคมนาคม และ รฟท. ส่งไปถึงบริษัท โฮปเวลล์ฯ จำกัด มิใช่นับตั้งแต่วันที่ 9 มีนาคม 2544 อันเป็นวันที่ศาลปกครองเปิดทำการ จึงเป็นเหตุแห่งการรับเรื่องดังกล่าวพิจารณาเป็นคดีใหม่
นายสุภัทร ติระชูศักดิ์ ฝ่ายกฎหมาย บริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด
ต่อมาในวันที่ 16 มี.ค. ศาลปกครองกลางได้ออกหนังสือชะลอการงดบังคับคดีโฮปเวลล์ ในระหว่างพิจารณาคดีใหม่
อย่างไรก็ตาม นายสุภัทรกล่าวย้ำว่า แม้ผลของคำสั่งของศาลดังกล่าวจะทำให้บริษัทยังคงดำเนินการทวงคืนเงินตามคำชี้ขาดของคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้ แต่ยังมีผลผูกพันทางกฎหมายเช่นเดิม ขณะที่ดอกเบี้ยยังคิดต่อเนื่องอยู่ที่ 2.4 ล้านบาทต่อวัน พร้อมกับยืนยันว่า อายุความในการยื่นข้อเรียกร้องของบริษัทยังไม่หมดอายุ ซึ่งจะต้องจัดทำคำให้การแก้คำขอพิจารณาดดีใหม่ต่อศาลภายในกลางเดือน ก.ค. นี้ ซึ่งบริษัทขอศาลขยายระยะเวลาเพิ่มเติมจากกำหนดคือกลางเดือน เม.ย. เพื่อความละเอียดรอบคอบในการชี้แจงข้อเท็จจริงต่อศาล
ส่วนหนึ่งของเอกสารชี้แจงสื่อมวลชนถึงที่ไปที่มาของโครงการโฮปเวลล์
นอกจากนี้แล้ว บริษัทโฮปเวลล์ฯ ระบุว่ากำลังศึกษาแนวทางติดตามเอาทรัพย์สินของโฮปเวลล์คืนตามกระบวนการอันชอบด้วยกฎหมาย รวมถึงอยู่ระหว่างการพิจารณาดำเนินการที่จะฟ้องคดีนี้ต่อศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ และศาลฎีกาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง การร้องเรียนต่อ ป.ป.ช.ในเรื่องการกระทำผิดจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
หวั่นกระทบภาพลักษณ์การลงทุนประเทศ
นายคอลลิน เวียร์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด แสดงความกังวลว่าการบวนการหน่วงเหนี่ยวการคืนเงินตามคำวินิจฉัยชี้ขาดที่ถึงที่สุดแล้ว จะส่งผลกระทบทางลบต่อการลงทุนในประเทศไทย
มีการประเมินว่ารัฐบาลต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนตอม่อซีเมนต์ของโครงการโฮปเวลล์เป็นเงินกว่า 200 ล้านบาท
"ความพยายามของกระทรวงคมนาคม และ รฟท. มุ่งหวังเพียงเพื่อจะไม่ต้องคืนเงินให้แก่โฮปเวลล์ฯ โดยไม่คำนึงถึงความเสียหายต่อภาพลักษณ์การลงทุนของประเทศไทย ต่อความเชื่อมั่นการลงทุนในประเทศไทยของนักลงทุนนานาชาติ รวมทั้งไม่คำนึงถึงเกียรติยศ ศักดิ์ศรี และความซื่อสัตย์สุจริตในฐานะหน่วยงานภาครัฐ ที่พึงต้องให้ความเคารพและปฏิบัติตามคำพิพากษาอย่างเคร่งครัด โดยปราศจากข้อยกเว้นหรือข้ออ้างใด ๆ" เขากล่าว
ค่าโง่ “โฮปเวลล์” แทนที่จะเสียแค่ 11,888 ล้านบาท
— Nisa 🧠DeepLogic📌 (@Nisa22444480) June 22, 2022
ตอนนี้กลายเป็น 2.5 หมื่นล้าน + อีกวันละ 2 ล้านกว่า
มึงอยากหาคนผิดก่อนใช่มั้ย❓ กูบอกให้ก็ได้..
ก็ไอ้เหี้ยชวน กับไอ้เหี้ยเทือกไง ที่เป็นคนบอกเลิกสัญญา
ทั้งที่ปัญหาต่างๆ เกิดจากฝ่ายเราทั้งสิ้น pic.twitter.com/81gz27mVS7